แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

100ปีวันสตรีสากล การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้ใช้แรงงาน เสรีภาพและประชาธิปไตย

โดย เปลวเทียน ส่องทาง
8 มีนาคม 2554

ผู้หญิงคือปรปักษ์ของการกดขี่ ผู้หญิงนี่แหละที่ต่อสู้อย่างเข้มข้นที่สุดเสมอมา

-ปรามูเดีย อนันตา ตูร์ นักเขียนชาวอินโดนีเซีย

วัน ที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่

ใน ปี ค.ศ.1907 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา และมี "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว

บทบาท ของ"คลาร่า เซทคิน" นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ

เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน

คลาร่า เซทคิน มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"

ในการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ได้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเรียก ร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อ มาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8

คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน

พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

ย้อน มองสังคมไทย ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสังคมไทย ซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากในโลกทุนนิยม ก็หาได้ยอมจำนนต่อระบบทุนนิยมที่เอารัดเอาปรียบผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงสินค้า เป็นเพียงปัจจัยการผลิตเสมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งในสายพานการผลิต ผู้ใช้แรงงานก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเสมอมา ทั้งเรื่องการปรับปรุงสภาพการจ้าง การคุ้มครองหลักประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ และมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ก้าวสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยเช่น กัน

การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานนั้น เป็นการต่อสู้ทั้งระดับชีวิตประจำวัน และปัญหาทางโครงสร้างนโยบายกฎหมาย โดยมีทั้งระดับปัจเจกชน ระดับกลุ่ม ทั้งรูปแบบสหภาพแรงงาน และรูปแบบ
อื่นๆ เช่น กลุ่มย่านต่างๆ
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้ใช้แรงงานหญิงสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ผู้ ประสบชตากรรมถูกนายจ้างไล่ออกจากงาน ในฐานะไม่เชื่อฟัง คำสั่งของนายจ้าง และมักต่อรองกับนายจ้างไม่ให้เอาเปรียบพนักงานเสมอมา ก็ได้เปิดโปงการปลิ้นปล้อนหลอกลวงของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดีแต่พูด” "มือเปื้อนเลือด" และแก้ปัญหาให้นายทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงาน เชื่อกลไลราชการมากว่าการฟังเสียงผู้ใช้แรงงาน

เช่น เดียวกัน การต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย เพื่อประชาธิปไตย ในสังคมไทยห้วงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้หญิงจำนวนมากหลากหลายฐานะ อาชีพ ชนชั้น ตลอดทั้งผู้ใช้แรงงานบางส่วน

โดยมีเป้าหมายเดียวกันอำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชนมีความเชื่อว่า ทุกคนเท่ากัน” “ไพร่ก็มีหัวใจได้ต่อสู้อย่างอดทน เผชิญกับความยากลำบาก อย่างไม่ท้อถอยในนาม คนเสื้อแดง

100 ปีวันสตรีสากล จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความทรงจำกับผู้หญิงผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกได้ตระหนักการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ ดีกว่า เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อความเสมอภาคและเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับสังคมไทยแล้ว วันสตรีสากลในปีนี้ ย่อมทำให้ต้องตระหนักว่า สิทธิของผู้ใช้แรงงาน และระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้

เฉก เช่นการต่อสู้ของ"คลาร่า เซทคิน" มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล ผู้ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ใช้แรงงาน และคัดค้านอำนาจนิยมเผด็จการฮิตเลอร์เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย


Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 3/08/2011 06:55:00 ก่อนเที่ยง Share on Facebook Links to this post



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน