แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

นโยบาย 22 ข้อ ของ พรรคเพื่อไทย...ของนายกในดวงใจเสื้อแดง 23-04-2554


นโยบายพรรคเพื่อไทย...ของนายกในดวงใจเสื้อแดง
รู้เรา รู้โลก" คือที่มาของแนวคิดนโยบาย...

โครงการแรก ทำ คันเขื่อน มูลค่าแสนล้าน ลึกออกไป 10 กม. โดยไม่ต้องกู้สักบาท... จะได้พื้นที่ 300 ตารางกิโลเมตร จะได้เมืองใหม่ทั้งเมือง.. และป้องกันน้ำท่วม

โครงการที่สอง.. ยืนยันพัฒนา 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อสร้างระบบกักเก็บน้ำ เชื่อมแม่น้ำเพื่อเฉลี่ยระดับน้ำ ประสานกับเพื่อนบ้าน.. ป้องกันน้ำท่วมและใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร..

โครงการที่สาม.. ทำรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย สร้างคอนโด ให้คนรุ่นใหม่ ตามแนวทางรถไฟ้า ด้วยค่าเช่าถูก 1500 บาท.. ทำรถไฟระบบรางคู่ ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ไปจังหวัด รอบนอก กทม. สานต่อ แลนด์บริดจ์ เชื่อมต่อ อ่าวไทยกับอันดามัน.. นี่เป็นเมกกะโปรเจ็ค เพื่อให้เงินสะพัด

โครงการที่สี่ สานต่อแก้ปัญหายาเสพติด ให้หมดไปภายในเวลา 12 เดือน

โครงการ ที่ห้า
.. แก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทยให้หมดไปภายในเวลา 4 ปี อย่าให้คนไทยตายจน ("จน" จนตาย) ..การแก้ไขปัญหาความยากจนคือการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ฐานราก..

โครงการที่หก.
. สานต่อกองทุนหมู่บ้านเป็น ธนาคารหมู่บ้านซึ่งเป็นธนาคารของประชาชนอย่างแท้จริง และเพิ่มทุนให้อีก หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

โครงการ ที่เจ็ด.. สานต่อโครงการพักหนี้ 3 (หรือ 5 ปี) สำหรับหนี้ไม่เกิน ห้าแสนบาท และ ปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับผู้เป็นหนี้ไม่เกิน หนึ่งล้านบาท..

โครงการที่แปด.. สานต่อโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค(จริงๆ).. ด้วยการพัฒนาทั้งระบบ

โครงการที่เก้า... ยกระดับพัฒนา OTOP เต็มสูบ

โครงการ ที่สิบ.. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ไม่ต้องติดสินบนของบ.. พรรคเพื่อไทยเพิ่ม งบให้อีกเท่าตัว... สำหรับ องค์กรที่สรรหางบได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท

โครงการที่สิบเอ็ด.. สานต่อ SML ประชาชนในหมู่บ้านบริหารงบเอง "เจ้านะพอเพียง แต่ข้าไม่พอเพียง" อ้างอิงคำพูดชาวบ้านจากการที่รัฐบาลเปลี่ยน SML เป็นกองทุนพอเพียง

โครงการที่สิบสอง.. ประกันราคาข้าว.. สร้างหลักประกันรายได้ให้ชาวนา

โครงการ ที่สิบสาม.. ให้เครดิตการ์ดเกษตรกร เพื่อซื้อปัจจัยการผลิต โดยไม่ต้องกู้ รัฐเป็นผู้ให้วงเงินสินเชื่อ ตามความสามารถด้านการผลิต พืชที่เพาะปลูก และมูลค่าของผลผลิต..

โครงการที่สิบสี่.. ส่งเสริมแนวคิดธุรกิจใหม่โดยสร้างระบบการให้เงินกู้ และสร้าง กองทุนร่วมทุน ทุกจัหวัด เพื่อส่งเสริมธุรกิจแนวคิดใหม่ๆ

โครงการที่สิบห้า.. ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนตร์ และลดภาษีธุรกิจยานยนต์

โครงการ ที่สิบหก.. จัดหาแหล่งพลังานต่างจากทั่วโลก พัฒนาระบบพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน โดยร่วมลงทุนกับต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยได้ใช้น้ำมันราคาถูก ทั้งนี้ส่งเสริม น้ำมันชีวภาพให้ครบวงจร

โครงการ ที่สิบเจ็ด.. ส่งเสริมให้คนไทย เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศน์.. ให้เด็กไทยใช้ One Tablet Per Child .. สร้างห้องสมุด สารสนเทศน ให้เด็กสามารถใช้ได้ทั่วประเทศ..และให้บริษัทต่างๆ มีระบบ Wi Fi ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกที่

โครงการที่สิบแปด.. ให้ไทยเป็น Hub ศูนย์อาหารโลก ศูนย์กลางการบิน ศูนย์การกลางท่องเที่ยว ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์

โครงการที่สิบเก้า..ปรับยุทธศาสตร์การต่างประเทศเสียใหม่ทั้งระบบ ให้กระทรวงต่างประเทศ มีบทบาทสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศไทย

โครงการที่ยี่สิบ.. สถาปนาความสัมพันธ์กัลโลกอาหรับใหม่ โดยเฉพาะซาอุเดียอารเบีย และอำนวยความสะดวกให้พี่น้องมุสลิม ที่ไปทำพิธีฮัจจ์

โครงการ ที่ยี่สิบเอ็ด... ปรับนโยบายแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ โดยนั่งจับเข่าคุยกัน... และส่งเสริมการปกครองตนเองโดย ให้เป็นเขตปกครองพิเศษ

โครงการที่ยี่สิบสอง
... จัด Training Center ให้อาชีวะ และ ใช้หลักการ ให้ทุนการศึกษาแบบ "เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน