แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องเล่าจาก “ไชยันต์ รัชชกูล” และของฝากอำมาตย์



ไชยันต์ รัชชกูล, สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

Fri, 2011-09-02 23:45

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ เวทีประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่โดยมีการนำเสนอบทความจากงานวิจัยพัฒนาการจิตสำนึกและขบวนการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่โดยคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย วิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ดร.อรัญญา ศิริผล, นพพล อาชามาส และสืบสกุล กิจนุกร

และผู้วิจารณ์ ประกอบด้วย ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

โดยในตอนหนึ่งของการวิจารณ์ อาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล ได้เสนอว่าการศึกษาทางสังคมศาสตร์ต้องศึกษาในระดับ “Bedrock” หรือ ข้อเท็จจริง นอกจากนี้ไชยันต์ยังมี เรื่องเล่าจากร้านอาหารที่เจ้าของเป็น แม่ค้าเสื้อแดงระหว่างเส้นทางเชียงใหม่ เชียงราย และเรื่องที่นักศึกษาเข้าไปกินอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่ง และสนทนากันเรื่องประเภท “Defined ไม่ได้จนแม่ค้าต้องแถมข้าว

ในตอนท้ายไชยันต์เสนอว่า สังคมไทยเปลี่ยนไปจริงๆคงไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และว่าในช่วงที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์

สำหรับรายละเอียด ในการอภิปรายของไชยันต์ ช่วงหนึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนเนื้อหาจากการประชุมทั้งหมด ประชาไทจะทยอยนำเสนอต่อไป

(หมายเหตุ: เฉพาะข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเพิ่มเติมโดยประชาไท)

000

2011.09.01 Chaiyan Ratchakul's talk at CMU

http://www.youtube.com/watch?v=wTPDoHyBE6s&feature=player_embedded

วิดีโอคลิป ไชยันต์ รัชชกูลอภิปรายที่ มช. เมื่อ 1 ก.ย. 54 ที่ผ่านมา เรื่องการศึกษาทางสังคมศาสตร์ระดับ “Bedrock” สังคมที่ความขัดแย้ง “Pervasive” (แพร่ขยายไปทั่ว) และของฝากถึงอำมาตย์

ไชยันต์ รัชชกูล

"เสื้อ แดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์"

000

เวลาเราศึกษาในทางสังคมศาสตร์ ถามว่าเราศึกษาอะไรในสังคมศาสตร์ จะต้องไปดูที่ Bedrock (ชั้น หินที่ถัดจากชั้นดิน - เป็นสำนวนหมายถึง ข้อเท็จจริง) ที่ใต้ที่สุดเลยของสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ศึกษา ความสัมพันธ์ทางสังคมคือ “Social Relation”

อันนี้อยู่บทที่ 1 เวลาอาจารย์อธิบายเรื่อง Social Relation ก็ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่รู้หมายความว่าไง ก็เป็นคำธรรมดาเหมือนเป็น Common Sense แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น มันมีทฤษฎีมากมายที่เอียงไปในทางนี้ เช่น ทั้ง Max Weber ที่เขาพูดบทสำคัญเลย เขียนไว้เป็นปึกเลย

Social Relation, Karl Marx ไม่ได้พูดตรงๆ เขาใช้คำว่า Class Relation หมายความว่าสิ่งที่เราเป็นมันอิงกับ Entity หนึ่งอยู่ตลอดเวลา คุณจะเป็นพ่อเฉยๆ ไม่ได้ถ้าไม่มีแม่ คุณจะเป็นพ่อไม่ได้ถ้าไม่มีลูก คุณจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าไม่มีอย่างนั้น จะเป็นอาจารย์ไม่ได้ถ้าไม่มีนักศึกษา

ในทำนองเดียวกัน ในการอธิบายว่าเสื้อแดงเป็นอย่างนี้อย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มี Entity หนึ่ง ครับ เหลือง สลิ่ม อะไรก็ว่าไป ต้องดูว่ามันเป็น Interaction กันแบบนี้ เป็น Process ของ Interaction งานวิจัยนี้ ก็หมายความว่าเสื้อแดงเป็นอย่างไร เสื้อแดงคิดอย่างนี้ๆ 1, 2, 3, 4, 5 ... อ้าว แล้วไอ้นี่หายไปไหนล่ะ Bedrock ของสังคมศาสตร์หายไปไหน เราพูดเหมือนกับว่า ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่า เราพูดถึงชนชั้นคนงาน อ้าว เมื่อพูดถึงชนชั้นคนงานแบบนี้ แล้วนายทุนว่าอย่างไรล่ะที่ทำให้ชนชั้นคนงานเป็นเช่นนั้น อันนี้ก็สำคัญมาก

แถมประเด็น มีสองตัวอย่างนะครับ ตัวอย่างหนึ่งคือ เหตุเกิดที่ทางไปเชียงราย เวลาไปเชียงราย คนที่เขาไปเชียงรายเขาจะแวะกิน เขาจะรู้ว่าร้านไหนเป็นเสื้อแดง ตลอดทางตั้งกะเชียงใหม่ถึงเชียงราย ร้านนี้ใช่ ร้านนี้ใช่ ร้านนี้ใช่ ก็ไปเรื่อย พอไปนั่งที่ร้านก็คุยกัน บางคนที่อยู่ในร้านก็ผัดก๋วยเตี๋ยวไปก็ใส่เสื้อแดง

แล้วเขาก็เล่าให้ฟัง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ที่ร้านนี้เขาเล่า เขาเปิดวิทยุเสื้อแดง บังเอิญเสื้อเหลืองเข้ามากิน เขามาจากกรุงเทพฯ กลุ่มใหญ่ เขาบอกว่าเปลี่ยนได้ไหมไอ้โทรทัศน์นี้เขาไมอยากดูฮะ รำคาญ ร้านเขาบอกก็เปิดไว้อยากดูก็ดู ไม่อยากดูก็ไปกินร้านอื่น ไอ้นี่ลุกไปกินร้านอื่น ทั้งกลุ่มเลยนะ ก็ไม่ได้รายได้ส่วนนี้ไป อันนี้กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง นี่เป็นระดับนักศึกษา ก็ไปกินที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ก็ไม่ได้รู้จักกับร้านอาหารแห่งนั้นหรอกครับ ก็คุยกันเอง ก็คุยกันก็มีคำผรุสวาทหลายคำ นะฮะ ถึงที่ชาวบ้านเขาบอกว่า Defined ไม่ได้ นะฮะ ยาวเลย ปรากฏว่าเวลาแม่ค้าเอาข้าวมาให้มันมากกว่าปกติเลย โอ เห็นด้วยมากที่พูด เลยแถมข้าว กับข้าวให้

ประเด็น 2 กรณีที่ผมยกขึ้นมา เพื่อจะบอกว่า เพื่อจะสนับสนุนประเด็นว่า ไอ้ความขัดแย้งนี้มัน Pervasive หมาย ความว่า มันเป็นอยู่ทั่วไป เราจะเจอที่ไหนๆ ก็ได้ คนกรุงเทพฯ มาเชียงราย เอ้า ไปเจออีกข้าง เอ้าไปกินข้าว อ้าว เจอข้างเดียวกัน คือมัน “Pervasive” คือมันแทรกไปทั่ว จนกระทั่งเราสามารถสรุปมาเป็นประเด็นทางวิชาการได้ว่าได้ ยังไม่มี Social Unit หน่วยทางสังคมหน่วยไหน ที่ไม่มีลักษณะของความขัดแย้งอยู่ในสังคมไทย ไม่ว่าจะระดับทั้งมหัพภาค ระดับจุลภาค ในโรงเรียน ในห้องขนาดเด็กๆ มัธยม ก็ยังมีคนละสี หนังสือพิมพ์ที่ว่าเป็นฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นอย่างที่เราทราบ ทีนี้ Every Social Unit มันแทรกซึมไปได้ในลักษณะนี้

ทีนี้ผมก็ประทับใจอาจารย์ทามาดะ (ทามาดะ โยชิฟูมิ) ที่อวยพรอวยชัยให้เสื้อแดงชนะ แต่ผมไม่รู้ว่า พออาจารย์ทามาดะอวยชัยแบบนั้นมันจะเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า แต่ขอให้ความปรารถนานี้เป็นจริง

สิ่งที่อยากจะเป็นประเด็นสรุปก็คือ นี่ผมยืมคำของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ผมเคารพ เอามาพูด ก็คือว่า เมื่อก่อนนี้ แต่ไหนแต่ไร บรรดานักวิชาการ นักอะไรต่อมิอะไร นักสื่อสาร นักอะไรทั้งหลายแหล่ บอกว่าชาวบ้านไม่เข้าใจ อย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อก่อนยังต้องพยายามอธิบายว่า "พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" แล้วก็บอกว่า จะตั้งพรรคการเมือง คนไม่เข้าใจระบบพรรคนะ มีอยู่สมัยหนึ่งพูดอย่างนั้น เดี๋ยวนี้จะมีใครกล้าพูดอย่างนี้บ้าง

แล้วก็เวลามีข้อมูล เสริมไปด้วยเรื่องประเด็นสื่อที่สำคัญมาก ที่ อ.อรัญญา (อรัญญา ศิริผล ผู้นำเสนอผลการวิจัย) ยกขึ้นมา เป็นสื่อแนวระนาบ คือทุกคนออกความเห็นได้ในที่สาธารณะ เช่น Comment ได้ในเว็บไซต์ และสามารถที่จะเอาซีดีมาอัด แล้วก็แลกกัน ทั้งแจกฟรี ทั้งขาย ทั้งใช้ ทั้งอะไรแบบนี้ มันเป็น Social Media เป็นทั้ง Device (อุปกรณ์) ที่จะ Mobilize (ขับเคลื่อน) คนเสื้อแดง ข้อมูลอะไรต่างๆ ก็รับกันเพิ่มขึ้นๆ

ประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากสรุปก็คือว่า สังคมไทยเปลี่ยนไปจริงๆ อย่างที่สืบสกุล (สืบสกุล กิจนุกร ผู้นำเสนอผลการวิจัย)ว่า คงไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และก็อยากจะฝากไปให้คนที่เหมือนกบที่อยู่ในน้ำร้อนมันร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัว อยากฝากว่า ในช่วงที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้

แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์ ขอบคุณครับ

http://www.prachatai3.info/journal/2011/09/36732








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน