โดย กองบรรณาธิการ นสพ. เลี้ยวซ้าย
27 มกราคม 2554
ไทย อีนิวส์ ขอขั้นจังหวะความร้อนแรงทางการเมืองไทยด้วยการนำเสนอภาพและข่าว สถานการณ์การลุกขึ้นสู้ที่อียิปต์ ขอบคุณกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้าย สำหรับบทความที่ช่วยทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ในอียิปต์ได้ดีขึ้น
ภาพประกอบ The Gazette
หลัง จากที่ประชาชนตูนีเซียลุกฮือล้มเผด็จการในกลางเดือนมกราคม วิญญาณเสรีภาพก็แพร่กระจายสู่ประเทศอื่นๆ ในอัฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ในอียิปต์มวลชนออกมาสู้กับตำรวจปราบจลาจลอย่างดุเดือด หลายร้อยคนถูกจับ บางคนเสียชีวิต และขณะนี้เราไม่ทราบว่าจะจบอย่างไร แต่การต่อสู้ของมวลชนแบบนี้ย่อมสร้างความเกรงกลัวกับอำมาตย์ทั่วโลก
ประเทศ อียิปต์มีความสำคัญมากในแถบนี้เพราะเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรเกือบ 80 ล้านคน มีกรรมาชีพโรงงานและกรรมาชีพภาคบริการจำนวนมากด้วย ทั้งนี้เพราะเกษตรกรรายย่อยถูกผลักออกจากที่ดินไปและมากระจุกในเมืองไคโร เมืองอาเลคซานตรา และเมืองอื่นๆ การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน ซึ่งให้พลังกับการต่อสู้ของชาวตูนีเซีย ยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดที่อียิปต์ อาจเป็นเพราะสหภาพเสรีถูกปราบและต้องทำงานกึ่งใต้ดิน อย่างไรก็ตาม เมื่อ ปี 2008 มีการรวมตัวกันและลุกฮือนัดหยุดงานของคนงานสิ่งทอจำนวนมากที่ Mahalla
อียิปต์มีความสำคัญในแง่อื่นด้วย คือเป็นประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐสูงเป็นอันดับสองรองจากอิสราเอล การที่สหรัฐสนับสนุนเผด็จการในอียิปต์ ก็เพื่อหวังควบคุมน้ำมันในตะวันออกกลางและคลองซุเอส ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญ อียิปต์เป็นประเทศที่เชื่อมอย่างใกล้ชิดกับชาวปาเลสไตน์ในแถบกาซา และมวลชนอียิปต์มักจะลุกฮือต้านเผด็จการของตนเองพร้อมกับเรียกร้องเสรีภาพ ให้ชาวปาเลสไตน์
อียิปต์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งพยายามแทรกแซง การเมืองในประเทศนั้นเรื่อยมาจนถึงทศวรรษที่ 50 หลังจากนั้นสหรัฐก็เข้ามามีบทบาท เดิมเมื่ออียิปต์ได้เอกราชจะมีกษัตริย์ปกครอง แต่ถูกกลุ่มทหารหนุ่มโค่นล้มในปี1952 ในที่สุด Gamal Abdel Nasser แกนนำของขบวนการกู้ชาติและล้มเจ้า ก็ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีเผด็จการ Nasser เป็นนักการเมืองเอียงซ้ายชาตินิยม ที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก และทุกวันนี้พวก “นิยมนัสเซอร์” ก็มีจุดยืนแบบนั้น แต่ในปี 1970 เมื่อ
ผู้นำเผด็จการปัจจุบันของอียิปต์คือประธานาธิบดี Hosni Mubarak ซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี ค.ศ. 1981 และครองอำนาจเผด็จการมา 30 ปีผ่านการโกงการเลือกตั้งและการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะเตรียมลูกชาย Gamal Mubarak เพื่อสืบทอดอำนาจ และตามถนนหนทางมักจะมีภาพขนาดใหญ่ของ Mubarak แต่เมื่อประชาชนลุกฮือมีการฉีกภาพและใช้เท้ากระทืบเพื่อแสดงความไม่พอใจ
ขบวน การประชาธิปไตยในอียิปต์ เริ่มรวมตัวกันในองค์กร Kefaya ในปี 2004 และมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง องค์กรนี้เป็นแนวร่วมระหว่างฝ่ายซ้ายกับแนว “นิยมนัสเซอร์” โดยที่พรรคอิสลามมีบทบาทน้อย สิ่งที่น่าสังเกตคือในการลุกฮือที่ตูนีเซีย และอียิปต์ปีนี้ ขบวนการอิสลามไม่มีส่วนในการนำ ในอียิปต์พรรค “พี่น้องมุสลิม” เคยเป็นฝ่ายค้านหลักที่ถูกปราบปรามบ่อย แต่ตอนนี้เลือกที่จะประนีประนอมกับรัฐ
การลุกฮือของมวลชนอัฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจกับเราได้ มันพิสูจน์ว่ามวลชนในทุกประเทศลุกฮือและเป็นพลังสำหรับประชาธิปไตยได้ แต่เรามีเรื่องเตือนใจด้วย เพราะตราบใดที่มวลชนไม่จัดตั้งทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในรูปแบบสังคมนิยมปฏิวัติ ฝ่ายอำนาจเก่ากลับเข้ามาได้เสมอ การต่อสู้ในแถบนี้ยังไม่จบ และจะไม่จบง่ายๆ เราต้องสนับสนุนและให้กำลังใจกับพี่น้องเราจนกว่าเขาจะชนะ
Posted by TTT at 1/28/2011 08:20:00 ก่อนเที่ยง Share on Facebook
http://thaienews.blogspot.com/2011/01/blog-post_28.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น