รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
แดงเชียงใหม่
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม
เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน
"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
เกียรติประวัติของ ผู้นำเสื้อแดงคนหนึ่ง...ทักษิณ ชินวัตร !!!
เกียรติประวัติของ ผู้นำเสื้อแดงคนหนึ่ง !!!
ครูต้วย
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
• เพศ ชาย
• วันที่เกิด 26 กรกฎาคม 2492
• อายุ 62
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
• 1737 ข่าว
• ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
tags:
ทักษิณ ชินวัตร แม้ว
เลือก เวลาเปิดตัวหลังข่าวคราวเงียบหายไปได้ถูกเวลาเสมอ การโฟนอินกับกลุ่มเสื้อแดงในการชุมนุมที่ราชประสงค์วานนี้ กินได้หลายเด้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำให้บรรดากองเชียร์ที่แห่แหนกันมาจำนวนเยอะ กว่าหลายครั้งที่ผ่านมา หลังสิ้นศึกขอคืนพื้นที่ ได้ชุ่มชื่นหัวใจได้แล้ว เด้งที่ 2 ยังถือเป็นท้าทายฝ่ายตรงข้ามโดยตรงว่า ขึ้นชื่อว่ายี่ห้อทักษิณ แล้วไม่มีวันยอมสยบต่อใครง่าย ๆ และยืนยันเจตนารมย์ในการต่อสู้กับบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามต่อไปไม่ว่าจะนาน แสนนานแค่ไหน
เด้งที่ 3 การเปิดตัวในยามเกิดวิกฤต 7 คนไทยถูกเขมรจับกุมเช่นนี้ ย่อมแปลเจตนาอื่นใดไปได้ยาก ว่า เจ้าตัวจะไม่พยายามแสดงท่าทีอะไรสักอย่าง เพื่อชิงบทพระเอกในเรื่องนี้แน่นอน เพื่อเป็นการตอกย้ำความเพลี่ยงพล้ำในเรื่องที่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นกับหนุ่ม น้อยมาร์ค และจะเกิดอะไรขึ้น หากคนที่ครั้งหนึ่งได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ไล่ล่าทักษิณ อย่าง พนิช วิกิตเศรษฐ์ จะได้รับความช่วยเหลือโดยไม่เห็นแก่ความแค้นในอดีต เพื่อมุ่งไปสู่บทบาทการสร้างความปรองดอง โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เด้งที่ 4 กระแสการเคลื่อนตัวของ อดีตนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ อาจจะช่วยดึงความสนใจจากทุกฝ่ายไปจากความพยายามตีปี๊ปอัดฉีดโปรโมชั่นหา เสียงแบบลด แลก แจก แถม หาเสียงของรัฐบาลภายใต้แคมเปญประชาวิวัฒน์ ที่เตรียมจะเข้าครม. ในวันที่ 11 ม.ค. นี้ได้อีกด้วย และที่สำคัญอีกไปกว่านั้น คือ เป็นไปได้ว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อาจเป็นการตีความหมายว่าอาจใกล้ได้บทสรุปเรื่องหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ เพื่อเตรียมนำทัพอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในช่วงเปิดประชุมสภา ที่ใกล้มาถึงแล้วก็เป็นได้
ชื่อ-สกุล : พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นามแฝง/ฉายา : แม้ว
วันที่เกิด : 26 กรกฎาคม 2492
บิดา : นายเลิศ ชินวัตร (ถึงแก่กรรม 23 ต.ค.2540 ศาลา 7 วัดมกุฎกษัตริยาราม)
มารดา : นางยินดี ระมิงค์วงศ์ (ถึงแก่กรรม)
ถิ่นกำเนิด : จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติครอบครัว :
เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร (เสียชีวิตทั้งคู่)
ชื่อพี่น้อง
1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (เสียชีวิต) สมรสกับพ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ (หย่า)
- มีธิดา 2 คน ชื่อ 1. น.ส.ปณิตา คล่องคำนวณการ 2. น.ส.นัทชฤทัย คล่องคำนวณการ
2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมรสกับ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์
- (หย่า14 พ.ย.2551 ใช้นามสกุลเดิม ดามาพงศ์ 8 ธ.ค.2551)
- (บุตรของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์) มีบุตร-ธิดา 3 คน
- ชื่อบุตร-ธิดา
1. นายพานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
2. น.ส.พินทองทา ชินวัตร (เอม)
3. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (อิ้ง)
3. นางเยาวเรศ ชินวัตร สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า)
- มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน
1.น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน)
2.นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์(ซัน)
3.นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์(ซูน)
4. นางปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ
5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิต)
6. นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (แดง) สมรสกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน
-ชื่อ 1.นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน)2. น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์(เชียร์)3.น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่)
7. นายพายัพ ชินวัตร สมรสกับพอฤทัย มีบุตรชาย 4 คน
1.นายฤภพ ชินวัตร (ไนท์)
2.นายพิรุณ ชินวัตร (นิกกี้)
3.นายพอพงษ์ ชินวัตร(ต๋อง)
4. นายพีรพัฒน์ ชินวัตร
8. นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (แป๋ว) เดิมชื่อ เยาวมาลย์ สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล
- มีธิดา 2 คน
9.นายทัศนีย์ ชินวัตร (แป๋ม) เสียชีวิต
10.นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ปู) สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร (ป๊อป) ปี 2538
- มีบุตรชาย 1 คน ชื่อด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์) เกิดเมื่อปี 2545
การศึกษา และดูงาน :
- ปริญญาเอกสาขา CRIMINAL JUSTICE จาก SAM HOUSTON STATE UNIVERSITY สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโทสาขา CRIMINAL JUSTICE จาก EASTERN KENTUCKY UNIVERSITY สหรัฐอเมริกา เน้นหนักทางด้าน POLICE ADMINISTRATION ได้ GPA 4.0
2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน นครปฐม รุ่น 26 (สอบได้คะแนนที่ 1)
2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 10
2503 มัธยมศึกษา ที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ (รุ่น 08)
2498 ประถมที่โรงเรียนประชาบาลสันกำแพง
การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
ปี 2516 ประจำกองกำกับการ สนันสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน
ปี 2518 อาจารย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ปี 2519 รองสารวัตรป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
ปี 2522 หัวหน้าแผนก 6 (แผนกแผน) กองวิจัย และวางแผนกรมตำรวจ
- อาจารย์ โครงการอาชญาวิทยา คณะสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ปี 2523 รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ
ปี 2524 รองผู้กำกับการศูนย์ประมวลข่าวสาร
ปี 2529 อาจารย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
2 ตุลาคม 2530 รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ลาออกจากราชการเพื่อ
ประกอบธุรกิจส่วนตัว ปี 2530)
ทางด้านการเมือง :
25 ตุลาคม 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 32 (ลาออก 11 ก.พ.2538)
31 พฤษภาคม 2538 หัวหน้าพรรคพลังธรรม (ลาออก)
2 กรกฎาคม 2538 ส.ส. กทม. เขต 2 พรรคพลังธรรม (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
18 กรกฎาคม 2538 รองนายกรัฐมนตรี (ลาออก 24 พ.ค.2539)
28 พฤษภาคม 2539 รองนายกรัฐมนตรี (ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา 13 ส.ค.2539)
15 สิงหาคม 2540 รองนายกรัฐมนตรี (หัวหน้าทีมเศรษฐกิจทั้งหมด)
14 กรกฎาคม 2541 หัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ลาออก 3 ต.ค.2549)
6 มกราคม 2544 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย
9 กุมภาพันธ์ 2544 นายกรัฐมนตรี คนที่ 23
14 มิถุนายน 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (แทนนพ.เกษม วัฒนชัย) (ลาออก 9 ต.ค.2544)
6 กุมภาพันธ์ 2548 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย
9 มีนาคม 2548 นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 (ยุบสภา 24 ก.พ.2549) (เว้นวรรค 4 เม.ย.2549) (กลับมาทำงาน
ใหม่ 22 พ.ค.2549) (สิ้นสุดเนื่องจากรัฐบาลถูกยึดอำนาจจาก คปค. 19 ก.ย.2549)
2 เมษายน 2549 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย
ทางด้านอื่นๆ :
2530 ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
2538 กรรมการอำนวยการสถาบันเอเชียการศึกษา
23 ตุลาคม 2543 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ลาออก)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB
- กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ประธาน กปร.
19 พฤศจิกายน 2545 ประธานกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ประธานสโมรสร "เรือใบสีฟ้า"
- ประธานมูลนิธิไทยคม
2550 นายกสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย (ลาออก 9 พ.ย.2551 นายไชยยันต์ วิสุทธิธาดา
เป็นแทน)
รางวัลอื่นๆ :
- ผู้นำทางธุรกิจดีเด่นทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
2535 รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการศึกษา พ.ศ.2534 จากโรงเรียนเตรียมทหาร
2535 รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute ประเทศ
อินโดนีเซีย
2537 รางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อสังคมไทย ประจำปี 2536" จากสมาคม
โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
กันยายน 2537 ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับทุน "Lee Kuan Yew
Exchange Fellowship" จากประเทศสิงคโปร์
- ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจ
ผู้นำของเอเชีย
- ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน
Asian CEO of the Year ได้รับพระราชทานปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต-
กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10 กุมภาพันธ์ 2538 ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลที่สุดในโลก
27 มีนาคม 2538 ตำแหน่ง "เพื่อนลี กวน ยู" เป็นคนที่ 3 (คนแรก ดร.อิบราฮิมชาอัด รองมุขมนตรีรัฐปีนัง
คนที่สอง นายฟาเดล มูฮัมหมัด ผู้นำนักธุรกิจอินโดนีเซีย และเจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรค
กอลคาร์)
2538 ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์
อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานทูตฟิลิปปินส์
2539 นิตยสาร ฟอร์บส์ จัดอันดับเศรษฐีโลก
2539 รางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards" จาก Criminal Justice
Center, Sam Houston State University และรางวัล "Distinguished Alumni Award"
จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน (5 ต.ค.2539)
- ติดอันดับที่ 4 ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "10 อัครมหาเศรษฐี" เจ้าของค่ายชินวัตร
มีทรัพย์สิน รวมแล้ว 52,500 บาท
22 มิถุนายน 2544 ติดกลุ่มมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ โดยมีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ
54,708 ล้านบาท
- ครองอันดับมหาเศรษฐี อันดับที่ 421 ของโลก จัดโดย นิตยสารฟอร์บ ของสหรัฐอเมริกา
21 กรกฎาคม 2545 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ "อะห์หมัด อัล ฟาติห์" (Shaikh Hamad Fateh) สูงสุดเป็นลำดับที่ 2
ซึ่งได้รับพระราชทานจาก His Majesty Shaikh Hamad BinEssa Al-Khalifa สมเด็จ
พระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน ในโอกาสเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2545
24 ตุลาคม 2545 รางวัลด้านมนุษยธรรม "แซม ฮุสตัน ฮิวแมนนิทาเรียน อวอร์ด" จากมหาวิทยาลัยแซม ฮุสตัน
สเตต ยูนิเวอร์ซิตี้ มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
6 มิถุนายน 2546 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยี (บุคคลที่ 8 และเป็นคนไทยคนแรก)
27 สิงหาคม 2546 โล่ซินเซีย แอพพลิเคชั่น อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์ แอพพลิเคชั่น
23 กันยายน 2547 รางวัล International Forgiveness Award 2004 หรือ รางวัลแห่งการให้อภัย ประจำปี
ค.ศ.2004 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับที่มอบให้กับบุคคลที่มีความพยายามที่มุ่งไปสู่สันติภาพ
และสร้างความเป็นเอกภาพ ซึ่งมีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้มาแล้ว ได้แก่
1. พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2
2. พระคาดินัล Vinko Puljic
3. นาย Sergio Vieira De Mello ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
4. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
http://www.thairath.co.th/people/view/pol/5798
http://www.internetfreedom.us/thread-8787.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น