แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิด "คำพิพากษา" ตัดสิทธิ์ 6 สส.



เมื่อ เวลา 15.00 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทน ราษฎรในฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส. และ ส.ว. 44 รายในฐานะผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ เนื่องจากกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบ มาตรา 265 (2)และ (4) ถือครองหุ้นบริษัทที่เข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 ในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ


*****************************

คำ ร้องดังกล่าวศาลได้กำหนดประเด็นที่จะวินิจฉัยดังนี้ ประเด็นทีหนึ่งการมีคำวินิจฉัยกกต.ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นที่สอง บริษัทผู้ถูกร้อง คู่สมรสและบุตรของผู้ถูกร้องถือหุ้นเป็นบริษัทต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2)(4)ประกอบมาตรา 48 หรือไม่ และประเด็นที่สามการถือหุ้นของผู้ถูกร้องคู่สมรสและบุตรของผู้ถูกร้องแต่ละ รายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่


โดย ศาลมีคำนิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งดังนี้ในประเด็นนี้ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่ากกต .ไม่มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และไม่อาจนำระเบียบว่าด้วยกกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดพ .ศ.2550 มาใช้ในการสืบสวนและไม่ให้โอกาสผู้ถูกร้องโต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐานข้อ กล่าวหาของกกต. การปฏิบัติของกรรมการไต่สวนและกกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 236 (10) บัญญัติให้กกต.สืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้ง ทีเกิดขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.พ.ศ.2550 พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ร.บ.ว่าด้วยกกต. พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ดังนั้นในการดำเนินการหน้าที่ของกกต.เพื่อสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและ วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นและกกต.ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพ .ร.บ.ว่าด้วยกกต.2550 มาตรา 24 วรรคสอง กล่าวคือกกต.ต้องให้โอกาสผู้ร้องผู้ถูกคัดค้านผู้ถูกกล่าวหาทราบเหตุแห่งการ ร้องหรือการกล่าวหามีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงหลักฐานและให้โอกาสมาให้ ถ้อยคำต่อกกต.กรณีผู้ร้องผู้ถูกกล่าวหาไม่มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแสดง หลักฐานหรือไม่มาให้ถ้อยคำตามกกต.กำหนดอันเป็นสมควรให้ผู้นั้นสละสิทธิ์ชี้ แจง และให้กกต.ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวกำหนดไว้ในระเบียบกกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนฯ ข้อ 43เช่นกัน


การใช้อำนาจของกกต.เพื่อให้มีการ สืบสวนสอบสวนฯกรณีนี้เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ประกอบกับข้อ เท็จจริงรับฟังได้ว่ากกต.ได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วและทาง การไต่สวนได้ความว่าผู้ถูกร้องส่วนใหญ่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกกต.แล้วคงมี ผู้ถูกร้องบางรายที่ไม่ได้ชี้แจงด้วยเหตุผลต่างๆกันเป็นกรณีถือได้ว่ากกต .ได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องทุกคนแล้วคำโต้แย้งผู้ถูกร้องทุกคนจึงรับฟังไม่ได้


ประเด็น ที่สอง บริษัทที่ผู้ถูกร้อง คู่สมรส และบุตรถือหุ้นเป็นบริษัทอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 (2)(4) ประกอบมาตรา 48หรือไม่ และประเด็นที่สาม การถือหุ้นผู้ถูกร้องคู่สมรสและบุตรแต่ละรายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญหรือไม่ เห็นว่า สามารถรวมพิจารณากันได้ และควรพิจารณาลำดับต่อไปดังนี้


รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 เป็นบทบัญญัติต้องห้ามส.ส.และส.ว.ในส่วนการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์ บัญญัติว่าส.ส.และส.ว.ต้องไม่รับ แทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐหน่วยงานของรัฐหรือเข้าคู่สัญญา รัฐหน่วยราชการของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้น ส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาดัง กล่าวทั้งนี้โดยทางตรงและทางอ้อม และ(4)ให้ส.ส.และส.ว.ไม่กระทำการต้องห้ามมาตรา 48 โดยมาตรา 48 บัญญัติว่า จะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ไม่ว่านามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการถือหุ้น แทนหรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นโดยทางตรงทางอ้อมในทำนองเดียวกับการเป็น เจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวซึ่งสรุปการกระทำต้องห้ามมาตรา 265 และมาตรา 48 ได้ดังนี้


1.ต้องไม่รับแทรกแซง ก้าวก่ายเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเข้าเป็นคู่สัญญาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอันผูกขาดตัดตอน 2.ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาลัษณะตัดตอน และ3.ต้องไม่กระทำการตาม 1.และ2.ไม่ว่าทางตรงและอ้อม 4.ต้องไม่เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคมไม่ว่าตนเองหรือให้ผู้อื่นถือหุ้นแทนหรือจะดำเนิน การโดยวิธีการอื่นทางตรงหรือทางอ้อมที่จะบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนอง เดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการในบริษัทถือหุ้นดังกล่าว


ประเด็น แรกที่ควรพิจารณาก่อนคือการดำเนินการโดยวิธีการอื่นทางตรงหรือทางอ้อมที่ สามารถบริหารกิจการอื่นได้เป็นในลักษณะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นกิจการ ดังกล่าวตามมาตรา 48 กับการรับสัมปทานเข้าเป็นคู่สัญญาตามมาตรา 265 เห็นว่าข้อห้ามมิให้กระทำการทางตรงหรือทางอ้อมตามบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนา ห้ามมิให้ส.ส.และส.ว.กระทำการใดๆที่สามารถใช้อำนาจเข้าไปบริหารงานบริษัทประ กบอกิจการอันเป็นลักษณะต้องห้ามบทบัญญัติ2 มาตราดังกล่าวจึงมีความหมายรวมถึงการถือหุ้นในลักษณะแม้มิได้ประกอบกิจการ ต้องห้ามโดยตรงแต่หากบริษัทนั้นถือหุ้นในบริษัทอื่น(โฮลดิ้งคอมปานี) ที่ประกอบกิจการอันเป็นการต้องห้ามมากพอให้มีอำนาจมากพอครอบงำกิจการของ บริษัทที่เป็นการต้องห้ามได้ย่อมเป็นการกระทำโดยทางอ้อมตามความหมายมาตรา 48 และ 265 (2)(4)


ประเด็นวินิจฉัยต่อไป รัฐธรรมนูญ2550มีเจตนารมณ์ห้ามส.ส.และส.ว.อย่างไร เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อป้องกันมิให้แสวง หาประโยชน์โดยมิชอบระหว่างปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาอันเป็นการขัดกันแห่ง ประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหารและองค์กร โดยใช้หน้าที่แทรกแซงฝ่ายบริหารในการได้มาซึ่งสัมปทาานเป็นคู่สัญญาลักษณะ ผูกขาดตัดตอนที่มีผลให้กิจการบริษัทขอบข่ายตามมาตรา 265 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 48 ได้รับประโยชน์ทำให้ส.ส.ได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นดังกล่าวหรือเข้าไปมี ส่วนขอใช้ข้อมูลที่ตนได้รับรู้จากการปฏิบัติหน้าที่และแสวงหาประโยชน์ส่วน ตัวหรือใช้ตำแหน่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคนอื่นได้ หลักการดังกล่าวนี้ต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพบุคคลเกิดความจำเป็นตามที่ รัฐธรรมนูญมาตรา 29รับรองไว้ การถือหุ้นต้องห้ามตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงต้องไม่จำกัดสิทธิและ เสรีภาพบุคคลเกินวัตถุประสงค์ของกฎหมาย


ประเด็น ที่ต้องพิจารณาต่อไปคือการถือหุ้นตามบัญญัติมาตรา 48 และ 265 (2)นั้นมีความหมายรวมถึงการถือหุ้นก่อนดำรงตำแหน่งส.ส.และส.ว.ด้วยหรือไม่ เห็นว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนอกจากบัญญัติผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 48 มาตรา 265 แล้วยังบัญญัติถึงกรณีถือหุ้นของนายกฯ และรัฐมนตรีในมาตรา 269 ด้วย โดยมาตรา269นอกจากห้ามนายกฯและรมต.ถือหุ้นในบริษัทแล้วยังบัญญัติห้ามไว้ ชัดเจนว่ามิให้คงไว้ซึ่งผู้ถือหุ้นในบริษัทต่อไปด้วย ฉะนั้นหากรัฐธรรมนูญประสงค์จะห้ามส.ส.และส.ว.คงไว้ซึ่งการถือหุ้นก็ต้อง บัญญัติชัดเจนดังเช่นมาตรา 269 ยิ่งกว่านั้นการห้ามนายกฯและรมต.ไม่ถือหุ้นและไม่คงไว้ซึ่งผู้ถือหุ้นดัง กล่าวก้ไม่ห้ามเด็ดขาด หากนายกฯและรมต.ประสงค์จะถือหุ้นต่อไปกฎหมายยังให้โอกาสแจ้งประสงค์แจ้งต่อ ประธานป.ป.ช.ภายใน 30 วันนับจากวันทีรับแต่งตั้งทั้งที่นายกฯและรมต.ใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่มีอำนาจ แสวงหาประโยชน์ได้มากกว่าส.ส.และส.ว. จึงเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ


ฉะนั้น มาตรการการห้ามถือหุ้นของส.ส.และส.ว.จึงน่าจะเบากว่าและผ่อนคลายกว่ามาตรการ การห้ามถือหุ้นของนายกฯ และรมต.นอกจากนี้ผลการกระทำต้องห้ามมาตรา 265 และ48 ที่ทำให้ส.ส.และส.ว.สิ้นสมาชิกภาพนั้นบัญญัติให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อ กระทำการต้องห้ามแล้วย่อมมีความหมายว่าส.ส.และส.ว.จะต้องมีสมาชิกภาพก่อนจึง จะสิ้นสภาพได้ การกระทำต้องห้ามให้มีผลให้สิ้นสภาพจึงต้องทำภายหลังจากมีสถานะส.ส.และส .ว.แล้ว เว้นแต่กรณีกฎหมายประสงค์จะห้ามรวมถึงการกระทำก่อนกฎหมายจะบัญญัติชัดเจนตาม มาตาา269เป็นต้น ยิ่งเมื่อประกอบคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครส.ส.และส.ว. ตามมาตรา101 และ 115 ก็มิได้บัญญัติห้ามถือหุ้นในบริษัทที่กำหนดในมาตรา 265 และ 48แต่อย่างใด การถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงไม่เป็นการต้องห้ามการรับสมัครส.ส.และส.ว.หากตี ความว่าการถือหุ้นให้รวมถึงการคงไว้ซึ่งการถือหุ้นด้วยย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.และส.ว.เนื่องจากสมาชิกภาพส.ส.และส.ว.เริ่มวัน เลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลการสรรหา


หาก ตีความถือหุ้นให้รวมคงไว้ซึ่งการถือหุ้นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.และส.ว. หรือผู้สมัครสรรหาส.ว.ย่อมต้องขายหุ้นก่อนวันเลือกตั้งก่อนกกต.ประกาศผลมิ ฉะนั้นผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้เป็นส.ว.แต่มิได้ขาย หุ้นก่อนวันเลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลผู้ได้รับการเลือกตั้งหรือสรรหา จะสิ้นสมาชิกภาพโดยทันทีในวันเลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลนั่นจะเป็นการ ตีความโดยเคร่งครัดจนทำให้เกิดผลประหลาดเกินเลยจนได้สัดได้ส่วนแก่กรณี อนึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง(2)แล้วปรากฎชัดว่าเป็นบทบัญญัติมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ บางฉบับได้ห้ามการถือหุ้นก่อนดำรงตำแหน่งบางฉบับมิได้ห้ามการถือหุ้นมาก่อน ดังตัวอย่างรัฐธรรมนูญ 2534 ซึ่งมิได้ข้อความห้ามคงไว้การห้ามการคงไว้รับสัมปทานอันมีลักษณะต้องห้ามไว้ ต่อมาภายหลังเมื่อจะขยายข้อห้ามคงไว้รับสัมปทานจะกระทำโดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมูญให้คงไว้ซึ่งสัมปทานและคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนด้วยตาม รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ.2538 มาตรา 114 หรือกรณีรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 110 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งมิได้ห้ามการคงไว้การถือหุ้นต้องห้ามนั้น

ใน ชั้นยกร่างของกรรมาธการยกรัฐธรรมนูญได้มีข้อเสนอเบื้องต้นให้บัญญัติการคง ไว้ซึ่งการถือหุ้นของบริษัทต้องห้ามด้วย หากประสงค์คงไว้ถือหุ้นดังกล่าวต้องแจ้งให้ ป.ป.ช.ทราบและโอนหุ้นให้นิติบุคคลอื่นถือแทน แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไม่เห็นด้วยและมีมติให้ตัดร่างบทบัญญัติการถือหุ้นบริษัทต้องห้ามออกไปดัง ปรากฎรายงานการประชุมส.ส.ร.ครั้งที่19วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 เอกสารท้ายบันทึกความเห็นของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ดังนั้นรัฐธรรมนูญ 2540 จึงมิได้มีบทบัญญัติห้ามคงไว้ซึ่งการถือหุ้นในบริษัทต้องห้ามด้วย ซึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550 มิได้มีเจตนารมณ์เปลี่นแปลงข้อห้ามตามมาตรา 265 (2) (4)ให้ผิดจากรัฐธรรมนูญ 2540 แต่อย่างใดจึงมิได้บัญญัติการคงไว้ซึ่งการถือหุ้นเข้าไปด้วย ส่วนมาตรา 48 นั้นเมื่อใช้ข้อความเดียวกับมาตรา 265วรรคหนึ่ง(2) จึงต้องตีความให้มีความหมายที่สอดคล้องฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 ว่าการกระทำอันต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง(2)(4) มาตรา 48 ต้องเป็นการกระทำเมื่อหลังจากเป็นสมาชิกภาพส.ส.และส.ว.แล้วไม่รวมถึงการถือ หุ้นที่มีมาก่อนวันเลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลการสรรหา ส.ว.


ประเด็น ควรพิจารณาต่อไปบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา265 วรรคหนึ่ง(2) ประกอบมาตรา 48 มีลักษณะอย่างไร เห็นว่าบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2)และมาตรา 48 นั้นแบ่งออก2ประเภท 1.บริษัทประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์หรือโทรคมนาคม 2.บริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจบริษัทคู่สัญญาของรัฐหน่วยงานของรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนการ รับสัมปทานจากรัฐหมายถึงการที่รัฐให้สิทธิเอกชนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ของชาติหรือประโยชน์สาธารณะ สัมปทานจึงรวมถึงประทานบัตรด้วยไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิอันผูกขาดตัดตอนหรือ ไม่ก็ตาม


สำหรับประเด็นวินิจฉัยผู้ถูกร้อง 45 คนกระทำการต้องห้ามรัฐธรรมนูญโดยถือหุ้นลักษณะต้องห้ามหรือไม่โดยเห็นควร วินิจฉัยประเด็นสมาชิกภาพส.ส.และส.ว.ก่อน รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 105 ให้สมาชิกภาพ ส.ส.เริ่มแต่วันเลือกตั้งคือเลือกตั้งทั่วไป ได้แก่ 23 ธันวาคม 2550 และยังรวมวันเลือกตั้งใหม่ในคดีนี้คือวันที่ 20 มกราคม 2551 ส่วนสมาชิกภาพส.ว.มาตรา117 ให้เริ่มตั้งแต่วันที่มีเลือกตั้ง ส.ว.ได้แก่ วันที่2 มีนาคม 2551 สำหรับส.ว.สรรหาให้สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่กกต.เริ่มประกาศผลสรรหาได้แก่ วันที่19 กุมภาพันธ์2551 กรณีการถือหุ้นของนายกำธร พริ้งศุลกะ คู่สมรสของนางนิภา พริ้งศุลกะ ผู้ถูกร้องที่27 ที่คำร้องอ้างว่าถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)อันเป็นการต้องห้ามหรือไม่ ข้อเท็จจริงนี้ฟังได้ว่าคู่สมรสของผู้ถูกร้องที่27 มิได้ถือหุ้นในบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ตามที่กกต.วินิจฉัยมา แต่ถือหุ้นในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยคู่สมรสของผู้ถูกร้อง 27 ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวมาก่อนเป็นส.ส.แล้วจึงไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) และมาตรา 48 สำหรับผู้ถูกร้องที่ 1 - 16 ,18,20-29 ,31-32,34-39,41,43และ45 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นก่อนได้รับเลือกตั้งก่อนได้รับเลือกตั้ง เป็นส.ส.และส.ว.หรือก่อนได้รับการสรรหาเป็นส.ว. แม้จะยังคงถือหุ้นไว้หลังจากเป็นส.ส.และส.ว.ก็ตามไม่ต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญ265 และ 48

ส่วน นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 19 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ผู้ถูกร้องที่ 30 นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ผู้ถูกร้องที่33 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย ผู้ถูกร้องที่40 ว่าที่ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 42 และม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ผู้ถูกร้องที่ 44 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าได้มาซึ่งหุ้นในบริษัทที่ถูกกล่าวหาต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 265 และ มาตรา 48 แล้วแต่กรณีภายหลังเริ่มจากมีสมาชิกภาพส.ส.แล้ว


โดย นายสมเกียรติได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 จำนวน 2 หมื่นหุ้น วันที่ 23 มกราคม 2 หมื่นหุ้น และ 18 มกราคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้นตามรายการซื้อขายหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด(มหาชน) ที่ส่งให้ผู้ถูกร้องที่ 19


นายเกื้อกูล คู่สมรสคือนางนลินี ด่านชัยวิจิตรได้ซื้อหุ้นของบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 จำนวนน 1 พันหุ้นปรากฎตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง นางมลิวัลย์ได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 จำนวน 500 หุ้น วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น วันที่ 1 สิงหาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น และวันที่ 1 ธันวาคม 2551 จำนวน 1 พันหุ้น และยังซื้อหุ้น บริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 จำนวน 1พันหุ้น วันที่ 4 กันยายน 2551 จำนวน 500 หุ้น และวันที่ 6 มกราคม 2552 จำนวน 2 พันหุ้น ทั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ยังซื้อหุ้นในบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 หมื่นหุ้น


นายบุญจง คู่สมรสคือนางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที 9 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้น วันที่ 13พฤษภาคม 2551 จำนวน 2 หมื่นหุ้น วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้น วันที่10 มิถุนายน 2551 จำนวน1 หมื่นหุ้น ว่าที่ร.ท.ปรีชาพล ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในเดือนมิถุนายน 2551 จำนวน 3 หมื่นหุ้น และม.ร.ว.กิติวัฒนา ซื้อหุ้น บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ปัจจุบันคือบริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 จำนวน 5 หมื่นหุ้น ส่วนที่ม.ร.ว.กิติวัฒนาอ้างว่าเป็นหุ้นที่มีอยู่เดิมก่อนเป็นส.ส.นั้นกลับ ปรากฎจากบันทึกของถ้อยคำของม.ร.ว.กิติวัฒนาที่ให้การไว้ต่อกกต.ว่าได้เป็นส .ส.สัดส่วนตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนั้นฟังได้ว่าม.ร.ว.กิติวัฒนาได้หุ้นมาเริ่มตั้งแต่มีสถานะส.ส.แล้ว


ดัง นั้นผู้ถูกร้องที่ 19,33,42 และ44 และการถือครองหุ้นของคู่สมรสของผู้ถูกร้องที่ 30และ40เป็นการถือครองหุ้นที่ผู้ถูกร้องทั้ง6รายได้เป็นส.ส.แล้ว จึงมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าบริษัทที่ผู้ถูกร้องทั้ง6ถือครองหุ้นภายหลังเป็น ส.ส.แล้วเป็นบริษัทลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2)(4)และมาตรา 48หรือไม่ เห็นว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการค้าขายเชื้อเพลิงแม้ไม่ได้เป็นบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐหรือมี คู่สัญญาผูกขาดตัดตอนก็ตาม แต่บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)เป็นบริษัทลงทุนในบริษัทอื่น(โฮลดิ้งคอมปานี) เช่นถือหุ้นในบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทได้รับสัมปทานขุดเจาะพลังงานจากระทรวงพลังงานร้อยละ 65 หรือถือหุ้นในบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)ได้รับสัมปทานจำหน่ายน้ำประปา ไฟฟ้าจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร้อยละ 49 อันมากพอที่ครอบงำกิจการได้ เมื่อสองบริษัทดังกล่าวได้รับสัมปทานจากหน่วยงานรัฐจึงเป็นบริษัทต้องห้าม ตามมาตรา 265 การถือหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อม

สำหรับ บริษัท ปตท.สผ. ก็ลักษณะต้องห้ามมาตรา 265 ด้วยขณะที่บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมจึงต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (4)ประกอบมาตรา 48 ห้ามถือหุ้นต้องห้ามโดยมิได้ระบุว่าต้องถือหุ้นเท่าใดและไม่ได้ระบุว่าต้อง มีอำนาจครอบงำกิจการหรือไม่ฉะนั้นการถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ย่อมเป็นการถือ หุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้วแม้ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจครอบงำบริหารกิจการ ก็ตามก็เพื่อป้องกันมิให้ส.ส.และส.ว.มีช่องทางใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่ แสวงหาประโยชน์มิชอบ

ดัง นั้น ผู้ถูกร้องทั้ง 6 รายจะซื้อในตลาดหลักทรัพย์หรือเก็งกำไรก็ตามเป็นการต้องห้ามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) และมาตรา 48 แล้วแต่กรณี ด้วยเหตุผลข้างต้นศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยเสียงข้างมาก7ต่อ1 ว่าผู้ถูกร้องทั้ง 6รายกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของผู้ถูกร้อง ทั้ง 6 สิ้นสุดลงตามมาตรา 106 (6) นับแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

http://www.go6tv.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน