แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

1 สิทธิ์ 1 เสียง ปชต.ของคนเสื้อแดง (7) แกนนำเสื้อแดงเชียงใหม่: คู่ขัดแย้งคือระบบ

บทสัมภาษณ์ "ดาบชิต" แกนนำ ศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

จาก สำนักข่าวประชาธรรม











แกนนำเสื้อแดงเชียงใหม่: คู่ขัดแย้งคือระบบ


"พิชิต ตามูล" หรือที่คนเสื้อแดงเชียงใหม่รู้จักกันดีในชื่อ "ดาบชิต" ด้วย วัยเพียง 41 ปี กล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจ จากตำรวจชั้นผู้น้อยเขาสามารถผันตัวเองมาเป็นนักธุรกิจเต็มขั้น เคยผ่านงานมาหลากหลายทั้งรับจ้างถมดิน เปิดสำนักงานนักสืบ และสุดท้ายมาลงเอยที่การเปิดกิจการเต็นท์รถมือสองแถบชานเมืองเชียงใหม่
หากใครเชื่ออย่างฝังใจว่าคนเสื้อแดงคือ "คนจน" ที่ ถูกจ้างให้มาชุมนุม ดาบชิตเป็นตัวอย่างหนึ่งของคนรวยที่เข้าร่วมชุมนุมโดยไม่มีใครจ้าง แถมยังควักกระเป๋าตัวเองและกระซิบว่าแอบจิ๊กบางส่วนจากกระเป๋าภรรยามาใช้ จ่ายเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่น้อยกว่าแสนบาทด้วย
และ หากใครคิดว่าคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเรื่องเดียวกัน ดาบชิตก็จะพูดสวนทันควันว่าเขาไม่เคยเชื่อมั่นในนักการเมืองและพรรคการเมือง ไทย
หลังปฏิบัติการ "กระชับพื้นที่" เมื่อ 19 พฤษภาคม2553 ดาบชิตในฐานะคุณพ่อลูกสองยังคงกลับบ้านดึกดื่นเที่ยงคืนเพราะทำกิจกรรมร่วม กับพี่น้องเสื้อแดง แม้จะตกเป็นผู้ต้องหาคดีละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) แต่เขาบอกว่าไม่ถอยและไม่กลัว ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช้าถักผมเปียให้ลูกสาว ขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน และขับรถไปรับกลับบ้านทุกเย็น
ถึงวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธความจริงว่า คนเสื้อแดงมีหลายเฉด น่าสนใจว่าแดงเฉดดาบชิตเป็น "แดง" แบบไหนและอย่างไร
"สังคม ที่ผมอยากเห็นคือสังคมที่มีความเท่าเทียมกันและมีการปกครองตนเองในระดับท้อง ถิ่น ผมให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและการแข่งขัน ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะไปแข่งกันเป็นอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีคุณสมบัติหรือเปล่า ถ้ามีก็เสนอตัวให้คนเขาเลือก" ดาบชิตเริ่มต้นที่ระบบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน
"อย่าง ตำรวจทำไมไม่รื้อโครงสร้างเก่าออกเสีย สอบแข่งกันสิ สอบแข่งกันเป็นตำรวจ สอบแข่งกันเป็นหัวหน้าโรงพัก หรือถ้าไม่สอบแข่งกันก็เอาคนในพื้นที่มาดำรงตำแหน่ง ถามว่าทำไมต้องเอาคนจากพะเยามาเป็นหัวหน้าโรงพักช้างเผือกล่ะ (ต.ช้างเผือก จ.เชียงใหม่) ผมเห็นว่าทุกจังหวัดต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ นายอำเภอต้องมาจากการเลือกตั้ง ทุกวันนี้มีอบจ. อบต. แล้ว อบอ.ไปไหน (หมายถึงผู้นำการปกครองท้องถิ่นระดับอำเภอ) ทำไมถึงไม่มี มันต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด"
ก่อน ตัดสินใจเข้าร่วมบนเส้นทางสายเสื้อแดง ดาบชิตเล่าว่าเขาเปิดรับและวิเคราะห์สื่อต่างๆ ทั้งสื่อภาครัฐ สื่อเสื้อเหลือง และสื่อเสื้อแดง ตอนเช้าขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน เขาหมุนฟังคลื่นวิทยุเสื้อแดงเพราะอยากรู้ว่าดีเจพูดอะไร จากนั้นเขาก็ดูรายการความจริงวันนี้ (ของกลุ่มนปช.) รายการของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดูทั้งช่อง 11 และเอเอสทีวี อ่านข่าวหนังสือพิมพ์วันละหลายฉบับแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
"สิ่ง ที่ผมเห็นคือความไม่ยุติธรรม เราศึกษากฎหมายเบื้องต้นมา เรารู้ว่าการเอาผิดย้อนหลังมันเป็นไปไม่ได้ ตอนยุบพรรคไทยรักไทย (30 พ.ค.2550) กฎหมายมันมาทีหลังพฤติกรรม เราจึงเริ่มตั้งคำถามว่าทำไม จนออกมาสู่หน้าศาลากลางเชียงใหม่ และเราเห็นความไม่ยุติธรรมที่เพื่อนบ้านประสบ"
"ความ ที่เราเป็นตำรวจ แม้จะออกจากราชการแล้ว ชาวบ้านเขาก็ยังคิดว่าเราเป็นตำรวจ มีปัญหาอะไรเขาก็จะโทร.หาเรา เหมือนว่าเบอร์เราเป็นเบอร์สาธารณะ ทั้งเรื่องที่ดินทำกิน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ถูกกระทำจากภาครัฐ เช่น ถูกยัดข้อหายาเสพติด ผมมองว่าคนชั้นล่างของสังคมมักถูกกระทำถูกเอาเปรียบจากชนชั้นกลางและหน่วย งานภาครัฐ"
ดาบ ชิต บอกว่า เริ่มให้ความสนใจการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือน เม.ย.2552 โดยเข้าไปเป็นมวลชนธรรมดาคนหนึ่งที่ไปฟังปราศรัยหน้าเวทีศาลากลางจังหวัด เชียงใหม่ ช่วงนั้นกลุ่มเสื้อแดงเชียงใหม่เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น เพราะแตกมาจากกลุ่มเชียงใหม่ 51 มีกลุ่มสมาพันธ์ชาวเหนือ กลุ่มเชียงใหม่ 52 กลุ่มนกเสรี เป็นต้น
ช่วง เหตุการณ์จลาจลเดือน เม.ย.2552 มีการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ แกนนำเสื้อแดงเชียงใหม่เดินทางเข้ากรุงเทพฯกันหมด เขาจึงเริ่มมีบทบาท โดยได้รับมอบหมายให้ดูแลเวทีที่เชียงใหม่ และด้วยความเป็นคนพูดเก่งอยู่แล้ว จึงได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีเป็นครั้งแรก และเขายืนยันว่าไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เลย
"ผม เข้าร่วมเต็มตัวเมื่อปี 2552 ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับทักษิณ ในสื่อของคนเสื้อแดงเองพยายามเกาะกระแสคุณทักษิณ เพราะมันขายได้ แต่การต่อสู้ของพวกเรามันไม่ใช่ ถามว่าที่ผ่านมาทักษิณช่วยอะไรผม ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ทั้งที่ผมเป็นคนเชียงใหม่ เต็มที่ที่ช่วยเราได้ก็คือเรื่องโฟนอิน" 
อย่าง ไรก็ตาม เขาเห็นว่านโยบายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนโยบายที่ดี แต่ถ้าจะถามว่าโกงไหมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน เพราะไม่ได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค จึงไม่รู้ว่าทุจริตเชิงนโยบายเป็นอย่างไร รู้อย่างเดียวว่าตอน พ.ต.ท.ทักษิณ บริหารประเทศ สำนักงานนักสืบของเขาเฟื่องฟูมาก
"ยอม รับว่าในช่วงแรกๆ การต่อสู้ของคนเสื้อแดงจะเกี่ยวข้องกับการโหยหานโยบายของรัฐบาลคุณทักษิณ อยู่มาก แต่ภายหลังชาวบ้านก็มีพัฒนาการทางความคิด ผมมองว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อย่างการนำมวลชนไปจัดเวทีที่ อ.แจ้ซ้อน จ.ลำปาง พี่น้องชาวเขามากันเต็ม ขนาดสื่อของรัฐประโคมข่าวว่าเสื้อแดงล้มเจ้า แล้วเขาก็เสพได้แต่สื่อของรัฐ เขาก็ยังมากัน ฉะนั้นผมจึงเชื่อว่าถ้าเขาไม่มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เขาคงไม่มาร่วมเวทีที่เราจัดแน่ เขาอาจได้ดูคลิปหรืออ่านข้อมูลที่เราเอาไปเผยแพร่ส่วนหนึ่งเวลาจัดเวที ผมคิดว่าเขาคงได้วิเคราะห์และปฏิเสธข้อมูลจากทางอื่นมาแล้วส่วนหนึ่งด้วย คงไม่ใช่เพราะเราไปเปิดเวทีอย่างเดียวหรอก และเขาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกรัฐกระทำ"
ดาบ ชิต มองว่า ปัญหาหลักของประเทศไทยคือการรวมศูนย์อำนาจ และสั่งการทั้งหมดมาจากส่วนกลาง ฉะนั้นไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ข้อเรียกร้องของประชาชนก็ไม่เคยได้รับการตอบสนอง
"โครง สร้างประชาธิปไตยไทยมันไม่เปลี่ยนแปลง ยังเป็นโครงสร้างเดิม เผลอๆ จะถอยหลังกลับไปก่อน พ.ศ.2475 ด้วยซ้ำไป ประชาธิปไตยแบบไทยๆ รวมอำนาจอยู่ที่เดียว เราคิดว่าอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน เพื่อปวงชน แต่ตอนนี้ผมมองว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่เราไปเรียกร้องไม่เคยได้ ประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ยังไม่มีครั้งไหนที่มวลชนรวมตัวไปร้องขอแล้วได้ ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ตาม แม้แต่ช่วงที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ"
"ชาว บ้านกรือเซะ ตากใบ (จากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต้องเสียชีวิตจำนวนมากจากปฏิบัติการทางทหาร) เขาก็ใช้การร้องขอเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้รับอะไร สาเหตุเป็นเพราะอำนาจมันรวมศูนย์อยู่ที่เดียว ไม่รู้ที่ไหน แล้วมันเป็นการกระจายอำนาจแบบสั่งการลงมา ประชาธิปไตยตามความหมายของผม อำนาจต้องมาจากฐานล่างขึ้นไป ข้างบนเป็นปิระมิด แต่นี่กลายเป็นอำนาจแผ่ลงมาเหมือนสายน้ำ เหมือนละอองฝน"
ดาบชิตยังเห็นว่า นักการเมืองและพรรคการเมืองในปัจจุบันล้วนเป็นธุรกิจการเมือง ทางออกสำหรับประเทศนี้ต้องใช้ระบบไพรมารี โหวต (Primary Vote หมาย ถึงการเลือกตั้งขั้นต้นที่ให้สมาชิกพรรคลงคะแนนเลือกบุคคลหรือผู้เสนอตัว เป็นผู้สมัครก่อน ใครได้คะแนนสนับสนุนสูงสุดจึงจะเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งสนามใหญ่) 
"เอา แค่พรรคเพื่อไทยที่คนมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกับเสื้อแดง แต่จากประสบการณ์ของผมคือ ส.ส.เพื่อไทย187 คน มีกี่คนที่ต่อสู้เพื่อมวลชน ผมว่าไม่ถึง 50 คนด้วยซ้ำ เอาแค่เชียงใหม่ ส.ส.เพื่อไทย 9 คน เต็มที่ก็เอาน้ำมาบริจาค 2 แพ็ค"
"ผม เชื่อว่าถ้าอยากให้นักการเมืองเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง จำเป็นต้องนำระบบการเลือกตั้งแบบไพรมารี โหวต มาใช้ ผมจำคำพูดของคุณทักษิณได้เมื่อคราวที่ตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ๆ เขาพูดว่ามวลชนส่งคนให้พรรคเลือก พรรคส่งคนให้มวลชนเลือก ผมเชื่อว่าถ้าการเมืองไทยสามารถทำแบบนี้ได้ สมมติว่าเพื่อไทยริเริ่มทำ ผมก็เห็นดีด้วย"
"ผม เชื่อเรื่องไพรมารี โหวต เหมือนที่อเมริกา คือมวลชนส่งคนให้พรรคเลือก พรรคส่งคนที่มวลชนเลือกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง สมมติว่าเชียงใหม่เขตหนึ่งมี ส.ส.ได้ 3 คน เอามาสัก 20 คนให้คนเสื้อแดงเลือกก่อนว่าอยากให้ใครเป็น ส.ส. มันก็จะได้คนที่ชาวบ้านอยากได้จริงๆ มิฉะนั้นก็จะได้ ส.ส.ที่ไม่ทำอะไรนอกจากจัดงานวันเกิดแล้วเรียกหัวคะแนนมากินข้าว เพราะ ส.ส.มองว่าการเมืองคือธุรกิจของเขา เป็นการจ่ายเงินให้หัวคะแนนไปซื้อเสียง"
หลังปฏิบัติการกระชับพื้นที่เมื่อเดือน พ.ค.2553 ดาบชิตสะท้อนว่า ขบวนการเสื้อแดงยังไม่ฟื้นแต่ไม่ล้ม
"ทุก วันนี้เราทำกิจกรรม ความต้องการคือตรึงมวลชนเก่าให้อยู่ ส่วนการต่อยอดเพื่อเพิ่มมวลชนใหม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอแค่มวลชนที่ตกใจจากกรุงเทพฯกลับมา มวลชนที่ตกใจจากการไล่ล่ากลับมา ก็จะสามารถตั้งหลักได้ ผมยกตัวอย่างตัวผมเองให้เขาเห็นว่าผมก็โดนข้อหาขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 ตอนนั้นไปเคลื่อนไหวหน้าสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาและศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ไปยื่นหนังสือให้ช่วยกดดันรัฐบาลไม่ให้ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ซึ่งผมทำโดยสันติวิธี แต่กลับมีหมายเรียกขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯมา ผมก็ชิงมอบตัวเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหา จะได้ไม่มีการออกหมายจับ มิฉะนั้นจะไม่ได้ประกันตัว คดีของผมจะต้องต่อสู้จนอัยการสั่งไม่ฟ้อง เพราะพวกผมไม่ได้มีความผิด"
"ผม เคยคุยกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ว่าชาวบ้านถูกกระทำอย่างนี้ๆ ตอนนั้นเชียงใหม่ยังมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ ผมบอกเขาว่าถ้าท่านอยากลงไปชุมชน ไปกับผมได้ เพราะตอนนี้ชาวบ้านเขาปฏิเสธเจ้าหน้าที่รัฐทุกภาคส่วน หมออนามัยเขายังปฏิเสธเลย ท่านส่งทหารไป 2-3 คน ชาวบ้านย่อมปฏิเสธ อย่าไปหวังว่าจะได้ข้อมูลอะไรจากชาวบ้าน ถ้าได้ก็เป็นของปลอม แต่เขาก็ไม่เอา เขาทำแบบของเขา ใช้ทหารลงไป ภาษาราชการเขาเรียก "ไปฟื้นฟูสภาพจิตใจ" แต่ชาวบ้านเรียกว่า "ไปข่มขู่ ไม่ได้ไปฟื้นฟู" มุมมองมันต่างกัน" 
คน ทั่วไปอาจคิดว่าคนเสื้อแดงกับคนเสื้อเหลือง หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน แต่ในความเห็นของดาบชิต เขามองว่าคนเสื้อเหลืองไม่ใช่คู่ต่อสู้ และไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เพราะสิ่งที่ต้องการคือเรื่องระบบโครงสร้าง
"ผม มองว่าพี่น้องพันธมิตรฯก็คือนักต่อสู้เหมือนเรา เพียงแต่ต่างกันเรื่องแนวคิด ผมว่าเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงมีอุดมการณ์เหมือนกันหมด คือต้องการให้ประเทศเดินหน้าไปได้ด้วยดี แต่ความเชื่อของพันธมิตรฯจากที่เขาได้รับการปฏิสังขรณ์ทางความคิดจากคุณสนธิ (นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ) ว่าคุณทักษิณเป็นคนเลว เขาก็ไปเชื่ออย่างนั้นจากสื่อที่กรอกหูอยู่ทุกวัน ที่จริงคนเสื้อเหลืองเป็นนักต่อสู้เหมือนเรา เขามีอุดมการณ์เรื่องประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ความเชื่อเท่านั้นเอง"
"ผม เคยคุยกับพรรคพวกที่เป็นพันธมิตร ผมบอกว่าการเลือกตั้งมันมีมานานเท่าไหร่แล้ว แต่คุณมีปัญญาไหมที่จะไปชี้แจงกับชาวบ้านว่าคุณจะเข้าไปทำอะไร ถามว่าการเมืองใหม่ที่พันธมิตรฯเสนอเรื่อง 70:30 (สัดส่วนผู้แทนจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง) ผมว่าเป็นการคิดมิติเดียว การจะคัดคนชั่วหรือคนดีเข้าสู่สภาโดยใช้การแต่งตั้งผสมเลือกตั้ง อย่างระบบการคัดสรร ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญปี 2550) จำนวน 74 คน ซึ่งทำกันในกลุ่มเล็กๆ ถามว่ามีคนดีกี่คน แล้วคนอื่นได้เลือกไหม คนกลุ่มเล็กๆ อาจมองว่าคนนี้ดี แต่ผมอาจจะมองต่างก็ได้ คนดีที่ว่านั้นดีสำหรับใคร คนเลวเลวสำหรับใคร ด้วยเหตุนี้ผมถึงต่อต้านเรื่องการแต่งตั้ง"
"สังคม มองว่าความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเรื่องเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง แต่ผมมองว่าไม่เกี่ยวกับเสื้อเหลืองเลย เสื้อเหลืองเป็นแค่ผู้นำสารของระบบมาสู่พี่น้องมวลชนให้เกิดความเกลียดชัง และเชื่อว่าคุณทักษิณเลว พี่น้องพันธมิตรฯจะขีดเส้นแค่ทักษิณ เขาไม่ได้มองที่ระบบ แต่สำหรับผมคู่ขัดแย้งคือระบบ ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ แต่คือระบบโครงสร้างการปกครองไทยที่เป็นปัญหา ไม่ใช่ตัวคนหรือระบบทุนนิยม เพราะถึงไม่มีคุณทักษิณ คนอื่นก็มาอยู่ดี เนื่องจากระบบมันเป็นแบบนี้ ใครมีอำนาจเงินมากที่สุด ใครมีอำนาจทางทหารมากที่สุด ใครมีอำนาจทางวาจามากที่สุด อำนาจก็อยู่ที่คนๆ นั้น เพราะมันเป็นอำนาจรวมศูนย์"
"ผม ไม่ชอบใจโครงสร้างนี้ ถ้าโครงสร้างนี้ล้มไปเสีย ศูนย์อำนาจไม่มี อำนาจก็จะมาจากมวลชน มาจากประชาชน มันก็อาจจะมีไพรมารี โหวต อาจจะมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรง นายกฯลงสมัครรับเลือกตั้งพร้อมทีมงานเลย ใครจะเป็นประธานสภาก็สมัครมาเลย"
"สิ่ง ที่ผมทำตอนนี้คือทำให้คนรู้เพิ่ม ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถทำให้คนมาใส่เสื้อแดงและมีความเชื่อแบบคนเสื้อแดงได้ 31 ล้านคน ประเทศนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงโดยคนเสื้อแดงได้ เปลี่ยนแปลงโดยสันติได้ ถ้าคนออกมายืนบนถนนพร้อมกัน 31 ล้านคน เราก็เป็นเสียงข้างมากของคนในประเทศที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ แล้วเอาตัวแทนจากที่คน 31 ล้านคนเลือกมาร่างกติกาที่จะอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เสียเลือดเนื้อ"
ทั้งหมดคือความหวังของ "ดาบชิต"...แดงเฉดไม่โง่ ไม่จน ไม่เจ็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน