แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อภิสิทธิ์กับบทบาทผู้นำการเมือง

ผู้นำการเมือง
บทบรรณาธิการข่าวสดออนไลน์
 วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้าน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นถึงข้อเสนอเรื่องการจัดเวทีหารือแนวทางปฏิรูปการเมืองเพื่อหา ทางออกให้สังคมของรัฐบาล

ว่า ก็คงจะเกิดผลคล้ายคลึงกันกับการพูดคุยหารือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับกลุ่มบี อาร์เอ็น ในปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือพูดกันไป ก็เผาไป และยิงกันไป

ไม่ว่าจะเชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดโดยสุจริตใจ หรือพูดไปโดยมีแง่เงื่อนทางการเมืองเป็นตัวกำหนดอยู่ก็ตาม

แต่คำพูดของนายอภิสิทธิ์แสดงความไม่เชื่อถือแนวทางในการแก้ปัญหาของรัฐบาลออกมาชัดเจน

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองหรือปัญหาชายแดนภาคใต้




ประเด็น ว่าความไม่เชื่อถือนี้เกิดขึ้นเพราะ "ไม่คิดว่า" กระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจะสำเร็จ หรือเกิดขึ้นเพราะ "ไม่ต้องการ" ให้กระบวนการแก้ไขปัญหานี้ประสบความสำเร็จ

เพราะ ถ้าเป็นประการแรก หากเห็นว่าแนว ทางหรือวิธีการที่ดำเนินอยู่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ ผู้นำฝ่ายค้านก็สามารถเสนอแนวทางหรือวิธีการที่เห็นว่าดีกว่าขึ้นมาเทียบ เคียงได้

ด้าน หนึ่งเพื่อให้ปัญหาในสังคมยุติหรือทุเลาลง อีกด้านหนึ่งก็เพื่อแสดงให้สังคมได้เปรียบเทียบ ว่าข้อเสนอหรือทางเลือกใดจะเป็นประโยชน์ จะเป็นไปได้ในสังคมมากกว่ากัน

เป็นการทำงานในฐานะผู้นำฝ่ายค้านให้ครบถ้วนสมบูรณ์



แต่หากท่าทีดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเหตุผลประการหลัง อนาคตของการเมืองและสังคมไทยก็คงยังอึมครึม

ประการหนึ่ง เพราะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญ และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองจำนวนมากในปัจจุบัน

สังคมส่วนหนึ่งย่อมคาดหวังว่าเมื่อเป็นผู้ผูกแล้ว ก็จะต้องเป็นผู้ลงมือแก้ด้วยตนเองด้วย

ประการ หนึ่ง ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านหรือผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ย่อมสร้างความคาดหวังให้กับคนจำนวนไม่น้อย ว่าจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ดำรงอยู่หรือไม่

หากไม่กระโดดมาอยู่ซีกที่เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา

ก็แสดงว่ายังยืนอยู่บนฝั่งที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอยู่ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน