แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นานาชาติบีบไทยให้สัตยาบันกรุงโรม เปิดทางลากคอฆาตกรสังหารหมู่ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 ตุลาคม 2554

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ตามเวลาในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เครือข่ายองค์กรระดับโลกได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทย เข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคมระบุรัฐบาลใหม่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ในลำดับต้น ๆ

นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา/ กรุงเทพมหานคร: ในวันนี้ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the International Criminal Court - CICC) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้ ต่อต้านระบบ ลบล้างความผิด” (Impunity) ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลกเพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญ กรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554 การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสำคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้น

หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ได้ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ในเร็ววัน

ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้ ในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์ เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อยจำนวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่าง ประเทศอยู่มาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ กล่าวคือมีเพียง 9 รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน

การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม แห่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ของรัฐบาลไทย จะเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนประเทศไทยอยู่ในฐานะที่มีบทบาทโดดเด่นในภูมิภาคเอเซีย และบทบาทนำในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” Evelyn Balais Serrano ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ขององค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศระบุภายใต้รัฐบาลใหม่ ถือได้ว่านี่เป็นโอกาสอันสำคัญยิ่งที่ประเทศไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันเข้า เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างจริงจัง และนี่จะเป็นความพยายามในการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการหยุดยั้ง และขจัดการลบล้างความผิด” (Impunity) และดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหยื่อผู้ถูกล่วงละเมิดท่ามกลางความขัดแย้งในอดีต ทั้งนี้ให้เป็นไปบนหลักการพื้นฐาน เป้าหมาย และเจตนารมย์แห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้มีส่วนร่วมในการประชุม ณ กรุงโรม และมีการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบัน และขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าข้อท้าทายทางกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นประเด็นคำถามขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความ (ไม่) สอดคล้องกันระหว่างธรรมนูญศาล กับกฎหมายภายในประเทศ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) เรียกร้องให้รัฐไทยได้ศึกษาบทเรียนการแก้ปัญหา หรือคลี่คลายความกังวลจากรัฐภาคีอื่น ๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการฝ่าข้ามความกังวลเหล่านั้นมาแล้วด้วยดี รัฐบาลใหม่ต้องแสดงจุดยืน และความมุ่งมั่นในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ภายใต้การปฏิรูประบบ กลไก และนโยบายหลักโดยรัฐบาล ผู้บริหารชุดใหม่ พึงจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมด้วย ทั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฎว่า ประชาชนไทยมีความห่วงใยและเห็นอกเห็นใจ รู้สึกในความสมานฉันท์กับผู้เจ็บปวด ผู้สูญเสีย และเหยื่อของความขัดแย้งในภูมิภาคเอเซีย และประเทศทั่วโลกนายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำสำคัญในคณะทำงานไทยว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าว

เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว รัฐบาลไทยจะสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมประจำปีของรัฐภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ในฐานะสมาชิก และเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมพิจารณาในประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการภารกิจศาล ตลอดจนการสรรหา/เลือกตั้งผู้พิพากษา หัวหน้าอัยการศาล และเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ

ข้อมูลพื้นฐาน

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) (ซึ่งแตกต่างจากศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - บรรณาธิการแปล) เป็นศาลถาวรระดับนานาชาติที่มีบทบาทอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรม สงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยที่อำนาจหน้าที่ของศาลจะยืนบนหลักการ เสริมแรง” (Complimentarity) คือมีอำนาจเสริมกับระบบศาลระดับประเทศ ไม่แทรกแซงหรือก้าวก่าวอำนาจศาลในประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีอำนาจในการตรวจสอบต่อเมื่อระบบศาลในประเทศนั้นไม่ ใส่ใจหรือไม่มีความสามารถที่จะพิจารณารับคำฟ้องดังกล่าว อันมีลักษณะที่จะต้องดำเนินการให้ผู้บงการให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

จนถึงปัจจุบัน อัยการศาลกำลังไต่สวนอยู่ 6 คดี ก่อนนำขึ้นสู่การพิจารณาคดีในชั้นศาล ได้แก่ คดีประเทศแอฟริกากลาง คดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คดีดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน คดีอูกันดา คดีเคนยา และคดีลิเบีย

ศาลได้ออกหมายจับ 18 ฉบับ หมายเรียก 9 ฉบับ มีคดี 3 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้อัยการศาลยังขออนุมัติอำนาจจากศาลเมื่อเร็ว ๆ นี้ ให้เปิดการไต่สวนกรณีไอวอรี่ โคสต์ อัยการศาลยังระบุว่าเขากำลังพิจารณา 8 กรณี จาก 4 ภูมิภาค อันได้แก่ แอฟกานิสถาน โคลอมเบีย จอร์เจีย กีนี ฮอนดูรัส เกาหลีใต้ ไนขีเรีย และปาเลสไตน์

องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นเครือข่ายระดับโลกขององค์กรภาคประชาสังคม ใน 150 ประเทศ ที่ทำงานร่วมกันในการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกับศาลอาญาระหว่าง ประเทศ เพื่อให้มีหลักประกันว่า ศาลจะมีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระ ดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง และมีความเป็นสากล นอกจากนี้ยังรวมถึงการช่วยพัฒนากฎหมายในระดับประเทศ ให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมแก่เหยื่อจากอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก
www.coalitionfortheicc.org

รายละเอียดฉบับภาษาอังกฤษ ที่มา:
http://www.iccnow.org/documents/PR_for_Thailand_URC-FINAL.pdf

FOR IMMEDIATE RELEASE
3 October 2011

GLOBAL COALITION CALLS ON THAILAND TO JOIN THE INTERNATIONAL CRIMINAL COURT

Civil Society Says New Government’s Priorities Should Include Accession to Rome Statute

New York, USA / Bangkok, Thailand—The Coalition for the International Criminal Court today called on Thailand to demonstrate its commitment to the global fight against impunity by acceding to the Rome Statute of the International Criminal Court (ICC)—the world’s first and only permanent international court able to prosecute war crimes, crimes against humanity and genocide. Thailand is the focus of the Coalition’s Universal Ratification Campaign (URC) for October 2011, a campaign launched to call upon a different country each month to join the Rome Statute—the ICC’s founding treaty.

In a letter dated 3 October 2011 to Thai Prime Minister H.E. Ms. Yingluck Shinawatra, the Coalition—a global network of more than 2,500 civil society organizations in 150 countries advocating for a fair, effective and independent ICC—urged the government of Thailand to move forward with the accession process of the Rome Statute.

To date, 118 states worldwide have joined the Rome Statute, Maldives being the most recent one. While the past two years have been witness to increased participation from Asian states within the Court – Bangladesh ratified in March
2010, the Philippines in August 2011 and Maldives in September 2011—the Asian region still remains underrepresented at the ICC, with only 9 states parties to the Rome Statute.

Thailand’s accession to the Rome Statute would provide an important example to other ASEAN member states. “Thailand, as a leading country in the ASEAN, has been in the forefront of promoting human rights in the region,” noted Evelyn Balais-Serrano, the Coalition’s regional coordinator for Asia-Pacific. “With a new government, it is time to consider ratification of the Rome treaty in its efforts to forge unity among its people and its neighbouring countries. Its commitment to ending impunity and pursuing justice for victims of past conflicts are in line with the goals and spirit of the Rome Statute and the ICC,” she stated.

The Coalition also recalled Thailand’s participation in the Rome Conference and its subsequent steps toward accession. In recognition of some legal challenges that have surfaced with regards to compatibility between the Rome Statute and Thai domestic legislation, the Coalition called on Thailand to draw examples from states parties that have successfully addressed similar compatibility issues. By addressing these issues, the new government would demonstrate its commitment to the protection and promotion of human rights.

“As it undergoes major reforms, the new administration would benefit from accession to the Rome Statute, as it would show the Thai people’s concern for and solidarity with the sufferings of victims of conflicts in Asia and around the world,” stated Dr. Taejing Siripanich, commissioner of the Thai Human Rights Commission and head of the ICC Working Group in Thailand. After accession, Thailand would be able to participate in the annual Assembly of States Parties of the ICC as a state party, during which important decisions are made in relation to the administration of the Court, including the election of judges, the chief prosecutor, and other Court officials.

Background: The ICC is the world’s first permanent international court to prosecute war crimes, crimes against humanity, and genocide. Central to the Court’s mandate is the principle of complementarity, which holds that the Court will only intervene if national legal systems are unwilling or unable to investigate and prosecute perpetrators of genocide, crimes against humanity, and war crimes. There are currently seven active investigations before the Court: the Central African Republic; Côte d’Ivoire; the Democratic Republic of the Congo; Darfur, the Sudan; Uganda; Kenya; and Libya. The ICC has publicly issued 18 arrest warrants and nine summonses to appear. Three trials are ongoing. The Office of the Prosecutor has also made public that it is examining eight other situations on four continents, including Afghanistan, Colombia, Georgia, Guinea, Honduras, Republic of Korea, Nigeria and Palestine.

The Coalition for the International Criminal Court is a global network of civil society organizations in 150 countries working in partnership to strengthen international cooperation with the ICC; ensure that the Court is fair, effective and independent; make justice both visible and universal; and advance stronger national laws that deliver justice to victims of war crimes,
crimes against humanity and genocide. For more information, visit:
www.coalitionfortheicc.org

*******
รายงานเกี่ยวเนื่อง

http://1.bp.blogspot.com/-mcMuVQMXLR4/ToqcyOG0-xI/AAAAAAAAPoo/4Xf7W0A50ac/s400/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A5.jpg


[url=http://img.zuzaa.com/share.php?id=4C80_4E8B0C17][img]
http://img.zuzaa.com/image.php?id=4C80_4E8B0C17&jpg[/img][/url]

-จรัล ดิษฐาอภิชัย:ไทยส่งอภิสิทธิ์-สุเทพขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้ แม้ยังไม่ลงนามสัตยาบัน

ตามมาตรา ๑๒ อนุ๓ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็รับพิจาณาคดีประเทศที่ยังไม่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม ได้ หากรัฐบาลประเทศนั้นๆแถลงยอมรับอำนาจตุลาการของศาลฯเหนือดินแดนของประเทศตน เช่น คดีไอวอรีโคต.. จากที่ผมได้ไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีน่าสนใจยิ่ง ทำให้ผมจินตนาการว่า ถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพ เทือกสุบรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นจำเลย คงจะดูไม่จืด

http://thaienews.blogspot.com/2011/10/blog-post_1254.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน