แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐไทย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

ที่มา  :  ไทย อีนิวส์


ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐไทย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข



โดย อินทรีย์
ที่มา บอร์ดประชาทอล์ก

ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนมาเลเซีย เป็นการเปิดหน้าใหม่ ของประวัติศาสตร์ประเทศ 

การปกครองแบบรัฐเดียว คงเป็นไปไม่ได้แล้ว สำหรับประเทศไทย สิ่งที่ประเทศต้องการคือความใหม่ ไม่ใช่มาพูดเรื่องความสามัคคีไร้สาระที่เป็นไปไม่ได้
แต่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะดูๆ กรรมการปฏิรูป แต่ละคน ไม่เหลาเหย่ ก็บ้อท่า
รสนิยมทางการเมืองที่แตกต่างกันสุดขั้วของประชาชนในแต่ละภาค ทำให้ไม่อาจจะใช้รูปแบบเก่าได้อีก
เพราะต่อให้เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง พรรคแมลงสาปก็ไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่คนภาคใต้ รวมทั้งคนกรุงเทพฯ  ก็ยังเลือกพรรคแมลงสาปอยู่ดี
ก็ควรให้โอกาสพรรคที่พวกเขาชื่นชอบ บริหารภูมิภาคที่ประชาชนชื่นชอบเขา ส่วนผลการบริหารจะเป็นอย่างไร  ประชาชนเขาก็จะเห็นความแตกต่างเองในที่สุด
การดำรงค์ชาติให้คงมั่นน้้น  ไม่จำเป็นจะต้องรวมกันเป็นรัฐเดียว มีรัฐบาลเดียว ทำงานตั้งแต่เหนือจรดใต้ครับ
การดำรงค์ชาติ  ดำรงค์เผ่าพันธ์เป็นประเทศ ให้เจริญรุ่งเรือง มีแนวคิดแยกออกเป็นภูมิภาค ตามประวัติศาสตร์ เผ่าพันธ์และภาษา 
ในโลกนี้ มีประเทศมากมายที่ทำเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น จีน  รัสเซีย  อเมริกา อินเดีย มาเลเซีย แม้แต่อังกฤษ ก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่ง ที่ไม่อาจมองข้ามที่ทุกชาติจะต้องมี นั่นคือ ต้องมีองค์กรหนึ่งคอยเชื่อมโยง  และแก้ไขปัญหาเมื่อมีความขัดแย้ง  นั่นคือองค์กรแห่งภราดรภาพ
อเมริกา เมื่อครั้งต่อสู้แยกเอกราชจากอังกฤษนั้น  ไม่อาจรวมตัวกันได้หากปราศจากองค์กรที่เรียกว่า ฟรีเมสัน ซึ่งคอยประสานงาน และแต่งตั้ง จอร์จ วอชิงตันเป็นแม่ทัพใหญ่  เมื่อแยกเอกราชเสร็จ องค์กรนี้ก็แปรเปลี่ยนไป แต่บริบทแห่งภราดรภาพยังคงอยู่
มาเลเซีย แยกเป็นรัฐ  แต่ก็มีสถาบันกษัตริย์เป็นองค์กรแห่งภราดรภาพ
ผิดกับพม่า ไม่มีองค์กรเช่นว่านี้  พม่าจึงล้มเหลวด้านการรวมชาติ
ดังนั้น  หากประเทศไทยต้องแยกออกเป็นหลายรัฐ จึงต้องมีองค์กรแห่งภราดรภาพที่เข้มแข็ง  ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เหมาะที่จะทำหน้าที่นี้
รัฐบาลกลาง  ทำหน้าที่ประสานงานในชาติ บริหารงานที่สำคัญของชาติ คือความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ด้านต่างประเทศ ด้านการเงินและด้านการทหาร เป็นตัวแทนของประเทศในองค์กรนานาชาติ ที่มา ต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ และต้องแยกจากรัฐสภา  หากจะล้มก่อนวาระต้องมาจากประชามติเท่านั้น
ผมว่าความวุ่นวายจากความแตกแยกของคนในชาติ มาไกลเกินประสานกันได้ด้วยการปกครองระบอบเดิมแล้ว 
หากการลงทุนตั้งสภาปฏิรูป  แล้วมาพูดเรื่องสามัคคีที่เป็นไปไม่ได้ คงไร้ประโยชน์เปล่าๆ   สุดท้ายก็ยังแบ่งข้างกันเหมือนเดิม การแก้ปัญหาของประเทศ ท่ามกลางความขัดแย้งที่บานปลาย ต่างฝ่ายต่างก็ยึดมั่นถือมั่น  โดยเฉพาะพวกที่แพ้ สู้ความนิยมของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้
คือการแก้โครงสร้างของประเทศ โดยมีโจทย์ว่า  เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรในประเทศเดียวกันให้ได้อย่างสงบสุข โดยไม่ต้องเผชิญหน้าสู้รบกัน สามารถแข่งกันพัฒนาในแนวทางที่ตนเชื่อ
วันหนึ่ง  เมื่อความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ ค่อยๆจูนไปในทางเดียวกัน พรรคที่ไร้คุณภาพ ก็จะถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติ
********
วิกิพีเดีย:สมาพันธรัฐ /สหพันธรัฐ
สหพันธรัฐ (อังกฤษfederation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือ รัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐ ธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง

ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์

สห พันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวน หนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิด ยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพนธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ

รูปแบบสหพันธรัฐ

ใน ระบอบสหพันธรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "รัฐบาลองค์ประกอบ") นั้นถือว่ามีอำนาจอธิปไตยในบางส่วน ทั้งยังมีอำนาจเฉพาะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ได้ ส่วนรัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบราชการส่วนรวม และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการทูต ซึ่งรวมไปถึงการค้า การสื่อสาร และการทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่มีในครอบครอง อีกทั้งยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยในกฎหมายสากลซึ่งจะถือว่ารัฐบาลกลางเป็นตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งประเทศ


ส่วนใหญ่ แล้ว ทั่วทั้งของสหพันธรัฐจะใช้ระบบรัฐบาลกลาง-ท้องถิ่นในการบริหารราชการ แต่ในบางกรณี สหพันธรัฐอาจมีดินแดนที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรง อย่างเช่นประเทศแคนาดาและออสเตรเลียที่ รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเปลี่ยนหรือยกเลิกขอบเขตอำนาจบริหารของรัฐบาลท้อง ถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อน ทำให้ปัจจุบันแต่ละรัฐของสองประเทศนี้มีอำนาจในการปกครองตนเองที่ไม่เท่า เทียมกัน 
หรือประเทศอินเดีย ที่นอกจากรัฐบาลองค์ประกอบแล้ว ยังมีดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของสหภาพอีกหลายแห่งด้วยกัน 
และสหรัฐอเมริกาที่มีเขตปกครองพิเศษของรัฐบาลกลาง คือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (DC = District of Columbia; เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย) ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษที่ติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียและรัฐแมริแลนด์ โดยวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำพอตอแมก (Potomac River) 
ในกรณี ข้างต้น รัฐบาลกลางจะแยกเขตปกครองออกจากการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นดั้งเดิม และใช้พื้นที่ของเขตเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเขตการปกครองพิเศษที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรงจะอยู่ใน บริเวณที่มีประชากรเบาบางเกินกว่าที่จะตั้งเป็นรัฐ หรือไม่ค่อยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก หรือไม่ก็เป็นบริเวณที่เคยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นเมืองหลวงของประเทศ
ต้นกำเนิด ของสหพันธรัฐ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการทหาร (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) หรือข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อสถาปนารัฐชนชาติเดียว ที่รวบรวมเขตแดนจากรัฐต่างๆ ที่มีเชื้อชาติเดียวกันเข้ามารวมกันเป็นประเทศเดียว (ในกรณีของเยอรมนี) 
อย่างไรก็ ดี ต้นกำเนิดและความเป็นมาของแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน อย่างในออสเตรเลีย ที่สถาปนาสหพันธรัฐจากการอนุมัติของประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงในประชามติ รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย 
ในขณะที่ประเทศบราซิลเคยใช้ทั้งระบอบสหพันธรัฐและการปกครองแบบรัฐเดียว บราซิลในปัจจุบันประกอบไปด้วยรัฐที่มีอาณาเขตเหมือนในยุคเริ่มแรกที่เพิ่งมี การตั้งอาณานิคมในบราซิลโดยชาวโปรตุเกสซึ่ง ในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญในหลายๆ ด้านต่อประเทศ และรัฐใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลกลาง โดยรัฐล่าสุดถูกตั้งขึ้นมาผ่านรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดประสงค์หลักคือเป็นที่ตั้งให้กับหน่วยงานบริหารราชการ

สมาพันธรัฐ (อังกฤษconfederation) เป็นศัพท์การเมืองสมัยใหม่ หมายถึง การรวมกันของหน่วยการเมืองเป็นการถาวรเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวร่วมกันตามหน่วยอื่น[1] สมาพันธรัฐ ตามปกติก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา แต่ภายหลังมักก่อตั้งขึ้นจากการเห็นชอบรัฐธรรมนูญร่วมกัน สมาพันธรัฐมีแนวโน้มสถาปนาขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาร้ายแรง เช่น การป้องกัน การระหว่างประเทศหรือสกุลเงินร่วม โดยมีรัฐบาลกลางที่ถูกกำหนดให้จัดหาการสนับสนุนแก่สมาชิกทั้งหมด

ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งประกอบขึ้นเป็นสมาพันธรัฐนั้นแตกต่างกันมาก เช่นเดียวกับความสัมพันธ์รหว่างรัฐสมาชิก รัฐบาลกลางและการกระจายอำนาจให้รัฐต่าง ๆ ก็มีแตกต่างกันเช่นกัน สมาพันธรัฐอย่างหลวมบางแห่งคล้ายคลึงกับองค์การระหว่างรัฐบาล ขณะที่สมาพันธรัฐอย่างเข้มอาจเหมือนสหพันธรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน