วันที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 10:40:11 น.
|
เมื่อวันที่ 5 เมษายน เวลา 11.00 น. ที่โรงแรมคอนราด ถนนวิทยุ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เปิดโครงการหลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหาร ระดับสูงอาเซียน
เพื่อพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการและเตรียมความพร้อมสำหรับการ
บริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ
และเตรียมความพร้อมบุคลากรสู่ประชาคมอาเซียนและกล่าวปาฐกถาพิเศษ
หัวข้อเรื่อง
“วิสัยทัศน์ประเทศไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาคและกรอบความร่วม
มือของประชาคมอาเซียน”
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า โครงการฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงอาเซียนในวันนี้
เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามยุทธศาสตร์ประเทศ
เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ตลอดจนการสร้างความเข้าใจและเติบโตไปพร้อมกันในการพัฒนาขีดความสามารถ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
ดังนั้นการฝึกอบรมครั้งนี้ จึงขอให้ทุกคนร่วมกันทำ workshop
และคิดพัฒนาหลักสูตรในการเรียนรู้เรื่องของอาเซียนเพื่อนำประโยชน์ที่ได้ไป
ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร การทำธุรกิจ
และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า
โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนอย่าง
รุนแรง โดยปีนี้ประเทศไทยต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหา
อุทกภัยในปีที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาภัยแล้ง ดังนั้นจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ดังกล่าวนี้
ทุกคนจะต้องมีการปรับตัวและหาวิธีการรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้น
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและการที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอา
เซียนในปี 2558
ถือเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและยกระดับ
คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีประชากรกว่า 600
ล้านคน ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือของสมาชิกอาเซียนในหลายมิติ
"การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเดียวกันจะประกอบด้วยเสาหลัก 3 ด้าน คือ
1)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community
: APSC)
2)ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
3)ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community:
ASCC)
ซึ่งความสำคัญของเสาหลัก 3 ด้าน
ในการที่เข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
เสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น
เมื่อภาษีศุลกากรในอาเซียนลดลงเป็น 0%
อาเซียนกลายเป็นเขตการค้าเสรีอย่างสมบูรณ์ ประเทศไทยจะใช้ประโยชน์อย่างไร
ดังนั้นต้องมีการศึกษาถึงจุดแข็งและศักยภาพของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใน
เรื่องของภาษี
รวมทั้งให้ศึกษายุทธศาสตร์ของประเทศไทยและกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เช่น เรื่องวัตถุดิบ
ที่อาจจะมีการนำเข้าจากต่างประเทศและมาผลิตในประเทศไทย
หรือไปลงทุนต่างประเทศบางส่วน"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ส่วนในเรื่องของแรงงาน
ก็จะต้องมีการยกระดับจากแรงงานไร้ฝีมือเป็นแรงงานกึ่งฝีมือ
และแรงงานกึ่งฝีมือเป็นแรงงานมีฝีมือ
ขณะเดียวกันประเทศไทยจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของ
ประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้นำเสนอ
รายละเอียดพระราชบัญญัติการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครง
สร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ต่อสภาผู้แทนราษฎร
แล้ว
ทั้งนี้เพื่อวางรากฐานให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในประเทศและในกลุ่มประชาคมอา
เซียน ทั้งเรื่องของภาษี การเคลื่อนย้ายแรงงาน
ด่านชายแดนที่จะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจ
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ส่วนเสาหลัก ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASCC) นั้น
มีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่
ดีงามระหว่างกันในกลุ่มประชาคมอาเซียน
ซึ่งจะส่งผลไปถึงความเจริญเติบโตเรื่องการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม
และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้เกิดความรักความสามัคคีในประชาคมอาเซียน
"สำหรับเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)
ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะที่มีความสำคัญ
ซึ่งหากการเมืองและความมั่นคงมีความสงบก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคอา
เซียน รวมถึงในเรื่องของด่านศุลกากรที่รัฐบาลได้ดำเนินการ
และการขยายเวลาในการเปิด-ปิดด่านชายแดน
ตลอดจนการยกระดับจากด่านกึ่งถาวรเป็นด่านผ่านแดนถาวร เป็นต้น
ซึ่งตรงนี้ทุกกระทรวงและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานร่วมกัน
เพื่อเตรียมการให้ประเทศและประชาชนมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอา
เซียนอย่างมั่นใจ"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปอย่างมีทิศทาง
รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ประเทศ 4 ยุทธศาสตร์หลัก
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและสร้างรากฐานของประเทศ
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว
ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ซึ่งจะต้องเพิ่มรายได้โดยรวมให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยถูกปรับขึ้นไปเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
(Middle Income) จนถูกตัดสิทธิพิเศษ (GSP) ที่เคยได้จากประเทศพัฒนาต่างๆ
ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นจะต้องเร่งเจรจาในเรื่องของ FTA
ข้อสัญญาและข้อกฎหมายต่าง ๆ
ขณะเดียวกันจะต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวเพื่อให้ประเทศเติบ
โตอย่างต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์จากภาษีศุลกากรในอาเซียนลดลงเป็น 0%
การพัฒนาขีดความสามารถรายอุตสาหกรรม การยกระดับฝีมือแรงงาน
เพื่อจะได้สนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การลดความเหลื่อมล้ำ
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้กับทุกคน
โดยดำเนินการดังนี้ การเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค
การพัฒนาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความมั่นใจในการลงทุนให้กับภาคเอกชน
อีกทั้งได้มีการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรีและผู้ด้อยโอกาส
โดยเฉพาะความปลอดภัย การเดินทาง ความมั่นคง
และการเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
ขณะเดียวกันก็จะมีการประกาศการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมโดยตั้งศูนย์ช่วย
เหลือสังคม OSCC (One-Stop Crisis Center)
ซึ่งเป็นระบบส่งต่อเพื่อช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส
ที่ถูกกดขี่และถูกกระทำรุนแรง อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว
ขอให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณาการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้
ครอบคลุมประชาชนในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน
ยุทธศาสตร์ที่ 3
การสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่เติบโตขึ้นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเสริมต่อการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งพลังงานธรรมชาติ นำพลังงานทางเลือกมาใช้ เช่น
พลังงานภาคการเกษตร เป็นต้น
และยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
จะเป็นการปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศที่มีการเติบโตขึ้น เศรษฐกิจ
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า
ดังนั้นจึงอยากเห็นบทบาทของราชการเป็นกลไกสำคัญที่จะให้การสนับสนุนในการที่
จะทำให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนต่อไปได้
รวมถึงส่งเสริมให้เอกชนไปลงทุนในต่างประเทศและให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน
ประเทศไทย และสามารถลดความยุ่งยากในการลงทุนของภาคเอกชน
เพื่อให้ประเทศไทยได้กลับคืนมาติดอันดับที่ง่ายต่อการลงทุน
โดยอยู่บนความโปร่งใสตรวจสอบได้
รวมทั้งต้องมีความเข้าใจถึงข้อกฎหมายสากลและสามารถนำมาปรับใช้ให้ได้
ซึ่งเชื่อมั่นว่าหากดำเนินการได้จะสามารถดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
เพิ่มขึ้น
"สิ่งที่ต้องการเห็นจากการฝึกอบรมครั้งนี้ขอให้นำภาพรวมที่เห็นร่วมกัน
จากการทำ workshop ไปดำเนินการลงในรายละเอียดของพื้นที่
เพื่อจะเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นจุดศูนย์กลางในการที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ
ในภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นหากเกิดการเชื่อมต่อกันขึ้นในประชาคมอาเซียนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ต่อประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งการสร้างคน สร้างงาน รายได้
และโอกาสจาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน รวมทั้งอยากเห็นการทำ workshop
ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันทั้งในเรื่องของยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศ
ภาษี กฎหมาย และวัฒนธรรม"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการ ก.พ. กล่าวรายงานว่า
หลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงอาเซียนนี้
เป็นหนึ่งในโครงการเตรียมความพร้อมกำลังคนภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ของสำนักงาน ก.พ.
ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานก.พ.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการต่างประเทศและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดฝึกอบรม
เพื่อการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเชิงลึก
ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในระดับปลัดกระทรวง
อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ
ภาคเอกชนและผู้แทนจากภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อตอบสนองบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในโลกและใน
ภูมิภาคอย่างถูกต้องและรอบด้าน
ในขณะเดียวกันก็เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและสร้างเวทีในการแลก
เปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันอย่างมีบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
เอกชนและภาคประชาชน
เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ในด้านต่างๆ
ที่เป็นจุดยืนร่วมกันบนผลประโยชน์ของชาติ
ทั้งจะยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อการดำเนินงานภาย
ใต้กรอบความร่วมมือประชาคมอาเซียนของรัฐบาลไทยอีกด้วย
นายนนทิกรกล่าวว่า โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้
โครงการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอาเซียนกำหนดจะจัด 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1
กำหนดจะจัดฝึกอบรมในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และรุ่นที่ 2
กำหนดจะจัดฝึกอบรมระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2556
โดยเนื้อของการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อสำคัญๆ ได้แก่
1.
แรงขับเคลื่อนและแนวโน้มทิศทางของโลก
2. ภูมิทัศน์ของภูมิภาคอาเซียน
3.
วาระของชาติ
4. ทักษะการสร้างความร่วมมือและการรวมกลุ่ม
5.
การศึกษาดูงานประเทศสมาชิกอาเซียน
สำหรับวิธีการดำเนินการในหลักสูตรนี้
จะมีการเชิญผู้นำทางความคิดที่สำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
พร้อมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาแลก
เปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์กับผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมฝึกอบรม
รวมทั้งมีการศึกษาดูงานในประเทศอาเซียนด้วย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น