แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

บรรยากาศ “วันสตรีสากลปีที่ 100” ที่เชียงใหม่ – ลำพูน

Wed, 2011-03-09 10:16

องค์กร สตรีที่เชียงใหม่ออกแถงการณ์เรียกร้องให้ผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้นำแท้จริง พร้อมสนับสนุนการต่อสู้ของสตรีในตะวันออกกลาง ด้านแรงงานลำพูนฉลองวันสตรีสากลด้วยการจัดเสวนาเรื่องรัฐสวัสดิการ



กิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากลปีที่ 100 เมื่อ 8 มีนาคม ที่ผ่านมาที่ ถ.ท่าแพ จ.เชียงใหม่

รณรงค์สตรีสากลที่เชียงใหม่ เรียกร้องถึงเวลาผู้หญิงเป็นผู้นำ

วานนี้ (8 มี.ค. 54) ผู้สื่อข่าวรายงานการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากลปีที่ 100 ในภาคเหนือ โดยที่ จ.เชียงใหม่ ช่วงเย็นเวลา 18.00 น. องค์กรสตรีทั้งไทยและต่างประเทศหลายกลุ่มใน จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมเดินรณรงค์จากเชิงสะพานนวรัฐ ถ.ท่าแพ มายังข่วงประตูท่าแพ เมื่อถึงข่วงประตูท่าแพ มีการจัดกิจกรรมภาควัฒนธรรม และมีการอ่านแถลงการณ์ถึงเวลาที่ผู้หญิงเป็นผู้นำสามภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ

ในแถลงการณ์มีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่จะให้ผู้หญิง มีบทบาทเป็นผู้นำอย่างแท้จริงทั้งในด้านการเมือง ขบวนการแรงงาน การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และขบวนการเพื่อสันติภาพโดยรายละเอียดมีดังนี้

ถึงเวลาที่ผู้หญิงเป็นผู้นำ
วันสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม 2554

ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีถือเป็นวันพิเศษของประชาคมโลก เป็นหนึ่งวันของปีที่เสียงของผู้หญิงจะได้รับการรับฟังอย่างแท้จริง รวมถึงการเฉลิมฉลองให้กับการปฏิบัติการต่างๆ ของผู้หญิง แต่หลังจากการครบรอบ 100 ปี วันสตรีสากล เราอยากบอกว่าการยอมรับฟังเสียงของผู้หญิงเพียงวันเดียวต่อปีนั้นไม่เพียงพอ เราอยากให้เสียงของพวกเราได้รับความสนใจและรับฟังทุกวัน เราอยากให้มีการเฉลิมฉลองให้แก่การปฏิบัติการของพวกเราทุกวัน และเราต้องการให้มีความเสมอภาคต่อผู้หญิงทุกคนในทุกวัน และทุกปี เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนี้บรรลุผล เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะให้ผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้นำอย่างแท้จริงทั้งใน ด้านการเมือง ขบวนการแรงงาน การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และขบวนการเพื่อสันติภาพ

มีเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวหลายเหตุการณ์ที่เป็นหัวใจ ของวันสตรีสากล โดยเริ่มต้นในวันที่แรงงานหญิงซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติได้ออกมาเดิน ขบวนรณรงค์ในกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียกร้องให้ลดชั่วโมงการทำงาน เพิ่มค่าจ้าง และสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในวันนั้นมีทั้งผู้หญิงและคนอื่นๆ นับล้านคนมาร่วมกันเดินเพื่อเรียกร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และเพื่อสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในการทำงาน การได้รับการฝึกอบรม การเป็นผู้นำองค์กรของรัฐ รวมทั้งเพื่อสิทธิในการลงคะแนนเสียงในยุโรป อีกทั้งเหตุการณ์ในวันที่เริ่มต้นด้วยการนัดหยุดงานของผู้หญิงชาวรัสเซีย หลายแสนคนเพื่อเรียกร้องอาหาร สันติภาพ และสิทธิในที่ดิน วันสตรีสากล ณ วันนี้ เรามาเพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้แก่ความเป็นผู้นำของผู้หญิงในเหตุการณ์ความ เคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อความยุติธรรมในสังคมในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา

ความเป็นผู้นำของผู้หญิงที่ผ่านมานั้นมักจะไม่ได้รับ ความสนใจและไม่ถูกบรรจุในหน้าหนังสือประวัติศาสตร์ เพียงแต่ได้รับการพูดถึงในแง่ของการเป็นผู้นำในประเด็นผู้หญิง หรือได้รับการบันทึกในด้านการทำงานเพื่อสิทธิสตรีเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงได้เป็นผู้นำในขบวนการความเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรง งาน เพื่อสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป เพื่อสันติภาพ และเพื่อประชาธิปไตย เราขอเรียกร้องให้ความเป็นผู้นำของผู้หญิงที่ผ่านมาได้รับการยอมรับอย่าง เห็นคุณค่า และเราขอเรียกร้องพื้นที่ในโลกปัจจุบันให้มีการผู้นำหญิงเพิ่มมากขึ้น

สองปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแรงงานหญิงจากโรงงานสิ่งทอในประเทศพม่า บังคลาเทศ กัมพูชา จีน และประเทศไทย เป็นผู้นำอย่างกล้าหาญในการต่อต้านระบอบเศรษฐกิจโลกที่ทำให้เกิดสภาพการทำ งานอันย่ำแย่และยากจะทานทน เราต้องการให้มีผู้นำในสหภาพแรงงานที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น เหมือนอย่างที่คุณชารอน เบอร์โรส์ ผู้หญิงชาวออสเตรเลียที่เป็นประธานสมาพันธ์แรงงานสากล เราต้องการให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ เป็นตัวแทนของเราเพิ่มมากขึ้น!! นาง ออง ซาน ซูจี เป็นหนึ่งในผู้นำเพื่อประชาธิปไตยในพม่า แต่เธอก็ไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาล เราต้องการให้มีการยอมรับต่อนางอองซานซูจี และผู้นำการเมืองหญิงทุกคนจากทั่วโลก

พี่น้องผู้หญิงของพวกเรากำลังเสี่ยงชีวิตเพื่อ อิสรภาพอยู่บนถนนสายต่างๆ ในประเทศลิเบีย บาห์เรน ตูนิเซีย โอมาน และประเทศอิหร่าน จงเดินตามวิถีแห่งพวกเธอ จงตามวิถีแห่งเรา โลกต้องการผู้นำที่เป็นผู้หญิง ถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงจะเป็นผู้นำ

000

แรงงานลำพูนเสวนาเรื่องรัฐสวัสดิการ-ออกแถลงการณ์วันสตรีสากล

ขณะที่ย่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อเวลา 18.00 น. วันเดียวกัน มีการจัดกิจกรรม "สืบทอดเจตนารมณ์วันสตรีสากล" จัดขึ้น ณ ที่ทำการสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ และที่ทำการสหภาพอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ โดยมีการจัดเสวนาหัวข้อ "จากประกันสังคม สู่รัฐสวัสดิการ ได้อย่างไร ?" โดย นายเจด็จ เชาน์วิไล มูลนิธิเพื่อนหญิง นางเสาวลักษณ์ ชายทวีป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายวรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน พรรคเพื่อไทย มีนายเจษฎา โชติกิจภิวาทย์ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการเป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ สหภาพอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ และกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ "คำประกาศสืบทอดเจตนารมณ์100 ปีวันสตรีสากล รวมพลังสามัคคี ต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อความเป็นธรรม เพื่อเสรีภาพ และเพื่อประชาธิปไตย" โดยมีรายละเอียดดังนี้

000

"คำประกาศสืบทอดเจตนารมณ์100 ปีวันสตรีสากล รวมพลังสามัคคี ต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อความเป็นธรรม เพื่อเสรีภาพ และเพื่อประชาธิปไตย"

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2400 กรรมกร หญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่

ในปี พ.ศ.2450 กรรมกร หญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา และมี "คลาร่า เซทคิน" ชาวเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว

บทบาทของ"คลาร่า เซทคิน" นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ

คลาร่า เซทคินมี บทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"

ในการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ได้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมา วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมง เป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

วันสตรีสากล จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของผู้หญิงและผู้ใช้แรงงานทั่วโลก

ในโอกาสนี้ เราในฐานะผู้ใช้แรงงาน ขอประกาศจะสืบทอดเจตนารมณ์ 100 ปีวันสตรีสากลว่า

เราจักรวมพลังสามัคคี ต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อความเป็นธรรม เพื่อเสรีภาพ และเพื่อประชาธิปไตยสืบต่อไป

สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์

สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์

กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ

http://www.prachatai.com/journal/2011/03/33445


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน