แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สรุปคำให้การพยานในคดี'เสื้อแดง'ฟ้องศาลโลก.....โดยสํานักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม


redronin

คำให้การพยาน-'เสื้อแดง'ฟ้องศาลโลก

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


สํานักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ ในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และบุคคลอื่น ได้จัดทำ รายงานเบื้องต้นของการกระทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษย ชาติในราชอาณาจักรไทย

ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ บอกเล่าเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเม.ย.2552 และพ.ค.2553 ก่อนจะยื่นเอกสารอีกฉบับยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในอีก 8 อาทิตย์ข้างหน้า

รายงานมีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นำมาสู่การจัดตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลุ่มรัฐบาลผสมใหม่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมมือของอดีตแกนนำสมาชิกพรรคพลัง ประชาชน นำโดยนายเนวิน ชิดชอบ มีการประชุมหารือกันในวันที่ 6 ธ.ค. ที่บ้านของนายทหารคนหนึ่ง มีการล็อบบี้อย่างหนักโดยทหารและสมาชิกองคมนตรี

หลังขึ้นสู่อำนาจรัฐบาลพยายามปิดปากฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ระบบกฎหมาย และคุกคามทางการเมือง ส่งผลให้คณะกรรมการปกป้องนักข่าวและนักข่าวไร้พรมแดนประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ อย่างรุนแรง รายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปี กลุ่ม Human Rights Watch ออกมากล่าวถึง "ความเสื่อมถอย" ของสิทธิมนุษยชนในไทย และผลการจัดอันดับความมีเสรีภาพของสื่อทั่วโลกโดยนักข่าวไร้พรมแดนในปี 2553 ได้จัดให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 153 ซึ่งตกลงมาถึง 23 ลำดับ

รายงาน เล่าถึงเหตุการณ์ปี 2552 ที่เริ่มจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 11 เม.ย.2552 ที่พัทยา นำไปสู่การยกเลิกการประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียน และทหารเข้าสลายกลุ่มเสื้อแดงที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่รอบกรุงเทพฯ เช้าตรู่วันที่ 13 เม.ย.

มีการยิงพลเรือนที่ไม่มีอาวุธโดยใช้กระสุนจริงในความมืดก่อนรุ่งสาง ทำให้ผู้ชุมนุมกว่า 123 รายได้รับบาดเจ็บ

พยาน ให้การว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตทันทีจากการสาดกระสุนยิง แต่ศพถูกลำเลียงขึ้นรถบรรทุกและขับออกจากพื้นที่ไปอย่างรวดเร็ว หลายวันต่อมาศพผู้ชุมนุมเสื้อแดง 2 ราย ลอยขึ้นอืดเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพศพถูกมัดและมีผ้าปิดปาก

การ สังหารหมู่ปี 2553 ใช้วิธีการเดียวกันกับปี 2552 โดยใช้กระสุนจริงยิงกลุ่มผู้ชุมนุมและพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ ในรายการ ลำดับเหตุการณ์อย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นชุมนุมในวันที่ 14 มี.ค. กระทั่งบ่ายของ 10 เม.ย ทหารเริ่มต้นสลายผู้ชุมนุมบริเวณ สะพานผ่านฟ้า จากนั้นเป็นสี่แยกคอกวัว ทหารระดมยิงกระสุนยางจากปืนสั้น 12 เล็งตรงไปยังพลเรือน ขณะที่กองกำลังทหารอื่นๆ ระดมยิงกระสุนจริงจาก เอ็ม 16 และปืนไรเฟิลอัตโนมัติ จากหลักฐานเทปวิดีโอบันทึกชัดเจนว่าการใช้ เอ็ม 16 ปืนในโหมดอัตโนมัติกระสุนปืนจริงนั้นจะไม่มีการใช้อแดปเตอร์ และหลักฐานยังแสดงว่ามีการใช้กระสุนปืนจริง

เหตุการณ์รุนแรงขึ้นในเวลา 19.50 น. มีการปาระเบิดไปทางฝั่งของทหารบริเวณถนนดินสอ ทหารเสียชีวิตหลายนาย จากนั้นทหารที่เคยใช้ปืนไรเฟิลยิงข่มขู่ผู้ชุมนุม กลับยิงกระสุนปืนจริงนับพันใส่ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธและรวมตัวกันอยู่ รอบอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยทันที และจากนั้นทหารที่รวมกลุ่มกันที่ถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว กราดกระสุนนับพันนัดใส่ผู้ชุมนุม

รายงาน อ้างพยานให้การถึงเหตุการณ์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเย็นวันนั้น หลายคนไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ แต่ผู้ร้องทราบและมีข้อมูลสามารถเปิดเผยให้แก่อัยการได้หากมีกระบวนการคุ้ม ครองชีวิตและความปลอดภัยของพยานและครอบ ครัว

พยานปากที่ 14 เห็นเหตุการณ์ชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้า ในวันที่ 10 เม.ย. เวลา 18.30 น. พยานเดินทางไปยังถนนตะนาว เห็นทหารยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มคนเสื้อแดงโดยไม่เตือนล่วงหน้า คนที่ถูกยิงอย่างน้อย 1 ราย เลือดไหล และเห็นรูกระสุนบนกำแพงโดยรอบ ในระดับสายตาหรือต่ำกว่านั้น

พยาน ได้ยินเสียงปืนและชายคนหนึ่งถูกยิงที่ใบหน้า การ์ดเสื้อแดงใช้เชือกกั้นบริเวณที่ชายดังกล่าวล้มลง มีกองเลือดบนพื้น และเศษกระดาษที่ระบุชื่อและอายุชายคนดังกล่าว และเห็นกองเลือดอีกสองกองใกล้ๆ กัน มีเศษกระดาษที่ระบุว่าชายทั้งสองคนถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณดังกล่าว

พยานปากที่ 16 พวกเขาถูกยิงด้วยแก๊สน้ำตา ขณะที่พยานกำลังใช้น้ำทำความสะอาดตาบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พยานถูกยิงที่ตาและเป็นเหตุให้สูญเสียดวงตา

พยาน ปากที่ 2 ระบุแก๊สน้ำตาถูกยิงจากเฮลิคอปเตอร์ ในเวลา 19.20 น. โดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า ทหารเริ่มยิงปืนใส่กลุ่มผู้ชุมนุม มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 5 ราย

พยานปากที่ 5 เป็นนักข่าว ให้การว่า เวลา 19.00 น. วันที่ 10 เม.ย. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มทหารยิงปืน เอ็ม 16 ขึ้นฟ้า จึงบันทึกภาพไว้ เมื่อทหารขับรถออกไปเกิดเหตุระเบิดใกล้กับที่พยานยืนอยู่ คิดว่าเป็นระเบิดปิงปองจากกลุ่มทหารที่สนับสนุนพันธมิตร ขณะที่ขบวนรถทหารขับออกไป ชายเสื้อแดงถือกิ่งไม้วิ่งตะโกนมาตามถนนว่า "มันฆ่าพี่น้องเรา" รถขบวนทหารคันหลังซึ่งอยู่ห่างจากชายคนดังกล่าวราว 150 เมตร โดยไม่มีเสียงเตือนชายคนดังกล่าวถูกยิง 5 นัด จากทิศทางของรถขบวนทหาร

พยาน ปากที่ 17 ให้การว่าราว 19.00 น. มีผู้ชุมนุมเสื้อแดงกว่าหนึ่งพันคนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทหารเริ่มยิงปืนขึ้นฟ้า ขณะทหารถอยร่นไปยังบริเวณถนนดินสอได้ใช้กระสุนปืนจริงยิงใส่กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ไม่มีอาวุธ ชายคนหนึ่งถูกยิงที่ศีรษะ สมองไหลออกมาจากหัวกะโหลก พยานบันทึกภาพไว้

จากนั้น เห็นทหารบาดเจ็บบริเวณถนนดินสอ และบันทึกวิดีโอที่กลุ่มคนเสื้อแดงพยายามปฐมพยาบาลให้ ขณะที่ทหารยังคงยิงปืนใส่พยานและคนเสื้อแดงที่กำลังปฐมพยาบาลทหาร คนเสื้อแดงที่ช่วยปฐมพยาบาลทหารถูกยิงที่เท้า ส่วนพยานถูกยิงเข้าที่ช่องท้อง

พยานปากที่ 15 เป็นอาสาพยาบาลและอยู่ในเหตุการณ์การยิงปะทะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราว 60 เมตรทางทิศเหนืออนุสาวรีย์ฯ พยานเห็นคนเสื้อแดงปฐมพยาบาลทหาร ทหารยังคงยิงใส่ผู้ชุมนุม และเพิกเฉยต่อสัญลักษณ์กาชาดบนอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และอาสาพยาบาลถูกยิงที่เท้า

เวลา 20.15 น. ข้าราชการผู้ใหญ่ได้ติดต่อกับผู้นำเสื้อแดงทางโทร ศัพท์มือถือ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดที่อาจเพิ่มมากขึ้น แกนนำเสื้อแดงตกลงอย่างรวดเร็ว ณ เวลานั้นมีเสื้อแดงเสียชีวิต 17 ศพ มีผู้บาด เจ็บกว่า 600 ราย

3 พ.ค. นายกฯ ประกาศแผนการปรองดองเพียงฝ่ายเดียว และรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในต้นเดือนพ.ย. คนเสื้อแดงยอบรับข้อเสนอแผนการปรองดองแต่ไม่ยอมสลายการชุมนุมเพราะต้องการ ความมั่นใจจากรัฐบาล

13 พ.ค. 1 วันหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกข้อเสนอให้มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกซุ่มยิงระหว่างให้สัมภาษณ์ บริเวณ สวนลุมพินี และเสียชีวิต 2-3 วันหลังจากนั้น กระสุนที่ปลิดชีวิตเสธ.แดง เป็นกระสุนจริงชนิดเดียวกันที่ทหารใช้ยิงผู้ชุมนุม

จากนั้นกองทัพพยายามเข้ายึดที่ชุมนุม มีการฆ่าหมู่เกิดขึ้นบริเวณที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ ดินแดง และลุมพินี บางพื้นที่ เช่น ถนนราชประสงค์ ไปจนถึงทางทิศเหนือ และถนนพระราม 4 ไปจนถึงทางทิศใต้ เป็นเขตที่ทหารประกาศใช้ "กระสุนจริง"

นัก ข่าวช่างภาพ Nick Nostitz บันทึกว่า มีคนที่เดินผ่านไปมาบริเวณดังกล่าวถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการ ยิงของฝ่ายทหารจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบ ถูกยิงที่สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน

นักข่าวยังตกเป็นเป้าสังหาร Nelson Rand นักข่าวชาวฝรั่งเศส อายุ 24 ปี ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ทางทิศใต้ของสวนลุมพินี ขณะที่ Fabio Polenghi ช่างภาพชาวอิตาลี เสียชีวิตจากการถูกยิงเข้าที่หน้าอกในวันที่ 19 พ.ค.

ที่น่าเลวร้ายที่สุดคือ ทหารได้กั้น "เรดโซน" กันไม่ให้อาสาพยาบาลเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ และยิงพวกเขาในขณะที่เข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ

คำให้การพยานถึงการสลายการชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค.

พยานปากที่ 18 (14 พ.ค.) เป็นคนเสื้อแดง เดินทางไปยังสวนลุมพินี เห็นทหารหลายคนอยู่นอกรั้วของสวน เล็งปืนเข้าไปในสวน และทหารที่อยู่ในสวนถือปืนสั้น พยานถูกทหารถือปืนไรเฟิล M16 ที่มีลำกล้องส่อง ยิงที่ขาขวาด้านล่าง พยานขับรถหนีแต่ทหารยังคงยิงไล่ล่าราว 30-40 ครั้ง ขาและข้อเท้าขวาของพยานถูกยิงกระจุย

พยาน ปากที่ 19 (14 พ.ค.) เดินทางไปสวนลุมพินี เห็นทหาร 50-60 ราย ยืนเรียงแถวตามรั้วเล็งปืนไรเฟิลเข้าไปในสวน ทหารคนหนึ่งยิงพยานด้วยปืนสั้นโดนหัวไหล่ด้านซ้าย พยานวิ่งไปยังต้นไม้ ทหารยังคงยิงกระสุนสาดใส่หลายนัดสลับกับการยิงทีละนัด พยานถูกยิงเป็นครั้งที่สองด้วยกระสุนปืนไรเฟิล จึงโดดลงไปในสระน้ำ โผล่ขึ้นมาเห็นทหาร 3 นาย จึงโดดขึ้นจากสระวิ่งหนี และถูกยิงเป็นนัดที่ 3 กระสุนไรเฟิลเข้าที่น่องขาด้านซ้าย

หลัง ได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล พยานถูกส่งตัวไปยังเรือนจำและถูกล่ามโซ่ที่เตียงนอน ได้รับแจ้งว่าถูกจับกุมเนื่องจากละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พยานถูกล่ามโซ่ไว้ที่เตียงนอนตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นถูกคุมขังในห้องขังปกติและไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาอย่างเป็น ทางการ พยานถูกเรียกไปให้ปากคำที่สำนักงานอัยการ 2 ครั้ง แต่ถูกเลื่อนออกไป

พยาน ปากที่ 20 ให้การเห็นทหารใกล้ซอยงามดูพลีในวันที่ 14 พ.ค. ซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานไทย-เบลเยียม พยานยิงธนูใส่ทหาร ทหารโต้กลับด้วยกระสุนจริง เห็นแม่ค้าอายุราว 50 ปีถูกยิงเสียชีวิต และชายหนุ่มอายุราว 30 ปีถูกยิงเข้าที่แก้ม และชายหนุ่มที่มีรอยสักคนหนึ่งถูกยิงเข้าที่กระดูกสันหลัง

เห็นผู้ถูกยิงทั้งหมด 6 ราย 4 ใน 6 รายเสียชีวิต รวมถึงแม่ค้า และชายคนที่ถูกยิงขณะกำลังบันทึกภาพวิดีโอด้วยโทรศัพท์มือถือ พยานและประชาชนอีกราว 30 คน เข้าไปหลบภัยในตรอกใกล้เวทีมวยลุมพินี ทั้งหมดถูกทหารใช้กำลังบังคับให้ออกจากบริเวณดังกล่าว นายทหารได้สั่งการและบังคับให้คนเหล่านั้นงอตัว เตะและตี ใช้ปืนที่ปลดล็อกแล้วเล็งใส่ด้วย

พยาน ปากที่ 12 (14 พ.ค.) พยานเป็นอาสาสมัครตำรวจในกรุงเทพฯ พยานและภรรยาถูกบังคับให้หยุดอยู่หน้าโรงแรมอินทรา ตรงบริเวณสะพานลอยข้ามถนนราชปรารภมีทหาร 8 นายเฝ้าอยู่ ยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวในทุกทิศทาง หญิงสาวคนหนึ่งพยายามข้ามถนนจึงถูกยิงล้มลง เวลา 20.00 น. ทหารยิงใส่มอเตอร์ไซค์ 2 คัน จนล้มลงกับพื้น ไม่กี่นาทีได้เกิดเหตุระเบิดหน้าโรงแรมอินทรา

ก่อนระเบิดพยานเห็นแสงเลเซอร์แดงยิงสาดลงมาก่อนแสงเลเซอร์สีเขียวปรากฏ จากนั้นเกิดเสียงระเบิดทันที เมื่อเห็นแสงดังกล่าวอีกก็เกิดเหตุระเบิดครั้งที่สอง มีผู้บาดเจ็บ 3 คนรวมถึงพยาน ที่โดนสะเก็ดระเบิดมีแผลที่หลัง

พยาน ปากที่ 22 เล่าเหตุการณ์ที่ถนนราชปรารภ ระหว่างแยกดินแดงและซอยหลังสวน (14-15 พ.ค.) พยานเห็นเหตุการณ์จากระเบียงห้องพัก ทหารมีอาวุธครบมือเปิดฉากยิงประชาชนที่ไม่มีอาวุธ ราว 18.00 น. ตอนแรกทหารใช้กระสุนยาง ตามด้วย กระสุนจริง โดยไม่แยกแยะว่าจะเป็นศีรษะหรือเท้า เหยื่อบางคนเป็นประชาชนที่มุงดูเหตุการณ์

รุ่งขึ้นราว 08.15 น. พยานเห็นประชาชนราว 15 คนเดินขบวนบนถนนถือธงชาติไทย ทันใดนั้นพวกเขาก็ถูกยิงด้วยปืนไรเฟิล (นาโต 223) โดยไม่เตือนล่วงหน้า พลเรือนสองคนถูกยิงเสียชีวิตทันที แต่ทหารยังคงสาดยิงกระสุนหลังจากนั้นราว 30 นาที และยังยิงคนที่พยายามเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บด้วย

พยานปากที่ 23 พยานเข้าร่วมการชุมนุมที่ดินแดง และในบริเวณที่ชุมนุม ประมาณวันที่ 18-19 พ.ค. พยานเห็นทหารยิงศีรษะของหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพเก็บขยะขาย ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดเพราะหญิงดังกล่าวไม่ใช่ผู้ชุมนุม กลุ่มทหารดังกล่าวมีอายุน้อยและยิงใส่ทุกคนในบริเวณดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์

19 พ.ค. วันมหาวิปโยคแห่งการฆ่าหมู่ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ไทย จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะมีมากกว่านี้มากมายหากแกนนำเสื้อแดงไม่ยอมมอบตัว

อีก หลายชั่วโมงหลังจากการสลายการชุมนุม มีประชาชนอีก 6 ราย ถูกสังหารในวัดปทุมวนาราม นักข่าวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุเล่าว่ามือปืนซุ่มยิงผู้ ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธที่อยู่ในวัดจากรางรถไฟฟ้า พยาบาล 3 ใน 4 รายสวมเครื่องแบบที่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นอาสาพยาบาล เป็น 1 ในพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิต

พยาน ปากที่ 6 และ 9 ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ วันที่ 19 พ.ค. ราว 16.00 น. และ 17.00 น. เห็นทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงทางเข้าวัด ส่วนเต็นท์พยาบาลภายในวัดมีสัญลักษณ์กาชาดชัดเจน เวลา 18.30 น. ทหารเริ่มยิงเข้าไปในเขตวัดโดยไม่มีคำเตือนล่วงหน้า

เต็นท์พยาบาลถูกยิงกราด มีอาสาพยาบาล 3 รายถูกยิงเสียชีวิต กมนเกด อัคฮาด, มงคล เข็มทอง และ อัครเดช แก้วขัน ซึ่งอัครเดช เสียชีวิตลงอย่างเจ็บปวดทรมาน ทหารยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าไปขอความช่วยเหลือเบื้องต้นจากพยาบาลในเต็นท์

เวลา 19.00 น. กลุ่มทหารเข้าไปตะโกนด่าหยาบคายในวัด ในขณะที่พยานและคนอื่นช่วยกันลากศพไปไว้ในที่ปลอดภัย และทหารยังพยายามยิงพวกเขา ทหารหยุดยิงราว 20.00 น.

รายงาน ระบุ จากการสลายการชุมนุม รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพเพิกเฉยหลักการพื้นฐานของการควบคุมฝูงชน ซึ่งตรงข้ามกับ"มาตรฐานสากล" อย่างเช่น หลักการพื้นฐานของการใช้กำลังและอาวุธของคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายองค์การ สหประชา ชาติ

การสลายการชุมนุมไม่มีความพยายามที่จะใช้ "อาวุธที่ไม่มีความรุนแรง" ไม่มีการใส่ใจ และสนใจว่าจะมีอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นหรือไม่ หรือพยายามรักษาชีวิตของผู้อื่น

การ ตอบโต้ของทหารไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำตอบโต้ของคนเสื้อแดงที่เพื่อแค่เผา ยางรถยนต์ หรือจุดประทัด การทำร้ายอาสาพยาบาลแสดงให้เห็นถึงการไม่ "พยายามช่วยเหลืออาสา พยาบาล เพื่อบรรเทาจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บก่อนหน้านี้"

รายงานระบุ นอกจากการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลยังออกกฎระเบียบเพิ่มเติมที่ให้ขยายอำนาจพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ใน การจับกุมและคุมขังผู้ต้องสงสัย รวมไปถึงการเรียกตัวบุคคลมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ หรือให้หลักฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

ชัดเจนว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้ถูกบังคับใช้ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เป็นการเอื้ออำนาจให้กับรัฐบาลในการทำลายอำนาจทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม การยืดพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป ยังเป็นการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง (ICCPR)

เพื่อการพิจารณากระทำการสอบสวน ผู้ร้องได้ยื่นรายงานเบื้องต้นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และประมาณ 8 อาทิตย์ จะยื่นเอกสารอีกฉบับเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในกรณีของศีลธรรมอันดี

รายงาน ระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันมีมาตรฐานที่ต่ำในการ"ดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ" การสอบสวนในอดีตถึงเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถึงการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา 500 ราย ที่เกิดจากกองทัพเรือไทยผลักเรือของพวกเขาออกไปยังทะเลหลวง ทำให้เห็นว่าจะสามารถคาดหวังอะไรได้จากการสอบสวนของรัฐบาลถึงความรุนแรงใน เดือนเม.ย. และ พ.ค. 2553

และแม้ว่ารัฐบาลมีโอกาสที่จะกระทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นอิสระ แต่เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่ารัฐบาลไม่เต็มใจ หรือสามารถที่จะกระทำดังกล่าว

นอกจากจะล้มเหลวในการเริ่มดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างเป็นธรรม และสมบูรณ์ รัฐบาลยังคงปฏิเสธให้แกนนำเสื้อแดงเข้าถึงหลักฐานผลชันสูตร เอกสาร และวิดีโอภาพและเสียงที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี

แม้จะไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ร้องต้องระบุรายชื่อของกลุ่มผู้กระทำผิด หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันระบุในคำร้องนี้ในขั้นตอนการ ยื่นเอกสาร แต่ถือเป็นเรื่องอันเหมาะสมที่จะสรุปความรับผิดของกลุ่มผู้นำพลเรือนและนาย ทหารระดับสูงในรัฐบาลไทย

รายงานระบุว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผอ.ศอฉ. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ.

พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ อดีตรรท.ผบ.ตร. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานคณะที่ปรึกษาทบ.

พล.อ.ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ รองผบ.ทบ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ.


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?n...B5Tnc9PQ==

http://www.internetfreedom.us/showthread.php?tid=13313

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน