แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยาพิษประชาธิปไตยไทย : ใจ อึ๊งภากรณ์ กับลัทธิทร็อตสกี้

ยาพิษประชาธิปไตยไทย:ใจ อึ๊งภากรณ์ กับลัทธิทร็อตสกี้
ศิวะ รณยุทธ์


ในหลายเดือนมานี้ มีข้อเสนอและชุดความคิดใหม่ๆ ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในกลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยของปวงชนอย่างหลากหลาย ในจำนวนนั้น มีข้อเสนอหนึ่งถือเสมือนยาพิษ ในลักษณะ "เจตนาดี ประสงค์ร้าย" ซึ่งหากปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ ก็อาจจะส่งผลเสียให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ข้อเสนอดังกล่าว ได้รับฉันทานุมัติจากปวงชนอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ


คำวิจารณ์ของอย่างฉันมิตรในที่นี้ ต้องการชี้ให้เห็นพิษภัยของข้อเสนอล่าสุด โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ แห่ง”แดงสยาม”สองชิ้นล่าสุด ในงานเขียน "การสร้างกองกำลังติดอาวุธไม่ใช่ทางออกของคนเสื้อแดง"และ "ปัญหาของแนวทางสันติวิธี"ซึ่งมีสาระสำคัญคือ "2 ไม่"คือ ไม่เอาทั้งแนวทางสร้างกองกำลังติดอาวุธ และ แนวทางสันติวิธี โดยอ้างว่าขัดแย้งกับแนวทางปฏิวัติสังคมโดยมวลชน หรือ ปฏิวัติมวลชน โค่นอำมาตย์อย่างถอนรากถอนโคน

ท่าทีของใจ สะท้อนทัศนคติของลัทธิทร็อตสกี้ออกมาอย่างหมดเปลือก สอดคล้องกับที่เขาเคยกล่าวอ้างมาโดยตลอดในหลายปีที่ผ่านมา

ความจริงแล้ว ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมาร์กซิสท์กระแสหลัก และทร็อตสกี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และข้อกล่าวหาของพวกมาร์กซิสท์ทั้งหลายที่มีต่อลัทธิทร็อตสกี้จำนวนไม่น้อย ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องเสมอไปทั้งหมด ในขณะที่แนวคิดของทร็อตสกี้ก็ยังคงมีปัญญาชนในโลกบางส่วนยอมรับและทำการ ศึกษาหรือถ่ายทอดกันอยู่เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ประเด็นปัญหาของจุดแข็ง/จุดอ่อนของลัทธิทร็อตสกี้ จึงไม่ใช่ประเด็นหลักในที่นี้ หากไม่ใช่เพราะว่า ข้อเสนอของใจจะนำไปสู่การหลงทิศทางของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของปวง ชนที่แท้จริงที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้

ร้ายยิ่งกว่านั้น ข้อเสนอของใจ กำลังเข้าข่าย "พามวลชนไปสู่หายนะ" อันถือเป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดอย่าง หนึ่ง ถือเป็นแนวร่วมมุมกลับของอำนาจรัฐปฏิกิริยาอย่างแท้จริง

เพื่อให้เข้าใจชัดเจน ขอแยกหัวข้อในการวิจารณ์ออกดังต่อไปนี้

o ข้อเสนอของใจว่าด้วย ปฏิวัติสังคมโดยมวลชนในลักษณะ 2ไม่

o ปรัชญา ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของนักลัทธิทร็อตสกี้

o ชำแหละพิษภัยข้อเสนอของใจ และทางออกที่ควรเป็น



ข้อเสนอของ"ใจ"ว่าด้วย ปฏิวัติสังคมโดยมวลชนในลักษณะ 2 ไม่

"ใจ"แจกแจงข้อเสียของการตั้งกองกำลังติดอาวุธว่า แนวทางปฏิวัติที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้


ไม่ใช่การสร้างกองกำลังติดอาวุธ แต่ เป็นการเน้นการจัดตั้งมวลชนคนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนเป็นล้านๆ เพื่อการร่วมกันพัฒนาความคิดผ่านกลุ่มศึกษาทางการเมือง ร่วมกันสู้เพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้าม ผ่านการกระจายข่าว และความเห็น ร่วมกันประท้วงอำมาตย์ตามท้องถนน เมื่อโอกาสเหมาะ ร่วมกันตั้งหน่ออ่อนของรัฐ และโครงสร้างบริหารของฝ่ายเราในชุมชน และตั้งองค์กรสงเคราะห์ต่างๆ แข่งกับฝ่ายรัฐอำมาตย์

ไม่ร่วมมือกับอำมาตย์ นำทหารชั้นผู้น้อยและตำรวจมาเป็นพวก รวมถึงการเข้าไปในสหภาพแรงงาน และกลุ่มนักศึกษาทั่วประเทศ มันหมายความว่าเราต้องการโค่นระบบปัจจุบันแบบถอนรากถอนโคน และนำระบบใหม่มาใช้ มันหมายถึงการฝึกฝนการคัดค้านรถถังของฝ่ายทหาร วิธียึดรถถัง วิธีสร้างทางกั้นทหารตามถนน โดยให้มวลชนออกมาสกัดกั้นพร้อมๆ กับการคุยกับทหารธรรมดา จุดสุดยอดคือ การลุกฮือทั่วประเทศในอนาคตเมื่อเราพร้อม

"ใจ"แจกแจงข้อเสียของการตั้งกองกำลังอาวุธ 8 ข้อ

(โดยขมวดปมเอาไว้ว่า “อย่างที่เคยทำสมัยพรรคคอมมิวนิสต์” แต่ไม่ชี้ชัดว่าพรรคประเทศไหน ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึึงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)โดยตรง)มีดังนี้

1. ขบวนการคนเสื้อแดงมีมวลชนหลายล้านคน ซึ่งเป็นประชาชนธรรมดา เป็นลูกจ้าง เป็นนักศึกษา เป็นแม่บ้าน เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย เป็นเกษตรกร ฯลฯ มีความชอบธรรมเพราะเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม ขบวนการคนเสื้อแดงมีลักษณะเด่นตรงที่คนตั้งกลุ่มกันเอง นำกันเอง จากรากหญ้า มันคือขบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง ถ้าจัดกองกำลังติด อาวุธเมื่อไร ก็เท่ากับสร้างองค์กรลับของคนถืออาวุธไม่กี่คน (ไม่เกินห้าหมื่นคนอย่างมากที่สุด) เป็นการหันหลังให้มวลชนเป็นล้านๆ เพื่อยกภาระในการ “ปลดแอกเรา” ให้คนหยิบมือเดียว

2. การต้องกองกำลังติดอาวุธต้องปิดลับ การปิดลับแปลว่าไม่สามารถสร้างเวทีสมัชชาเปิดของคนเสื้อแดงเพื่อร่วมกันถก เถียงแนวทางการต่อสู้ แนวทางจะถูกกำหนดโดยแกนนำลับ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและไม่ถูกตรวจสอบโดยคนเสื้อแดง เป็นการสั่งจากบนลงล่าง มันเป็นเผด็จการของคนส่วนน้อย เผด็จการของคนส่วนน้อยสร้างประชาธิปไตยแท้ไม่ได้

3. บทเรียนจากประเทศจีนคือ เมื่อกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มล้อมเมืองต่างๆ จะไม่มีการปลุกระดมให้พลเมืองลุกขึ้นยึดเมือง แต่จะมีการสั่งให้ทุกคนสงบเงียบอยู่กับที่ และรอฟังคำสั่งจากกองทัพแดง เป็นแนวที่ตรงข้ามกับการปฏิวัติโดยมวลชนจำนวนมาก ที่เคยมีในรัสเซีย 1917, อิหร่าน 1979, โปแลนด์ 1980 และในเวเนซูเอล่า แต่การปฏิวัติโดยมวลชนย่อมก่อให้เกิด “สภาคนงาน” และ “สภาชุมชน” ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการนำของประชาชนเอง วิธีที่เน้นกองกำลังติดอาวุธเป็นวิธีทหารที่ไม่มีประชาธิปไตย หรือที่แค่ “เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมบ้าง” แต่พลังและความสร้างสรรค์ไม่ได้มาจากรากหญ้าเอง

4. คนที่เสนอการตั้งกองกำลังติดอาวุธอาจจริงใจ แต่บ่อยครั้งเป็นการพูดเอามันเพื่อดูกล้าหาญเด็ดขาด ในที่สุดมันเบี่ยงเบนประเด็นจากภาระอันยิ่งใหญ่ในการจัดตั้งมวลชนทางการ เมือง เพื่อปฏิวัติมวลชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายและจะต้องใช้เวลา


5. กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายเรา ไม่มีวันปะทะกับกองกำลังของอำมาตย์อย่างตรงไปตรงมาได้ เขามีอาวุธครบมือที่เหนือกว่าเราเสมอ อันนี้เป็นบทเรียนจาก ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ในกรณีเนปาล สิ่งที่ชี้ขาดในที่สุดคือการลุกฮือในเมือง และพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลไม่ต้องการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคนอีกด้วย เพราะต้องการเอาใจนายทุนใหญ่ ส่วนแนวทางปฏิวัติมวลชนต้องอาศัยพลัง และจำนวนของมวลชนเพื่อให้ทหารชั้นผู้น้อยเปลี่ยนข้าง

6. ถ้าใช้กองกำลังติดอาวุธ เราขยายความคิดทางการเมืองยากขึ้น เพราะเราต้องปิดลับ และ ที่สำคัญเมื่อเราเดินเข้าไปในชุมชนต่างๆ ชาวบ้านชาวเมืองจะกลัวเราพอๆ กับฝ่ายทหารอำมาตย์ เพราะทั้งสองฝ่ายถือปืน นี่คือบทเรียนจากพรรคคอมมิวนิสต์ไทย และการต่อสู้กับรัฐไทยในสามจังหวัดภาคใต้

7. ถ้าคนที่เสนอแนวทางติดอาวุธ ไม่อธิบายว่าเป้าหมายคืออะไรอย่างชัดเจน ไม่อธิบายว่าประชาธิปไตยแท้คืออะไร ถ้าเขาชนะ อาจเป็นแค่เปลี่ยนหัวชนชั้นปกครองโดยไม่มีการปฏิวัติก็ได้

8. ในประเทศที่เน้นการสร้างกองกำลังปลดแอก และกองกำลังนั้นชนะ เช่น จีน เวียดนาม ลาว เขมร ซิมบาบวี คิวบา ผลคือเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้

จากนั้น เขาก็ยังแจกแจงข้อเสียของการต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี ดังต่อไปนี้คือ

o แนวทางสันติวิธี ไม่ว่าจะเป็น มหาตมะ คานธี หรือ อองซาน ซูยี คือ คัดค้านการต่อสู้ของมวลชน การนัดหยุดงาน และการกบฏ เวลามีการต่อสู้จะเรียกร้องให้มวลชนสงบนิ่งเพื่อให้ผู้นำคนเดียวเป็น สัญลักษณ์ของ การต่อสู้ ดังนั้นจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดได้ ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการต่อสู้ และใช้รูปแบบเชิดชูสัญลักษณ์ของบุคคลคนหนึ่งโดยหันหลังกับ บทบาทมวลชนจำนวนมาก ซึ่งไม่แตกต่างจากพวกที่เน้นการสร้างกองกำลัง ติดอาวุธ


o การนิยามว่าอะไรเป็นการต่อสู้แบบ “สันติ” และ “รุนแรง”หามาตรฐานที่ชัดเจนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับอคติและจุดยืนของคนพูด บ่อยครั้งคนที่ อ้างตนเป็นนักสันติวิธีใช้สองมาตรฐาน และกระทั่งนักสันติวิธีที่ซื่อสัตย์และจริงใจก็มักจะมีเส้นแบ่งว่า จะใช้สันติวิธีในกรณีใด และพร้อมจะใช้ความรุนแรง ยิ่งกว่านั้น สื่อกระแสหลัก มักจะนิยามว่า คนที่เคลื่อนไหวในแนวที่ตรงข้ามกับชนชั้นปกครองเป็นพวก “หัวรุนแรง” ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้จับอาวุธหรือก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด

สำหรับ"ใจ"แล้ว แนวทางก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ และสันติวิธี ล้วนหันหลังให้มวลชนทั้งนั้น จึงไม่เหมาะสมกับแนวทางปฏิวัติสังคมโดยมวลชน อันเป็นทางออกที่เขาเสนอว่า เหมาะสมที่สุด

สาระสำคัญของข้อเสนอของใจก็คือ ให้จำกัดสมรภูมิการต่อสู้ลงไปเหลือเพียงแนวทางเดียว คือแนวทางที่ลอกต้นแบบจากลัทธิทร็อตสกี้เท่านั้น

ปรัชญา ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของนักลัทธิทร็อตสกี้

อะไรคือ ลัทธิทร็อตสกี้?

ลัทธิทร็อตสกี้ หมายถึง แนวคิดที่นำเสนอขึ้นมาโดยนักปฏิวัติรัสเซียเชื้อสายยิว ลีออน ทร็อตสกี้ แกนนำสำคัญที่มีส่วนในการปฏิวัติบอลเชวิค ก่อตั้งรัฐโซเวียตใน ค.ศ. 1917 โดยที่หลังการเสียชีวิตของเลนิน เขาได้ต่อสู้แย่งชิงอำนาจนำเหนือรัฐโซเวียตกับโจเซฟ สตาลิน แต่พ่ายแพ้ และหนีออกจากโซเวียตไปอยู่ในยุโรปและเม็กซิโก ก่อนถูกสังหารอย่างโหดเห้มโดยคนของสตาลิน

ก่อนเสียชีวิต ทร็อตสกี้ได้ร่วมก่อตั้ง องค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่ 4 (เรียกสั้นๆว่า สากลที่ 4) ซึ่งเอกสารสำคัญคือ The Death Agony of Capitalism and the Tasks of the Fourth International ตอกย้ำให้เห็นความแตกต่างจากลัทธิมาร์กซิสม์กระแสหลักอย่างชัดเจน ภายใต้หลักการสำคัญ 4 ข้อ ที่เรียกรวมๆกันว่า ลัทธิทร็อตสกี้ ได้แก่

o การปฏิวัติถาวร โดยดัดแปลง หรือ ยกระดับจากการปฏิวัติประชาชาติ หรือการปฏิวัติชนชั้นนายทุน ให้กลายเป็นการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการปฏิวัติสังคมนิยมในที่สุด นักปฏิวัติที่แท้จริงจะต้องไม่หลงระเริงกับความสำเร็จเฉพาะหน้า หากเป้าหมายระยะยาวยังไม่บรรลุ ถือเป็นการต่อสู้กับแนวทางปฏิวัติสังคมนิยมประเทศเดียว หรือ การปฏิวัติสองขั้นตอน ของสตาลิน


o การปฏิวัติทางการเมือง เพื่อก่อตั้งรัฐกรรมาชีพที่แท้จริงต้องมุ่งไปสู่การปลดปล่อยปวงชนจากระบบรัฐ รวมศูนย์แบบโซเวียต และไม่ตกอยู่ในกับดักของการปฏิวัติทางสังคมที่ระบอบรัฐทุนนิยมนำเสนอผ่านชน ชั้นนายทุน

o ความเรียกร้องต้องการในช่วงเปลี่ยนผ่านสังคม ให้กรรมาชีพตระหนักถึงการปิดช่องว่างของความต้องการต่อสู้ในชีวิตประจำวัน เข้ากับเป้าหมายการปฏิวัติสังคมนิยมที่ยังถ่างกว้างให้แคบลงโดยเร็วที่สุด ทำให้ความคาดหวังกลายเป็นความจริงให้ได้

o พรรคสากลของกรรมาชีพ ชนชั้นกรรมาชีพในภาคการผลิตต่างๆ ต้องร่วมสร้างพรรคการเมืองสากลข้ามพรมแดนเพื่อช่วยเหลือและชี้นำผลประโยชน์ ร่วมที่เกินเลยผลประโยชน์ระดับชาติ โดยผ่านกระบวนการสร้างเอกภาพผ่านแนวทางที่เลนินวางเอาไว้

หลักการของลัทธิทร็อตสกี้ทั้ง 4 ข้อนี้ ยังไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติในที่ใดในโลก เพราะกลุ่มนักปฏิวัติแนวทางนี้ ยังไม่เคยได้รับชัยชนะที่มั่นคงได้ในส่วนใดของโลกเลยตราบจนถึงปัจจุบัน

ในทางตรงกันข้าม ความพ่ายแพ้ของลัทธิทร็อตสกี้กลับกลายเป็นสำคัญ คือ ทำให้ปวงชนเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องมีองค์กรนำ หรือ vanguard party เพื่อชี้นำแนวทางในการต่อสู้เพื่อปฏิวัติ

หลักการ 4 ประการดังที่กล่าวมาแม้จะถูกวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับ สาระสำคัญทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้ที่ลัทธิทร็อตสกี้นำเสนอเพื่อ นำไปปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนมากที่สุด เพราะมักจบลงด้วยความพ่ายแพ้แบบ”พาคนไปตายหมู่”ให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย ทั่วโลก

กุญแจสำคัญในยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของลัทธิทร็อตสกี้ อยู่ที่ ยุทธศาสตร์การเข้ายึดอำนาจรัฐ โดยเน้นสูตรสำเร็จที่ถือว่า ชนชั้นกรรมกรหรือ กรรมาชีพเท่านั้นที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของสังคมในอนาคต ชนชั้นอื่นๆอย่างมากที่สุด เป็นได้แค่”แนวร่วมชั่วคราว”เท่านั้น เพราะชนชั้นอื่นล้วนมีธาตุแท้ปฏิกิริยาทั้งสิ้น

ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ข้อเสนอเรื่อง”แนวร่วม”ของทร็อตสกี้ จึงออกมาในรูปของการจัดตั้งมวลชนด้วยการให้การศึกษา จนกระทั่งถึงเวลาก็ลุกฮือขึ้นต่อสู้ โดยไม่ต้องวางแผนทั่วไปหรือโดยไม่ต้องมีการชี้นำจากองค์กรจัดตั้งที่เป็น พรรคนำแต่อย่างใด วิธีการลุกฮือของมวลชน ก็สามารถทำได้นับแต่การผละงาน การชุมนุมสำแดงกำลังอย่างกว้างขวาง โดยกระทำผ่านองค์กรแนวร่วมที่เป็นฉากหน้า หลังจากนั้นกรรมาชีพก็จะเคลื่อนตัวเข้าช่วงชิงการนำเพื่อเข้าควบคุมปัจจัย การผลิตทีละขั้นๆ เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐเก่า และสถาปนาอำนาจรัฐใหม่โดยกำลังมวลชนที่ตื่นตัว โดยไม่ต้องอาศัยกองกำลังเฉพาะ หรือกองกำลังจัดตั้งพิเศษใดๆทั้งสิ้น

กระบวนการลุกขึ้นสู้แบบนี้ ถูกเรียกว่า ลัทธิลูกขึ้นสู้แบบเป็นไปเอง หรือ ลัทธิชุมนุมสำแดงกำลังโดยไม่ต้องจัดตั้ง ซึ่งในโลกนี้ มีอยู่น้อยมากที่จะประสบความสำเร็จ หรือ หากสำเร็จ(แบบการลุกฮือของนักศึกษาไทย 14 ตุลาคม 2516 หรือ นักศึกษาปารีส ค.ศ.1968) ก็ถูกปล้นชิงไปได้อย่างง่ายดาย

วิธีการสร้างแนวร่วมตามแนวทางลัทธิทร็อตสกี้ ก็คือ การกระจายตัวกรรมาชีพที่ผ่านการอบรมให้การศึกษาแล้ว แฝงตัวเข้าไปในองค์กรปกครองรัฐแบบเปิดที่มีอยู่ในรัฐ เพื่อดำเนินการสร้างโครงข่ายแนวร่วมผ่านโครงการปกครองแบบมีส่วนร่วมที่เปิด ช่องให้ในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ หลังจากนั้นก็อาศัยความกระตือรือร้นขององค์กรแนวร่วมลุกขึ้นสู้เมื่อสบช่อง แล้วอาศัยความแม่นยำกว่าทางทฤษฎีไปช่วงชิงการนำ

โดยเข็มมุ่งเช่นนี้ เท่ากับนักลัทธิทร็อตสดกี้ ปฏิเสธการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์การต่อสู้ในความเป็นจริงของปวงชนใน พื้นที่จำเพาะ มองเห็นเฉพาะสูตรสำเร็จทางทฤษฎีในฐานะ”กุญแจไขอนาคต”ภายใต้ประโยคประดิษฐ์ อันสวยงาม และจินตนาการเห็นแต่ชัยชนะที่เกิดขึ้นภายใต้สังคมอุตสาหกรรมแบบยุโรปเป็น หลัก

หากถือตามหลักการลัทธิทร็อตสกี้อย่างเถรตรง การปฏิวัติในจีน คิวบา นิคารากัว เวียดนาม เนปาล และอีกหลายๆประเทศทั่วโลก ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่การปฏิวัติเลย

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของลัทธิทร็อตสกี้ดังกล่าวมาโดยย่นย่อ ทำให้ไม่เป็นที่แปลกใจว่า เหตุใดพวกเขาจึงปฏิเสธกองกำลังติดอาวุธ มองเห็นกองทัพปฏิวัติประชาชนเป็นแค่กองโจร เห็นชาวนาเป็นแค่แนวร่วมไม่ใช่ผู้มีบทบาทนำ ปฏิเสธการร่วมมือกับชนชั้นนายทุนและชนชั้นกลาง และปฏิเสธพวกเดินแนวทางสันติวิธี

ท่าทีต่อกรรมาชีพ และแนวร่วมต่างๆเช่นนี้ ทำให้ลัทธิทร็อตสกี้ประสบปัญหาล้มเหลวมาตลอดในการพยายามสร้างแนวร่วมประชา ชาติและแนวร่วมเพื่อการปฏิวัติ เพราะแยกไม่ออกระหว่างคำว่า แนวร่วม(united front) กับ แนวร่วมประชาชาติ(popular front) จนกระทั่งมีคนวิจารณ์อย่างเจ็บแสบว่า ลัทธิทร็อตสกี้ ก็คือ อภิปรัชญาที่มีความตั้งใจดีแบบไร้เดียงสาเป็นหลัก

มีตัวอย่างมากมายในประเทศละตินอเมริกาที่นำแนวคิดของลัทธิทร็อตสกี้ไปใช้ เช่น เปรู กัวเตมาลา โบลิเวีย และบราซิล ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950-60 ได้รับคำชี้แนะจากสากลที่สี่ ให้จัดตั้งผู้ปฏิบัติการปฏิวัติมวลชน ลงสู่เมืองใหญ่และเล็กต่างๆ เพื่อแทรกตัวเข้าไปในสภาประชาชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภูมิภาค สหพันธ์ชาวนาและกรรมกร เพื่อหวังจะสะสมกำลังสร้างแนวร่วมรอการลุกฮือครั้งใหญ่ในอนาคตโดยไม่ใส่ใจ กับคำถามที่สำคัญว่า การแทรกตัวที่ว่า จะป้องกันปัญหาการแทรกแซงของสายลับสองหน้า และคนของอำนาจรัฐที่แฝงตัวเข้ามาได้อย่างไร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก็คือ เมื่อประกาศตัวกลายเป็นเป้าเด่นเสียแล้ว โอกาสสำหรับการกระตุ้นให้ถูกทำลายจากหน่วยงานความมั่นคงของอำนาจรัฐที่ปราบ ปรามอย่างเบ็ดเสร็จจึงง่าย จนกระทั่งผู้ปฏิบัติงานและมวลชนล้มตายนับหมื่นๆราย สูญหาย และถูกคุมขังลืมอีกนับไม่ถ้วน

ความล้มเหลวของลัทธิทร็อตสกี้เช่นนี้ ยังเกิดขึ้นกับขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย เมื่อนักลัทธิทร็อตสกี้ปลุกปั่นให้ทหารเรือลุกฮือขึ้นทำการขบถที่ฐานทัพเรือ บอมเบย์ใน ค.ศ. 1946 ที่เรียกว่า Bombay Mutiny จนมีคนตายจำนวนหลายพันคน ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนักต่อสู้เพื่อเอกราชอินเดียทั่วไป รวมทั้งมหาตมะ คานธีด้วย

ลัทธิทร็อตสกี้ที่ถูกวิจารณ์ว่ามียุทธศาสตร์และยุทธวิธีอันคับแคบ มองไม่เห็นชนชั้นอื่นเหนือกว่ากรรมาชีพจัดตั้ง และมองไม่เห็นทางเลือกอื่นนอกจากลุกฮือต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างไร้จัดตั้งใน เขตเมือง ไม่เคยพยายามตอบคำถามที่ว่า หากมวลชนที่เข้าร่วมการลุกฮือถูกแทรกแซงแล้วปราบปรามโดยอำนาจรัฐที่โหดเห้ม แล้ว พวกเขาจะรับผิดชอบอะไรบ้าง?

การที่"ใจ"ไม่ยอมพูดถึงความล้มเหลวของลัทธิทร็อตสกี้ แต่กลับเอาตัวอย่างความสำเร็จของการลุกฮือของการต่อสู้ในบางประเทศเช่น รัสเซีย(1917) อิหร่าน โปแลนด์ เวนเนซูเอล่า ชิลี (1973) อาร์เจนติน่า(1999) และโบลิเวีย (2003) มาอวดอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับลัทธิทร็อตสดี้ จึงเป็นการตะแบงอย่างยัดเยียด แถมยังบิดเบือนข้อมูลประหนึ่งสุนัขหางด้วนอีกด้วย

"ใจ"บิดเบือนข้อมูลในเรื่องการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งทร็อตสกี้เป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญหัวแถว เพราะข้อเท็จจริงนั้น การปฏิวัติ 1917 เกิดขึ้น 2 ครั้งในปีเดียว คือ การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการโค่นล้มอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชของซาร์นิโคลาสที่ 2 ส่วนการปฏิวัติเดือนตุลาคม เป็นการปฏิวัติบอลเชวิค เพื่อสร้างรัฐโซเวียต

ปีนั้น รัสเซียกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งแรก กองทัพรัสเซียเสียหายอย่างหนัก ประชาชนอดอยาก ลุกขึ้นมาทวงขออาหารกันทั่วประเทศ มีการสั่งการให้ตำรวจและทหารปราบปรามมากเสียจนกระทั่งพวกชั้นผู้น้อยระอา แล้วหันไปเข้าพวกกับคนที่ถูกปราบ ท้ายสุด ก็เกิดเป็นแนวร่วมบีบบังคับให้พระเจ้าซาร์สละราชบัลลังค์

หลังพระเจ้าซาร์สละราชบัลลังค์ พวกโค่นล้มก็แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อนุรักษ์นิยม เมนเชวิค และบอลเชวิค โดยสองกลุ่มแรกรวมตัวตั้งรัฐบาลผสม ท่ามกลางหายนะของสงครามที่ไม่จบสิ้น เป็นเชื้อปฏิวัติต่อมาอย่างดี เลนินลอบกลับมาจากเยอมนี เตรียมการลุกฮือ แต่ถูกกวาดล้างเสียก่อน แล้วก็ทหารฝ่ายขวานำโดยคอร์นิลอฟก็ทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลผสมเคเรนสกี้ ทำให้รัฐบาลไม่มีที่พึ่ง ต้องเจรจากับพวกบอลเชวิค เพื่อแจกปืนให้กับ “องครักษ์พิทักษ์แดง”และปล่อยพลพรรคบอลเชวิกออกจากคุก ทำให้ทร็อตสกี้ซึ่งเป็นผู้นำกองกำลังยามนั้นฉวยโอกาสนำการลุกฮือยึดอำนาจ เดือนตุลาคมจนสำเร็จ

การปฏิวัติรัสเซีย 1917 จึงไม่เข้าสูตรลัทธิทร็อตสกี้แม้แต่น้อย ถึงทร็อตสกี้จะมีส่วนร่วมในการนำ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นด้วย ”มวลชนที่มือเปล่าที่ไร้จัดตั้ง”ตามที่"ใจ"อ้างเลย

กรณีการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ค.ศ. 1979 นั้นโดยข้อเท็จจริง ถือว่าเป็นการลุกขึ้นสู้แบบ popular front ที่ลัทธิทร็อตสกี้ไม่เห็นด้วย แถมยังไม่มีส่วนร่วมด้วยแม้แต่้น้อย เพราะโดยข้อเท็จจริง คนที่มีบทบาทสูงสุดในการต่อสู้คือ บรรดานักบวชชิอะห์ ที่นำการต่อสู้เพื่อนำกรอบรัฐธรรมนูญอิหร่านที่ถูกชาห์ยกเลิกกลับมาใช้่ใหม่ โดยมีแนวร่วมสำคัญคือ นักเรียน/นักศึกษา โดยมีพวกชนชั้นนายทุนน้่อยในเขตเมืองเป็นฐานสนับสนุนสำคัญเพราะปัญหาเงิน เฟ้อที่ทับถมรุนแรงหลังกรณีวิกฤตราคาน้ำมันครั้งแรก ท้ายสุดเมื่อพนักงานธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของประเทศ นัดหยุดงานครั้งใหญ่ ก็ทำให้กรรมกรในบริษัทน้ำมันแห่งชาติ รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเข้าร่วม ก่อนที่กองทัพในหัวเมืองจะร่วมด้วยในการโค่นล้มชาห์ ปาห์เลวี

ผลพวงจากการลุกฮือแบบจัีดตั้งอันแข็งแกร่งของนักบวชที่มีกองกำลังพิทักษ์การ ปฏิวัติอิสลาม(ติดอาวุธแต่ไม่แสดงออก)อยู่เบื้องหลัง ทำให้อิหร่านกลายมาเป็นระบอบรัฐซ้อนรัฐเผด็จการโดยนักบวชชิอะห์ซึ่งแอบอ้าง พระเจ้ามาเป็นเครื่องมือสร้างมายาคติทางการเมืองที่แอบอิงศาสนา ซึ่งน่าแปลกว่าใจกลับไม่ยอมพูดถึง แต่ยกตัวอย่างด้านเดียวมาอ้าง

กรณีของโปแลนด์ มีลักษณะพิเศษ เพราะการต่อสู้ของกรรมกรกับอำนาจรัฐโซเวียตของประเทศนั้น มีความซับซ้อน เพราะว่า โปแลนด์เป็นชาติที่มีอุตสาหกรรมหลักใหญ่โตอย่างเดียวในยามนั้นคือต่อและซ่อม เรือทุกชนิด กรรมกรในเมืองกดังส์ อันเป็นเมืองท่าใหญ่มีจำนวนถึง 80% ของกรรมกรทั่วประเทศ และคิดเป็นสัดส่วนถึง 25%ของพลเมืองประเทศ การกระจุกตัวของคนงาน จึงมีพลังสูงมาก

เมื่อรัฐโซเวียตใกล้ล่มสลาย พร้อมกับมิคาอิล กอร์บาชอฟแห่งเครมลินประกาศนโยบาย”กลาสนอส” ในยามที่เกิดเงินเฟ้อรุนแรง แต่รัฐบาลขึ้นค่าแรงต่ำกว่าเงินเฟ้อหลายเท่า คนงานก็พร้อมนัดหยุดงานกันง่าย ผลพวงของการนัดหยุดงานครั้งแรกของกรรมกรเมืองกดังส์ ทำให้ก่อตั้งกลุ่มโซลิดาริติ้ขึ้นมาสำเร็จ และทำให้วาติกันจับมือกับซีไอเอ. เล่นใต้ดินสนับสนุนกรรมกรอย่างแข็งขันในการทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อกับรัฐ โซเวียตที่ง่อนแง่น

ผลลัพธ์คือ กรรมกรโปแลนด์สามารถยกระดับการต่อสู่ทางเศรษฐกิจเป็นทางการเมืองได้รวดเร็ว โดยพวกเขาเรียนรู้ว่า การตั้งกองกำลังอาวุธเปิดเผย จะตกกับดักของระบอบรัฐโซเวียตได้ง่าย จึงเลือกวิธีการนัดหยุดงานและทำสงครามสื่อแทน แต่เมื่อการต่อสู้ผ่านไป ก็มีความแตกแยกระหว่างกรรมกรสายสันติ กับสายโค่นล้มคอมมิวนิสท์ ซึ่งเมื่อรัฐบาลเข้าปราบจริงฝ่ายสันติถูกกวาดเข้าคุกเรียบ แต่ฝ่ายโค่นล้มคอมมิวนิสท์ก็ลงใต้ดินต่อสู้ต่อมา จนกระทั่งรัฐบาลกลายเป็นเป็ดง่อย ต้องยอมปล่อยพวกสายสันติออกมาเจรจาเพื่อลดพลังฝ่ายโค่นล้ม จนท้ายสุดก็จบลงตรงที่ยินยอมให้มีการเลือกตั้งและล้มเลิกรัฐโซเวียตหลังจาก ที่รัฐโซเวียตในเครมลินล่มสลายลงไป

สถานการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปตามสูตรหรือการชี้นำของลัทธิทร็อตสกี้เลยแม้แต่น้อย การที่"ใจ"ยกเอามาเป็นตัวอย่าง จึงเป็นการจับข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อของตนเองมาบรรจุไว้เท่านั้น

กรณีของเวเนซูเอล่า ยิ่งไปกันใหญ่ อูโก้ ชาเวซ เป็นอดีตนายทหารฝ่ายขวาที่เคยมีส่วนร่วมกับการรัฐประหารมาก่อน และฉวยโอกาสที่แนวทางประชานิยมทำท่าจะได้รับความนิยม จึงลงสมัครประธานาธิบดี โดยชูคำขวัญต่อต้านทุนนิยม โอนกิจการน้ำมันเอกชนต่างชาติเข้าเป็นของรัฐ ทำให้ได้รับแรงสนับสนุนจากมวลชน ถือเป็นการใช้แนวทางประชานิยมอย่างชาญฉลาดและฉวยโอกาส แต่ก็เป็นรัฐบาลที่โลกรู้กันว่า ไร้ประสิทธิภาพในการจัดการและมีคอรัปชั่นสูง จนกระทั่งประเทศมีหนี้สินล้นพ้นตัว ออกพันธบัตรในต่างประเทศไม่ได้เพราะเบี้ยวหนี้ไม่ยอมจ่าย ต้องหันไปคบชาติต่างๆแลกน้ำมันดิบกับสินค้าบริโภคจากชาติอื่นๆเข้ามาแทน และดูเหมือนว่าอีกไม่กี่ปีข้า่งหน้า ก็คงจะพาเศรษฐกิจประเทศหายนะ ไม่ใช่ตัวอย่างการปฏิวัติของมวลชนอะไรเลยแม้แต่น้อย

กรณีโบลิเวียโดยเอโบ้ โมราเลส นี่ก็อีกเช่นกัน ความขัดแย้งจากการขาดแคลนแก๊สหุงต้มในประเทศกลายเป็นการจลาจลใน ค.ศ.2003 และเปิดช่องให้เจ้าของไร่กาแฟบ้านนอก ขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองใน ค.ศ.2005 โดยอ้างตัวว่าชื่นชมเช เกบาร่านักปฏิวัติอาร์เจนติน่าที่มาตายที่นี่หลายปีก่อน แล้วก็โอนกิจการแก๊สธรรมชาติเป็๋นของรัฐ แต่ปรากฏว่า เศรษฐกิจชาติกำลังจะพัง เพราะแก๊สที่ขุดมาได้และเป็นตัวทำเงินหลักของประเทศขายไม่ออก เพราะไม่มีท่อส่งไปขาย จึงสร้างสถานการณ์เอาแต่ทะเลาะกับบราซิลอันเป็นลูกค้าเก่าแก่ โดยที่ความหวังให้ชิลีและอาร์เจนติน่ามาซื้อก็เลื่อนลอย ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติมวลชนอะไรเลย

ชิลี(1973) ยิ่งเป็นตัวอย่างที่ใช้่ไม่ได้ เพราะว่า ซาลวาดอร์ อัลเยนเด้ ได้รับเลือกตั้งเป้นประธานาธิบดีด้วยนโยบายสังคมนิยมแบบสันติเป็นชาติแรกใน ละตินอเมริกา พร้อมกับโอนกิจการหลายอย่างเป็นของรัฐ ทำให้อเมริกาโกรธมากจึงหาทางให้ทหารฝ่ายขวานนำโดยนายพลปิโนเชต์โค่นล้่มใน ค.ศ. 1973 และอัลเยนเด้ถูกยิงตายในทำเนียบประํธานาธิบดี และทหารฝ่ายขวาสังหารหมู่มวลชนหลายหมื่นคน จะเรียกว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการปฏิวัติมวลชนที่สำเร็จได้อย่า่งไร ยากจะเข้าใจ

ส่วนกรณีสุดท้าย อาร์เจนติน่า เป็นชาติที่เจอหางเลขของวิกฤตโลกาภิวัตน์ครั้งแรกตามรอยวิกฤตในไทยและรัส เซีย เนื่องจากการเปิดประเทศมากเกินขนาด และทำการขายรัฐวิสาหกิจตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ.อย่างฉ้อฉล จนกระทั่้งกิจการขนาดใหญ่ของประเทศตกอยู่ในมือต่างชาติเกือบหมด แม้กระทั่งทางหลวงยังให้ต่างชาติเข้ามาสัมปทานเก็๋บเงิน ทำให้เมื่อมีวิกฤตการเงินขึ้นมา คนกว่าครึ่งของประเทศ ต้องกลายเป็นขอทาน มีชีวิตรอดจากบัตรปันส่วนอาหาร ต้องเปิดทางให้รัฐบาลฝ่ายขวาที่นิยมเปรองขึ้นมามีอำนาจ

รัฐบาลฝ่ายขวาของเคิร์ชเนอร์ ขึ้นมาก็จัดวินัยการคลังตามคำแนะนำไอเอ็มเอฟ. ทำให้่ทำให้เศรษฐกิจนิ่ง และเมื่อราคาน้ำมันกับแก๊สธรรมชาติแพงขึ้น เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวเร็ว ทำให้กลับมาได้ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้ิองกับการปฏิวัติของมวลชนอะไรเลย ข้อมูลของใจดูเหมือนจะเลื่อนลอยเต็มทีเมื่อพูดถึง อาร์เจนติน่า

ทั้งหมดนี้ ยืนยันว่า ลัทธิทร็อตสกี้ที่"ใจ"พยายามยกมาให้เห็นว่าควรจะเป็นกรอบยุทธศาสตร์และ ยุทธวิธีในการต่อสู้เพื่อประชาธิไตยของพวกเสื้อแดง จนถึงขั้นเป็นการปฏิวัติมวลชน โค่นอำมาตย์อย่างถอนรากถอนโคน เอาเข้าจริงก็เป็นเรื่องคิดเองเออเองแบบ”ตาบอดชี้ทางตาดี”ทั้งสิ้น หาความน่าเชื่อถือไม่ได้เลยแม้แต่น้อย

เพียงแต่ครั้งนี้ "ใจ"ได้กระทำผิดเกินเลยยิ่งไปกว่าตอนที่เขาเคยวิเคราะห์แบบเอาสีข้างเข้าถู เมื่อหลายปีก่อนที่ว่า กรรมาชีพไทยมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ

ชำแหละพิษภัยข้อเสนอของใจ และทางออกที่ควรเป็น

การอ้างอิงอย่างผิดๆเพื่อยัดเยียดยุทธศาสตร์แบบลัทธิทร็อตสกี้เข้าในกระบวน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ ถือเป็นยาพิษที่ใส่เข้ามาโดยอ้างถึงเจตนาดีของคนที่อ้างตัวเป็นนักวิชาการ อย่างใจที่ต้องชำแหละเพิ่มเติมให้เห็นมากขึ้น เพราะในข้อเสนอของเขานั้น ได้ซ่อนเร้นหรือแสดงความหลงผิดในข้อเสนอออกมาอย่างผิดเอาไว้ทุกประเด็นกัน เลยทีเดียว

ในที่นี้จะขอโต้แย้งกับข้อสรุปเรื่องผลเสียของการตั้งกองกำลังติดอาวุธของ"ใจ"ก่อน

1. ข้อสรุปนี้ เกิดจากมองไม่เห็นสมรภูมิของการต่อสู้่ที่เป็นจริงในการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏว่าเครือข่ายราชสำนักซึ่งสร้างระบอบรัฐซ้อนรัฐอย่างซับซ้อนใช้ทั้ง การหลอกลวงและปราบปรามเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์อย่างดื้อรั้น ได้แผ่ขยายเครื่องมือทางอำนาจทุกรูปแบบ จนครอบคลุมทุกสมรภูมิ ทั้งที่ถูกกฎหมาย กึ่งถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย และการต่อสู้ทางสากลอย่างแข็งแกร่ง และยังเครื่องมืออื่นที่เก็บงำเอาไว้ไม่ถูกใช้อีก และคาดว่าจะต้องนำมาใช้ในช่วงต่อไปอย่างเลี่ยงไม่พ้น การตั้งกองกำลังติดอาวุธอย่างมีเป้าหมาย(โฆษณาติดอาวุธ)ถือเป็นปฏิบัติการ ที่จำเป็นอย่างยิ่งและเลี่ยงไม่พ้นในการต่อสู้ ไม่ใช่การหันหลังให้มวลชนแต่อย่างใด กรณีศึกษาของกลุ่มซานดินิสต้าในนิคารากัว โดยพี่น้องออร์เตก้าที่ประสบผลสำเร็จ ดีเยี่ยมในการต่อต้่านรัฐบาลโซโมซ่า ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีพลังมากที่สุดของกลุ่มต่อต้านอำนาจรัฐที่ เป็นตัวอย่างมาแล้ว


2. คนที่พูดเช่นนี้ แสดงว่าไม่เข้าใจความหมายของคำว่าปฏิวัติแม้แต่น้อย กลุ่มกองกำลังติดอาวุธย่อมมีความสามารถจัดตั้งเฉพาะในแบบฉบับของตนเองใน สมรภูมิที่ผิดกฏหมาย เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการต่อต้านอำนาจรัฐที่ฉ้อฉล ไม่ใช่กระบวนการสร้างสมัชชามวลชนตามแบบการต่อสู้ในสมรภูมิแบบถูกกฏหมายหรือ กึ่งถูกกฏหมาย หรือ ต่อสู้ทางสากล

3. การเลือกตัวอย่างก็ผิดพลาด และคิดเอาเองอย่างมีอคติ เพราะไม่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ของเหมา เจ๋อ ตง ตามแบบที่พวกทร็ิอตสกี้จีนวิจารณ์ โดยไม่ได้ชี้แจงถึงภววิสัยที่เป็นจริงของการต่อสู้ในขณะนั้นที่นำไปสู่ชัย ชนะ (ส่วนข้อเท็จจริงจากตัวอย่างประเทศอื่น ได้ชี้ให้เห็นไปแล้วข้างต้น)

4. ถ้าหากการตั้งกองกำลังอาวุธ เป็นการพูดเอามัน ขอให้ใจกลับไปอ่านคำสัมภาษณ์ของลอร์ด คลีเมนท์ แอตลี นายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ตัดสินใจให้เอกราชอินเดียว่า ปัจจัยอะไรใน 3 ข้อนี้ ได้แก่ ก) ข้อเสนอแยกอินเดียของคานธีและพรรคคองเกรส ข) การตั้งกองกำลังติดอาวุธ INA ของนาธาจี โบส หลายหมื่นคนในพม่าโดยการสนับสนุนของญี่ปุ่น ค) การขบถโดยกลุ่มทหารเรือ RIN ที่บอมเบย์ (1946) ทำให้อังกฤษต้องยอมปล่อยอินเดียให้กับคานธีและพวกเร็วกว่ากำหนด คำตอบก็คือสองข้อหลััง

5. คนที่ไม่เคยสัมผัส และไม่เคยเข้าใจคำว่ากองกำลังปฏิวัติที่สัมพันธ์กับมวลชนเหมือนปลากับน้ำ ไม่เคยศึกษาอย่างถ่องแท้ถึงการต่อสู้ของโว เหวียน ย้าปและโฮ จิ มินห์รวมทั้งฟิเดล คาสโตร จึงไม่เข้าใจว่า จุดมุ่งหมายของกองกำลังคือ ไปเอาชนะทางการเมือง ไม่ใช่เอาชนะทางทหาร โว เหวียน ย้าปที่ได้ชื่อว่าสุดยอดทางทหารยุดใหม่นั้น ชนะในสมรภูมิใหญ่แค่สองครั้งคือที่เดียนเบียนฟู และ การรวมเวียดนามใต้เข้ากับเหนือ ส่วนที่เหลือเอาชนะทางการเมืองทั้งสิ้น

6. กองกำลังติดอาวุธมีภารกิจอีกแบบหนึ่ง ไม่มีหน้าที่หลักในการขยายความคิดทางการเมืองที่ต้องใช้ช่องทางอื่นๆที่มี ทางเลือกดีกว่า ประเด็นสำคัญของกองกำลังอยู่ที่ว่า มันช่วยป้องกันการแทรกแซงของสายลับสองหน้า และคนของรัฐที่แฝงตัวเข้ามาในขบวนการต่อต้านอำนาจรัฐได้มากขึ้น และเตรียมรับมือกับการปราบปรามในช่วงกระแสตกต่ำได้ดี ที่สำคัญการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธที่ไร้แนวทางและไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าจะ ไปสู่อะไร ถือเป็นแนวทางการทหารนำการเมืองที่นำมวลชนไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน แต่ การต่อสู้ด้วยการชุมนุมลุกฮือแบบเป็นไปเอง ก็คือการนำมวลชนไปตาย ที่เป็นอาชญากรรมทำนองเดียวกันและอาจรุนแรงกว่า

7. กองกำลังในสงครามไร้รูปแบบตายตัว หรือ สงครามอสมมาตร หรือ asymmetry warfare ในสมัยปัจจุบัน เช่นในอีรัค หรือเลบานอน หรือ อัฟกานิสถาน ไม่ได้มีไว้เพื่อทำลายข้าศึกอย่างแตกหักซึ่งหน้า หรือไปเอาชนะในการต่อสู้ แต่มีไว้เพื่อยกระดับการต่อสู้การเมือง และปกป้องมวลชนในกรณีอำนาจรัฐจะเข้าปราบปราม ที่สำคัญกองกำลังนี้ ทำงานควบคู่ไปกับการใช้สื่อเพื่อการต่อสู้อย่างเป็นเอกภาพด้วย

8. ข้อสรุปนี้ ใช้จินตนาการเกินสมควร โดยไม่ดูข้อเท็จจริงของสถานการณ์แวดล้อม และพัฒนาการทางสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ ที่สำคัญ คำว่าการปฏิวัติที่แท้จริงคืออะไรก็ยังหามาตรฐานไม่ได้ชัดเจน แถมยังมีลักษณะเป็น”ลัทธิคัมภีร์”ที่พยายามสร้างสูตรสำเร็จว่า การปฏิวัติแบบไหนเป็นการปฏิวัติที่แท้ ซึ่งเป็นเรื่องพ้นยุคไปแล้ว เพราะนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้วนไม่เคยเดินตามสูตรสำเร็จ ที่สำคัญกรณีไม่เข้าข้อสรุปนี้อย่างนิคารากัว และเนปา่ล กลับไม่ยอมเอ่ยถึง

ข้อเสนอต่้อต้านก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ในการต่อสู้่ นักสังคมนิยมเพ้อฝันก่อนมาร์กซ เคยเสนอคำขวัญนี้มาแล้วเมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848 ว่า “สังคมนิยมจะต้องเดินรุดหน้าโดยไม่ใช้ดาบปลายปืน” ผลลัพธ์คือ ถูกปราบอย่างเห้มโหดทั้งในฝรั่งเศส อิตาลี และยุโรปตะวันออก ถือเป็นบทเรียนของความมุ่งมั่นเชิงอุดมคติที่ปราศจากความจัดเจนในชีวิต เป็นความไร้เดียงสาที่นำไปสู่หายนะได้ง่ายดาย

ฟาน เบ่ย เจิว นักต่อสู้ชาตินิยมรุ่นแรกในเวียดนามยุคก่อนโฮ จิ มินห์ ก็เคยเสนอคำขวัญเช่นนี้ ก่อนที่จะถูกฝรั่งเศสเข้าอาณานิคมปราบปราม และคุมขังจนไม่สามารถขับเคลื่อนขบวนการกู้เอกราชได้ ทำให้นักชาตินิยมเวียดนามยุคหลังเขา ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากลงใต้ดินเพื่อกู้ชาติ และเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า การปฏิวัติสังคมอย่างถอนรากถอนโคนนั้น ไม่ใช่งานเลี้ยง แต่เป็น ”การต่อสู้ที่หากไม่ใช่มือเปิ้อนเลือด ก็ต้องเป็นมือที่ถูกฝ่ายตรงข้ามตัดทิ้ง”

แน่นอนว่า ข้อเสนอการตั้งกองกำลังอาวุธนั้น มิได้โง่เขลาหรือพูดเอามัน ถึงขนาดคิดในกรอบของพวกอนาธิปัตย์ที่ว่า “ใช้ความรุนแรงต่อสู้กับความรุนแรง” หากถือเป็นสมรภูมิหนึ่งของการต่อสู้่ที่จะต้องปิดจุดอ่อนให้ได้ โดยไม่ใช่”การทหารนำการเมือง”

กองกำลังติดอาวุธไม่ว่าที่ใดในโลก ล้วนการจัดตั้งแบบปิดลับ เพราะมีเหตุผล 2 ประการคือ กันมวลชนออกจากความรับผิดชอบใดๆจากปฏิบัติการ และ ให้ความปลอดภัยกับมวลชนทางอ้อม ตามหลัก ‘ความปลอดภัยของคนหนึ่งคือความปลอดภัยของคนอื่นๆด้วย’ ดังนั้นข้อสรุปของสาวกลัทธิทร็อตสกี้ที่ว่า ความระวังระไวของกองกำลังติดอาวุธ เป็นการยึดอำนาจนำจากมวลชน จึงเป็นทัศนะทีีคิดเอาเองอย่างแท้จริง

จากสถานการณ์ปัจจุบันของไทย มีคนสรุปอย่างเป็นรูปธรรมว่า ที่ผ่านมา ขบวนการคนเสื้อแดง มีบทบาทสำคัญทำหน้าที่ปกป้องมิให้กลุ่มเครือข่ายราชสำนักลุแก่อำนาจทำการยุบ เลิกหรือไล่ล่าพรรคเพื่อไทยจนพินาศ ดังนั้น หากกองกำลังติดอาวุธเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการปราบ ปรามขบวนการเสื้อแดงอีกชั้นหนึ่ง ก็ถือเป็นการสร้างเกราะกำบังอันแข็งแกร่ง ป้องกันมิให้อำนาจเผด็จการของเครือข่ายราชสำนักรุกล้ำคืบหน้าต่อไป

จากเรื่องต่อต้านกองกำลังติดอาวุธ ข้อเสนอของใจกลับเข้ารกเข้าพงมากขึ้น เมื่อเขาเสนออย่างสุดโต่ง ปฏิเสธแนวทางสันติวิธี เพราะโดยข้อเท็จจริง แม้่ว่า แนวทางสันติวิธีจะมีข้อจำกัีดในตัวเองที่มองเห็นได้ชัดเจน (ขอให้กลับไปอ่าน ศิวะ รณยุทธ์ เอากษัตริย์คืนไป เอาประชาธิปไตยคืนมา ประกอบอีกครั้ง) แต่การจำกัดตัวเองด้วยการปฏิเสธการต่อสู้ในแนวทางใดๆล้วนไม่ถูกต้องและไม่ ยืดหยุ่น

เราไม่สามารถเห็นด้วยกับข้อเสนอให้จำกัดการต่อสู้แค่บนเส้นทางของสันติวิธี โดยปฏิเสธช่องทาง หรือ แนวทางการต่อสู้แบบอื่นๆ และ/หรืิอ เหมาเอาคำว่า”ต่อสู้ทุกรูปแบบ” เป็นแค่”การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ”เท่านั้น เพราะในหลายปีมานี้ เราได้เห็นแล้วว่า นักสู้ประชาธิปไตยที่ยืนยันเส้นทางแบบสันติวิธีบนช่องทางถูกกฎหมาย ได้ถูกตั้งคำถามมาโดยตลอดว่า ทำอย่างไรจะบรรลุผลเพื่อสร้าง”ยุติธรรมแบบเสมอหน้า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”ขึ้นในสังคมไทย โดยไม่เกิดความรุนแรง

นักประชาธิปไตยสันติวิธีที่ชูธง”วิธีการที่ดี สู่เป้าหมายที่ดี” หรือ “เป้าหมายกำหนดวิธีการ” ซึ่งปฏิเสธ หรือไม่ต้องการพูดถึงการดำรงอยู่ของระบอบรัฐซ้อนรัฐโดยเครือข่ายราชสำนัก ทำให้มองปัญหาไม่ทะลุประเภท “รู้รายละเอียด แต่สรุปผิด” และมีส่วนถ่วงรั้งขบวนการต่อสู้ให้ล่าช้าออกไป แต่พวกเขาเหล่านี้ ก็ยังเป็นกลุ่มคนที่สามารถใช้เวทีการต่อสู้ในสมรภูมิถูกกฏหมายและกึ่งถูก กฏหมาย ซึ่งเป็นสมรภูมิหลักที่ไม่อาจละทิ้งความสำคัญไปได้เลยไม่ว่าในกรณีใดหรือ เวลาใด โดยเฉพาะในขณะที่การต่อสู้ในสมรภูมิด้านอื่นๆยังไม่เหมาะสม

การปฏิเสธแนวทางสันติวิธี จึงเป็นข้อเสนอที่สุดโต่ง และคับแคบ นอกเหนือ จากสะท้อนความอ่อนหัดทางทฤษฎีและการต่อสู้ที่แท้จริงของปวงชน เพราะหากปราศจากการเคลื่อนไหวในแนวทางสันติวิธี ข้่อเสนอของใจเรื่อง”การจัดตั้งมวลชนคนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนเป็นล้านๆ เพื่อการร่วมกันพัฒนาความคิดผ่านกลุ่มศึกษาทางการเมือง”จะเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นอันขาด

ข้อเสนอ 2 ไม่ ของ"ใจ" ที่ปฏิเสธทั้งการตั้งกองกำลังติดอาวุธ และแนวทางสันติวิธี คือการจำกัดตัวเองในการต่อสู้ให้เหลืิอเพียงการลุกฮือตามสูตรของลัทธิทร็อตส กี้เท่านั้น มีลักษณะเป็นมากกว่ายาพิษ แต่ยังเข้าข่ายเป็นแนวร่วมมุมกลับโดยปริยายของเครือข่ายราชสำนักด้วย

เรายังคงยืนยันอีกครั้งว่า หนทางสู่การต่อสู้ที่เหมาะสมในสงครามที่ชอบธรรมนั้น จะต้องไม่ตกในกับดักของลัทธิทร็อตสกี้ที่ใจนำเสนอ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะ”จัดยุทธวิธีให้เหมาะสมกับกำลังของเรา พร้อมๆกับคิดถึงกำลังของฝ่ายตรงข้าม” ด้วยการเปิดใจและความคิดให้กว้าง ยกระดับทางด้านจิตสำนึกเข้ากับการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรม แสวงหาโอกาสในการต่อสู้ในทุกปริมณฑล ไม่ปฏิเสธรูปแบบที่เป็นไปได้ของการต่อสู้ จากนั้นก็ ยกระดับเข้าสู่การต่อสู้ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ โดยไม่จำกัดตัวเองในทุกสมรภูมิ เพื่อร่วมออกแบบโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีความเป็นธรรม ซึ่งมีความแตกต่างสุดขั้วกับประชาธิปไตยจอมปลอมของพวกเครือข่ายราชสำนัก

การต่อสู้ที่พ้นจากข้อจำกัดนี้ มีเป้าหมายที่การปฏิเสธและมุ่งทำลายระบอบรัฐซ้อนรัฐที่เครือข่ายราชสำนัก สร้างขึ้นมาเพื่อกดหัวประชาชน ถือเป็นการกระทำบนความเชื่อในเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และโอกาสของมวลชนเป็นพื้นฐาน และแสดงให้เห็นว่า สามารถมีทางเลือกใหม่ที่พลิกแพลงอื่นๆที่สามารถขัดขวางอำนาจเผด็จการ เพื่อสร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ปวงชนคาดหวัง

การต่อสู้ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้าง”ยุติธรรมแบบเสมอหน้า ประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วม” เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างแนวร่วมประชาธิปไตย หรือ democratic popular front ที่ขัดแย้งกับข้อเสนออันคับแคบของยาพิษแห่งลัทธิทร็อตสกี้ และถือว่าจะช่วยให้สามารถสร้างแนวร่วมข้ามชนชั้น ข้ามวัฒนธรรม และข้ามอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เป็นพลังร่วมสามัญชนในระดับประชาชาติขนาดใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่เป็น ขบวนการคนเสื้อแดง เท่านั้น

เราต้องปฏิเสธยาพิษแห่งลัทธิทร็อตสกี้ของ ใจ อี้งภากรณ์ ที่แสร้งว่าเป็นเจตนาดีอย่างถึงที่สุด



คำวิจารณ์ของอย่างฉันมิตรในที่นี้ ต้องการชี้ให้เห็นพิษภัยของข้อเสนอล่าสุด โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ แห่ง”แดงสยาม” สองชิ้นล่าสุด ในงานเขียน “การสร้างกองกำลังติดอาวุธไม่ใช่ทางออกของคนเสื้อแดง” และ “ปัญหาของแนวทางสันติวิธี” ซึ่งมีสาระสำคัญคือ “ 2 ไม่” คือ ไม่เอาทั้งแนวทางสร้างกองกำลังติดอาวุธ และ แนวทางสันติวิธี โดยอ้างว่าขัดแย้งกับแนวทางปฏิวัติสังคมโดยมวลชน หรือ ปฏิวัติมวลชน โค่นอำมาตย์อย่างถอนรากถอนโคน

ท่าทีของ"ใจ" สะท้อนทัศนคติของลัทธิทร็อตสกี้ออกมาอย่างหมดเปลือก สอดคล้องกับที่เขาเคยกล่าวอ้างมาโดยตลอดในหลายปีที่ผ่านมา

ความจริงแล้ว ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมาร์กซิสท์กระแสหลัก และทร็อตสกี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และข้อกล่าวหาของพวกมาร์กซิสท์ทั้งหลายที่มีต่อลัทธิทร็อตสกี้จำนวนไม่น้อย ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องเสมอไปทั้งหมด ในขณะที่แนวคิดของทร็อตสกี้ก็ยังคงมีปัญญาชนในโลกบางส่วนยอมรับและทำการ ศึกษาหรือถ่ายทอดกันอยู่เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ประเด็นปัญหาของจุดแข็ง/จุดอ่อนของลัทธิทร็อตสกี้ จึงไม่ใช่ประเด็นหลักในที่นี้ หากไม่ใช่เพราะว่า ข้อเสนอของใจจะนำไปสู่การหลงทิศทางของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของปวง ชนที่แท้จริงที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้

ร้ายยิ่งกว่านั้น ข้อเสนอของ"ใจ" กำลังเข้าข่าย”พามวลชนไปสู่หายนะ”อันถือเป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดอย่าง หนึ่ง ถือเป็นแนวร่วมมุมกลับของอำนาจรัฐปฏิกิริยาอย่างแท้จริง

เพื่อให้เข้าใจชัดเจน ขอแยกหัวข้อในการวิจารณ์ออกดังต่อไปนี้

ในหลายเดือนมานี้ มีข้อเสนอและชุดความคิดใหม่ๆถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในกลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยของปวงชนอย่างหลากหลาย ในจำนวนนั้น มีข้อเสนอหนึ่งถือเสมือนยาพิษ ในลักษณะ”เจตนาดี ประสงค์ร้าย”ซึ่งหากปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ ก็อาจจะส่งผลเสียให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ข้อเสนอดังกล่าว ได้รับฉันทานุมัติจากปวงชนอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ

o ข้อเสนอของใจว่าด้วย ปฏิวัติสังคมโดยมวลชนในลักษณะ 2 ไม่
o ปรัชญา ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของนักลัทธิทร็อตสกี้
o ชำแหละพิษภัยข้อเสนอของใจ และทางออกที่ควรเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน