แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ บุตรชายคนกลางมหาอำมาตย์ ตาสว่างแล้ว หนทางชนะของแดงอยู่ร่ำไร


ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ บุตรชายคนกลางมหาอำมาตย์ ตาสว่างแล้ว หนทางชนะของแดงอยู่ร่ำไร

เพราะแอบดูทีวีเสื้อแดงทุกวัน ผลก็เลยตาสว่าง



ไปแสวงบุญที่อินเดีย เลยได้ดวงตาเห็นธรรม
http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/03/06/entry-2
ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย
ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ความขัดแย้งในประเทศไทย : สาเหตุ ผลกระทบ และ ทางแก้ (1)
ความขัดแย้งในสังคมไทยในอดีตมีมาเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ยุติลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตย ของประชาชน อันก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535
แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมือง ยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง “เสื้อเหลือง” กับ “เสื้อแดง” อยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน ดังนี้
1. ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชน ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง กับคนภาคใต้ ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว หากไม่สามารถระงับความรู้สึกแตกแยกรุนแรงนี้ ให้ยุติลงได้ในอนาคตอันใกล้ ก็ไม่แน่ว่าอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยหนึ่งเดียวจะสั่นคลอนเพียงใด
2. ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทมากที่สุด อย่างในเวลานี้ รัฐบาลพลังประชาชนประชาชนของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกคนเสื้อเหลืองประท้วงยืดเยื้อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ถูกคนเสื้อแดงประท้วงไม่เลิก รัฐสภาก็ถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ ศาลซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่าง
เปิดเผย สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเป้าการ
โจมตีของคนบางกลุ่ม! วิกฤติความเป็นธรรมนี้บั่นทอนความเชื่อมั่น (Trust)ในสถาบัน
ทั้งหลาย และอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประชาธิปไตยได้หากปล่อยให้ยืดเยื้อ
3. หลักนิติธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในบ้านเมืองถูกสั่นคลอนอย่าง รุนแรง
โดยรัฐเองและประชาชน การทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวมากมายในฝ่ายการเมืองและข้าราชการ
แสดงให้เห็นความไม่แยแสต่อกฎหมายของผู้มีอำนาจ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ และการที่ฝูงชนทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงสามารถกระทำการท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของ
กฎหมายได้โดยมิได้มีอะไร เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามกันว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว
(Failed State) ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศได้หรือไม่? ยิ่งถ้าดูเทียบกับดัชนีวัดหลักนิติธรรมของสถาบันธนาคารโลก (World Bank Institute) แล้ว ก็จะพบว่าในปี 2550 สถานะของหลักนิติธรรมในอาเซียนนั้น เราดีกว่าเพียงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์เท่านั้น
4. การลุกลามของความขัดแย้งในประเทศเป็นปัญหาระหว่างประเทศของไทยกับเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา ซึ่งถ้าไม่จัดการให้ดีก็จะกระทบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งอาจลุกลามไปสู่ภูมิภาคก็เป็นได้
5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีสถาบันใดทำตัวเลขให้เห็นชัดสำหรับความสูญ
เสียดังกล่าวของประเทศไทย แต่ถ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ที่ความรุนแรงของ
ความขัดแย้งของสังคมน้อยกว่า ไทยมาก ก็จะเห็นความน่ากลัว จากรายงาน
ของสถาบันพัฒนาเกาหลี (Korean Development Institute)
ในปี 2549 ซึ่งระบุว่ามีการเดินขบวน 11,036 ครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบทาง
เศรษฐกิจถึง 5.6 –9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยมีความรุนแรง
กว่ามาก แต่ยังไม่มีใครทำตัวเลขออกมาทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าดูผลที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในระยะต่อๆ ไปก็คือ ความเชื่อ
มั่นของสังคมโลกต่อประเทศไทย ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม คงถูกกระทบอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์.
http://www.thairath.co.th/content/pol/73086

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน