แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"อดัม คาเฮน"แนะตั้ง กก.แก้ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย ภาคส่วนต่างๆ รับลูกเอาด้วย


Porsche

อดัม คาเฮน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
เมื่อเวลา 9.30 น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการจัดเสวนาหัวข้อ
"การขับเคลื่อนการส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน กับอดัม คาเฮน"
โดยมีบุคคลสำคัญและองค์กร 9 องค์กรต่างๆ
เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เช่น

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมม,
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา,
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ
นายนิกร จํานง กรรมการที่ปรึกษาหัวหน้าพรรชาติไทยพัฒนา
และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม


นายอดัม ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการประสานงานเพื่อแก้ปัญหาสังคม
สมาชิกสถาบันเพื่อวิทยาศาสตร์นวัตกรรมและสังคม แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
กล่าวว่า
การเสวนาในครั้งนี้ ตนไม่ได้พยายามทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องของเมืองไทย
แต่จะมาพูดถึงกระบวนการแก้ปัญหาทางสังคมที่ตนเองถนัด ทั้งนี้
จากการเดินทางเยือนประเทศไทยในรอบนี้
ตนได้พบปะกับคนไทยจำนวนมากที่พูดถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
พบว่าท่านต่างๆ มีทรรศนะที่แตกต่างกันออกไปและมีการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน
ทั้งการแบ่งขั้วที่ใช้เหตุผลและการแบ่งขั้วด้วยอารมณ์ที่รุนแรง
แต่ในแง่ดีคือสังคมไทยยังมีความพยายามที่จะคุยกันเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะรัฐบาลที่ยอมรับว่ามีปัญหาและพยายามที่จะพูดคุย


นายอดัม กล่าวต่อว่า
ตนมีแนวทางเสริมที่อยากเสนอในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทย
ซึ่งเรียกกว่า "การสร้างสถานการณ์จำลองในอนาคต"
ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลมาแล้วในหลายประเทศและหลายความขัดแย้ง เช่น
ในประเทศแอฟริกาใต้ หรือประเทศอาร์เจนติน่า
การสร้างสถานการณ์จำลองในอนาคต
หรือ Scenarios สามารถคาดการณ์ผลลัพท์ได้ 5 ประการ คือ
1.การที่สามารถหาจุดเข้าใจร่วมกันได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย
2.ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม
3.การสร้างความเชื่อใจ ความชัดเจนและพันธะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
4.ผลในทางปฏิบัติในการสร้างสถานการณ์จำลองในอนาคต ที่ริเริ่มร่วมกันจากหลายภาคส่วน และ
5.ผลลัพธ์ในระยะยาว เป็นการเพิ่มความสามารถของสังคมไทยในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน



"ส่วนกระบวนการสร้างสถานการณ์จำลองในอนาคตนั้น มีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก คือ
1.การจัดการประชุม ซึ่งหมายถึงการสร้างพันธมิตรกับกลุ่มต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การสร้างทีมขับเคลื่อนกระบวนการนี้
โดยการสร้างพื้นที่ให้คนมาเจอกันและมาทำงานร่วมกัน

2.การร่วมสร้างสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อดูเป็นทางเลือกและความเป็นไปได้ว่า แนวทางไหนคือ
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมไทยในอนาคต
ควรเกิดจากการพูดคุยกับการอย่างเปิดอกและพูดถึงเรื่องที่เป็นความจริงต่อกัน และ

3.การนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างอนาคต
โดยการนำทางเลือกที่ดีที่สุดดังกล่าวมาเริ่มปฏิบัติจริง
โดยการมีส่วนร่วมจากกลุ่มต่างๆ และควรรับฟังข้อเสนอแนะที่หลากหลาย นอกจากนี้
จุดสำคัญในขั้นตอนที่ 3 คือ
การตั้งกองทุนริเริ่ม เพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง" นายอดัม กล่าวและว่า
กระบวนการทั้งหมดนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเวลา 18 เดือน
และเราควรเริ่มกระบวนการในทันที


หลังจากที่นายอดัมได้พูดถึงกระบวนการข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว
ก็มีการเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนที่มาร่วมฟังแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง
จนได้ข้อสรุปกันในวงเสวนาว่า
จะมีการเดินหน้าขับเคลื่อนกระบวนการนี้ให้เป็นจริงต่อไป จากนั้น
จึงได้มีการถามความสมัครใจในการร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อผลักดันกระบวนการนี้
ซึ่งปรากฎว่ามีหลายภาคส่วนร่วมเสนอตัวเป็นคณะกรรมการด้วย



ดร.สุมิท แช่มประสิทธิ์ เลขาธิการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
กล่าวภายหลังการเสวนาว่า
กระบวนการในวันนี้เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เราจัดมาหลายวันก่อนหน้านี้
โดยในช่วง 3 วันแรกเราได้พบปะกับบุคคลและกลุ่มต่างๆ ถึง 30 กลุ่ม
เมื่อวันก่อนก็มีการจัดสัมมนา
ซึ่งมีคนเข้าร่วมประมาณ 250 คน มีการเล่าเทคนิค ประสบการณ์ต่างๆ ของนายอดัม
วันนี้เลยนำมาสู่การสรุปเป็นโฟกัสกรุ๊ป
ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรและบุคคลที่ได้เจอมาจากหลายวันก่อนหน้านี้
เมื่อมีการถามทุกคนว่าจะมาร่วมด้วยช่วยกันไหม
ข้อสรุปที่ออกมาคือ
วิธีของนายอดัมถือเป็นหนึ่งในหลายวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุ
บัน


"วันนี้เราก็ได้ทีมขึ้นมาทีมหนึ่ง เป็นออแกนไนซ์ซิ่งทีม
ในการร่วมคิดร่วมทำ ต่อไปคงมีการหารือกันภายในทีมนี้
เพื่อกำหนดกระบวนการผลักดันการสร้างสถานการณ์จำลองในอนาตต่อไป
ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในการเสวนาครั้งนี้ เห็นควรว่าต้องผลักดันต่อไป" ดร.สุมิท กล่าว


http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...=01&catid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน