โดยทางกฤตยา ได้แถลงการดำเนินงานของศปช.ที่ ผ่านมาว่า ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสียหายจากการสลายการชุมนุม ประสานงานกับญาติผู้เสียชีวิตเพื่อสนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเพื่อเกิดความ ยุติธรรม และยังจัดการอภิปราย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม มีบทความตีพิมพ์แล้วหลายบทความ
มีการแถลงข่าว ให้ความเห็นต่อ คอป. และ ดีเอสไอ ต่อสถานการณ์ของผู้ที่ถูกจับกุม ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความช่วยเหลือโดย ทนายอาสา ดำเนินการ ช่วยประกันตัว แก้ต่างข้อกล่าวหาให้ เรารณรงค์สิทธิมนุษยชน ในเวทีต่างประเทศอีกด้วย
ในอนาคต ทางศปช.จะรวบรวมข้อเท็จจริง จัดทำรายงานเหตุการณ์ สนับสนุนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดกระบวนการรับผิด และทำงานรณรงค์ระหว่างประเทศ โดยมีแผนจะจัดสัมมนา ในเดือนมิถุนายน ในประเด็นเรื่องการสังหารนอกกฎหมาย การไต่สวนการตาย เพราะปัญหาเรื่องการชันสูตรศพเป็นปัจจัยสำคัญของการตายทั้ง 93 ศพ ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตของเราที่รวบรวมมา จะแตกต่างจากการรายงานของที่อื่น โดยเฉพาะรายที่ 92 และ 93 ซึ่งรายที่ 92 เสียชีวิตที่ขอนแก่น ส่วนรายที่ 93 ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตในภายหลังเนื่องจากได้รับผลกระทบจากแก็สน้ำตาประกอบกับ เป็นผู้เสียชีวิตเป็นโรคประจำตัวมาก่อนหน้านี้
รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้าน นางสาวขวัญระวี วังอุดม ได้รายงานภาพรวมโดยให้ความเห็นว่าเหตุผลหลักในสถานการณ์นี้มาจากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่เป็นไปตามหลักสากล ในแง่ของความจำเป็น ซึ่งมีการระบุในหลักการว่า "ทางรัฐบาลจะประกาศได้เฉพาะเมื่อกระทบถึงความอยู่รอดของประเทศ" แต่เงื่อนไขในการประกาศของรัฐบาลกลับเป็นเพราะแกนนำแดงฮาร์ดคอร์บุกเข้าไปใน ทำเนียบรัฐบาลก่อน ทั้งนี้ การประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงยังใช้อำนาจปิดสื่อเสื้อแดงเป็นจำนวนมากมีสื่อ เสื้อแดงถูกปิดจำนวนกว่า 6,000 เว็บไซต์ และรัฐบาลยังขู่จะรบกวน "พีเพิลแชนเนล" สื่อเดียวที่ถ่ายทอดการชุมนุม ซึ่งกลายเป็นเหตุให้คนเสื้อแดงไปที่รัฐสภาวันที่ 7 เม.ย. จนเกิดโกลาหลขึ้น
หลังจากเหตุการณ์สงบ รัฐบาลก็ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่มีเหตุจำเป็น และพ.ร.บ.ที่มีอยู่ก็ใช้ควบคุมได้ เมื่อได้ประกาศใช้ในคืนนั้นแล้ว รัฐบาลก็ปิดสื่อพีเพิลแชนเนลทันที นอกจากนี้ การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินยังเป็นเงื่อนไขในการจัดศอฉ. เข้ามาร่วมทำหน้าที่ในทางการปกครอง
ประเด็นสำคัญคือ การใช้กำลังในการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เม.ย. ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่า ใช้กระสุนจริงในการสลายเมื่อเห็นไอ้โม่ง แต่ข้อมูลพบว่ารัฐบาลใช้กระสุนจริงตั้งแต่ช่วงกลางวัน มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายตั้งแต่ช่วงกลางวัน แต่ทางรัฐบาลไม่เคยให้คำตอบเรื่องนี้ว่ามีการใช้กระสุนจริงตอนกลางวัน
ข้อมูลในตารางผู้เสียชีวิตที่ได้สำรวจพบว่า เป็นพลเรือน 77 ราย จริงๆแล้วพบว่ามีผู้เสียชีวิตนอกเหนือจำนวนรวม 92 ศพ อีกหนึ่งราย เป็นการเสียชีวิตเพราะแก็ส น้ำตาเนื่องจากมีโรคประจำตัวอยู่แล้วซึ่ง จริงๆแล้วควรรวมอยู่ในนี้ด้วย (รวมแล้วเป็น 93 ศพ)
สรุปว่า ปฎิบัติการทางทหารนั้น รัฐบาลอ้างว่าเป็นไปตามกฎใช้กำลังและสอดคล้องหลักสากล แต่ในทางปฏิบัติกลับตรงกันข้าม รัฐบาลยิงโดยไม่เลือกเป้า หมายความว่า ไม่ได้เป็นไปเพื่อป้องกันตัวเอง และใช้กำลังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ยิงด้วยกระสุนความเร็วสูงใส่ผู้ชุมนุม
จากที่สัมภาษณ์กับนักข่าวของเนชั่นคนหนึ่งแล้วพบว่า รัฐบาลยังตั้งเป้าหมายเล็งยิงมาที่นักข่าวด้วย นอกจากนั้น การ ใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ ยังเป็นการสั่งการณ์ในตอนกลางคืน โดยไม่คำนึงทัศนวิสัย ขาดการควบคุมการใช้อาวุธอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกยิงยังยืนยันว่าทหารโกรธ และใช้อารมณ์ จากการสัมภาษณ์หน่วยกู้ชีพ ที่โดนทหารยิง พบว่าทหารก็รู้ว่า ตนกำลังทำงานอยู่ แต่ตนเองก็ยังโดนยิงบาดเจ็บ
ในส่วนการแสวงหาข้อเท็จจริงก็ทำโดยลำบากเพราะรัฐบาลยังอยู่ในอำนาจ และทางด้านกฎหมาย พ.ร.ก. แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินข้อ 17 เป็นอุปสรรคในการนำเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดมารับผิดชอบ โดยเฉพาะการใช้ในข้อกำหนดถ้อยคำที่คลุมเครือ
หน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงก็ไม่สามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ยังมีอุปสรรคในการทำงานคือขาดความชอบธรรม ซึ่งเป็นคณะที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลคู่กรณี จึงไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากผู้เกี่ยวข้อง แนวทางการทำงานยังเป็นไปเพื่อแก้ไขรากเหง้าควมขัดแย้งไม่ได้เอาตัวผู้ผิดมา ลงโทษ คอป.มีหน้าที่ต้องแถลงรายงานแต่ขณะนี้รายงานก็ยังไม่ออกมาทั้งที่พ้นกำหนด ตั้งแต่เดือนมกราคม
ด้านการจับกุมผู้สงสัยที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมพบว่า มีการจับกุมโดยเหวี่ยงแห ซ้อม ยัดข้อหา เกลี้ยกล่อมให้รับสารภาพ โดยที่ผู้ต้องหาไม่ทราบกฎหมาย ไม่มีทนาย และยังมีการจำกัดสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าจะกระทำผิดซ้ำ หรือหลบหนี
การควบคุมตัวผู้ต้องหายังมีการนำผู้ต้องหาเอาไปไว้ที่ที่ไม่เหมาะสม มี 16 รายถูกจับอยู่บนรถตำรวจถึง 2 วัน ปัสสาวะก็ต้องทำบนรถ จะถ่ายหนักก็ต้องให้ตำรวจพาไป ผู้ต้องหาหลายรายถูกทำร้ายในช่วงจับกุม จึงตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุที่ขังไว้หลายวัน เพราะต้องการปิดรอยแผล หรือไม่มีมาตรการเพียงพอที่รองรับผู้จับจำนวนมากที่ถูกจับ
จากข้อมูลของศปช. ณ วันที่ 1 เม.ย. พบว่าขณะนี้ยังมีผู้ถูก ต้องขังยังไม่ได้รับการประกันตัวทั่วประเทศ 133 ราย เป็นชาย 121 ราย หญิง 12 ราย และชาวต่างด้าว 3 ราย โดยเป็นชาวพม่า 2 ราย และลาว 1รายอีกด้วย โดยชาวต่างด้าวที่ถูกจนท.จับไม่เข้าใจภาษา ก็ต้องเซ็นยอมรับข้อกล่าวหาโดยไม่ทราบ และไม่มีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์เนื่องจากเลยระยะไปแล้ว
ข้อหาที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่คือ การชุมนุมเกินห้าคนขึ้นไป ร่วมวางเพลิงเผาสถานที่ราชการ และข้อกล่าวหาก่อการร้ายมี 5 ราย ทั้งนี้ การไม่เปิดเผยข้อมูลการออกหมายจับและควบคุมผู้ต้องสงสัยต่อสาธารณะ อย่างเป็นระบบเป็นอุปสรรคในการรับทราบและเข้าถึงข้อมูลผู้สูญหาย โดยศปช. ได้รับข้อมูลคนหายอันเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุมเสื้อแดงที่ผ่านมาจากมูลนิธิ กระจกเงาจำนวน 20 ราย และขณะนี้ก็ยืนยันได้ว่ามี 7 รายที่ไม่ทราบชะตากรรม นอกจากนี้ จากข้อมูลในพื้นที่ของศปช. ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีการบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย คือ เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมและนำผู้มีส่วนร่วมเข้า สู่กระบวนการทางกฎหมาย, รัฐบาลต้องไม่ดำเนินการใดๆที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับตนเอง กองทัพ และจนท., ชดเชย เยียวยา ผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิต อย่างต่อเนื่อง, เปิดเผยข้อมูลการออกหมายจับต่อสาธารณะอย่างเป็นระบบ, เร่งรัดให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาที่เหลือทั้งหมด หากมีกรณีที่พบว่าไม่มีความผิดรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหายให้
แก้ไขคำนิยาม "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ให้รัดกุมโดยให้หมายถึง สถานการณ์ที่กระทบต่อความอยู่รอดของชาติ, ให้รัฐสภามีบทบาทสำคัญในการประกาศและกำกับดูแลสภานการณ์ฉุกเฉิน, ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 17 ที่ยกเว้นโทษแก่จนท. ให้ระบุชัดเจนว่า จนท.ที่ใช้พ.ร.ก.ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายอาญา โดยไม่งดเว้นโทษต่อความผิดอาญา และอนุญาตให้ผู้รายงานพิเศษสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุม รวมถึงอนุญาตให้องค์กรภายในและระหว่างประเทศที่ทำงานด้านมนุษยธรรมเข้า เยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ
"พ.ร.ก." ปัญหามากมาย อิทธิฤทธิ์ร้ายแรง
ขณะที่ นายพฤกษ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ได้เข้าไปที่เรือนจำอุบลราชธานีเพื่อขอคุยกับผู้ต้องขังจำนวน 21 คน ข้อสังเกต คือการเข้าใจสถานการณ์ ซึ่งปกติเมื่อถูกจับจะพบหน้าทนายได้ แต่เมื่อเป็นไปตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทุกอย่างถูกรวบรับเวลารวดเร็วคือ นอนโรงพักสองคืนโดยการจับกุมไม่มีหมายจับ และในขั้นตอนการเซ็นรับทราบข้อกล่าวหาพบว่ามีหลายคนที่ถูกข่มขู่ด้วยถ้อยคำ ไม่สุภาพ หลังจากที่เซ็นรับทราบแล้วอัยการก็สั่งฟ้อง วันรุ่งขึ้นก็ไปที่ศาลและถูกนำตัวไปที่เรือนจำ
ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินพบว่า การตั้งข้อหาจะตั้งแบบสูงสุด หลายข้อหามีความผิดเทียบการก่อการร้าย อย่างข้อหาการวางเพลิงที่้ต้องโทษประหารชีวิต จำนวนผู้ถูกจับ 21 คนก็ได้รับแบบนี้ทุกคน บางคนถูกเพิ่มข้อหาบุกรุกทำลายทรัพย์สินราชการ, ขัดขืนทำร้ายจนท. เรียกได้ว่าเป็นการตั้งข้อหารอ และมีการออกติดตามจับกุม ซึ่งในขั้นการจับกุมเป็นไปโดยใช้ภาพถ่ายจาก "ภาพนิ่ง" ดูก็ไม่รู้ว่าเป็นภาพในวาระโอกาสใด ในการจับกุมทั้งหมดนั้นมีข้อมูลชัดเจนว่า 4 คนไม่ได้อยู่ในสถานการณ์แต่ก็ถูกข้อหาในคดีวางเพลิง
ผู้ต้องหารายหนึ่งชื่อ ธนูศิลป์ ธนูทอง อาชีพเกษตรกร พบว่ามีบันทึกการไต่สวนที่มีพยานฝ่ายโจทก์ให้การที่ตีความจากวาจาได้ว่าเป็น การจับที่ผิด ซึ่งเจ้าตัวก็บอกว่ามีพยานที่สามารถยืนยันได้ว่าตนอยู่ที่ไร่มันสำปะหลังขณะ เกิดเหตุ
ด้วยเหตุที่มีการตั้งข้อหาไว้ก่อน การจับก็เป็นลักษณะการเหวี่ยงแหเพื่อให้ได้ตัวเลขที่ตอบสนองนโยบายบางอย่าง นอกจาก 4 คนที่กล่าวข้างต้นแล้ว มีผู้ถูกจับที่เป็นไทยมุงและติดอยู่ในรูปถ่ายก็ถูกจับด้วย คนที่ไปห้ามคนเผาแต่ติดรูปมาก็ถูกจับมาในลักษณะนี้เช่นกัน
ในระบบศาลไทยเป็นระบบการกล่าวหา ที่ผู้ต้องหาต้องมาแก้ตัว การมีคดีหนักหน่วงหลายคดีก็เห็นว่าอาจต้องใช้เวลายาวนาน หมายความว่าผู้ต้องหาก็ต้องอยู่ในเรื่อนจำไป ซึ่งคิดว่าการที่คนทั้งหมดถูกจับเข้ามาโดยไม่ได้รับการประกัน และยังมีหนทางยาวไกล คิดว่าวงการศาลก็รู้กันว่าสามารถประวิงเวลาไปได้หากทำโดยการระบุพยานเพิ่ม หรือเพิ่มคดีใหม่เข้ามาก็จะดำเนินไปเรื่อยๆ จึงส่งผลสืบเนื่องให้ผู้ต้องหาอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ และร่างกาย บางคนที่เป็นโรคประจำตัวก็ลำบาก บางคนก็มีอาการทางจิตซึมเศร้า และอีกลักษณะคือก้าวร้าว
"ที่ผ่านมารัฐยังไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นระบบว่า สรุปแล้วผู้ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวมีทั้งหมดกี่คน ถ้าข้อมูลพื้นฐานรัฐทำไม่ได้ก็ไม่รู้จะทำอะไร คิดว่าผู้ถูกขังไม่ได้รับการประกันตัว ขณะที่แกนนำได้รับการประกันตัวหมด รัฐไม่มีเหตุผลจะกักตัวไว้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเป็นอีกเรื่องที่ต้องมาคุยกันว่า ไม่ว่ารัฐบาลใดจะขึ้นน่าจะมาคุยเรื่องนี้กัน" นางสาวกฤตยากล่าวสรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น