แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สดุดีวีรประวัติ 68 ปีไทยมีเอกราช : ไม่มีเทวดาฟ้าประทานให้ แต่ด้วยจิตใจเสียสละรักชาติของราษฎร

ที่มา :  Thai E-News

 

สดุดีวีรประวัติ 68 ปีไทยมีเอกราช:ไม่มีเทวดาฟ้าประทานให้ 

แต่ด้วยจิตใจเสียสละรักชาติของราษฎร 

 

รูปภาพ : From War to Peace, August 16, 1945
16 สิงหา 2488/1945 ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการฯ ประกาศสันติภาพ
15 สิงหา จักรพรรดิฮิโรฮิโต ญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้สงครามโลก ครั้งทีี่่ สงครามมหาเอเชียบูรพา 
09 สิงหา สหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูลูกที่สอง ลงที่นางาซากิ คนตายไปเกือบแสน ในพริบตา 
06 สิงหา สหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูลูกแรก ลงที่ฮิโรชิมา คนตายไปเกือบแสน ในพริบตา

เดือนสิงหาคม ปี 2488 หรือ 68 ปีมาแล้ว 
มีเหตุการณ์สำคัญ ควรเรียน จดจำ จาก ปวศ มากมาย 
และสำคัญสำหรับอนาคต ของสยามประเทศ กับ ประชาคมอาเซียน ครับ 

ปีนั้น 17 สิงหา ซูการ์โน ก็ประกาศเอกราช อินโดนีเซีย 
ปีนั้น 30 สิงหา เบาได๋ ก็ประกาศสละราชสมบัติ 
สิ้นสุดระบบจักรพรรดิศักดินา 
อีกไม่กี่วันต่อมา คือ 2 พฤศจิกา โฮจิมินห์ ก็ประกาศเอกราช เวียดนาม

ปีนั้น ด้วยการนำของ ฯพณฯ ปรีดี ไทยเรามีความหวัง ไม่ถูกปรับให้แพ้สงคราม 
บ้านเมืองจะเป็น ประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยใหม่

5 ธันวา ปีนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็เสด็จกลับจากสวิส 
พร้อมพระมารดา และอนุชา 
แต่ 9 มิถุนา 2489/1946 หรือ 6 เดือนต่อมา 
ก็ต้องพระแสงปืน สวรรคต อย่างมีเงื่อนงำ 
ฯพณฯ ปรีดี ถูกใส่ร้ายป้ายสี "ฆ่าในหลวง" 

8 พฤศจิกา พลโทผิน ขุณหะวัน 
ร่วมมือกับพรรค ปชป ของ ควง อภัยวงศ์ 
ทำ "รัฐประหาร" 
และแล้ว สยามประเทศไทย 
ก็กลับกลายเป็น อประชาธิปไตย 
จนแล้ว จนรอด ก็ยังไม่หลุดออกจาก บ่วงกรรม อันนี้

สรุป 
นิทาน เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า 
เรายังไม่ได้เรียน หรือ รับอนุญาต ให้เรียนรู้จาก ปวศ ครับ

เสรีไทยเดินสวนสนามหลังสงครามสงบ 16 สิงหา 2488 ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ประกาศสันติภาพ ทำให้ไทยมีเอกราชสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม


Name:  IMG_0112.JPG
Views: 495
Size:  307.2 KB
เสรีไทยแพร่


เสรีไทย สกลนคร

ใน เวลานั้นนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ในห้วงเวลานั้นในหลวงรัชกาลที่ 8 รวมทั้งพระชนนี สมเด็จพระอนุชา(ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน) ประทับอยูที่สวิตเซอร์แลนด์ 

พระ ราชวงศ์ชั้นสูงในเวลานั้นที่ประทับในเมืองไทยมีสมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า นายปรีดีได้เชิญเสด็จอพยพไปประทับที่อยุธยา ระหว่างที่เสด็จอพยพหลบภัยอยู่นี้ สมเด็จฯ ทรงมีพระราชหฤทัยนึกถึงสมเด็จพระราชนัดดาอยู่เสมอ ได้ตรัสว่า

“ดีใจ๊ ดีใจ หลานอยู่เมืองนอกไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นฉันคงเอาไม่รอด ห่วงหลาน”

การ ถวายความอารักขาให้พ้นภัยสงครามครั้งนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี และเมื่อสิ้นสงคราม ได้รับสั่งเรียกนายปรีดี ไปที่ประทับและขอบใจ ซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง (อ่านรายละเอียด)


ปากคำหัวหน้าเสรีไทย:เราถือประโยชน์ของชาติสำคัญกว่า แต่ผมประมาทเลยโดนพวกเก่าเล่นงาน



หมายเหตุไทยอีนิวส์:ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ สัมภาษณ์โดย ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เผยแพร่ในfacebookของ Sinsawat Yodbangtoey เราได้คัดมาเฉพาะัในส่วนที่พูดถึงขบวนการเสรีไทย

ฉัตรทิพย์ :
อาจารย์ครับ เมื่อโยงเรื่องนี้เข้ากับเสรีไทยซึ่งเป็นขบวนการ (movement) ที่มาจากประชาชนเยอะมากทีเดียว ผมได้ไปทางภาคอีสานและได้เคยคุยกับคนที่เคยเป็นเสรีไทยเก่า ได้ไปเห็นสนามบินของเสรีไทยผมรู้สึกว่ามีขบวนการที่มาจากประชาชนมาก 

ก็อยากเรียนถามอาจารย์ว่ามีช่วงหนึ่งหลังสงครามที่คณะเสรีไทยมีบทบาทมากทำไมในช่วงนั้นโอกาสที่จะจัดตั้งทางด้านประชาชนหรือชาวนาให้ได้ทำการอะไรต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเขา หรือเพื่อมีส่วนมีเสียงในสังคมในรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้นไปกว่านั้น มันจึงจบลงไปด้วยเวลาสั้นเหลือเกิน 

ทำไมในช่วงนั้นท่านอาจารย์ไม่สามารถจะทำให้พลังของประชาชนอันนั้นมาสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ก้าวหน้ากว่าได้ ทั้งๆที่รู้สึกว่า เป็นช่วงที่มีเชื้อขึ้นมาเยอะแยะแล้ว แต่ทำไมกลับฟุบไปอีก อาจารย์กรุณาอธิบายด้วยครับ

ท่านปรีดี :คือการต่อสู้ญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม เรามิได้เป็นชนชั้น เพราะถือเช่นนั้นไม่ได้ คือว่าต้องทุกชนชั้น คือคนไทยที่รักชาติจะอยู่ในชั้นใดก็ตามที่ร่วมมือการต่อสู้ญี่ปุ่น และความจริงก็เป็นเช่นนั้น คือมีเจ้าหลายองค์ หรือลูกเจ้า พวกเศรษฐี พวกโดยมากก็เป็นครู ประชาชนผู้แทนที่เขาเคยจัดตั้งก็หลายคน และเราได้ตกลงกันว่ามีเพียงการกู้เอกราชของชาติและเอกราชสมบูรณ์ที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองให้สำเร็จและให้สัมภาษณ์โดยรับรองมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คุณอ่านหนังสือของผมหรือยัง หนังสือตอบพระพิศาลเรื่องเสรีไทย 


และเมื่อเราให้คำมั่นไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อเสร็จสงครามเดือนสิงหา เดือนกันยาเราก็ยุบเลิก เราจะไปฉวยโอกาสเอามาทำเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของเรามันก็ผิดความประสงค์ไป

ฉัตรทิพย์ :ก็ถ้าเพื่อประชาชนเล่าครับ

ท่านปรีดี :มันก็เท่ากับไปหักหลังเขา มันทำไม่ได้ ผมเห็นว่าเราไม่ควรทำ อีกอันหนึ่งเราก็ปล่อยว่าใครจะตั้งพรรคอย่างไรก็เอา อย่างเช่น ในภาคอีสานก็มีพรรคสหชีพซึ่งคุณเตียง, ทองอิน, ถวิล, จำลอง บุคคลระดับหัวหน้าที่ถูกเขาจับเอาไปฆ่า


ทีนี้เกี่ยวมาถึงสหชีพนั้นผู้แทนอีกหลายส่วนก็ได้ช่วยกันจัดตั้งขึ้น แต่ว่าก็เป็นอดีตเสรีไทยส่วนมากคือ เสรีไทยในบางชนบท ส่วนมากมีผู้แทนราษฎรที่ติดต่อกับราษฎรในท้องถิ่นและครูประชาบาล ครูประชาบาลมีอิทธิพล คุณคงเข้าใจ เป็นอันว่าถ้าผมไม่คิดถึงคำสัญญาว่าเอาเถอะ ทุกคนมาร่วมกันนะเราจะไม่หักหลังกัน ถือประโยชน์ของชาติเป็นส่วนใหญ่ แล้วผมก็อาจพิจารณาทำอย่างที่คุณคิดว่าทำไมผมไม่ทำ แต่นี่ผมทำอย่างนั้นไม่ได้

ฉัตรทิพย์ :อาจารย์สัญญากับคนอื่นๆ ที่มาร่วมที่ไม่ใช่ชนชั้นชาวนา

ท่านปรีดี :ชาวนาแท้จริงที่เข้าร่วมขบวนเสรีไทยเป็นคนซื่อสัตย์ถือประโยชน์ส่วนรวมของชาติเหนือชนชั้นของตน และรู้ว่าต้องมีขบวนการกว้างใหญ่รวมทุกชนชั้นจึงต่อสู้ศัตรูระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นได้ เมื่อกองบัญชาการเสรีไทยในนามของเสรีไทยได้เห็นสมควรให้สัญญากับบุคคลแห่งชนชั้นใดที่มาเข้าร่วมขบวนการแล้ว ขบวนการก็ต้องซื่อสัตย์ 


ฉัตรทิพย์ : เป็นความกดดันจากต่างประเทศด้วยหรือเปล่าครับ

ท่านปรีดี : ไม่ใช่ความกดดัน เราก็ต้องการที่ให้ชาวอังกฤษ อเมริกาเขาเข้าใจ เพราะคุณย่อมทราบแล้วจากที่ผมเคยชี้แจงไว้ในหลายบทความ รวมทั้งในหนังสือของผมชื่อ “ จดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ ถึงพระพิศาลสุขุมวิท เรื่องจดหมายเหตุของเสรีไทยเกี่ยวกับปฏิบัติการในแคนดี นิวเดลฮี และสหรัฐอเมริกา” ใจความสำคัญ ขบวนการเสรีไทยจำต้องปฏิบัติภารกิจในการรับใช้ชาติไทย ๒ ด้านประกอบกันคือ

๑) ต่อสู่ญี่ปุ่นผู้รุกราน และ๒) ปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบา

ทั้งนี้เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา และก่อสถานะสงครามกับจีน ฝ่ายบริเตนใหญ่และออสเตรเลียและสหภาพอาฟริกา (ขณะนั้นยังอยู่ในเครือจักรภพ “Commonwealth” ของอังกฤษ) ก็ได้ประกาศสงครามต่อประเทศไทยเป็นการโต้ตอบ ฉะนั้นขบวนการเสรีไทยจึงต้องปฏิบัติด้านสำคัญนี้ด้วย ซึ่งต่างกับขบวนการการจีนก๊กมินตั๋ง, จีนคอมมิวนิสต์, กับองค์การที่ขึ้นต่อจีน จึงต่อสู้ญี่ปุ่นด้านเดียวก็พอแล้ว เพราะจีนมิได้มีสถานะสงครามกับสัมพันธมิตร

เราถือประโยชน์ของชาติสำคัญที่สุดกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและกลุ่ม แต่ผมประมาทไปก็เลยโดนพวกเก่าเล่นงาน

ส่วนขบวนการกุมภาพันธ์นั้น ความจริงคุณเตียงมิได้เกี่ยวข้องไม่ได้ส้องสุมอะไร แต่เขาเห็นว่าคุณเตียงเป็นศิษย์ผม เขาก็จับไปฆ่า

ฉัตรทิพย์ :แต่ทำไมพลังถึงสูญไปเร็ว ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สนับสนุนเต็มที่แล้ว

ท่านปรีดี :ถึงแม้เขาถูกทำลายโดยรัฐประหาร ๒๔๙๐ แต่เขาก็ยังคงเกาะเป็นกลุ่มกันอยู่ ต่อมาเมื่อบุคคลระดับหัวหน้าถูกปราบถูกฆ่า กลุ่มก็ค่อยๆ ละลายไป
************



เมื่อวานนี้ 




คำชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติพรรคสหชีพ

คำบอกเล่าเกี่ยวกับพรรคสหชีพนั้นมีจำนวนไม่น้อย ฉะนั้นผมจึงขอให้คุณกับสานุศิษย์โปรดสอบสวนเอกสารหลักฐานซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แท้จริงของการเมืองแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

๑. เมื่อขบวนการเสรีไทยได้ยุบตนเองในวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว สมาชิกแห่งขบวนการนั้นก็แยกย้ายกันไปประกอบกิจต่างๆ กันตามสมัครใจ อาทิ บางคนกลับไปเป็นข้าราชการประจำตามเดิม บางคนประกอบธุรกิจส่วนตัว บางคนรับใช้ชาติในทางการเมืองโดยสมัครเป็นผู้แทนราษฎรอิสระบ้าง ประกอบเป็นพรรคการเมืองตามอุดมการณ์ของตนบ้าง ฯลฯ

๒. พรรคสหชีพเป็นพรรคหนึ่งในบรรดาหลายพรรคที่ตั้งขึ้นภายหลังกันยายน ๒๔๘๘ โดยใช้วีธีต่อสู้ทางรัฐสภา

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงก่อนรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ นั้น สมาชิกพรรคสหชีพได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจำนวนมาก แต่ยังมีจำนวนไม่พอที่จะตั้งเป็นรัฐบาลโดยลำพังผู้แทนราษฎรของพรรคสหชีพได้ ฉะนั้นพรรคสหชีพจึงร่วมกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคอิสระกับผู้แทนอิสระที่ไม่สังกัดพรรคใดประกอบเป็นรัฐบาลขึ้น

๓. ต่อมาในวันที่ ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ ได้มีบุคคลคณะหนึ่งทำรัฐประหารล้มระบบปกครองประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ และได้สถาปนาระบบรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ ๙ พ.ย. ๒๔๙๐ ที่มีฉายาว่ารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม และได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล

การรัฐประหารครั้งนั้นได้จับกุมสมาชิกพรรคสหชีพไปคุมขังไว้หลายคน และคุกคามที่จะจับกุมผู้ที่สงสัยว่าเตรียมการต่อต้าน

๔. แม้สมาชิกพรรคสหชีพถูกจับกุมและถูกคุกคามก็ดี แต่สมาชิกพรรคสหชีพก็พยายามต่อสู้ตามวิถีทางรัฐสภา

ฝ่ายรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ กับผู้ร่วมมือได้ใช้วิธีกีดกันอดีตผู้แทนรุ่นหนุ่มจำนวนมากที่สังกัด
พรรคสหชีพ, แนวรัฐธรรมนูญ, อิสระ มิให้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน