แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Design by นิติราษฎร์


Fri, 2011-09-30 14:39

Archiculture Cross Section

อีกครั้งที่ประเด็นทางการเมืองกลับสะท้อนอย่างอื่นออกมาให้แจ้งคาตา แล้วบอกว่ามันอาจไม่ใช่ปัญหาการเมืองในความหมายที่พวกผู้ใหญ่เชยๆมักกล่าว เตือนในความสกปรกของมัน จนเด็กดีๆอย่างเราควรไปสนใจทำอย่างอื่นเสียดีกว่า ซึ่งข้าพเจ้าก็เชื่อฟังมาจนทุกวันนี้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งพบว่าสิ่งนั้นมิได้ทั้งสกปรกหรือสะอาด ชะรอยว่ามันอาจมิใช่ปัญหาหรือปริศนาทางการเมืองเสียทีเดียวอีกตะหาก

ข้อเสนอของนิติราษฎร์มิใช่การประกาศข้อโต้แย้งทางการเมืองของความคิดฟาก ฝั่งใด(ในความหมายที่ว่ามันมีอยู่แค่ 2 ฟากในแบบปัจจุบัน) แต่มันเป็นผลงานการออกแบบโดยนักกฏหมาย ที่productของมันคือกฏเกณฑ์ข้อตกลงทางสังคม

ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุหนึ่งที่มันเขย่าการถกเถียงได้อย่างอึกทึก ก็อาจเพราะตัววิธีการคิดแบบใช้ creativity นำหน้าเข้าไปทลายกฏเกณฑ์ และบางอย่างที่คล้ายกระบวนการออกแบบนั้นเอง ที่อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับระเบียบวิธีก่อร่างสร้างกฏของวงการกฏหมายแบบไทยๆ ที่คงจะยังมีpatternตามจารีตบางอย่างกำหนดไว้

กฏหมายอีกนัยหนึ่งก็คือจารีตที่แข็งตัว ว่ากฏก็คือกฏ จะเปลี่ยนอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฏเดิมที่ใหญ่กว่า, ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่กว่า นิติศาสตร์ดูเป็นอาชีพที่น่าเบื่อ ที่เข้าไปเรียนท่องกฏหมาย และไม่เคยมีหนังไทยเรื่องไหนมีบทสนทนามันส์ๆบนฉากการโต้กันระหว่าง ทนาย-อัยการ-ศาลเท่าหนังอเมริกันอย่าง JFK หรือ A few good men เป็นต้น

ผู้เขียนจะลองไล่ทีละประเด็นโดยเปรียบเทียบวิธีคิดที่แสดงออกมาในข้อเสนอ ของนิติราษฎร์ กับกระบวนการออกแบบ เท่าที่สมองมนุษย์เคยคิดค้นวิธีการหรือจดบันทึกกันเอาไว้ โดยละเนื้อหาของข้อเสนอไว้ในฐานที่เข้าใจว่าได้อ่านและฟังกันมาแล้ว (และเข้าใจเท่าที่ประชาชนเข้าใจ ไม่ใช่อย่างนักเทคนิคทางกฏหมาย)

หนึ่ง เมื่อสิ่งใดๆเริ่มใช้การได้ไม่ดี ไม่สะดวก ไปจนถึงเป็นอันตราย มนุษย์ก็จะเริ่มออกแบบสิ่งนั้นๆใหม่ ไม่ว่าจะโดยผู้ออกแบบผู้มีชื่อเสียงหรือนิรนามก็ตาม

อันนี้ท่านคงพอเข้าใจได้เอง ว่าการใช้การได้ของกฏหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมไทยในช่วง 5ปีที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ผลิตอะไรเพิ่มให้แก่สังคมนอกจากจำนวนมาตรฐานและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ นั่นหมายความว่ามันมีสิ่งผิดปกติที่สมควรเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการออกแบบ เสียใหม่ นักออกแบบอาจมองเห็นอะไรแบบนี้ในระดับการโค้งงอของแปรงสีฟันในปาก แต่เหล่าท่านอ.นิติราษฎร์เห็นขี้ฟันที่ตกค้างอยู่ในซอกหนึ่งหรือหลายซอกของ กฏหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องเพราะรูปร่างของแปรงสีฟันและยาสีฟันที่ใช้ หรือแม้กระทั่งท่าทีและนิสัยของตัวผู้ใช้ เป็นต้น

ข้อนี้มีทั้งผู้ที่ตระหนักว่ารัฐประหารนั้นเป็นขี้ฟัน ส่วนบางท่านยังคิดว่ามันเป็นทองที่เลี่ยมฟัน(ปกปิดฟันผุ ฟันหลอ)จึงมิควรต้องทำการออกแบบใดๆ เลยไม่อ่านผลงานออกแบบให้เข้าใจ เขวี้ยงแบบทิ้งแล้วปากไวด่าเลย (เสียหมาปลาหมอไปหลายท่าน)

สอง ในกระบวนการออกแบบ หลังการค้นพบในข้อที่หนึ่ง สิ่งที่ทำต่อไปคือการสร้างทางเลือกหรือทำ alternative design เพราะเราอยู่ในยุคสมัยที่รู้ว่าพระเจ้าหรือกษัตริย์จะไม่ส่งนิมิตหรือคำตอบ จากสวรรค์เพียงคำตอบเดียวมาสู่ศิลปินอีกต่อไปแล้ว เราก็จะร่างsketchรูปแบบทางเลือก แล้วทำการวิเคราะห์แจกแจงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกจนมันเหลือน้อยที่สุด จนประกอบร่างใหม่เป็นแบบที่ต้องการนำเสนอที่คิดว่าเข้าท่าที่สุด

อาจกล่าวได้ว่าเราทุกคนเหมือนติดกับดักกันอยู่ในข้อที่หนึ่ง เราพูดถึงภาวะไม่น่าสบาย แล้วก็มีเพียงคำปรองดองเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ราวกับว่าสวดคำนี้ออกมาบ่อยๆแล้วมันจะบรรเทาทุกสิ่ง ทำให้ขี้ฟันหายไปฟันไม่ผุโดยไม่ต้องทำการแปรงฟัน ยิ่งสวดก็ยิ่งเหม็นขี้ฟัน...แล้วคนที่คิดออกว่าจะเริ่มทำอะไรก็อาจเป็นเพราะ เลิกหมกมุ่นวิเคราะห์กับคำนี้ แต่สำรวจจ้องมองเรื่องรัฐประหารและสิ่งที่รายรอบมัน

ข้อเสนอนิติราษฎร์เป็นเหมือนการทำ alternative design sketch ที่ยังมิได้ทำการผลิตออกมาเป็นproduct (และก็เสนอกระบวนการเพื่อที่จะผลิตมันออกมาในขั้นต่อไป) เขาออกมาเสนอแนวความคิดหลักแต่สังคมคุณพ่อรู้ดีก็รีบตอบรับความแหลมคมทาง ความคิดด้วยการทิ่มมันกลับไปหาคนคิด หรือวิธีการเก่าๆที่ว่าแค่เพียงความคิดก็เป็นภัยต่อความมั่นคง(ทาง ใจ)บางอย่างไปต่างๆนานาเสียแล้ว เช่น เสนอมาแล้วสังคมจะแตกแยก, ทักษิณกำลังจะคืนชีพ, อ. ฉลาดๆอย่างอ.วรเจตน์จะได้เป็น สสร.(มันน่ากลัวตรงไหน(ฟระ)?)

สาม การพบว่าโจทย์ในการออกแบบนั่นแหละคือปัญหา และกฏที่มีอยู่ต่างหากที่เป็นอุปสรรค แล้วนำไปสู่แนวความคิดหลักในการออกแบบหรือข้อเสนอของเขา

อาการ panicดังกล่าวยืนยันว่าเรามีปัญหาในข้อที่หนึ่ง ซึ่งมันคือตัวโจทย์เองกำลังบอกเราว่า...เรามีปัญหาใหญ่หลวงให้แก้ แต่ห้ามคิดหรือทำอะไรใหม่ๆ(ที่ไปแตะ 1 2 3 4....) มาร่วมแก้โจทย์กันเถิด?.... หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการตั้งโจทย์ลักษณะนี้ขึ้นมานี่แหละที่ทำให้การแก้ ปัญหานั้นๆเป็นไปไม่ได้ และนั่นก็หมายความว่าต้องทลายโจทย์แบบนี้ทิ้งเสียก่อน! ...

นิติราษฎร์เลือกเสนอalternativeที่ทลายกฏเดิม(ที่เป็นกฏหมายจริงๆ! ) หรือที่จริงแล้วมันลวง เพราะมันคือกฏหมายที่อุปโลกน์ตัวเอง ประกาศว่าตัวฉันเองคือกฏหมายจริงนะ เสนอลบทิ้งกฏหมายลวง(ประกาศนิรโทษกรรมตัวเองคณะปฏิวัติ) ที่ล็อคกฏหมายตัวที่ลวงต่อๆกันมาทิ้งเสียก่อน (บนการมีฐานคิดที่ว่ารัฐประหารเป็นตัวปัญหา ไม่ใช่แก้ปัญหาเสียก่อน แล้วไล่ตรรกะเชื่อมโยงกันมา)

มันทลายกฏเดิมและขยายจินตนาการความเป็นไปได้ออกไปได้อย่างไร?...อ่านราย ละเอียดแถลงการณ์ ในประเด็นเช่น ความไม่เป็นรัฐาธิปัตย์ของรัฐประหารนั้น หลายคนไม่อาจทลายความคิดนี้ด้วยเหตุที่รู้ว่าใครสนับสนุนรัฐประหาร ไม่ใช่เพราะไม่เชื่อว่าอำนาจประชาชนนั้นสูงสุด (เหตุผลแบบนี้อาจเป็นคุณสมบัติแปลกๆ แต่ดำรงอยู่จริงและมีความงามอย่างไทย!), ประเด็นที่ว่าโดย logicของข้อเสนอนี้เองควรปรับใช้กลับไปเยียวยาผลกระทบของรัฐประหารที่ผ่านมา ทุกครั้ง เช่น กรณี6ตุลา ที่คนผู้ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาพูดกันอยู่เงียบๆอย่างสิ้นหวังมาตลอด35ปี ว่าคดีหมดอายุความ และได้รับ(แผลเป็น)นิรโทษกรรมกันไปหมดแล้ว เป็นต้น)

สี่ แกเป็นใครจึงมาเสนอแบบร่างในการออกแบบ? ต้องมีผู้ว่าจ้างแกมาแน่ๆ

ผู้เขียนไม่มีความรู้ทางกฏหมายแต่จับใจความได้ว่า วงการนิติศาสตร์ไทยไม่ต้อนรับการคิดค้นหรือข้อเสนอแก้ไขกฏหมายใดๆที่ไม่ได้มาตามลำดับขั้นตอน เช่น ความคิดสร้างสรรค์ทางกม.นั้นอาจจะควรไหลมาจากทิศทางมาตรฐาน เช่นองค์กรสมาคมทนายความที่มีอยู่, รัฐสภา, คณะทำงานที่รัฐบาลตั้งให้ศึกษาชงเรื่อง, ฯลฯ ซึ่งก็อาจไม่มีอะไรที่น่าสนใจไหลออกมาอย่างเป็นเรื่องปกติกันไปเสียแล้ว นอกจากนี้ผู้เขียนก็ยังประหลาดใจที่ว่า ถ้าไม่ใช่นักวิชาการทาง นิติศาสตร์ที่น่าจะเป็นคนที่เสนอนวัตกรรมทางกฏหมายเสียแล้ว มันควรจะเป็นใคร? เราไม่ควรถามว่าเขาไปรับเงินใคร แต่ควรถามว่าสังคมแบบไหนกัน ปล่อยให้เขาต้องทำงานเหล่านี้กันโดยไม่ได้เงิน แถมโดนป้ายสีว่าอาจมีคุณสมบัติตามสูตรผู้ร้ายทั้งมวลอีกตะหาก?

เมื่อตอนไอน์สไตน์คิดทฤษฎีสัมพันธภาพก็ไม่มีใครจ้างแกซักหน่อย อย่าลืมว่าคนแบบนี้ยังมีอยู่ในโลก และอยู่กันอย่างเป็นปกติทั้งที่ดังและไม่ดังเท่าไอน์สไตน์ แต่มนุษย์อย่างกลุ่มนิติราษฎร์กลับกลายเป็นของแปลกของวงการกฏหมายไทยที่ เสือกเกิดมามีและใช้ความสามารถสร้างสรรค์ในทางกฏหมายโดยไม่มีคนจ้าง

หรือมันอาจมีลำดับชั้นบางอย่างในวงการนี้ ที่ความสร้างสรรค์ของนิติราษฎร์กระโดดข้ามหัวสังคมorganic หรือผิดสิ่งที่มักอ้างกันว่ามันคือ กาละเทศะ

ห้า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ยังเป็นsketch design ไม่ใช่ Product บังคับซื้อบังคับใช้แบบที่ประกาศคณะปฏิวัติทำไว้กับเรา หรือสร้างจารีตการบังคับใช้productที่เรียกว่ากฏหมายเอาไว้กับเรา มันไม่ใช่ของแจกฟรีโดยพวกเราไม่ต้องออกแรงใดๆอีกต่อไป มันจะใช้การได้หรือไม่(หรือจะได้ถูกเอามาใช้ไหม)ควรขึ้นอยู่กับการตัดสิน ใจของผู้ใช้ และแน่นอนที่ว่ากฏหมายนั้นเครียด ละเอียดอ่อนและแหลมคมกว่าขนแปรงสีฟัน ที่หากแค่สวยก็มีsupplierอยากซื้อแบบไปผลิตได้ทันที productใดๆมักผ่านการทำแบบร่างทางเลือกเป็นร้อยพันครั้ง ไม่นับว่าบางตัวผลิตออกมาเป็นseriesดัดแปลงไปตามผลตอบรับผู้ใช้ หรือบ้างก็งอกออกมาเป็นหลายversionในหนึ่งรุ่น เช่น แค่จะขายของอย่างชุดเก้าอี้พลาสติกของphillippe starkเขายังคิดกันหัวแตกเป็นปีๆ แต่สำหรับข้อเสนอขนาดเรื่องของกฏหมายรัฐธรรมนูญขนาดนี้ สังคมไทยห้าวเป้ง จ้องล้มschemeกันได้ตั้งกะยังไม่เข้าใจแบบกันเลยทีเดียว

นิติราษฏร์เสนอผ่านสาธารณะว่าให้นำข้อเสนอนี้ไปให้เหล่า สสร.ในอนาคตใคร่ครวญ ผลักดันมันออกมาเป็นการทำประชามติซะ ว่าประชาชนต้องการมีproductนี้ไว้ใช้ในครัวเรือนกันอย่างสามัญชนหรือไม่ คือเอาความคิดไปทดสอบกับผู้ใช้โดยตรง(ซึ่งคือประชาชนมิใช่ผู้รู้ ผู้อาวุโสมากบารมีใดๆ) คล้ายกับทำmarket test

และในระหว่างกระบวนการแบบสาธารณะนี้ หากมันจะทำให้เกิดไอเดียเป็นalternativeใหม่ๆที่แตกออกมาจากคนอื่นๆก็ยิ่งจะ ดีเข้าไปใหญ่เสียด้วยซ้ำ นิติราษฎร์เขาเสนอทางเลือกและประเด็น ไม่ได้ประกาศกฏหมายหรืออุปโลกน์ตัวเองเป็นผู้ประกาศกฏหมาย

การรับ-ไม่รับข้อเสนอนี้ในอนาคตก็ไม่ใช่เพื่อการพิสูจน์ฟาดฟันเอาชนะทาง ความคิดของฟากไหนทั้งสิ้น เสียงส่วนใหญ่อาจไม่รับ แล้วถึงแม้ถ้าคนคิดเขาจะเอาแบบกลับไปปรับใหม่ มาเสนอใหม่ก็น่าจะดำเนินกันต่อไปได้มิใช่หรือ? ทำไมความคิดสร้างสรรค์จึงจะกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจไม่สมควร หรือคู่ควรแก่การรับรู้ของสาธารณะล่ะหรือ? มีแต่วิถีแบบนี้เท่านั้นจึงจะเป็นสังคมที่เราเรียกว่าเปิดกว้างและเป็น ประชาธิปไตยไปพร้อมๆกับมีความปรองดองแบบที่ท่านโหยหากันมิใช่หรือ?

หก และแน่นอนวันใดที่มันเสื่อมประโยชน์ใช้สอย สินค้าใหม่ หรือกฏกติกาที่ทันสมัยกว่าย่อมสมควรถูกผลิตมาเสนอทดแทนวนเวียนไปจนกว่าโลกจะ แตก ผู้เขียนจึงไม่เข้าใจจริงๆว่าข้อตอบโต้ที่ไม่เป็นวิชาการ แต่แตกตื่นกับความคิดของนิติราษฎร์จะตกใจอะไรกันนักหนา เช่น ถ้าเราจะมีสสร.ที่เป็นนักนิติศาสตร์ที่ฉลาดๆกันเสียที ก็เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นโชคแก่ประเทศชาติเสียยิ่งกว่าการได้นายกคนก่อน หรือได้สสร.เกรียนๆในชุดก่อนอย่างสมคิดเสียด้วยซ้ำ

แน่นอนที่สุดว่าสังคมไม่ได้ต้องการแค่ความคิดสร้างสรรค์จากนิติศาสตร์ เหาะลงมาช่วยเราปรองดอง....แต่แค่ต้องการเงื่อนไขที่ยอมให้ความคิดสร้าง สรรค์ไม่ว่าจะของศาสตร์ไหนๆเกิด...มีชีวิต...และแก่ตายไปจนกว่าจะมีอันใหม่ มาเกิด

ไม่ใช่สังคมที่ทำแท้งมันเสียตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิเป็นแบบร่าง

http://www.prachatai3.info/journal/2011/09/37162

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน