แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กรุงเทพถึงทางตัน

: กรุงเทพถึงทางตัน ?

ความล้มเหลวในการตอบรับข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน ชี้ให้ความเสื่อมศรัทธาที่ลงท้ายด้วยหายนะแห่งชีวิต

อัพเดท เย็นวันพุธที่ 19 พฤษภาคม

เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงเข้าเมืองเมื่อวันที่ 12 มีนาคม หลายคนเชื่อว่า การชุมนุมนั้นคงจบลงในเวลาไม่กี่วัน หรืออย่างมากคงสลายตัวลงในเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ ในการประท้วงครั้งนั้นมีมวลชนเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ของการชุมนุมที่ ชาวกรุงเทพฯเคยประจักษ์

อย่างไรก็ดีการชุมนุมนี้ไม่ได้สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นเท่าที่ควรเป็น ทั้งนี้เพราะความมั่นใจที่สูงเกินไปของแกนนำที่ทำนายว่าจะมีชาวต่างจังหวัด หลั่งไหลเข้ามาร่วมถึงหนึ่งล้านคน หลังความอัปยศเดือนเมษา 2552/2009 เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงบุกเข้าไปกลางงานประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ พัทยา ได้กลายเป็นการปะทะกันบนท้องถนนและการถอนตัวซมซานออกจากกรุงเทพฯ หลายคนคิดหรือหวังว่า กลุ่มเสื้อแดงจะพอใจกับการได้แสดงแสนยานุภาพในเวลาอันสั้นถึงจำนวนผู้สนับ สนุนของตน

การณ์กลับไม่เป็นดั่งที่คิด เมื่อผู้ประท้วงเสื้อแดงแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและ ความยืดหยุ่นอย่างสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ การประท้วงครั้งนี้ทำให้กรุงเทพฯเป็นอัมพาตมากว่าสองเดือน ราวปลายมีนาคม ผู้ประท้วงสามารถกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าสู่การเจรจา แต่การเจรจานี้เป็นอันต้องยุติไปเมื่อผู้ประท้วงมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม เมื่อเห็นว่านายกรัฐมนตรีเริ่มอ่อนข้อ

เป็นที่เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ประท้วงสามารถต้านทานการล้อมปราบในวันที่ 10 เมษายน ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ประท้วง 21 ราย โดยผู้เสียชีวิตเหล่านี้บางคนถูกยิงที่ศรีษะจนถึงแก่ความตายโดยพลซุ่มยิงที่ ไม่ใครเห็นตัว สำหรับฝ่ายกองทัพนั้น ทหารสี่คนเสียชีวิตจากระเบิดที่ดูเหมือนว่า เป้าหมายสำคัญของการทำร้ายก็คือ นายทหารอาวุโส ที่ได้ชื่อว่าเป็นทหารเสือพระราชินีของประเทศ วันรุ่งขึ้น ปรากฏภาพแปลกตาของผู้ประท้วงที่กำลังแยกชิ้นส่วนของรถหุ้มเกราะที่ถูกทิ้ง ไว้โดยกองทหารอ่อนประสบการณ์

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน กระตุ้นให้กลุ่มเสื้อแดงรวมตัวกันเหนียวแน่นยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้การรณรงค์ต่อต้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็นเรื่องส่วนตัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา พื้นที่ประท้วงหลักได้ถูกย้ายมายังใจกลางกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงมาปักหลักอยู่ท่ามกลางความตระการตาของศูนย์การค้าสมัยใหม่ อาคารสำนักงาน สถานทูต และโรงพยาบาล จำนวนมวลชนเริ่มมีมากล้นหลาม บรรยากาศที่ชุมนุมปกคลุมไปด้วยเสียงเพลง คำปราศรัยปลุกใจเน้นย้ำถึงจุดหมายสำคัญที่ผู้ประท้วงมีร่วมกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในวงล้อมของกำแพงยางรถยนต์ที่สอดด้วยไม้รวก ซึ่งผู้ประท้วงทำขึ้นมา และที่ขาดไม่ได้ตามแบบวิถีไทยก็คือ การมีร้านรวงรถเข็น ที่เข้ามาขายอาหาร ขายของที่ระลึกจากการชุมนุม ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดรอบๆ บริเวณ โดยไม่มีใครยี่หระกับคำเตือนของรัฐบาล

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสองเดือนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเสื้อแดงในการเคลื่อนมวลชนจากส่วนภูมิภาคมายัง เวทีการเมืองระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีกลุ่มเสื้อแดงนี้ ยังไม่สามารถปรับตัวเรื่องการถอนกำลังได้โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกรายล้อมด้วยกำลังทหาร จุดนี้ถือเป็นจุดบกพร่องที่ร้ายแรงถึงตาย

ในวันที่ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยื่นข้อเสนอสุดท้าย ได้แก่ แผนความปรองดองแห่งชาติ ประเด็นหลักของข้อเสนอนี้ คือการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553/2010 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการปกติถึงหนึ่งปี ดูเหมือนว่า เวลาสองสามวันในช่วงนั้นจะมีบรรยากาศของทางออกร่วมกันและสันติภาพ กลุ่มเสื้อแดงใช้เวลาเต็มที่ในการไตร่ตรองข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ความล่าช้าในการตัดสินใจและตอบข้อเสนอของกลุ่มเสื้อแดงนั้นไม่ได้มาจากความ ไม่ต้องการยอมแพ้ แต่เป็นผลมาจากความต้องการจะลงจากอำนาจของกลุ่มแกนนำเอง

แต่แล้วการเจรจาก็มาถึงทางตัน เมื่อกลุ่มเสื้อแดงเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ประเทศ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้รับผิดชอบกับการเสียชีวิตของผู้คนที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน โดยกลุ่มเสื้อแดงต้องการให้นายสุเทพเข้ามอบตัวกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ใช่กับกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของนายสุเทพเอง นอกจากนี้เหล่าแกนนำยังมีความกังวลว่า เรื่องข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้การก่อการร้ายจากทางรัฐบาล ข้อกล่าวหานี้ถือว่ามีความร้ายแรงมาก หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจะต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตเลยที เดียว

เมื่อกลุ่มเสื้อแดงปฎิเสธที่จะอ่อนข้อ และปราศัยเป็นนัยยะถึงความต้องการระดมมวลชนเพิ่มเติมจากต่างจังหวัด สถานการณ์ได้เริ่มถดถอยลงอย่างรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ถอนข้อเสนอเรื่องการจัดการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน และยื่นคำขาดให้กวาดล้างพื้นที่ชุมนุม โดยการส่งทหารเข้าไปในวันที่ 13 พฤษภาคม และซ้ำอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 19 พฤษภาคม

ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าการล้อมปราบของกองทหารจะทำให้แกนนำผู้ประท้วงยอมมอบตัว รายงานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือแจ้งว่า มีพลซุ่มยิงของทหารคอยลอบยิงผู้ประท้วง ผู้ประท้วงตอบโต้ด้วยประทัดยักษ์ ระเบิดเพลิงทำเอง และการเผายางรถยนต์อย่างต่อเนื่อง กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างทำหน้าที่เป็นหน่วยต่อสู้เคลื่อนที่ของเสื้อแดง ในช่วงหนึ่งสามารถจัดตั้งฐานที่มั่นใหม่ในการก่อเหตุโดยการสร้างแนวกั้นที่ ทำจากยางรถยนต์ที่กำลังลุกไหม้ เพื่อก่อกวนกลุ่มทหารในลักษณะสงครามจรยุทธ์กลางเมือง นับเป็นการต่อสู้ที่ไร้แนวรบอันชัดเจน ท่ามกลางผู้ประท้วงทั่วไป ปรากฏมีกลุ่มติดอาวุธลักษณะคล้ายทหารที่มีอาวุธประจำกายเป็นปืนสั้นและ เครื่องยิงระเบิดเอ็ม 79

ที่มาของกลุ่มติดอาวุธนี้ยังเป็นปริศนา แต่มีสมมุติฐานว่ากลุ่มนี้อาจเป็นทหารแตกแถวที่อยู่ในกองทัพ หรือกลุ่มนิยมเสื้อแดงที่เป็นส่วนหนึ่งกองกำลังจัดตั้งที่เคยถูกใช้เป็น เครื่องมือในการรักษาความสงบของประเทศมาก่อน

แม้กลุ่มเสื้อแดงจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต้านทานการใช้กำลังของ รัฐ แต่การต่อสู้นี้เป็นการต่อสู้ที่ไม่สมน้ำสมเนื้อ ณ ขณะนี้ ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดคือ ผู้ประท้วง ชาวบ้านที่ถูกลูกหลง และเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ยอดผู้เสียชีวิตมีที่ทีท่าว่าจะพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การต่อสู้ยังคงดำเนินอยู่ ส่วนอื่นๆ ของประเทศก็ตกอยู่ภายใต้วิกฤตสงครามระหว่างผู้ร่วมชาติเดียวกัน หลายคนเริ่มสงสัยว่า รายงานยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการนั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่

เพราะเหตุใดกลุ่มเสื้อแดงจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขเลือกตั้งวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553/2010 ที่นายอภิสิทธิ์เสนอในการเจรจา ในเมื่อสัญญานทุกอย่างบ่งชี้ไปถึงชัยชนะในที่จะได้รับจากการเลือกตั้งครั้ง ใหม่ของพรรคเพื่อไทยพันธมิตรสำคัญของกลุ่มเสื้อแดง

ด้วยเหตุอันใดที่ทำให้กลุ่มเสื้อแดงไม่สามารถอดทนรอไปอีกสองสามเดือน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตน เป็นการรอที่จะรักษาชีวิตไว้ได้อีกหลายชีวิต

ในเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้าจะเกิดข้อเขียนจำนวนมากที่ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มแกนนำผู้ประท้วงในช่วงระหว่าง อาทิตย์ต้นเดือนพฤษภาคม 2553/2010

มีสัญญาณที่ส่อให้เห็นเค้าความแตกแยกระหว่างกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มปกติ โดยรัฐบาลพยายามชี้ให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ในการมีส่วนล่มแผนเจรจา ผู้ประท้วงจำนวนไม่น้อยยังมีความจงรักภักดีต่อทักษิณอย่างไม่เสื่อมคลาย และไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่า ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินเพื่อใช้ในการระดมมวลชนจากส่วนภูมิภาคต่างๆ ของประเทศให้มาเข้าร่วมการชุมนุมอันยืดเยื้อ บ้างเชื่อว่า ทักษิณ ต้องการก่อให้เกิดความไม่สงบในประเทศ บ้างก็คิดว่า การที่พรรคเพื่อไทยได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหลังการเลือกตั้งใหม่ในเดือน พฤศจิกายนน่าจะเป็นประโยชน์กับในทางการเมืองกับทักษิณมากยิ่งกว่า แต่ที่แน่ๆ หลายเรื่องยังคงปริศนาต่อไป และการหาความกระจ่างในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงยกความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดให้กับนายอภิสิทธิ์ ก็คงจะต้องรอไปจนกว่าควันจากสงครามครั้งนี้จะจางลง

หากจะมีเหตุผลสำคัญใดที่สามารถอธิบายถึงการที่กลุ่มเสื้อแดงปฏิเสธที่จะ สลายการชุมนุมและสังเวยข้อโรดแม็ปเพื่อความปรองดองของนายอภิสิทธิ์ให้กับ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เหตุผลนั้นก็คือ การที่ชาวไทยสิ้นศรัทธากับกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนพฤศจิกายนของนายอภิสิทธิ์ ดูเหมือนจะเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผล หรือดูแทบจะเป็นความเอื้อเฟื้อในสายตาของบางคน ทว่าข้อเสนอนี้ก็แทบไม่มีความหมายในประเทศที่ความเคารพต่อการตัดสินใจตาม ระบอบประชาธิปไตยสามารถระเหิดระเหยไปในอากาศ กลุ่มเสื้อแดงไม่จำเป็นจะต้องมีความจำยาวมากจนไม่รู้ว่าข้อเสนอของนาย อภิสิทธิ์นั้นมีเปราะบางเพียงใด เพราะเมื่อสี่ปีที่เพิ่งผ่านมา ในเดือนมีนาคม 2549/2006 หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ประกาศให้มีการเลือกตั้งกระทันหัน หลังต้องเผชิญการประท้วงต่อต้าน พรรคประชาธิปัตย์ได้คว่ำบาตรไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้เพราะรู้ถึง ความปราชัยที่จะได้รับ สุดท้าย พรรคของนายทักษิณ ชนะด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 60 ของผู้มาเลือกตั้ง แต่แล้วผลการเลือกตั้งก็มีอันถูกประกาศให้เป็นโมฆะโดยศาล ด้วยเหตุผลทางเทคนิคอันน่าคลางแคลงใจ

ชัยชนะอีกครั้งของทักษิณ ชินวัตร คือการเลือกตั้งซ้ำที่จัดให้มีขึ้นในช่วงปลายปี 2549/2006 ที่เป็นเหตุให้เกิดรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549/2006 โดยมีเป้าประสงค์เพื่อผลักดันรัฐบาลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประวัติศาสตร์ ที่ชาวไทยเคยพบออกจากอำนาจในการบริหารประเทศ แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะกล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่พรรคการเมืองที่นายอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกอยู่นั้น ถือเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการโค่นอำนาจรัฐบาลทักษิณในครั้งนั้น แต่ถึงกระนั้นนายอภิสิทธิ์ก็ยังไม่สามารถหาหนทางชนะการเลือกตั้งได้ โดยหลังรัฐประหารได้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2550/2007 ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของนายทักษิณ ชนะการเลือกตั้ง แต่ขาดจำนวนเสียงอีกเพียงเล็กน้อยที่จะเป็นเสียงข้างมากในสภา

กลุ่มชนชั้นสูงจำนวนมากในกรุงเทพฯไม่สามารถทนยอมรับกับความเป็นจริงที่ เกิดขึ้นนี้ กลุ่มเสื้อเหลืองผู้ต่อต้านทักษิณได้เริ่มออกมาประท้วงรัฐบาลใหม่ที่มีอายุ ได้ไม่กี่เดือน กลุ่มผู้ประท้วงในครั้งนั้นได้บุกไปถึงรัฐสภา และลงเอยด้วยการเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิ การชุมนุมเพื่อโค่นล้มรัฐบาลในครั้งนั้นได้รับการหนุนหลังจากพรรคประชา ธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์นั่นเอง

ท้ายที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็สมปรารถนา เมื่อพรรครัฐบาลขณะนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินสั่งให้ต้องยุบพรรค และด้วยความช่วยเหลือจากอำนาจทางอ้อมของกองทัพ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะและพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้าง มากในสภา

เมื่อพิจารณาถึงที่มาในการขึ้นสู่อำนาจของนายอภิสิทธิ์แล้ว คงเป็นการยากที่จะให้ฝ่ายเสื้อแดงศรัทธากับข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งของนาย อภิสิทธิ์ บุคคลผู้มีอำนาจในรัฐบาลต่างไม่เต็มใจที่จะยอมรับการตัดสินใจที่เป็นผลมาจาก การเลือกตั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น คงเป็นการยากที่จะให้แกนนำสร้างความมั่นใจกับผู้ประท้วงเสื้อแดงว่า ข้อเสนอในโรดแม็พจะเป็นจริง กอรปกับการแสดงความเป็นปฏิปักษ์อย่างเปิดเผยของกลุ่มเสื้อเหลืองที่มีต่อข้อ เสนอ จะให้กลุ่มเสื้อแดงเชื่อได้อย่างไรว่ากลุ่มเสื้อเหลืองจะไม่หาหนทางเข้ามา แทรกแซง?

และถึงแม้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในที่สุด ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสดๆ ร้อนๆ ย้ำเตือนให้เห็นถึงการแทรกแซงในรูปแบบอื่นที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงบนท้องถนน หรือจากระบบตุลาการ เพื่อใช้ล้มกระดานการเลือกตั้ง แล้วจะให้กลุ่มเสื้อแดงที่ถูกตราหน้าว่า เป็นมวลชนรับจ้างวางใจได้อย่างไรว่า จะไม่มีผู้มากล่าวหาว่า คะแนนเสียงของพวกเขาไม่ได้ถูกซื้อด้วยเงินหรือการเมือง จะให้หวังพึ่งราชสำนักมาเป็นผู้รักษาคุณธรรมปกปักษ์กระบวนการเลือกตั้งได้ ไหม? แน่ละว่าคงไม่ได้

กลุ่มเสื้อแดงอาจก้าวพลาดอย่างร้ายแรงที่ไม่ยอมรับข้อเสนอเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน แต่การตัดสินใจพลาดของกลุ่มเสื้อแดง เป็นเพียงมิติหนึ่งของปัญหาใหญ่ที่ใหญ่กว่า นั่นคือปัญหาร้ายของแรงของความเสื่อมศรัทธาที่ประเทศไทยมีต่อกระบวนการเลือก ตั้ง จึงเป็นช่องให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรงหยิบยื่นทางเลือกในการแก้ปัญหา ด้วยกำลัง

ยังมีแนวโน้มว่า ความขัดแย้งและการนองเลือดจะดำเนินต่อไป แม้กระทั่งหลังจากการมอบตัวของแกนนำผู้ประท้วงในวันที่ 19 พฤษภาคม การก่อวินาศกรรม การโต้ตอบแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน และประท้วงรายย่อยผุดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของประเทศ ความรุนแรงไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดนั้นควรได้รับการประณาม แต่อย่าลืมว่าใครก็ตามที่ดูถูกดูแคลนกลุ่มเสื้อแดงว่าเป็นผู้ยั่วยุให้เกิด ความรุนแรง ผู้นั้นก็คือผู้ที่ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับการแสดงออกอย่างสันติของกลุ่มเสื้อ แดงในวันเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า

…………………………..
*แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ และนิโคลัส ฟาเรลลี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำอยู่ที่ College of Asia and the Pacific ณ Australian National University ในปี 2549/2006 ทั้งสองร่วมก่อทำตั้งเว็บไซท์ News Mandala ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน