เอกสาร ปวศ ปี 2532: สำนักพระราชวังยืนยันพระเทพฯไม่ใช่รัชทายาท, กฤษฎีกายืนยันพระเทพฯไม่ได้รับการคุ้มครองจาก 112
หมายเหตุ: เครดิตในการค้นคว้า และค้นพบเอกสาร ที่กล่าวถึงข้างล่างนี้ ไมใช่ของผม เป็นของนักวิจัยท่านอื่น แต่เนื่องจากท่านไม่อยู่ในสถานะที่จะนำเสนอด้วยตัวเองได้ จึงอนุญาตให้ผมเป็นผู้นำเสนอแทน
อนึ่ง ผมควรย้ำด้วยว่า ต่างกับคนเสื้อแดงบางส่วน ที่มองเรื่องนี้ในทางการเมือง (ดูจากที่มีการทำเสื้อยืด "เรารัก พระบรมฯ" ออกเผยแพร่) ผมเองสนใจเรื่องนี้ ในเชิงข้อมูล ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เท่านั้น ผมไม่มีความเห็นหรือทัศนะเชิงการเมืองใดๆเกี่ยวกับการตั้งเชื้อพระวงศ์ พระองค์ใดเป็นรัชทายาท
..............................
ใน กลางปี 2532 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ("กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ") หรือ กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา (ตามมาตรา 326 ของ ประมวลกฎหมายอาญา) ในส่วนที่เกี่ยวกับ "พระเทพฯ" - นี่คือภาพ หัวข้อ ของคำวินิจฉัย ดังกล่าว

เรื่องของเรื่องคือ กระทรวงมหาดไทย (ซึ่งขณะนั้น ควบคุมดูแลกรมตำรวจ) ได้ขอให้กฤษฎีกาช่วยวินิจฉัย เนื่องจาก ....

แต่ เนื่องจากว่า ทางกรมตำรวจ เคยสอบถามไปยังสำนักพระราชวังว่า พระเทพฯ ทรงเป็นรัชทายาทหรือไม่ (ซึ่งถ้าเป็น จะได้รับการคุ้มครองตาม มาตรา 112) ซึ่ง สำนักพระราชวัง ได้เคยตอบมาว่า พระเทพฯ ไม่ใช่องค์รัชทายาท เพราะในหลวง "ได้ทรงใช้พระราชอำนาจสมมุติองค์รัชทายาทขึ้นเพียงพระองค์เดียว" แล้ว คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และคำว่า "สยามบรมราชกุมารี" ในท้ายพระนามของพระเทพฯนั้น หาได้แปลว่า รัชทายาท (คือไมใช่ "สยามมกุฏราชกุมารี") แต่อย่างใด

ปัญหา ที่ตามมาคือ ในเมื่อพระเทพฯไม่ได้ทรงเป็นรัชทายาท หากตำรวจจะดำเนินการเกี่ยวกับที่มีผู้หมิ่นประมาทพระองค์ ก็ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา 112 ได้ แต่ต้องหันไปดำเนินการตามมาตรา 326 หรือความผิดหมิ่นประมาทธรรมดา "ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ยอมความได้" และที่สำคัญ "พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว" นั่นคือ ในกรณีเช่นนี้ พระเทพฯจะต้องทรงร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง
ปัญหาคือ ทางตำรวจ ไม่ต้องการให้พระเทพฯทรงรู้ว่า มีผู้ทำการในลักษณะหมิ่นประมาทพระองค์!!

ทางกรม ตำรวจ จึงถามมายังกฤษฎีกาให้ยืนยันว่า (ก) ในกรณีที่มีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระเทพฯ ตำรวจจะดำเนินการตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาได้หรือไม่ และ (ข) ถ้าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา 112 และต้องดำเนินการตามมาตรา 326 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา จะทำอย่างไร ไม่ให้พระเทพฯรู้ (เพราะตามมาตรา 326 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์เอง)

คณะ กรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบประเด็นแรกในลักษณะเดียวกับที่ สำนักพระราชวังเคยตอบกรมตำรวจก่อนหน้านั้น นั่นคือ พระเทพฯไม่ใช่รัชทายาท ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงวินิจฉัยว่า ตำรวจจะดำเนินคดีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระองค์ ตามมาตรา 112 ไม่ได้


ใน ส่วนประเด็นที่สองนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่า การดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 326 (หมิ่นประมาทธรรมดา) ผู้เสียหายจะต้องเป็นฝ่ายร้องทุกข์ แต่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียหาย "มอบอำนาจให้บุคคลอื่นร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญาแทนได้" ดังนั้น ในกรณีพระเทพฯ ถ้ามีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระองค์ ...

แต่อย่างไรก็ตาม
สรุป แล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ไม่สามารถหาวิธีการที่ตำรวจต้องการ คือฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระเทพฯตามมาตรา 326 โดยไม่ต้องให้พระองค์ทรงรู้ เพราะถึงจะเป็นไปได้ที่พระองค์จะไม่เป็นผู้ร้องทุกข์เอง ก็ยังต้องทรงเป็นผู้มอบอำนาจให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทน คือต้องทรงทราบเรื่องอยู่นั่นเอง มิเช่นนั้นการดำเนินคดีตามมาตรานี้ จะทำไม่ได้
................................................................................................................................
บันทึกต่อท้าย : แดงเจียงใหม่
อ่านความคิดเห็นประเด็นเด็ด ได้ที่ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
................................................................................................................................
อนึ่ง ผมควรย้ำด้วยว่า ต่างกับคนเสื้อแดงบางส่วน ที่มองเรื่องนี้ในทางการเมือง (ดูจากที่มีการทำเสื้อยืด "เรารัก พระบรมฯ" ออกเผยแพร่) ผมเองสนใจเรื่องนี้ ในเชิงข้อมูล ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เท่านั้น ผมไม่มีความเห็นหรือทัศนะเชิงการเมืองใดๆเกี่ยวกับการตั้งเชื้อพระวงศ์ พระองค์ใดเป็นรัชทายาท
..............................
ใน กลางปี 2532 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ("กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ") หรือ กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา (ตามมาตรา 326 ของ ประมวลกฎหมายอาญา) ในส่วนที่เกี่ยวกับ "พระเทพฯ" - นี่คือภาพ หัวข้อ ของคำวินิจฉัย ดังกล่าว

เรื่องของเรื่องคือ กระทรวงมหาดไทย (ซึ่งขณะนั้น ควบคุมดูแลกรมตำรวจ) ได้ขอให้กฤษฎีกาช่วยวินิจฉัย เนื่องจาก ....

แต่ เนื่องจากว่า ทางกรมตำรวจ เคยสอบถามไปยังสำนักพระราชวังว่า พระเทพฯ ทรงเป็นรัชทายาทหรือไม่ (ซึ่งถ้าเป็น จะได้รับการคุ้มครองตาม มาตรา 112) ซึ่ง สำนักพระราชวัง ได้เคยตอบมาว่า พระเทพฯ ไม่ใช่องค์รัชทายาท เพราะในหลวง "ได้ทรงใช้พระราชอำนาจสมมุติองค์รัชทายาทขึ้นเพียงพระองค์เดียว" แล้ว คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และคำว่า "สยามบรมราชกุมารี" ในท้ายพระนามของพระเทพฯนั้น หาได้แปลว่า รัชทายาท (คือไมใช่ "สยามมกุฏราชกุมารี") แต่อย่างใด

ปัญหา ที่ตามมาคือ ในเมื่อพระเทพฯไม่ได้ทรงเป็นรัชทายาท หากตำรวจจะดำเนินการเกี่ยวกับที่มีผู้หมิ่นประมาทพระองค์ ก็ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา 112 ได้ แต่ต้องหันไปดำเนินการตามมาตรา 326 หรือความผิดหมิ่นประมาทธรรมดา "ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ยอมความได้" และที่สำคัญ "พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว" นั่นคือ ในกรณีเช่นนี้ พระเทพฯจะต้องทรงร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง
ปัญหาคือ ทางตำรวจ ไม่ต้องการให้พระเทพฯทรงรู้ว่า มีผู้ทำการในลักษณะหมิ่นประมาทพระองค์!!

ทางกรม ตำรวจ จึงถามมายังกฤษฎีกาให้ยืนยันว่า (ก) ในกรณีที่มีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระเทพฯ ตำรวจจะดำเนินการตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาได้หรือไม่ และ (ข) ถ้าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา 112 และต้องดำเนินการตามมาตรา 326 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา จะทำอย่างไร ไม่ให้พระเทพฯรู้ (เพราะตามมาตรา 326 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์เอง)

คณะ กรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบประเด็นแรกในลักษณะเดียวกับที่ สำนักพระราชวังเคยตอบกรมตำรวจก่อนหน้านั้น นั่นคือ พระเทพฯไม่ใช่รัชทายาท ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงวินิจฉัยว่า ตำรวจจะดำเนินคดีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระองค์ ตามมาตรา 112 ไม่ได้


ใน ส่วนประเด็นที่สองนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่า การดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 326 (หมิ่นประมาทธรรมดา) ผู้เสียหายจะต้องเป็นฝ่ายร้องทุกข์ แต่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียหาย "มอบอำนาจให้บุคคลอื่นร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญาแทนได้" ดังนั้น ในกรณีพระเทพฯ ถ้ามีผู้หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระองค์ ...

แต่อย่างไรก็ตาม

สรุป แล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ไม่สามารถหาวิธีการที่ตำรวจต้องการ คือฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระเทพฯตามมาตรา 326 โดยไม่ต้องให้พระองค์ทรงรู้ เพราะถึงจะเป็นไปได้ที่พระองค์จะไม่เป็นผู้ร้องทุกข์เอง ก็ยังต้องทรงเป็นผู้มอบอำนาจให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทน คือต้องทรงทราบเรื่องอยู่นั่นเอง มิเช่นนั้นการดำเนินคดีตามมาตรานี้ จะทำไม่ได้
................................................................................................................................
บันทึกต่อท้าย : แดงเจียงใหม่
อ่านความคิดเห็นประเด็นเด็ด ได้ที่ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
................................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น