ม.เที่ยงคืน,นักวิชาการ คปต.+องค์กรสิทธิฯสากลฮึ่มปกป้องเสรีภาพวิชาการเตือนทหารอย่าเหลิง
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
หมายเหตุไทยอีนิวส์:สถาบันวิชาการ นักวิชาการ และองค์กรสิทธิมนุษยชนได้เคลื่อนไหวปกป้องเสรีภาพทางวิชาการกรณีของดร.สม ศักดิ์ เจียมธีรสกุลขนานใหญ่ หลังจากกองทัพออกมาคุกคาม ดังรายงานดังต่อไปนี้
http://thaienews.blogspot.com/2011/04/blog-post_4308.html
26 เมษายน 2554
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง การคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็นคือการคุกคามประชาธิปไตย
ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมไทย เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งสำหรับการ แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรง เพราะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยน ถกเถียง โต้แย้ง ระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างเพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางออกร่วมกัน
รวมทั้งการหาข้อตกลงในการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติในระยะยาวด้วย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาคและปราศจากการคุกคามเท่านั้น ที่จะนำมาสู่การต่อรองและการสร้างกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน
ส่วนการใช้อำนาจเพื่อให้บางฝ่ายมีโอกาสพูดและสื่อสารกับสังคมในขณะที่บาง ฝ่ายถูกปิดกั้น มีแต่จะนำไปสู่ความแค้นเคืองและขยายความขัดแย้งให้สูงขึ้น เพราะตอกย้ำความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่แล้วให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นจากฝ่ายผู้ถือ อำนาจรัฐกลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งโดยการใช้อำนาจนอกกฎหมายและอำนาจตามกฎหมาย ทั้งที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดแจ้งและอย่างแฝงเร้น ทำให้มีคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับการคุกคามหรือแม้แต่การจับกุมคุมขังเมื่อ มีการแสดงความเห็นของตนออกมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการดำเนินการหลายรูปแบบเพื่อปิดปากประชาชนภายใต้ข้อ กล่าวอ้างเรื่องความจงรักภักดีและการปกป้องสถาบัน รวมทั้งกรณีการเคลื่อนไหวของนายทหารบางกลุ่มในระยะนี้
สังคมไทยพึงตระหนักว่า กฎหมายของไทยมิได้เปิดให้มีการใส่ร้ายป้ายสีต่อบุคคลหรือสถาบันใดๆ ได้อย่างเสรี ตรงกันข้าม มีกฎเกณฑ์และบทลงโทษอย่างรุนแรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ทหารจะต้องออกมาสำแดงกำลังแม้แต่น้อย อนึ่ง ในฐานะหน่วยราชการหน้าที่หลักขององค์กรทหารย่อมอยู่ที่การปกป้องอธิปไตยของ ชาติ สถาบันทหารควรหลีกเลี่ยงจากการกระทำใดๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทบาทในทางการเมือง เพื่อป้องกันการนำสถาบันทหารเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของ บุคคลหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ในสังคมประชาธิปไตย บุคคลและสถาบันใดก็ตามที่เข้ามามีบทบาทและใช้อำนาจในทางการเมืองย่อมไม่อาจ พ้นไปจากการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนในสังคมได้ เพราะในสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายซับซ้อน การใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นไปด้วยเจตนาดีเพียงใด ก็ย่อมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ หรือย่อมส่งผลดีในบางด้านและส่งผลเสียในบางด้าน การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อต่อรองหรือเพื่อตรวจสอบตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การใช้อำนาจโดยไม่ต้องการถูกวิพากษ์วิจารณ์ แตะต้อง หรือถูกตรวจสอบจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
ความพยายามในการปิดปากผู้คนต่อการแสดงความเห็นตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม จึงไม่เพียงแต่เป็นการคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นของบุคคลเท่านั้น หากยังหมายความถึงการคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันปกป้องเสรีภาพในการ แสดงความเห็น และร่วมกันแสดงการคัดค้านต่อบุคคล, สถาบัน,การกระทำ หรือกฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่คุกคามต่อเสรีภาพดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่มาจากฝ่ายใดก็ตาม เพื่อให้สังคมไทยสามารถจะก้าวเดินต่อไปบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยเฉกเช่น นานาอารยประเทศได้อย่างสันติและเสมอภาคกัน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
26 เมษายน 2554
นักวิชาการปกป้องเสรีภาพทางวิชาการต้านการคุกคาม สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
26 เมษายน 2554-ประชาไท รายงานว่า ปัญญาชน นักศึกษา นักวิชาการอาทิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ อานันท์ กาญจนพันธ์ คริส เบเกอร์ อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ทยอยร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ปกป้องเสรีภาพทางวิชาการกรณีการคุกคาม สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ผู้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นบทบาทของ สถาบันกษัตริย์ โดยเรียกร้องให้รัฐยุติการคุกคามเสรีภาพของประชาชน หยุดการใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาป้ายสีบุคคลต่างๆ
หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นนับตั้งแต่การ รัฐประหารปี 2549 ประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากผู้ยึดกุม อำนาจรัฐ ก็ต้องเผชิญกับการคุกคามสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะ นี้ เงาทะมึนของการคุกคามได้ลุกลามเข้าสู่ผู้คนในวงวิชาการด้วยเช่นกัน ล่า สุดคือการคุกคามที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ด้วยสาเหตุ ที่อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ใน สังคมไทยในเวทีวิชาการต่าง ๆ หลายครั้งหลายครา
พวกเราในฐานะนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรม และประชาชนที่เห็นด้วย กับแถลงการณ์นี้ เชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยของอาจารย์สมศักดิ์ วางอยู่บนเจตจำนงที่ต้องการเห็นสถาบันกษัตริย์ดำรงควบคู่อย่างสอด คล้องกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของทั้ง สถาบันกษัตริย์และต่อสังคมไทยโดยรวม แต่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่การ แสดงความคิดเห็นของอาจารย์สมศักดิ์ ที่มุ่งเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจได้ ตระหนักถึงปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ได้ถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ มุ่งล้มล้างสถาบันกษัตริย์ และอาจถึงขั้นถูกนำไปเป็นข้อ อ้างสำหรับการรัฐประหารครั้งต่อไปก็ได้ นอกจากนี้ อาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่คน แรกและคนสุดท้ายที่จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน คำถามคือ อำนาจรัฐจะติดตามคุกคามประชาชนด้วยประเด็นปัญหานี้อีกกว้างขวางแค่ไหน
พวกเราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ ของอาจารย์สมศักดิ์ และต่อประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความคิดทางการเมืองที่ แตกต่าง โปรดตระหนักว่าในสังคมประชาธิปไตย ทุกสถาบันควรได้รับการตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์ได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์กับสังคม ประการสำคัญ การเปิดกว้างยินยอมให้มีการแสดงความคิดที่แตกต่างได้อย่างเปิด เผย โดยปราศจากภัยคุกคามและความกลัวต่างหาก ที่จะช่วยนำสังคมไทยฝ่าออกไปจาก วิกฤติในขณะนี้ได้
ด้วยความเคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรม
เครือข่ายสันติประชาธรรม
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เสาวนีย์ อเล๊กซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบล
ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จีรพล เกตุจุมพล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
กานต์ ทัศนภักดิ์ นักเขียน ช่างภาพ และคนทำงานศิลปะ
นภัทร สาเศียร นิสิตปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไอดา อรุณวงศ์ สำนักพิมพ์อ่าน
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
วิภา ดาวมณี คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชษฐา พวงหัตถ์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาดาดล อิงคะวณิช มหาวิทยาลัยเว็สต์มินสเตอร์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาริน อินทร์เหมือน สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร
มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
รักนิรันดร์ วรรณวีรพงษ์
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นิรมล ยุวนบุณย์
นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
ชญานิน เตียงพิทยากร
อุเชนทร์ เชียงเสน
ชาตรี สมนึก
วิทยา พันธ์พานิชย์
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช International Crisis Group
กิตติศักดิ์ สฤษดิสุข
ธนศักดิ์ สายจำปา
จอน อึ๊งภากรณ์
ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรวิทย์ ไชยทอง นิสิตภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นันทา เบญจศิลารักษ์
สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชน
ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรณิกา เพชรแก้ว
วิโรจน์ อาลี รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วีระ หวังสัจจะโชค
นิภาพร รัชตพัฒนากุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน-นักแปล
อานันท์ กาญจนพันธ์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คริส เบเกอร์ นักวิชาการ
โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน ศิลปากร
กฤษณะ มณฑาทิพย์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บุญยืน สุขใหม่
โกวิท แก้วสุวรรณ
ทองทัช เทพารักษ์
ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์
วสันติ ลิมป์เฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ณัฐนพ พลาหาญ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดิน บัวแดง กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
ฉลอง สุนทราวาณิชย์ นักวิชาการ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการ
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ
จริยา ยางน้อย
อิสรา ดวงไสว
จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สายสัมพันธ์ รัตนปรีดากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน
ศิริภาส ยมจินดา นักศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน
เพ็ญศิริ จันทร์ประทีปฉาย คนทำหนังสืออิสระ
ปิยวรรณ อัศวราชันย์ คณะมนุษยศาสตร์ พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
นีรนุช เนียมทรัพย์
พิชิต พิทักษ์
นายสิบสกุล กิจนุกร
อัญชลี มณีโรจน์
กิตติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ชนบท
อดิศร เกิดมงคล
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน University of Hull
พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการ
ยงยุทธ เรือนทา
กังวาฬ ฟองแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มช.
ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
ชัชวาล ปุญปัน
ทวีศักดิ์ เผือกสม
ใจ อึ๊งภากรณ์
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
วีร์ อินทรกระทึก
ไพโรจน์ จันทร์นิมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น