แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

นัก วิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกระตุกทุก ฝ่ายปลดชนวนคลายวิกฤต วอน สื่อหลักเป็นกลาง

นัก วิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกระตุกทุกฝ่ายปลดชนวนคลายวิกฤต วอนสื่อหลักเป็นกลาง


ม็อบ ผู้ดีรุมม็อบไพร่-ม็อบเสื้อสีชมพูที่สนับสนุนรัฐบาลตามขับไล่โจมตี เสื้อแดงที่ขับมอเตอร์ไซค์ผ่านที่ชุมนุมคนเสื้อชมพู โดยการสาดน้ำใส่ และเข้ารุมทำร้าย ในการชุมนุมเพื่อคัดค้านฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่สวนลุมพินี มีข่าวว่าเสื้อแดงเจ็บ4ราย อีกรายเป็นชาวบ้านไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่บังเอิญใส่เสื้อแดงพลัดหลงเข้าไปใน ดงม็อบผู้ดี

นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ อาจารย์คณะอักษรฯ จุฬาฯ ผู้จัดการชุมนุมให้สัมภาษณ์ช่อง 11 ว่า เสื้อแดงมีสิทธิชุมนุมตราบเท่าที่อยู่ในที่ของเขา และไม่มาต่อต้านเรา เพราะเรารักและเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ และเราใช้ปัญญาใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์เหมือนพวกเสื้อแดง..(ภาพข่าว:REUTERS)



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
2 เมษายน 2553

หมายเหตุ ไทยอีนิวส์:เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมาย นักปรัชญา นักสังคมวิทยา ผู้บริหาร อดีต สสร. เป็นต้น ได้ออกแถลงการณ์ฉบับแรกเพื่อแสดงจุดยืน และเรียกร้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยให้ร่วมกันคลี่คลาย สถานการณ์ทางการเมือง ดังรายละเอียดต่อไปนี้



เครือ ข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Scholars’ Network for a Just Society)
แถลงการณ์ฉบับที่ 1
เรื่อง ข้อเรียกร้องเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมือง


ตามที่มวลชนจำนวนมากได้ชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา และรัฐบาลได้ใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรควบคุม สถานการณ์นั้น

แม้ว่าฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมและฝ่ายรัฐบาลได้ยืนยันใน ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง และได้มีการเจรจากันเพื่อนำไปสู่การคลี่คลายปัญหาโดยวิธียุบสภา

เครือ ข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรมที่ประกอบด้วยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนนักวิชาการอิสระ และประชาชนทั่วไปที่สนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี เล็งเห็นว่าในสถานการณ์เช่นนี้ยังมีความล่อแหลมต่อการเกิดความขัดแย้งที่ รุนแรง และอาจขยายเป็นวงกว้างได้หากแต่ละฝ่ายไม่สามารถใช้ความอดทนอดกลั้นซึ่ง ปุถุชนมีอยู่อย่างจำกัด

ดังนั้น จึงขอแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์มิ ให้เข้าสู่จุดวิกฤติดังนี้.-


1.รัฐบาลควรทบทวนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่น คงฯ เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นมาตรการที่เกินกว่าความจำเป็นในการควบคุม สถานการณ์การชุมนุม และไม่สามารถป้องกันการก่อเหตุร้ายจากการฉกฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ของผู้ไม่ หวังดี ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของประเทศ และทำให้ประชาชนบางส่วนเกิดความรู้สึกว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์เดียวกันนี้ในอดีต

2.รัฐบาลควรแสดงให้สาธารณชนเห็นถึงความอดทนอดกลั้นและวุฒิภาวะที่ยิ่งกว่า กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามแก้ปัญหาโดยยึดหลักความยุติธรรมและสันติ ไม่ยอมให้กลไกของรัฐเข้าขัดขวางหรือ แทรกแซง การแสดงออกของประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตย

ทั้งควรระมัดระวังมิให้ บุคคลในสังกัดวิพากษ์วิจารณ์การชุมนุมที่ยังชอบด้วยสันติวิธี หรือให้ข่าวในลักษณะที่เป็นการตอบโต้ ท้าทาย ยั่วยุ ดุถูก ดูหมิ่นกลุ่มผู้ชุมนุม ใส่ร้ายหรือตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ชุมนุมที่ยังไม่มีหลัก ฐานแน่ชัดเพราะจะยิ่งเป็นการทวีความแตกแยกขัดแย้งและทำให้สังคมตื่นตระหนก

3.นายกรัฐมนตรีควรกลับเข้าไปปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นปกติในทำเนียบรัฐบาลเพื่อ มิให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจสถานการณ์เลวร้ายเกินจริง และเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสังคมและนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น


กลุ่ม ผู้ชุมนุม

4.แกนนำผู้ชุมนุมควร แจ้งให้สาธารณชนทราบถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะส่งผล ต่อการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม ให้ชัดเจนเป็นระยะ ๆ

5.แกนนำผู้ชุมนุมไม่ควรละทิ้ง กระบวนการเจรจาแม้ว่าขณะนี้ยังไม่ได้รับการสนองตอบตามข้อเรียกร้อง เพื่อลดทอนความวิตกกังวลของสาธารณชน ทั้งควรลดเงื่อนไขในการเจรจาที่เป็นไปได้ยาก และควรรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มพลังต่าง ๆ อย่างพินิจพิเคราะห์

6.แกนนำผู้ชุมนุมจะต้องยืนหยัดต่อหลักการสันติอหิงสาตามที่ได้ ประกาศไว้โดยเคร่งครัด และจะไม่แสดงท่าทีขัดขวางใดๆ หากนายกรัฐมนตรีจะกลับเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล

สื่อ กระแสหลัก

7.สื่อกระแสหลักควรตระหนักถึงสิทธิของสาธารณชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้อง เที่ยงธรรม ประชาชนควรมีโอกาสรับรู้ข้อเท็จจริงที่เป็น สาระสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์อย่างครบถ้วนรอบด้าน เช่นการรายงานจำนวนที่แท้จริงของกลุ่มผู้มาชุมนุม เป็นต้น และควรเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันโดยเท่า เทียมกัน

สถาบันการศึกษา

8.สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรเดินหน้าในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอันมีความสลับซับซ้อนใน หลายมิติอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อเสนอองค์ความรู้ต่อสาธารณะอันนำมาซึ่งการเสนอแนวทางและการถก เถียงอย่างมีเหตุมีผลอันนำไปสู่ข้อยุติร่วมกัน

ประชาชน ทั่วไป

9.ประชาชนทั่วไปควรติดตาม และพินิจพิเคราะห์สถานการณ์ด้วยความไตร่ตรองระมัดระวังไม่ตกหลุมพรางการบิด เบือน ปิดบังข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเสนอหรือเปิดเผยข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน โดยเปรียบเทียบ ตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งและควรรู้ว่าแหล่งข้อมูลหรือสื่อนั้นๆมีที่มาและ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่อย่างไร มีความโน้มเอียงหรือมีความเป็นกลางมากน้อยเพียงใด ทั้งยังต้องทราบว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นเพียงข้อเท็จจริง หรือ มีการต่อเติม ตีความ แสดงความคิดเห็นประกอบมาด้วยหรือไม่ และต้องรู้เท่าทันวาทกรรมวิชาการที่เกิดขึ้นมากมายท่ามกลางความขัดแย้ง

10.ประชาชนทั่วไปควรต่อต้านและประณามการสร้างสถานการณ์การก่อ เหตุความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะกระทำต่อฝ่ายใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำต่อสื่อมวลชนโทรทัศน์ทั้งสองแห่งและหน่วยงานแห่ง อื่นที่ทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ

นอกจากข้อเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในระยะยาวทุกฝ่ายรวมถึงประชาคมวิชาการต้องร่วมกันสร้างสรรค์สังคมบนพื้นฐาน ของหลักการประชาธิปไตย หลักคุณธรรมจริยธรรม หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค ให้เป็นสังคมที่ปราศจากความอยุติธรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง ละเว้นการกระทำการใดๆที่มุ่งสู่ผลโดยมิได้คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมของ วิธีการ

ทั้งนี้ เพื่อมิให้สังคมไทยเกิดความยุ่งยากถึงทางตัน


วัน ที่ 1 เมษายน 2553

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็น ธรรม

ชวลิต หมื่นนุช มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วีระชาติ นิ่มอนงค์ คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เสถียรภาพ นาหลวง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุรพล จรรยากูล ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มศว.ประสานมิตร
สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดือน ฉาย อรุณกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
พกุล พัฒน์ดิลก แองเกอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ประไพพรรณ ชัยพันธเศรษฐ์ วิทยาลัยดุสิตธานี
บัญชา สกุลดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วิทยา เจริญศรี สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ชาญ มายอด ศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วีระพันธ์ พันธ์วิไล ศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุ ภัทร์ สกลไชย นักวิชาการอิสระ และทนายความ
อัมพล ชูสนุก ผู้บริหาร บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด
สิทธิชัย โอฬารกุล ผู้บริหาร บจก.นีโอฟาร์ม
สันติ เจริญฤทธิศักดิ์ ผู้ประกอบการและนักวิชาการอิสระ
สุทธิพงษ์ ทูลพุทธา พนักงานบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
ศักดิ์ศิริ ยิ้มเมือง ผู้ประกอบการ
พรรณทิพย์ โอฬารกุล เจ้าของกิจการ บจก.เดือน
ณัฏฐนิชโอฬารกุล นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสิทธิ์คุณ สกุลดี นักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุปรีย์ กาญจนพิศาล นักศึกษาปริญญาเอก คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน