แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

มวลชนตูนีเซียชี้ทางล้มทรราช

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ที่มา Redsiam

ปี 2554 เปิดฉากด้วยการลุกขึ้นสู้ของมวลชนในประเทศ ตูนีเซีย จนสามารถขับไล่ ประธานาธิบดี เบน อาลี ออกจากประเทศได้

เบน อาลี เป็นเผด็จการที่ครองอำนาจมา 23 ปี ตั้งแต่ทำรัฐประหารในปีค.ศ. 1987

หลัง จากนั้นเขาโกงการเลือกตั้งมา 5 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งจะอ้างว่าได้คะแนนเสียงมากกว่า 90% และเบน อาลี ประกาศตัวว่าจะเป็นประธานาธิบดี ตลอดชีพ

ลักษณะเผด็จการของ เบน อาลี ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใดกับชาติตะวันตก ซึ่งมองว่าเขาเป็นแนวร่วมที่ดีในการต้านขบวนการมุสลิม

การ ปฏิวัติของประชาชนครั้งนี้ ระเบิดขึ้นเพราะมีความไม่พอใจในอัตราการว่างงานและการเพิ่มราคาสินค้าจำเป็น ในขณะที่ตระกูลของ เบน อาลี ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยท่ามกลางความร่ำรวย

โทรเลข จากสถานทูตอเมริกาที่ถูกเปิดเผยใน วิคิลีคส์ วาดภาพครอบครัวของ เบน อาลี ว่าสั่งซื้อไอค์ครีมโดยตรงทางเครื่องบินมาจากยุโรป และมีสัตว์ป่าราคาแพงเป็นสัตว์เลี้ยง ในขณะที่ประชาชนทุกข์ยาก เกินครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวที่เรียนจบจากวิทยาลัยต่างๆ กำลังตกงาน

และทั้งๆ ที่เศรษฐกิจ ตูนีเซีย ขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 5 % แต่ทรัพยากรต่างๆ ไปกระจุกอยู่ที่กลุ่มอภิสิทธิชนเท่านั้น

การ ประท้วงรอบนี้ ถูกจุดประกายขึ้นมาเมื่อนักศึกษา อายุ 26 ปี ที่กำลังขายผักผลไม้เพื่อเสริมรายได้ ถูกยึดรถเข็นโดยตำรวจ หลังจากนั้นนักศึกษาคนนี้ก็จุดไฟเผาตัวเอง

ซานา เบน อากูว จากขบวนการสตรีเพื่อประชาธิปไตย บอกว่า ความกลัวหายไปแล้ว เรารอวันนี้มา 20 ปี

เรา ต้องเข้าใจว่าในเมืองหลวงของประเทศ ตูนีเซีย ตามถนนทุกแห่งจะมีรูปภาพทรราช เบน อาลี ขนาดใหญ่ ในภาพดังกล่าว เบน อาลี อายุ 74 ปี จะย้อมผมสีดำและตัดต่อภาพเพื่อไม่ให้เห็นร่องรอยเหี่ยวย่น แต่หลังจากการลุกขึ้นสู้ของประชาชน ภาพดังกล่าวถูกฉีกทิ้ง

มันเป็นครั้งแรกในหลายสิบปีที่ประชาชนกล้าออกมาตะโกนว่าเบน อาลี ฆาตรกร” “ลีล่า เทรปเบลซี่ จอมโกง (เมียของ เบน อาลี)

เบน อาลี ได้สร้างรัฐเผด็จการที่คาดว่ามีตำรวจ 1 คน ต่อประชาชนทุก 40 คน และสองในสามของตำรวจดังกล่าวเป็นตำรวจลับนอกเครื่องแบบที่คอยสอดส่องการพูด คุยของประชาชน

การลุกขึ้นสู้ของประชาชน ตูนีเซีย เป็นการผสมประเด็นเศรษฐกิจปากท้องกับประเด็นการเมืองประชาธิปไตย และไม่มีการนำศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด


มี การโบกขนมปังฝรั่งเศสเป็นสัญลักษณ์ว่าประชาชนทุกข์ยาก และมีการประท้วงในรูปแบบเดียวกันในประเทศเผด็จการข้างเคียง เช่นประเทศอัลจีเรีย

ต่อมาหลังจากที่ เบน อาลี ถูกล้ม ประชาชนในประเทศจอร์แดนที่ปกครองด้วยกระษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 5000 คน ก็ออกมาโบกขนมปังประท้วง

และที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีชาวอียิปต์ยืนฉลองหน้าสถานทูตตูนีเซีย และตะโกนบอกว่าไอ้ เบน อาลี ไปบอก มูบารัค (ประธานาธิบดี อียิปต์) ว่ามีเครื่องบินรอมันอยู่ด้วย

สำหรับชาวเสื้อแดงในประเทศไทย การลุกขึ้นสู้ของชาวตูนีเซีย เป็นบทเรียนสำคัญที่พิสูจน์ว่า การต่อสู้ของมวลชนเป็นเรื่องชี้ขาดในการล้มทรราช ไม่ใช่แนวทางจับอาวุธหรือการเคลื่อนไหวใต้ดิน ที่สำคัญคือมวลชน ตูนีเซีย พร้อมที่จะก่อจลาจลท่ามกลางเมืองหลวง และต่อสู้ต่อไปเมื่อทหารหรือตำรวจไล่ฆ่าประชาชน

เรา ไม่ทราบว่า การปฏิวัติในตูนีเซียจะจบลงอย่างไร แต่ถ้าไม่มีการจัดตั้งทางการเมืองและเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างรัฐใหม่ พวกฉวยโอกาสจากกลุ่มอำมาตย์เก่าก็อาจจะกลับเข้ามาได้

ในกรณีไทยเรา ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน จัดตั้งทางการเมือง และเราต้องเข้าใจลักษณะแท้ของอำมาตย์ว่าเป็นเครือข่ายคณะบุคคล หรือเป็นระบบ ไม่ใช่คนๆเดียว

แต่ถ้าจะสรุปบทเรียนสั้นๆ เราต้องประกาศว่า ถ้าชาวตูนีเซียทำได้ ชาวเสื้อแดงก็ทำได้เช่นกัน

http://thaienews.blogspot.com/2011/01/blog-post_6600.html

ตูนีเซีย บทเรียนที่สอนผู้นำเผด็จการให้รู้ว่า "ประชาชนคือเจ้าของแผ่นดิน"


ปฏิวัติประชาชนที่ตูนีเซีย
เริ่ม ปี 2011เปิดฉากด้วยการลุกขึ้นสู้ของมวลชนในประเทศตูนีเซียจนสามารถขับไล่ประธานาธิบดีเบนอาลีออกจากประเทศได้
เบนอาลีเป็นเผด็จการที่ครองอำนาจมา23 ปีตั้งแต่ทำรัฐประหารในปีค.ศ. 1987 หลังจากนั้นมีข่าวว่าเขาโกงการเลือกตั้งมา5 ครั้งโดยที่แต่ละครั้งจะอ้างว่าได้คะแนนเสียงมากกว่า90% และเบนอาลีประกาศตัวว่าจะเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพลักษณะเผด็จการของเบนอาลีไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใดกับชาติตะวันตกซึ่งมอง ว่าเขาเป็นแนวร่วมที่ดีในการต้านขบวนการมุสลิม

การปฏิวัติของประชาชนครั้งนี้ระเบิดขึ้นเพราะมีความไม่พอใจในอัตราการว่าง งานและการเพิ่มราคาสินค้าจำเป็นในขณะที่ตระกูลของเบนอาลีใช้ชีวิตอย่าง ฟุ่มเฟือยท่ามกลางความร่ำรวย โทรเลขจากสถานทูตอเมริกาที่ถูกเปิดเผยใน วิคิลีคส์วาดภาพครอบครัวของเบนอาลีว่าสั่งซื้อไอค์ครีมโดยตรงทางเครื่องบิน มาจากยุโรปและมีสัตว์ป่าราคาแพงเป็นสัตว์เลี้ยงในขณะที่ประชาชนทุกข์ยาก เกินครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวที่เรียนจบจากวิทยาลัยต่างๆกำลังตกงานและทั้งๆ ที่เศรษฐกิจตูนีเซียขยายตัวในอัตราเฉลี่ย5 % แต่ทรัพยากรต่างๆไปกระจุกอยู่ที่กลุ่มอภิสิทธิชนเท่านั้นการประท้วงรอบนี้ ถูกจุดประกายขึ้นมาเมื่อนักศึกษาอายุ26 ปีที่กำลังขายผักผลไม้เพื่อเสริมรายได้ ถูกยึดรถเข็ญโดยตำรวจ หลังจากนั้นนักศึกษาคนนี้ก็จุดไฟเผาตัวเอง
ซานาเบนอากูวจากขบวนการสตรีเพื่อประชาธิปไตยบอกว่าความกลัวหายไปแล้วเรารอ วันนี้มา20 ปีเราต้องเข้าใจว่าในเมืองหลวงของประเทศตูนีเซียตามถนนทุกแห่งจะมีรูปภาพนาย เบนอาลีขนาดใหญ่ในภาพดังกล่าวเบนอาลีอายุ74 ปีจะย้อมผมสีดำและตัดต่อภาพเพื่อไม่ให้เห็นร่องรอยเหี่ยวย่นแต่หลังจากการ ลุกขึ้นสู้ของประชาชนภาพดังกล่าวถูกฉีกทิ้งมันเป็นครั้งแรกในหลายสิบปีที่ ประชาชนกล้าออกมาตระโกนว่าเบน อาลีฆาตรกร” “ลีล่าเทรปเบลซี่จอมโกง” (ภรรยาของเบนอาลี) เบน อาลีได้สร้างรัฐเผด็จการที่คาดว่ามีตำรวจ1 คนต่อประชาชนทุก40 คนและสองในสามของตำรวจดังกล่าวเป็นตำรวจลับนอกเครื่องแบบที่คอยสอดส่องการ พูดคุยของประชาชน

การลุกขึ้นสู้ของประชาชนตูนีเซียเป็นการผสมประเด็นเศรษฐกิจปากท้องกับ ประเด็นการเมืองประชาธิปไตยและไม่มีการนำศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นเครื่องมือใน การเคลื่อนไหวแต่อย่างใดมีการโบกขนมปังฝรั่งเศษเป็นสัญลักษณ์ว่าประชาชน ทุกข์ยากและมีการประท้วงในรูปแบบเดียวกันในประเทศเผด็จการข้างเคียงเช่นประ เทศอัลจีเรียต่อมาหลังจากที่เบนอาลีถูกล้มประชาชนในประเทศจอร์แดนที่ปกครอง ด้วยกระษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 5000 คนก็ออกมาโบกขนมปังประท้วงและที่กรุงไคโรประเทศอียิปต์มีชาวอียิปต์ยืนฉลอง หน้าสถานทูตตูนีเซีย และตะโกนบอกว่าเบน อาลีไปบอกมูบารัค(ประธานาธิบดีอียิปต์) ว่ามีเครื่องบินรออยู่ด้วย





ม็อบไล่ประธานาธิบดีตูนิเซีย เผ่นออกนอกประเทศแล้ว

บีบีซีรายงานเมื่อ 15 ม.ค. ว่า จากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองในประเทศตูนิเซียตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด ประธานาธิบดีซิเน อัล-อาบิดัน เบน อาลี วัย 74 ปี ได้หนีออกนอกประเทศแล้ว โดยพาครอบครัวไปพำนักอยู่ในซาอุดีอาระเบีย หลังจากถูกประชาชนขับไล่จากตำแหน่งที่ยึดครองมานาน 23 ปี

ประชาชนตูนิเซียเริ่มประท้วงรัฐบาลในผลงานด้านเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ข้าวของราคาแพง คนตกงานและคอร์รัปชั่น กระทั่งบานปลายเป็นการขับไล่ประธานาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.2553 จากนั้นในวันที่ 8-10 ม.ค. รัฐบาลใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบราย รัฐบาลชาติตะวันตกประกาศเตือนและบางประเทศขอให้พลเมืองออกจากตูนิเซีย ขณะที่ประธานาธิบดีตูนิเซียคุมสถานการณ์ไม่อยู่และต้องออกจากประเทศไปในที่ สุด ในเบื้องต้นนี้ ทางนายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด กานนูชี เข้ารักษาการแทนในตำแหน่งประธานาธิบดี และเรียกประชุมผู้นำทางการเมืองพรรคต่างๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

"ตู นีเซีย มวลชนล้มเผด็จการทรราช!! ถ้าเขาทำได้เราก็ทำได้ มวลชนลุกขึ้นสู้ ไม่ปล่อยให้เป็นเหยื่อถูกปราบ การประท้วงเชื่อมเรื่องเศรษฐกิจปากท้องกับประชาธิปไตย มีบทเรียนสำหรับเรา ประชาชนจงเจริญ!

หลังล้มทรราชที่ตูนีเซีย ทรราชทั่วอัฟริกาเหนือคงขี้แตก อำมาตย์ไทยก็คงคิดหนัก

http://www.free-thai.info/

ตูนีเซียเร่งตั้งรัฐบาลรักษาการ หลัง ปธน. หนีไปซาอุฯ

ขณะ ที่สถานการณ์การชุมนุมในตูนีเซียยังไม่สงบลง ก็มีเหตุเพลิงไหม้เรือนจำในเมืองโมนาสเทอ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 42 ราย โดยประธานาธิบดี Zine al-Abidine Ben Ali ได้หลบหนีไปยังซาอุดิอารเบีย ขณะที่ในประเทศจะมีการตั้งรัฐบาลรักษาการ

สำนักข่าว BBC รายงานว่า เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังจากที่โฆษกรัฐสภาประกาศให้ Foued Mebazaa ขึ้นเป็นรักษาการประธานาธิบดี และนอกจากนี้ยังมีการขอให้นายกรัฐมนตรี Mohammed Ghannouchi จัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ

Wyre Davis ผู้สื่อข่าว BBC ที่รายงานสถานการณ์ในพื้นที่กล่าวว่า "พบรถถังอยู่ทุกมุมในย่านใจกลางเมือง" ขณะเดียวกันก็รายงานว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นดูจะผกผันกับความคืบ หน้าทางการเมือง และทั้งกองทัพและรถถังก็ออกมาคุ้มกันสถานที่ราชการไว้ ทำให้ท้องถนนถูกทิ้งร้าง ขณะที่ประชาชนยังคงเฝ้าหาทางประเมินว่ารัฐบาลรักษาการจะสร้างความเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองในวงกว้างได้หรือไม่

มีผู้พบเห็นเหตุการณ์เพลิงไหม้คนแรกรายงานเรื่องนี้กับสำนักข่าว Reuters บอกว่าเรือนจำทั้งหมดตกอยู่ใต้เปลวเพลิง มีการปล้นชิงข้าวของในเขตชานเมืองช่วงกลางคืน ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายที่ถูกขโมยจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีเจ้าของเป็นชาว ฝรั่งเศส สถานีรถไฟสายหลักของเมืองถูกเพลิงลุกลามได้รับความเสียหายอย่างมาก

การประท้วงในตูนีเซียยาวนานกว่า 4 สัปดาห์มาจากเรื่องความไม่พอใจเกี่ยวกับปัญหาการว่างงานในวงกว้าง ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น และการคอร์รัปชั่น ขณะที่มีการประท้วงทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ยิงกระสุนจริงเข้าใส่ผู้ชุมนุมจนเป็น เหตุให้ประชาชนหลายสิบคนเสียชีวิต จนทำให้สหภาพแอฟริกาออกแถลงการณ์ประณาม "การใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุม"

โดยที่ประธานาธิบดี Ben Ali ผู้อยู่ในตำแหน่งยาวนาน 23 ปี ก็ลงจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังจากที่มีเหตุวุ่นวายจากการชุมนุมใหญ่ในตูนิส เขาหนีออกจากตูนีเซียพร้อมครอบครัวและหลังจากที่ฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะให้ เครื่องบินลงจอดในประเทศ จึงมีการนำเครื่องลงเติมเชื้อเพลิงที่ซาร์ดีเนีย ก่อนออกเดินทางไปยังซาอุดิอาระเบียต่อ

สำนักพระราชวังซาอุฯ ออกแถลงการณ์ว่า"ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงต่อสถาณการณ์ที่ประชาชนชาวตูนีเซีย ผู้เป็นเสมือนพี่น้องกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ และเพื่อเป็นการสนับสนุนความมั่นคงและมีเสถียรภาพของประเทศพวกเขา รัฐบาลซาอุดิจึงขอต้อนรับประธานาธิบดี Zine al-Abidine Ben Ali และครอบครัวเข้ามาสู่ประเทศ"

ทางด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศส Nicholas Sarkozy กล่าวว่าประชาชนชาวตูนีเซียได้ "แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงแห่งประชาธิปไตย" และเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปให้เร็วที่สุด

ส่วนเลขาฯ การต่างประเทศของอังกฤษแสดงการประณามการใช้ความรุนแรงและการปล้นชิงทรัพย์ จากทั้ง 2 ฝ่าย และขอให้กลับมาอยู่ในความสงบ ประเทศอาหรับในภูมิภาคใกล้เคียงไม่ได้แสดงท่าทีใด ๆ ต่อเหตุการณ์มากนัก เว้นแต่กลุ่มสหพันธ์อาหรับ (Arab League) เรียกร้องให้กลุ่มทางการเมืองในตูนีเซีย "มีความกลมเกลียวปรองดองกัน" เพื่อรักษาสันติ

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Tunisia: Deadly jail fire in unrest after Ben Ali exit, 15-01-2011, BBC

http://www.bbc.co.uk/news/world-africa-12198396



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน