แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง โดย ธเนศวร์ เจริญเมือง

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
โดย ธเนศวร์ เจริญเมือง

เรื่องเด่นแห่งปีในล้านนา


ปี 2554 เพิ่งผ่านไปได้เพียง 3 เดือน ยังไม่อาจสรุปได้ว่าเรื่องราวหรือกิจกรรมใดที่มีความสำคัญ ในปีนี้สำหรับล้านนา แต่ข่าวการแถลงในวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2554 (ไทยรัฐออนไลน์ 24 มีนาคม 2554) ของ ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่จะให้งดการจัดงานรดน้ำดำหัวผู้ว่าฯ ต้องนับเป็นข่าวใหญ่ที่ทำให้นักข่าวและประชาชนจำนวนมากตกตะลึง เพราะนั่นหมายถึงงานประเพณีหนึ่งที่ปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องทุกปีราว 50 ปีจะหายไป



ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล แถลงว่าท่านมาทำงานในฐานะผู้ว่าฯเชียงใหม่ได้เกือบ 6 เดือนแล้ว เห็นว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลครอบครัว อยากให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวในเทศกาลสำคัญนี้ ไม่อยากให้ต้องเสียเวลาถูกเกณฑ์มารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในบ้านเมือง แต่ท่านก็จะไม่ไปไหน แต่หากมีใครอยากมารดน้ำก็สามารถทำได้ เพราะจะมีพระพุทธรูปตั้งอยู่ที่หน้าประตูจวนผู้ว่าฯ ประชาชนสามารถมารดน้ำได้ตามสะดวก


แปรความไม่รู้หรือไม่ใส่ใจไปสู่การเรียนรู้

ทุก วันนี้ เราอยู่ในสังคมแห่งการบริโภค มีทุกอย่างในบ้านและทุกๆอย่างในศูนย์การค้า ชีวิตเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย อยากได้สิ่งใด ก็ซื้อหามาได้ขอเพียงมีเงินหรือมีเครดิต การที่ผู้ว่าฯคนหนึ่งประกาศว่าจะไม่มีพิธีรดน้ำดำหัวอีก หลังจากที่ปฏิบัติต่อเนื่องมา 50 ปี คำถามก็คือเรารู้หรือไม่ว่าป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองก่อนหน้านั้นเป็นเช่นไร คนล้านนาทำอะไรกันในการรดน้ำดำหัวและในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง และเมื่อไม่มีการรดน้ำดำหัวผู้ว่าฯ คนเชียงใหม่ควรจะทำอะไร

รัฐบาลสยามส่งข้าหลวงเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรงเริ่มในปี พ.ศ. 2416 หรือ 138 ปีที่แล้ว หลังจากนั้น ก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งดังกล่าวเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตามพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปี พ.ศ. 2476 แต่ละจังหวัดในล้านนาและทั่วประเทศมีผู้ว่าฯที่มาจากการ แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยจนถึงบัดนี้ (พ.ศ. 2554) รวม 78 ปี รัฐบาลจะแต่งตั้งผู้ใดมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ไม่เคยสอบถามความคิดเห็นของประชาชน คำว่า “พ่อเมือง” ที่ใช้เรียกผู้ว่าฯ ต่างกรรมต่างวาระก็เป็นคำยกยอที่ปลัดจังหวัด และรองผู้ว่าฯ หรือสื่อมวลชนบางประเภทใช้ แต่ถ้าไปสอบถามคนทั่วไป ก็คงยากที่จะหาคนสนใจว่าคำว่า ผู้ว่าฯ หรือพ่อเมือง มีความต่างกันอย่างไร

สังคมล้านนาในอดีตถือว่าป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเป็นประเพณี ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการมาของศักราชใหม่ สิ่งดีๆควรจะเกิดขึ้นกับชีวิตในปีใหม่ ประกอบกับเป็นช่วงหน้าร้อน การเก็บเกี่ยวในท้องทุ่งสิ้นสุดลงแล้ว การจัดงานต้อนรับศักราชใหม่จึงมีความคึกคักเป็นพิเศษ

การนำเอาประเพณีของมอญและพม่ามาใช้ผสมผสานกับประเพณีในท้องถิ่น ทำให้ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของล้านนามีความคึกคักหลากหลาย สร้างความตกตะลึงให้แก่พี่น้องคนไทยจากภาคอื่นๆที่อยู่ใกล้เขมร เทศกาลสงกรานต์ในภาคอื่นๆมีกิจกรรมน้อยกว่า

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเริ่มต้นด้วยการไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด บ้านของผู้คนในล้านนาในอดีตไม่มีประเพณีมีพระพุทธรูปในบ้าน เพราะถือว่าบ้านเป็นที่ที่ฆราวาสกระทำหลายสิ่งที่พระพุทธ รูปและพระสงฆ์ไม่ควรได้ยินได้เห็น บนหิ้งพระของบ้านในล้านนามีเพียงดอกไม้ ธูปเทียน และปั๊บสา (ตัวอักษรล้านนาที่เขียนเกี่ยวกับพระศาสนา) รวมทั้งแก้วมณีมีค่าซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระพุทธวางไว้บนหิ้ง


ต่อเมื่อข้าราชการจากสยามเข้ามาประจำการแบบถาวรเป็นครั้ง แรกเริ่มในปี พ.ศ. 2416 มีการนำพระพุทธรูปมาไว้ในที่ทำงานและที่บ้านพัก (ควรบันทึกไว้ว่าชาวสยามมีห้องพระในบ้าน และให้ความเคารพนับถือห้องพระนั้นมาก ขณะที่คนล้านนามีหิ้งพระสูงติดหลังคาที่ไม่มีพระพุทธรูป แม้แต่องค์เดียว) นับแต่นั้น คนล้านนาซึ่งเริ่มตกอยู่ใต้อิทธิพลการปกครอง (และวัฒนธรรม) ของสยามมากขึ้นก็ทะยอยกันนำพระพุทธรูปเข้ามาไว้ในบ้าน หลายคนหันไปสร้างห้องพระในบ้านตามแบบชาวสยาม วัฒนธรรมเลียนแบบผู้ที่เหนือกว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วในสังคมมนุษย์ ยังไม่นับกิจกรรมอีกหลายอย่างที่ผู้มีอำนาจเหนือกว่าบังคับให้ผู้ด้อยกว่าทำตาม



ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของล้านนา


ป๋า เวณีปี๋ใหม่เมือง หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการในระดับประเทศว่า “ตรุษสงกรานต์” หรือ “เทศกาลปีใหม่ไทย” เป็นประเพณีสำคัญของคนไทยมาช้านาน จะเห็นได้ว่าแม้ศกใหม่และเทศกาลฉลองปีใหม่ของคนไทย-ลาว-เขมร-พม่า-มอญจะตรงกันคือกลางเดือนเมษายน แต่ก็ต่างกันในกิจกรรมของแต่ละท้องถิ่น



เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับมอญและพม่าในอดีต อิทธิพลด้านพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมจำนวนมากจากดินแดนทั้งสองแห่งจึงมีบทบาทชัดเจนในล้านนา เช่น วัดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมแทบทุกด้านในชีวิตของประชาชน และการเล่นสาดน้ำกันอย่างสุดเหวี่ยงโดยเฉพาะในหมู่หนุ่มสาว

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของล้านนาเริ่มต้นวันแรกคือ วันสังขานต์ล่อง (โดยทั่วไปตรงกับวันที่ 13 เมษา) ซึ่งไม่ใช่วันปีใหม่ เชื่อกันในอดีตว่าตั้งแต่เช้าวันนี้มีตัวสังขานต์ 2 ตัว (คือปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์) ทำหน้าที่นำเอาขยะและเสนียดจัญไรใส่กระบุงไปทิ้ง มีความหมายว่านำสิ่งเลวร้ายของปีเก่าไป จึงมีการยิงปืน จุดพลุหรือประทัดขับไล่ตัวสังขานต์ตั้งแต่เช้ามืด ดังนั้น วันนี้จึงมีการสรงน้ำพระ การทำความสะอาดวัด อาคารบ้านเรือน ตลอดจนเสื้อผ้าและเครื่องใช้ทุกอย่างในบ้าน หนึ่งในประเพณีของวันนี้คือ การ “ดำหัว” หรือสระผมให้แก่ตัวเองเพื่อเป็นสิริมงคล

ต่อมาคือวันเนา หรือวันเน่า หรือวันแต่งดา มีการหาซื้ออาหารและสิ่งของสำหรับนำไปวัดและการดำหัว สิ่งของเครื่องใช้สำหรับตนเองและครอบครัวในปีใหม่ การตระเตรียมอาหาร ในตอนบ่ายแกๆ คนหนุ่มสาวก็จะไปขนทรายเข้าวัด เพื่อถวายทรายให้วัด เนื่องจากตลอดปีที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนไม่สวมรองเท้าเข้าวัด จึงเดินออกจากวัดโดยมีทรายติดเท้าออกไป อันถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่นำเอาสิ่งของใดๆออกจากวัด นอกจากนั้น การไปขนทรายก็เปิดโอกาสให้คนหนุ่มสาวที่ไปขนทรายที่ท่าน้ำ และได้เล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ในตอนค่ำและเช้าวันรุ่งขึ้น มีการนำอาหารที่เตรียมเสร็จแล้ว ให้ลูกหลานนำไป “ตานขันเข้า” แก่ปู่ย่าตายาย พ่อแม่หรือผู้ที่เคารพนับถือ

โปรด สังเกตว่า ผู้คนในอดีตใช้แรงกายอย่างมากตลอด 2 วันนี้ โดยเฉพาะการสรงน้ำพระ การทำความสะอาดบ้านเรือน การเตรียมอาหาร การทำอาหารพิเศษ 4-5 อย่าง (เช่น แกงฮังเล แกงอ่อม ห่อนึ่ง จิ้นฮุ่ม) ในตอนบ่ายของวันเนาถือเป็นงานใหญ่โดยเฉพาะงานห่อขนมจ็อก (ขนมเทียน) ทั้งไส้เค็มและหวาน (บางบ้านทำข้ามต้มมัด) ที่ต้องระดมสมาชิกทั้งครอบครัวมาช่วยกัน ก่อนที่จะได้ไปขนทรายและเล่นสาดน้ำ สังคมล้านนาในอดีต แต่ละครอบครัวต้องทำเองทุกอย่าง ไม่อาจออกไปหาซื้อขนมใดๆมาบริโภคหรือนำไปวัด เงินมีบทบาทไม่มากนักในสังคมอดีต

วันพญาวัน คือวันที่ 15 เมษาเป็นวันขึ้นปีใหม่วันแรก ไม่มีตลาด ไม่มีร้านค้าใดๆเปิดบริการ ทุกคนไปวัด นำอาหารหวานคาวไปถวายพระ นำอาหารไปทำบุญอุทิศให้แก่ญาติที่จากไป ไปถวายทานทรายและตุง ต่อจากนั้น จึงเริ่มการรดน้ำดำหัว

พิธี รดน้ำดำหัวคือการไปดำหัว (สระผม) ผู้อื่น มีการนำเอาสิ่งของเครื่องสักการะ ได้แก่ หมากสุ่ม พลูสุ่ม หรือขนมหมาก ขนมพลู ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อย (ฝักส้มป่อยแห้งขนาดเท่ากับฝักมะขาม เผาไฟพอไหม้ หักเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ พร้อมกับดอกไม้แห้งหลากชนิด การเผาส้มป่อยเพื่อให้มีกลิ่นหอม น้ำส้มป่อยสีเหลืองอ่อนๆ ส้มป่อยเป็นของแก้เสนียดจัญไร และถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีรดน้ำดำหัว) เสื้อผ้า (เสื้อ กางเกง ผ้าซิ่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพาดบ่า ผ้าขาวม้า) อาหารแห้ง เช่น ปลาแห้ง หอมแดง กระเทียม ขนม เช่น ข้าวแตน ข้าวเกรียบ ผลไม้ ได้แก่ มะปราง มะม่วง มะพร้าว ส้มโอ ขนุน อ้อย ฯลฯ ทั้งหมดนี้มาจากแรงงานของตนเอง ยกเว้นผ้าที่ระยะหลังๆซื้อจากตลาด และถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการรดน้ำดำหัว

ก่อนที่จะมีการรดน้ำดำหัว ผู้น้อยก็จะนำขันดอกไม้ธูปเทียน พร้อมถาดหรือตะกร้าที่ใส่เครื่องไหว้ทั้งหมด ไปประเคนให้ผู้ใหญ่ พร้อมกับกล่าวขอสุมาอภัยหากมีสิ่งใดที่ได้ล่วงล้ำก้ำเกินในช่วงปีที่ผ่านไป และขอรับพรปีใหม่

การ ไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ คือ การไปขอขมา ไปแสดงกตเวทีตอบแทนบุญคุณผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ไปขออโหสิกรรม และไปขอพรจากท่าน และสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ผู้น้อยจะเทน้ำลงบนร่างกายของผู้ที่เราเคารพตั้งแต่ศีรษะ ลงไป นี่เองจึงเรียกว่าดำหัว หมายถึงการ“สระเกล้าดำหัว” หรือสระผม สำหรับผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพ การดำหัวก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม เช่น รดตั้งแต่บ่าลงไป และในปัจจุบัน ก็เหลือเพียงการใช้มือวักน้ำขมิ้นส้มป่อยลูบผม เป็นสัญลักษณ์ของการใช้น้ำรดลงบนศีรษะแล้ว

ผมยังจำ ได้ดีถึงช่วงปี พ.ศ. 2502-2506 ผมอายุ 8-12 ขวบ หลังวันพญาวัน มีลูกศิษย์ของพ่อกับแม่ 30-40 คนเรียกว่ามากันเต็มบ้าน เพื่อมารดน้ำดำหัวพ่อกับแม่ที่เป็นครู พวกเขาให้พ่อกับแม่นั่งที่ชานหน้าบ้าน (บ้านเป็นไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูง) กลางแดดในช่วงบ่าย จากนั้นก็จะทะยอยกันเข้ารดน้ำดำหัวเทน้ำลงไปตั้งแต่หัวจรด เท้าของท่านทั้งสอง ต่อจากนั้น ก็ให้ใส่เสื้อผ้าใหม่เป็นการต้อนรับปีใหม่ ผมยังจำได้ เสียงขอสุมาอภัยจากศิษย์ และคำให้พรจากครู ตามด้วยคำว่าสาธุ และการสนทนาหยอกเอินและกินขนมด้วยกัน ก่อนที่ศิษย์หนุ่มสาวจะลงไปเล่นสาดน้ำกันที่หน้าบ้านอย่างสนุกสนาน

การ รดน้ำดำหัวมักเริ่มต้นที่พระสงฆ์ หลังจากเสร็จสิ้นการทำบุญที่วัดในวันพญาวัน ต่อจากนั้นก็จะรดน้ำดำหัวพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตลอดจนการรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ที่จากไป เรียกว่า “ดำหัวกู่” (ที่เก็บอัฐิ) ซึ่งมักเป็นการชุมนุมของลูกหลานจากที่ต่างๆ หรืออีกอย่างหนึ่ง คือนำเสื้อผ้าเก่าและรูปถ่ายของผู้ที่จากไปมาทำพิธีรดน้ำ ดำหัว เนื่องจากต้องเดินทางไปหลายแห่งเพื่อรดน้ำดำหัว ทั้งต้องมีการนัดหมายให้ไปร่วมงานพร้อมเพรียงกัน พิธีนี้จึงใช้เวลาหลายวัน โดยทั่วไป มักสิ้นสุดภายในเดือนเมษายน

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ากิจกรรมในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองมี 2 ลักษณะ คือ งานของครอบครัวและงานของส่วนรวม การทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนเป็นการทำงานในหมู่สมาชิกครอบ ครัว การทำและทานอาหารร่วมกัน และพูดคุยกันหลังจากไม่ได้พบกันนาน ส่วนการรดน้ำดำหัวก็เช่นกัน ลูกหลานมานัดพบกันและรดน้ำดำหัวพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พี่ลุงป้าน้าอาว์ของตนเป็นกิจกรรมในแต่ละครอบครัว แต่การไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ระดับเจ้าอาวาส พระสงฆ์ เจ้าคณะตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. นายกเทศมนตรี นายอำเภอ ครูใหญ่ ฯลฯ โดยทั่วไป ประชาชนก็จะรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ด้านหนึ่งเพื่อมิให้เป็นการรบกวนเวลาของผู้ใหญ่ที่ต้องรับแขกหลายๆครั้ง อีกด้านหนึ่งก็เพื่อแสดงความสามัคคี ความเป็นหมู่คณะ เป็นการผนึกกำลังกันทำงานของส่วนรวม



ในอดีตชุมชนแต่ละแห่งมีความเข้มแข็งเนื่องจากทุกคนมีส่วนร่วมในการออกความเห็น และตัดสินใจการบริหารจัดการท้องถิ่นใน หลายๆเรื่อง การคัดสรรเจ้าอาวาสมาจากการปรึกษา หารือกันระหว่างพระสงฆ์และชาวบ้าน ชาวบ้านประชุมกันเพื่อเลือก “แก่เหมือง” และ “แก่ฝาย” เพื่อบริหารจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ครอบครัวมีการปรึกษาหารือกันเช่น ครอบครัวไหนมีลูกชายหลายคน คนไหนตั้งใจและจะเสียสละบวชเป็นพระสงฆ์ตลอดชีพ ฯลฯ

ดังนั้น การที่สมาชิกของชุมชนไปรวมตัวกันเพื่อรดน้ำดำหัวพระสงฆ์ ผู้อาวุโสและผู้ใหญ่ที่พวกเขาเคารพนับถือจึงเป็นกิจกรรม ที่ทุกคนสมัครใจ ไม่มีการบังคับหรือเกณฑ์กัน หรือรู้สึกจำเป็นต้องเข้าร่วม เช่นในระยะหลังๆที่สังคมยุคใหม่มีระบบราชการ การบังคับบัญชาในกรมกอง และกระทรวงต่างๆ (ยกเว้นในสถาบันอุดมศึกษา) และในบริษัทหรือองค์กรเอกชนทั้งหลาย สังคมสมัยใหม่นำเอาพิธีรดน้ำดำหัวในอดีตไปใช้ หลายแห่งมีการเกณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนไปร่วมงาน

ผู้ว่าฯ ปนัดดา พูดว่าไม่อยากให้ประชาชนและข้าราชการเสียเวลามารดน้ำดำ หัวผู้ว่าฯ อยากให้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เพราะตรุษสงกรานต์เป็นเทศกาลของครอบครัว นี่ก็พูดถูกครึ่งเดียว เพราะอีกครึ่งหนึ่งคือการไปรดน้ำดำหัวเป็นกลุ่มใหญ่ นั่นคืองานของชุมชน ท่านผู้ว่าฯ พูดอีกว่าไม่ต้องการให้ข้าราชการและประชาชนรู้สึกถูกบังคับ กระทั่งถูกกะเกณฑ์ให้มาร่วมงาน ต้องเดินทางไกลมาจากทุกอำเภอ ถูกต้องครับ ข้อนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และขอปรบมือให้ สิ้นสุดกันที การเกณฑ์ข้าราชการ ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าไปรดน้ำดำหัวผู้ว่าฯ


วัฒนธรรมเชิงพาณิชย์กับการกะเกณฑ์แรงงาน

ปลาย ทศวรรษที่ 2490 ต่อต้นทศวรรษที่ 2500 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสองด้าน ด้านหนึ่ง คนเมืองกลุ่มหนึ่งจัดงานขันโตกดินเน่อร์ เป็นการนำเอาอาหารคนเมือง ขันโตก และการแต่งกายชุดพื้นเมืองขึ้นสู่งานของชนชั้นสูงของจังหวัดเป็นครั้งแรก สร้างความประทับใจและทำให้ข้าราชการหลายคนเรียกร้องให้จัดงานดังกล่าวขึ้นอีก อีกด้านหนึ่ง ความตื่นเต้นของชนชั้นนำในภาคกลางที่ได้มาเห็นตรุษสงกรานต์ที่คึกคักในล้านนา จึงเกิดการเล่าขาน หนังสือพิมพ์พาดหัวใหญ่ว่าคนนับหมื่นเที่ยวสงกรานต์เชียงใหม่ ที่พักโรงแรมไม่พอ ต้องไปพักตามวัด

การโหมกระพือความยิ่งใหญ่ของสงกรานต์เชียงใหม่ ทำให้ภาคราชการคิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจ ด้วยการกำหนดให้นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นผู้นำขบวนสรงน้ำพระในตอนสายของวันสังขานต์ล่อง แทนที่จะพากันเดินไปวัดเพื่อสรงน้ำพระดังที่ทำกันในอดีต ก็นิมนต์พระพุทธรูปองค์สำคัญๆในเมืองเชียงใหม่ มาเข้าขบวนแห่เพื่อให้ประชาชนสองข้างทางไม่ต้องเดินไปวัด แต่ยืนดูขบวนแห่พร้อมกับสาดน้ำขึ้นไปเพื่อสรงน้ำพระที่เคลื่อนผ่านไป



วันเนา นักท่องเที่ยวก็จะไปชมและร่วมการขนทรายเข้าวัด ในอดีต มีท่าทรายมากมายริมสองฝั่งน้ำแม่ปิง พร้อมกับการเล่นสาดน้ำในแม่น้ำซึ่งตื้นเขินในหน้าร้อน มีประชาชนหลายหมื่นคนแออัดยัดเยียดกันบนสะพานนวรัฐและบริเวณหน้าพุทธสถาน และตลอดสายถนนท่าแพ

ถึง วันพญาวัน ราว พ.ศ. 2504-5 ปลัดจังหวัดก็ระดมนายอำเภอเกณฑ์ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนจากทุกอำเภอ มาตั้งขบวนแห่ที่สนามกีฬาร.ร. ยุพราชวิทยาลัยและเดินไปยังถนนท่าแพเพื่อไปรดน้ำดำหัวที่จวนผู้ว่าฯ การที่ผู้ว่าฯมาจากการแต่งตั้งและแทบไม่มีใครที่เป็นคน ท้องถิ่น แทนที่จะศึกษาประเพณีท้องถิ่น ปฏิบัติตาม “ฮีต” ของคนท้องถิ่น กลับถือตนเองเป็นใหญ่ บังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชานับหมื่นคนนำน้ำไปรดที่มือของ ผู้ใหญ่ตามประเพณีสงกรานต์ของคนภาคกลาง แน่นอน เครื่องไหว้ทั้งหมดในการรดน้ำดำหัว เช่น หอม กระเทียม มะพร้าว เสื้อผ้าและผลไม้จากทุกอำเภอ ก็คือการที่นายอำเภอสั่งให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนไปจัดหามา

ใน ทศวรรษ 2500 ถนนจากอำเภอต่างๆยังไม่ดีพอ ประชาชนจากอำเภอที่ห่างไกลตัวจังหวัดเช่น อมก๋อย ดอยเต่า แม่แจ่ม สะเมิง แม่อาย ฝาง เชียงดาว พร้าว ใช้เวลาเดินทางนานถึง 5-6 ชั่วโมง นั่นคือต้องออกเดินทางตี 5 หรือ 6 โมงเพื่อให้ทันขบวนแห่ซึ่งเริ่มเวลาบ่ายโมง กว่างานจะเสร็จสิ้นในตอนบ่าย 5 โมงเศษ ก็ถึงบ้านราวตี 1-2 ในคืนนั้น

นักท่องเที่ยวมา เที่ยวงานสงกรานต์เชียงใหม่ ใช้เวลากับขบวนแห่ในแต่ละวัน ที่เหลือก็คือนั่งรถออกไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น น้ำตกแม่สา ห้วยแก้ว ดอยสุเทพ น้ำตกแม่กลาง ดอยอินทนนท์ ออบหลวง หนองบัว บ่อสร้าง ฯลฯ

รถ ยนต์ที่วิ่งเข้ามามากมายเริ่มในทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา เป็นของแปลกปลอมในสังคมล้านนา เมื่อการเล่นสาดน้ำของเด็กๆและหนุ่มสาวเผชิญกับยวดยานที่วิ่งไปมา ความคิดบรรเจิดก็เกิดขึ้นนั่นคือการเล่นสาดน้ำระหว่างคน ริมถนนกับคนบนรถยนต์ ตอนนั้น รถมอเตอร์ไซค์ยังมาไม่ถึง รถยนต์มีกระจกด้านหน้าของคนขับ ผิดกับคนขี่มอเตอร์ไซค์ที่ถูกน้ำสาดเข้าหน้าเต็มที่ เกิดการประสานกันระหว่างน้ำสาดที่พุ่งเข้าใส่ใบหน้าที่พุ่งเข้าหา


บนความสนุกสนานที่ไม่เคยมีใครพบมาก่อน นั่นคือการสาดน้ำใส่ผู้คนบนยวดยานที่วิ่งไปมา การใส่ถังน้ำขนาดใหญ่บนรถวิ่ง ที่คนบนรถมีกระสุนพร้อมที่จะสู้กับคนริมถนนและคนบนรถที่วิ่งไปมา ยังไม่มีใครวิจัยจนถึงบัดนี้ว่าเหตุใดภาครัฐจึงปล่อยปละ ละเลยให้เกิดสงครามน้ำ ที่กลายเป็น “โรคร้ายจากเชียงใหม่” สร้างความสุขสันต์ให้แก่ทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้อง (ซึ่งคงจะเป็นสาเหตุหลักมิให้ภาครัฐคนใดกล้าสั่งให้รถหยุด หากคิดจะเล่นน้ำ และลงโทษคนเล่นสาดน้ำริมถนน) กลายเป็นโรคระบาดที่ลุกลามไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา และได้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทำลายชีวิตมากรายให้ต้องสูญเสียและบาดเจ็บทุกปี โดยที่สังคมยังไม่สนใจที่จะคิดแก้ไขปัญหานี้จริงจัง

สงกรานต์เชียงใหม่ กลายเป็นมนต์ขลังที่ดึงดูดคนทั้งประเทศให้มาร่วมเล่น เพลง “เสน่ห์เวียงพิงค์” “สาวเหนือก็มีหัวใจ” “สักขีแม่ปิง” ที่ออกวิทยุในช่วงนั้นกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของการส่ง เสริมการท่องเที่ยว สงกรานต์เชียงใหม่กลายเป็นสินค้าราคาดี เชียงใหม่ผงาดขึ้นเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง โรงแรมและธุรกิจสาขาต่างๆที่ต่อเนื่องก็เกิดขึ้นราวดอกเห็ด นี่คือโอกาสทองของการทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นการค้า

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของคนล้านนา

ทศวรรษที่ผ่านมา เชียงใหม่มิใช่เพียงเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของประเทศ หากระบบการรวมศูนย์อำนาจได้ทำให้เชียงใหม่กลายเป็นศูนย์ กลางความเจริญทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การค้าขาย การเงินการคลัง การศึกษา การศาสนา หน่วยราชการของภาค ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์การค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ฯลฯ

วันนี้ คนเชียงใหม่หลายคนยังงงงันเพราะพวกเขาเติบโตมากับขบวนแห่ ต่างๆบนถนนท่าแพเพื่อต้อนรับการท่องเที่ยว ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นป๋าเวณีเชิงพาณิชย์ ขบวนแห่เกิดขึ้นเพื่อนักท่องเที่ยวไปยืนชมสองข้างทางเป็นหลัก เป็นป๋าเวณีแบบราชการ ก็เพราะถูกกำหนดขึ้นโดย ข้าราชการที่มาจากการแต่งตั้งเพื่อรับใช้ภาคธุรกิจ ที่พวกเขางงงันก็เพราะ พวกเขาไม่เคยได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา พวกเขาไม่มีโอกาสเรียนรู้ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองก่อนปี พ.ศ. 2500

แน่ นอน โลกทุกวันนี้ก็มิใช่โลกในอดีต ประชาชนสามารถทำความสะอาดบ้าน วัด หรือหมู่บ้านได้ด้วยเครื่องมือทันสมัย และด้วยการจ้างแรงงานโดยอาศัยงบประมาณของหน่วยงานสมัยใหม่ การเซาะหาสินค้าจำนวนมากและการเตรียมอาหารในวันเนา ก็สามารถทำได้ง่ายมากด้วยการไปที่ศูนย์การค้า รวมทั้งไปหาซื้ออาหารทุกชนิดในตอนค่ำวันเนา หรือตอนเช้าวันพญาวันก็ยังได้ เศรษฐกิจทุนนิยมเปิดบริการโดยไม่มีวันหยุดเพื่อสนองความต้องการทุกอย่างของคนมีเงิน

ในแง่ดังกล่าว โอกาสของครอบครัวที่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน ก็คือการร่วมกันทำอาหารบางอย่าง การทานอาหารร่วมกันทั้งในหรือนอกบ้าน การไปเที่ยว ไปสรงน้ำพระที่วัด และไปรดน้ำดำหัวด้วยกัน ส่วนที่เหลือก็คือ การไปร่วมขบวนรดน้ำดำหัวของชุมชน

เนื่องจาก การจัดขบวนแห่ต่างๆในอดีตเป็นแบบราชการที่มีการกะเกณฑ์ และทำเพื่อให้นักท่องเที่ยวยืนชมสองข้างทาง มิใช่เกิดจากการจัดทำกิจกรรมโดยให้ประชาชนตัดสินใจ และประกอบกับจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ได้นำเอาวิธีการและกิจกรรมต่างๆในเทศกาลสงกรานต์ของเชียงใหม่ไปใช้หมดแล้ว ทำให้สงกรานต์ไม่มีจุดขายอีกต่อไป



ข้อเสนอที่หนึ่ง



ข้อเสนอที่สอง



ข้อเสนอที่สาม (แต่ที่ผ่านมาตลอด 50 ปี ข้าราชการและประชาชนถูกกำหนดให้เข้าขบวนแห่ เพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ว่าฯเท่านั้น) ดังนั้น นอกจากแต่ละชุมชนจะจัดขบวนรดน้ำดำหัวกันเอง หลายๆชุมชนทั่วทั้งจังหวัดหรือเฉพาะในเขตตัวเมืองและบริเวณรอบๆ อาจจัดขบวนรดน้ำดำหัวบุคคลที่สมาชิกของชุมชนเต็มใจไปรดน้ำดำหัว ไม่ถูกบังคับกะเกณฑ์

เนื่องจากดินแดนล้านนามีถึง 8 จังหวัดแต่ละเมืองและแต่ละจังหวัดมีบุคคลสำคัญที่ชาวเมืองชาวจังหวัดให้ความเคารพนับถือต่างกัน และคนรุ่นหลังๆไม่ทราบเนื่องจากไม่มีโอกาสได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้เขียนจึงขอเสนอบุคคลสำคัญของล้านนาเฉพาะที่มีบทบาทสำคัญต่อชาวเมืองเชียงใหม่ เพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับการปรึกษาหารือร่วมกัน ดังนี้

ครู บาศรีวิชัย (พ.ศ. 2421-2481) ตนบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวล้านนา ชีวิตและผลงานของท่านผู้นี้มีมากมาย ไม่จำเป็นต้องเสนอรายละเอียด ณ ที่นี้ จุดที่ไปรดน้ำดำหัวมีอย่างน้อย 2 จุดคือ ก. อนุสาวรีย์ที่ต้นทางขึ้นวัดดอยสุเทพ อันเป็นจุดที่ท่านวางจอบแรกเพื่อสร้างถนนขึ้นวัดดอยสุเทพ และกู่บรรจุอัฐิของท่านในวัดสวนดอก

พระ สิริมังคลาจารย์ (พ.ศ. 2020-2100) พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ที่เคยไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชอุปาธยายาจารย์ในสมัยพระญา แก้ว (พ.ศ. 2038-2068) แห่งราชวงศ์มังราย ท่านเป็นพระนักปราชญ์ ได้แต่งหนังสือพุทธศาสนาที่สำคัญมากมาย เช่น , จักรวาลทีปนี, มังคลัตทีปนีสังขยาปกาสกฎีกา38 อนุสาวรีย์ของท่านตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของพุทธสถาน ถนนท่าแพประการ มีผู้แปลเป็นภาษาไทยกลางและยังคงมีคนศึกษาถึงปัจจุบัน

พระญามังราย (พ.ศ. 1782-1860) ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ ได้รวบรวมอาณาจักรโยนกและหริภุญไชยเข้าเป็นอาณาจักรเดี ยวคือ ล้านนา เริ่มในปี พ.ศ. 1839จุดที่ควรไปรดน้ำดำหัวท่านดีที่สุดคือ ศาลพระญามังราย อันเป็นจุดที่ท่านถูกฟ้าผ่าเสียชีวิต ตั้งหลังร้านขายมอเตอร์ไซค์ บนถนนพระปกเกล้า ตรงข้ามร้านเจริญมอเตอร์ อยู่ระหว่างวัดดวงดีกับสี่แยกกลางเวียง

พระญาติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030) กษัตริย์นักรบและผู้ส่งเสริมพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยราชวงศ์มังราย ท่านผู้นี้นำทัพไปโจมตีและยึดครองพิษณุโลก – หัวเมืองเอกทิศเหนือของรัฐอยุธยาหลายครั้งจนกระทั่งกษัตริย์อยุธยาต้องย้ายเมืองหลวงจากอยุธยามาที่พิษณุโลก จุดที่ควรไปรดน้ำดำหัวคือ กู่ (ที่ฝังอัฐิ) ของท่าน เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ในวัดเจ็ดยอด

พระญาพรหมโวหาร (พ.ศ. 2345-2430) กวีเอกของล้านนา เหรือพระญาพรหมมินท์9 vชิ้น ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความลึกซึ้งในเชิงปรัชญาและการเปรียบเปรยที่ลึกซึ้งกินใจ หลายชิ้นมีความไพเราะยิ่งกว่างานของสุนทรภู่ด้วยซ้ำ


นี่คือตัวอย่างของบุคคลสำคัญที่ชาวเชียงใหม่ควรไปรดน้ำดำ หัว ยังมีบุคคลสำคัญท่านอื่นอีก แต่ในที่นี้จะขอยกเว้นไม่เสนอนาม (โดยเฉพาะผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่) เพราะต้องการรับฟังความเห็นจากหลายๆฝ่าย อีกประการหนึ่ง ความเห็นของประชาชนต่อบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่อาจแตกต่างกัน แน่นอน การไปรดน้ำดำหัวย่อมมีความหลากหลาย แต่ละขบวนย่อมมีจุดหมายที่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ในยามนี้ที่คนล้านนาจะก้าวสู่ยุคใหม่ เริ่มจากป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองปีนี้เป็นต้นไปที่คนล้านนาจะเป็นคนตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่มีการบังคับกะเกณฑ์หรือการกำหนดจากส่วนกลาง โดยขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน การจัดขบวนรดน้ำดำหัวจึงควรเริ่มต้นที่บุคคลที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง หลายคนไม่รู้จักชื่อเสียงและผลงานของบางท่านที่ได้เอ่ยนาม ข้างต้น (รวมทั้งบุคคลอื่นๆ) ก็ควรถือว่า นี่คือการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมกัน อันเป็นสิ่งที่คนท้องถิ่นไม่เคยมีโอกาสมาก่อน ดังนั้น เราจะต้องแปรจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งให้ได้

ได้เวลายุติการเล่นสาดน้ำที่ไม่ถูกต้องในดินแดนล้านนา ให้ยุติการเล่นสาดน้ำใส่ยวดยานที่สัญจรไปมา ยุติการเล่นสาดน้ำระหว่างยวดยานด้วยกัน หรือระหว่างผู้คนบนยวดยานกับคนริมถนน มีการออกคำสั่งอย่างชัดเจนและลงโทษอย่างเด็ดขาด ผู้ใดต้องการเล่นสาดน้ำก็จะต้องจอดยวดยานให้เรียบร้อย สุดท้าย

ล้านนาเป็นดินแดนแห่งเทศกาลปี๋ใหม่เมืองที่ผู้คนทั้งประเทศมาศึกษา “โรคร้าย” ในอดีตเกิดขึ้นบนดินแดนนี้ ความสนุกสนานคึกคะนอง และความไม่ใส่ใจของภาครัฐในอดีตได้สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนเป็นจำนวนมาก

คนในล้านนาเป็นผู้ก่อ ก็ต้องสรุปบทเรียนและลงมือแก้ไขโดยพลัน.



28 มีนาคม 2554.



เชิงอรรถท้ายบท

i มณี พยอมยงค์, วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2529 หน้า 47-49

ii เล่มเดียวกัน, หน้า 50-51

iii ธเนศวร์ เจริญเมือง, “ครูบาศรีวิชัย”, คนเมือง ประวัติศาสตร์ล้นนาสมัยใหม่ (พ.ศ. 2317-2553). ปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 2 เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่, มกราคม 2554 หน้า 89-100

iv มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. เล่ม 13 กรุงเทพฯ: บริษัทสยามเพรส แมเนจเม้นท์, 2542 หน้า 6919

v ธเนศวร์ เจริญเมือง, อ้างแล้ว หน้า 69-88, 207-218 และ 8 หน้า 4231-32

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน