แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

"นายกฯยิ่งลักษณ์" ฟ้องโลก "พี่ชายตนถูกรัฐประหาร-ประชาชนถูกยิงด้วยสไนเปอร์" ยืนยันวันนี้พร้อมลุกสู้!

PM's Speech at 7th Community of Democracies
 
 

โดย Yingluck Shinawatra (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 12:46 น.

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 เฟซบุ๊คของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เผยแพร่ ปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย ดังนี้
คำแปลปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย 29 เมษายน 2013

โดย Yingluck Shinawatra (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 8:47 น.

https://www.facebook.com/notes/yingluck-shinawatra/pms-speech-at-7th-community-of-democracies/491436050912141 

 http://www.go6tv.com/2013/04/blog-post_29.html


ท่านประธาน,

ท่านผู้มีเกียรติ,


ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,


ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถาณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือน มองโกเลียประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย แต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่าง มากและที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉันประเทศไทยที่ดิฉันรัก

ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนาน แนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความ เป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพและความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้และ ที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ?

ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อใน แนวคิดประชาธิปไตย คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพนั่นหมาย ความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพพวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้ คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

มีหลายประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ ประเทศต่างๆจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ ผลักดันของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ในระดับภูมิภาคหลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตย ไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลง

ดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ในปี1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วน ร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้วและจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การ รัฐประหาร
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสอง หนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่ พี่ชายของดิฉันพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนที่ไม่รู้จักดิฉันอาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไปซึ่งหากตัวดิฉันและ ครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอย หลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติหลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมาย ถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิก ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป
คำว่า“ไทย” หมายความว่า “อิสระ” และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมาแต่ใน เดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คนบริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไป ต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้าจนในที่สุดรัฐบาลใน ขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิด เบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อแต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความ ต้องการของประชาชนได้ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ขอประเทศ แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ

มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่รัฐธรรมนูญ ที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความ เป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่างหนึ่งที่ดีในประเด็นนี้จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของ วุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้ง โดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่ แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วน ใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่ แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรมเจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภาก่อนการปฏิบัติ หน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองเกิดสภาพแวดล้อมที่ดึง ดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็น การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลด ช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ประชาชนในระดับรากหญ้าเราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้าง โอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนมีความรู้ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและ สามารถปกป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการ ศึกษาและประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและ เสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้าง ชีวิตที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีการสนับ สนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

และดิฉันเชื่อว่าเราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการ หาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชน ทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

อีกบทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญการกดดันจาก นานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคง อยู่ได้การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการ ปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือหากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวทีนี้ และการดำเนินงานของสภาบริหาร( GoverningCouncil ) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลก นอกจากนี้ดิฉันขอชื่นชม ประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อ ประชาธิปไตย( Asian Partnership Initiative for Democracy ) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,

ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่าดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของ ดิฉันได้รับที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม2553 ต้องเผชิญ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ

PM's Speech at 7th Community of Democracies



Statement
of
HerExcellency Ms. Yingluck Shinawatra
PrimeMinister of the Kingdom of Thailand
atthe 7th Ministerial Conference of the Community of Democracies
Ulaanbaatar,Mongolia, 29 April 2013
--------------------------------

Mr.Chairman,
Excellencies,
Delegatesto the Conference,
Ladiesand Gentlemen,

                   I wish to begin by expressingmy appreciation to His Excellency the President of Mongolia for inviting me tospeak at this Conference of the Community of Democracies. 

Iaccepted this invitation not only because I wanted to visit a country that hasmade many achievements regarding democracy, or to exchange ideas and views ondemocracy. But I am here also because democracy is so important to me, and moreimportantly, to the people of my beloved home, Thailand.

Democracyis not a new concept. Over the years, It has brought progress and hope to a lotof people. At the same time, many people have sacrificed their blood and livesin order to protect and build a democracy.

Agovernment of the people, by the people and for the people does not comewithout a price.  Rights, liberties andthe belief that all men and women are created equal have to be fought, andsadly, died for.

Why?This is because there are people in this world who do not believe in democracy.They are ready to grab power and wealth through suppression of freedom.  This means that they are willing to takeadvantage of other people without respecting human rights and liberties.  They use force to gain submission and abusethe power.  This happened in the past andstill posed challenges for all of us in the present.

Inmany countries, democracy has taken a firm root.  And it is definitely refreshing to seeanother wave of democracy in modern times, from Arab Spring to the successfultransition in Myanmar through the efforts of President Thein Sein, and also thechanges in my own country where the people power in Thailand has brought mehere today.

Atthe regional level, the key principles in the ASEAN Charter are the commitmentto rule of law, democracy and constitutional government.  However, we must always beware thatanti-democratic forces never subside. Let me share my story.

                    In1997, Thailand had a new constitution that was created through theparticipation from the people.  Becauseof this, we all thought a new era of democracy has finally arrived, an erawithout the cycle of coups d’état.

It was not tobe.  An elected government which won twoelections with a majority was overthrown in 2006. Thailand lost track and thepeople spent almost a decade to regain their democratic freedom.

Many of you hereknow that the government I am talking about was the one with my brother,Thaksin Shinawatra, as the rightfully elected Prime Minister. 

Many who don’tknow me say that why complain?  It is anormal process that governments come and go. And if I and my family were theonly ones suffering, I might just let it be.

But it wasnot.  Thailand suffered a setback andlost international credibility. Rule of law in the country was destroyed.Projects and programmes started by my brother’s government that came from thepeople’s wishes were removed. The people felt their rights and liberties werewrongly taken away.

Thai means free,and the people of Thailand fought back for their freedom. In May 2010, acrackdown on the protestors, the Red Shirts Movement, led to 91 deaths in theheart of the commercial district of Bangkok.

Many innocentpeople were shot dead by snipers, and the movement crushed with the leadersjailed or fled abroad.  Even today, manypolitical victims remain in jail.

However, thepeople pushed on, and finally the government then had to call for an election,which they thought could be manipulated. In the end, the will of people cannotbe denied. I was elected with an absolute majority.  

But the story isnot over. It is clear that elements of anti-democratic regime still exist. Thenew constitution, drafted under the coup leaders led government, put inmechanisms to restrict democracy.

A good exampleof this is that half of the Thai Senate is elected, but the other half isappointed by a small group of people. In addition, the so called independentagencies have abused the power that should belong to the people, for thebenefit of the few rather than to the Thai society at large.

This is thechallenge of Thai democracy.  I wouldlike to see reconciliation and democracy gaining strength. This can only beachieved through strengthening of the rule of law and due process. Only thenwill every person from all walks of life can feel confident that they will betreated fairly. I announced this as part of the government policy at Parliamentbefore I fully assumed my duties as Prime Minister.

Moreover,democracy will also promote political stability, providing an environment forinvestments, creating more jobs and income. And most importantly, I believepolitical freedom addresses long term social disparities by opening economicopportunities that would lead to reducing the income gap between the rich andthe poor.

That is why itis so important to strengthen the grassroots. We can achieve this througheducation reforms. Education creates opportunities through knowledge, anddemocratic culture built into the ways of life of the people.

Only then willthe people have the knowledge to be able to make informed choices and defendtheir beliefs from those wishing to suppress them. That is why Thailandsupported Mongolia’s timely UNGA resolution on education for democracy.  

Also importantis closing gaps between rich and poor. Everyone should be given opportunities and no one should be leftbehind.  This will allow the people tobecome an active stakeholder in building the country’s economy and democracy. 

That is why myGovernment initiated policies to provide the people with the opportunities tomake their own living and contribute to the development of our society. Some ofthese include creating the Women Development Fund, supporting local products andSMEs as well as help raising income for the farmers.

And I believeyou need effective and innovative leadership. Effective in implementing rule of law fairly. Innovative in findingcreative peaceful solutions to address the problems of the people.

You needleadership not only on the part of governments but also on the part of theopposition and all stakeholders. All must respect the rule of law andcontribute to democracy.

Ladies andGentlemen,

Anotherimportant lesson we have learnt was that international friends matter.  Pressure from countries who value democracykept democratic forces in Thailand alive. Sanctions and non-recognition are essential mechanisms to stopanti-democratic regimes.

An international forum like Community ofDemocracies helps sustain democracy, seeking to promote and protect democracythrough dialogue and cooperation.  Moreimportantly, if any country took the wrong turn against the principle ofdemocracy, all of us here need to unite to pressure for change and return freedomto the people.

 I will always support the Community ofDemocracies and the work of the Governing Council.  I also welcome thePresident’s Asian Partnership Initiative for Democracy and will explore how toextend our cooperation with it.

Ladies and Gentlemen,

Iwould like to end my statement by declaring that, I hope that the sufferings ofmy family, the families of the political victims, and the families of the 91people, who lost their lives in defending democracy during the bloodshed in May2010, will be the last. 

Letus continue to support democracy so that the rights and liberties of all humanbeings will be protected for future generations to come!

Thank you.  

5 ความคิดเห็น:


  1. "จุดเปลี่ยน" แล้ว พวกเราบรรดาพี่น้อง เตรียมตัวให้พร้อม "รับศึกใหญ่"!!

    พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

    คำปาฐกถาพิเศษของนายกยิ่งลักษณ์ ที่มองโกเลีย คือ "จุดเปลี่ยน" ที่สำคัญที่สุดตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการ "ประกาศสงคราม" กับพวกเผด็จการอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา โดยไม่ยำเกรงใด ๆ การระบุว่า รัฐประหาร 2549 และการเข่นฆ่าประชาชนเมื่อพฤษภาคม 2553 มี "สาเหตุเดียวกัน" และมีผู้บงการเป็น "กลุ่มเดียวกัน" ชัดเจนที่สุด ไม่อ้อมค้อมอีกต่อไป ชี้ชัด เป็นการ "ฆาตกรรมประชาชนผู้บริสุทธิ์" โดยใช้ สไนเปอร์ ลอบยิงอย่างโหดเหี้ยม ขี้ขลาดและไร้มนุษยธรรมที่สุด แล้วในประเทศไทย จะมีซักกี่คนที่มี "สไนเปอร์" ไว้ใช้งาน?? นายกรัฐมนตรีกล่าวเองชัดถ้อยชัดคำต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศที่นั่งเต็มห้องประชุม นี่ไม่ใช่ "การฟ้อง" แต่เป็นการ "ประจาน" อาชญากรรมในครั้งนั้น แถมยังบอกอีกว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประเทศไทยยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องบากบั่นต่อไป ย้ำคำของอับราฮัม ลินคอลน์ "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" เรามีนายกรัฐมนตรีมามากมาย แต่นี่คือนายกฯคนเดียวและคนแรกที่พูดถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนไทยได้ชัดเจน ตรงใจประชาชน และตรงประเด็นที่สุด การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับพวกเผด็จการโบราณ มาถึง "จุดเปลี่ยน" แล้ว พวกเราบรรดาพี่น้อง เตรียมตัวให้พร้อม "รับศึกใหญ่"!! https://www.facebook.com/pichitlk/posts/498411116893378
    "จุดเปลี่ยน" แล้ว

    พวกเราบรรดาพี่น้อง เตรียมตัวให้พร้อม "รับศึกใหญ่"!!
    ------------------------

    พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
    2 hours ago ·
    คำปาฐกถาพิเศษของนายกยิ่งลักษณ์ ที่มองโกเลีย คือ "จุดเปลี่ยน" ที่สำคัญที่สุดตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการ "ประกาศสงคราม" กับพวกเผด็จการอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา โดยไม่ยำเกรงใด ๆ

    การระบุว่า รัฐประหาร 2549 และการเข่นฆ่าประชาชนเมื่อพฤษภาคม 2553 มี "สาเหตุเดียวกัน" และมีผู้บงการเป็น "กลุ่มเดียวกัน" ชัดเจนที่สุด ไม่อ้อมค้อมอีกต่อไป ชี้ชัด เป็นการ "ฆาตกรรมประชาชนผู้บริสุทธิ์" โดยใช้ สไนเปอร์ ลอบยิงอย่างโหดเหี้ยม ขี้ขลาดและไร้มนุษยธรรมที่สุด

    แล้วในประเทศไทย จะมีซักกี่คนที่มี "สไนเปอร์" ไว้ใช้งาน??

    นายกรัฐมนตรีกล่าวเองชัดถ้อยชัดคำต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศที่นั่งเต็มห้องประชุม

    นี่ไม่ใช่ "การฟ้อง" แต่เป็นการ "ประจาน" อาชญากรรมในครั้งนั้น

    แถมยังบอกอีกว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประเทศไทยยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องบากบั่นต่อไป

    ย้ำคำของอับราฮัม ลินคอลน์ "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน"

    เรามีนายกรัฐมนตรีมามากมาย แต่นี่คือนายกฯคนเดียวและคนแรกที่พูดถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนไทยได้ชัดเจน ตรงใจประชาชน และตรงประเด็นที่สุด

    การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับพวกเผด็จการโบราณ มาถึง "จุดเปลี่ยน" แล้ว

    พวกเราบรรดาพี่น้อง เตรียมตัวให้พร้อม "รับศึกใหญ่"!!

    https://www.facebook.com/pichitlk/posts/498411116893378

    ตอบลบ
  2. อัพเดตสถานะ ของ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
    https://www.facebook.com/verapat/posts/4401954821189


    สุนทรพจน์ของ "นายกปู" วันนี้ หากไม่ได้บอกว่าพูดที่ 'มองโกเลีย' ก็คงต้องนึกว่าพูดบน 'เวทีหาเสียง'

    กลเกมส์การเมืองนี้ หากเป็นดังที่เดา ก็คงต้องบอกว่า ไม่ธรรมดา และอันตราย

    รัฐบาลเข็นประเด็นเข้ามาพร้อมกัน ทั้งกู้ 2 ล้านล้าน แก้รัฐธรรมนูญ และนิรโทษกรรม ยังไม่ต้องพูดถึงเจรจาใต้ และอื่นๆ

    สอดคล้องกับท่าทีการจัดเวที และออกจดหมายชนศาล สอดคล้องกับการเช็คแถวพรรค สอดคล้องกับท่าที ดร. เฉลิม ที่ขยันทั้งเรื่องลงใต้ และเรื่องคุณทักษิณ สอดคล้องกับกระแสปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ จะพ่วงกระแสผลงานที่ศาลโลกมาหนุนก็ได้ด้วย

    การเมืองตอนนี้ หากมีใครหลวมตัวกลายมาเป็น "ข้ออ้าง" ให้รัฐบาลบอกว่าการเมืองเดินต่อไปไม่ได้ ก็อาจมีการชิงจังหวะ "ยุบสภา" แม้ผลวัดกระแสเลือกตั้ง กทม. และเชียงใหม่ อาจไม่โดนใจ แต่ก็ไม่ถือว่าหลุดเป้า

    ถ้า "ยุบจริง" ก็สนุกแน่ครับ เพราะจะมี 'โปรเด็ด' ถ้าอยากได้รถไฟความเร็วสูง ถ้าอยากได้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ถ้าอยากได้ความปรองดอง ประชาชนโปรดแสดงจุดยืนโดยการเลือก "เพื่อไทย"

    เรียกว่า ยุบทั้งที ขอยุบให้คุ้ม

    แต่ 'โปรโมชั่น' เด็ดที่ว่า อาจมาพ่วงแกมบังคับมาเป็นชุด อยากได้รถไฟ แต่ไม่อยากได้นิรโทษกรรม ก็แยกกันไม่ได้ ทั้งที่ความจริง การยุบสภาอย่างจริงใจนั้น หากจะให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็นที่ถกเถียงกัน กาไปเลยพร้อมกันในวันเลือกตั้ง ใบแรกเลือก ส.ส. ใบที่สองเรื่องรถไฟ ใบที่สามเรื่อง สสร. ใบที่สี่เรื่องปรองดอง ก็คงสนุกดีไม่น้อย

    แต่ถ้าใจร้อน มัดมาสอดไส้ทุกเรื่องไว้บนขบวนเดียวกัน หากไม่ระวัง อาจตกรางได้ทั้งขบวนนะครับ !

    ที่ผ่านมาที่ 'พันธมิตร' ยังไม่เคลื่อนไหวอะไรมาก หากมองแบบให้เกียรติ ก็คืออ่านเกมส์ทัน

    ด้าน 'ประชาธิปัตย์' ผมก็ขอสวดมนต์ ภาวนา ปฏิรูปให้ทันเขาหน่อยนะครับ

    ส่วน 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ที่เหมือนจะไม่ทันเกมส์อะไรกับเขาเลย ก็คงไม่มีทางเลือกแล้วครับ ท่านทำตัวท่านเอง ลดตัวมาเล่นการเมือง การเมืองก็จะเล่นท่าน ท่านจะยอมถอยเพื่อคลายสถานการณ์ หรือท่านจะ 'สร้างสถานการณ์' ให้คนนำไปอ้างต่อเอง

    ทั้งหมด หากเป็นดังนี้ ก็ต้องถามว่า การเดินหมากแบบกล้าได้กล้าเสียแบบนี้ มีสักกี่คน ที่คิดได้ครับ ?

    ประวัติศาสตร์ มิได้สอนอะไรเราเลยหรือ ?

    ตอบลบ
  3. สุนทรพจน์ของนายกฯปู คือ "การเปลี่ยนท่าที" และ "นโยบายใหม่" เป็นแข็งกร้าวพร้อมชน
    โดย ลูกชาวนาไทย
    forum.banrasdr.com/showthread.php?tid=22644

    เนื้อหาในสุนทรพจน์ ของนายกฯปูที่อูลันบาตอ คนที่ติดตามก็คงเห็นแล้วนะครับว่า เผ็ดและร้อนแรงขนาดไหน ซึ่งลักษณะสุนทรพจน์ เช่นนี้ ของผู้นำทางการเมือง คือ "การเปลี่ยนท่าที" และการ "ประกาศนโยบายใหม่" นั่นเอง

    แน่นอน สุนทรพจน์ของนายกฯปู ไม่ได้กล่าวโดยบังเอิญเด็ดขาด คงมีการหารือกันใน ผู้มีอำนาจในพรรคเพื่อไทย ทั้งทักษิณและกรรมการยุทธศาสตร์อื่นๆ ของพรรค ในการประกาศท่าทีใหม่นี้

    หากวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ในการทำสงคราม นี่ผมถึอว่า เป็นการประกาศเตรียมพร้อมรบ และท้าชนอย่างเต็มที่ เป็นการ "เปลี่ยนท่าที่ของนายกฯหญิงทางการเมือง แบบกลับลำ 180 องศาเลยทีเดียว"

    เราจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกือบสองปีแล้วนั้น นายกฯปูใช้ท่าทีที่อ่อนนุ่ม เกรงอกเกรงใจฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

    แต่เริ่มหน้าร้อนปีนี้ เราเห็นว่า "ท่าทีของเธอเปลี่ยนไป" ที่ผมสังเกตุได้อย่างชัดเจนคือ การไม่ไปรดน้ำ พล.อ.เปรม ในวันสงกรานต์ ซึ่งหลายๆ คนคิดว่า นายกฯปูคงติดธุระและอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ให้พี่สาวที่เสียชีวิต แต่ผมไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น มันเป็นท่าทีที่กำหนดเอาไว้แล้ว

    อย่างที่สองคือ การไม่ไปฟังดนตรี งานหาทุนสร้างหอศิลป์อะไรของ พล.อ.เปรม นั่นก็พอบอกได้อีกว่า เป็นการเปลี่ยนท่าที

    แต่ก็ยังไม่ชัด

    แต่สุนทรพจน์ที่อูลันบาตอ นี่มันชัดเจน โป๊ะเช๊ะ เลยทีเดียวว่า ทางพรรคเพื่อไทยและกลุ่มอำนาจทักษิณ ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์การเผชิญหน้ากับกลุ่มอำมาตย์อย่างชัดเจนแล้ว เป็น "ยุทธศาสตร์ที่แข็งกร้าว" ชนเป็นชน ซึ่งเราก็เห็นชัดเจน ตั้งแต่แก้ รธน. การเสนอ ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมมาเป็นวาระแรก

    นั้นเป็นการกระทำ

    แต่สุนทรพจน์นายกฯปูนั้นแข็งกร้าว ชนแบบไม่ไว้หน้า ไม่เลี่ยงอ้อมค้อมด้วย แถมยังขอความช่วยเหลือจากชาวโลกว่า "หากถูกรัฐประหาร" การแชงชั่นของชาวโลกนั้นช่วยเหลือประเทศประชาธิปไตยได้มาก

    นี่ท้าชนชัดๆ

    หากเราวิเคราะห์สถานการณ์ในภาพรวมแล้ว จะเห็นว่า ฝ่ายอำมาตย์นั้น กำลังอยู่ในภาวะอ่อนแอเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้นำที่เป็นมาสเตอร์มายด์เดี้ยงอย่างที่เรารู้กัน กองทัพไม่อยู่ในสภาพที่จะเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ และจากข่าวในทางลึก "เปรม" นั้่น ไม่ใช่ Inner Ring อีกต่อไป ทำให้อำนาจแฝงของกลุ่ม พล.อ.เปรมนั้นจริงๆ แล้ว "เปราะบาง" จนกระแทกทีเดียวก็แตก" ไม่ได้เข็มแข็งอย่างในอดีต ก่อนปี 2553 ที่ "ตัวจริงเสียงจริง เสียงตามสาย" ยังเจือยแจ้วได้อยู่ เมื่อไม่มีเสียงตามสาย อำนาจที่มีจาก "การอ้างอิงก็หมดความหมาย"

    จังหวะการรุกของนายกฯปู ในการแสดงท่าทีที่แข็งกร้าว การเปลี่ยนนโยบายจาก อ่อนนุ่มเป็นแข็งกร้าว นี้จึงถูกจังหวะอย่างยิ่ง เป็นการรุกในจังหวะที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว ไม่มีช่วงเวลาใดที่เหมาะมากกว่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว

    อำมาตย์แม้จะต้าน ก็มีแนวรบเหลือแนวเดียวคือ "ตลก" ทั้ง 9 คน ที่โดนประชาชนรุกไล่อยู่นั่น

    แต่ ตลกก็ใช่ว่าจะเป็นอาวุธชี้ขาด เพราะต่อให้ยุบพรรคเพื่อไทย ก็ไม่มีใครมี "บารมี" พอที่จะทำให้เกิดงูเห่าแบบเนวินได้อีก ทำให้ยุบไปพรุ่งนี้เขาก็ย้ายไปอยู่พรรคใหม่ เหมือนเป็นแค่การเปลี่ยนชื่อพรรคเท่านั้นเอง

    ส่วนจะล้มนายกฯ ถอดถอน สส. 312 คนนั้น มันเหมือนหักด้ามพร้าด้วยเข่า เกิดความวุ่นวายทางการเมืองแน่ และในสภาวะที่กองทัพ ไม่ได้มีเอกภาพนี้ ยากที่อำนาจจะเปลี่ยนมือได้ เพราะ สส. 312 คน ถูกถอดถอน ก็ต้องเลือกตั้งใหม่ คนก็เลือก สส.พรรคเพื่อไทย กลับเขาไปอีก

    แต่ทำอย่างนั้นมันท้าทายประชาชนแบบแตกหัก โดยที่ฝ่ายอำมาตย์ก็ไม่มีกำลังพอ ที่จะคุ้มครองตุลาการ เหมือนยุคที่ "ปลด นายกฯสมชาย" ได้

    เกมนี้ "ผมว่า" คนชั่วถูกปราบราบคาบสิ้น" แผ่นดินไร้สิ้นปัญหาแน่

    โดนนารีขี่ม้าขาว ปราบราบคาบอย่างแน่นอน

    สถานการณ์ของฝ่ายอำมาตย์นั้น ต่อให้มีสติปัญญาแบบขงเบ้ง ก็สุดที่จะกู้สถานการณ์กลับคืนเป็นฝ่ายรุกได้

    ตอบลบ

  4. อมาตย์ใหญ่จะเลือกให้จบแบบใด อยู่ที่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 นี้

    ปูนนก

    เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ และจับตามองกันอย่างเข้มข้นในวงการเมือง หลังจากการปาฐกถาของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ที่ประเทศมองโกเลียในครั้งนี้ เพราะเป็นยิ่งกว่าอยู่ๆ ดีๆ ก็มีระเบิดตกลงมากลางวงสนทนาเสียอีก ซึ่งได้สร้างความแตกตื่น ความฮึกเหิม และความเคียดแค้น คละเคล้ากันไป แล้วแต่ว่าผู้รับทราบเนื้อหาปาฐกถานี้จะมีแนวคิดอยู่ฝ่ายใด

    แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์พูดไปนั้น ได้สั่นสะเทือนไปถึงฐานรากความมั่นคงของฝ่ายเผด็จการอมาตย์เลยทีเดียว เพราะเป็นการพูดต่อหน้าที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies) ซึ่งประชาคมประชาธิปไตย (CD) นี้ เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยทั่วโลก และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ โดยปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 24 ประเทศ และในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติให้ไปร่วมประชุมด้วย ท่านนายกยิ่งลักษณ์ยังได้รับเชิญให้แสดงปาฐกถา รวมถึงจัดตำแหน่งยืนถ่ายภาพในตำแหน่งศูนย์กลางภาพ แสดงว่าได้รับเกียรติ์อย่างสูง แม้ประเทศไทยจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ตาม

    ดังนั้นการพูดปาฐกถาในเวทีการประชุมประชาคมประชาธิปไตยที่มองโกเลียครั้งนี้ ก็เสมือนกับการกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีองค์การสหประชาชาติ กลายๆ นั่นเอง

    ผมเชื่อว่านับจากนี้ไป เราจะเห็นท่าทีของรัฐบาล, ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย และท่านอดีตนายกทักษิณ จะแข็งกร้าวต่อฝ่ายเผด็จการอมาตย์มากยิ่งขึ้น และน่าจะต้องมีการปรับกระบวนทัพเพื่อนำเข้าสู่การปะทะทางการเมืองทั้งในรัฐสภา และนอกรัฐสภา อย่างเต็มรูปแบบ

    มีคำกล่าวว่า “จงเป็นผู้กำหนดสนามในการต่อสู้แล้วจะไม่มีวันพ่ายแพ้” ซึ่งเป็นความจริงอย่างชัดแจ้ง เวลานี้อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ได้เป็นผู้กำหนดและถือครองอำนาจในสนามการต่อสู้เอาไว้หมดทุกรูปแบบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสนามการต่อสู้ด้วยคะแนนเสียงในสภา... สนามการต่อสู้ด้วยพลังมวลชน.. สนามการต่อสู้ด้วยความชอบธรรมในการบริหาร.... สนามการต่อสู้ด้วยความเชื่อถือจากนานาชาติ ด้วยการปาฐกถาเพียงครั้งเดียวอย่างถูกที่ถูกเวลา และเหมาะสมฝ่ายเผด็จการอมาตย์ถึงกับพ่ายแพ้จนหมดหนทางที่จะต่อกร และขัดขืนต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง

    เวลานี้สิ่งที่อมาตย์ใหญ่ที่เป็นศูนย์อำนาจของเผด็จการที่ครอบงำประเทศนี้มายาวนานมีทางเลือกเพียง 2 ทางที่จะทำได้คือ
    1.ยอมจำนนด้วยการขอประนีประนอม (ปรองดอง) ต่อฝ่ายประชาธิปไตย โดยยอมให้มีแพะตัวใหญ่มารับผิดชอบต่อสิ่งเลวร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการตัดตอนเรื่องราวทั้งหมด และรักษาสถานภาพของตนเองไว้ก่อนที่จะสายเกินไป
    2. ยังคงดึงดันตามความเชื่อของตนเอง หรือตามคำยุยงของคนรอบข้าง โดยพยายามหักหาญ เอาชนะด้วยกำลังที่มีไม่ว่าจะเป็นกำลังทหาร หรืออำนาจตุลาการก็ตาม ซึ่งผลก็คงจะออกมาในลักษณะ ศพ ไม่สวยอย่างแน่นอน

    ผมยังคงมองโลกในแง่ดีครับว่า จะไม่มีความขัดแย้งจนถึงขั้นใช้กำลัง แต่ทว่าศูนย์อำนาจใหญ่ของฝ่ายเผด็จการคงจะให้มีแพะตัวสำคัญเพื่อทำการตัดตอน และขอประนีประนอมกับฝ่ายประชาธิปไตยอย่างแน่นอน เพื่อหวังผล 2 ทางคือ

    1. ยังคงรักษาสถานะ และทรัพย์สินเงินทองเอาไว้
    2. เพื่อให้แดงแตกแยกกัน เพราะคงจะมีคนเสื้อแดงที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการประนีประนอม ที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ดังนั้นต้องแหย่ให้แตกกันให้ได้

    อย่างไรก็ดีสิ่งที่จะสามารถเป็นตัวชี้วัดได้ไม่ยากว่า อมาตย์ใหญ่จะตัดสินใจเลือกหนทางใดจะดูได้จาก การพิจารณาเรื่องสถานภาพความเป็น สส. ของอดีตนายกอภิสิทธิ์ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ โดยศาลปกครอง ซึ่งถ้าผลการพิจารณาออกมาว่า อดีตนายกอภิสิทธิ์ ได้รับการยกเว้นและยังคงสถานภาพความเป็น สส. ต่อไปได้ ก็แสดงว่า อมาตย์ใหญ่ตัดสินใจที่จะแตกหักกันไปข้างนึง (พี่น้องต้องเตรียมตัวให้พร้อมได้เลยครับ สุนัขจนตรอกมันเอาเราแน่)

    หรือถ้าผลการพิจารณาออกมาว่า อดีตนายกอภิสิทธิ์ พ้นสภาพความเป็น สส. ด้วยข้อหาหนีทหาร ก็แสดงว่า อมาตย์ใหญ่เลือกที่จะหาแพะตัวใหญ่ที่จะมารับความผิดทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ไฟลามมาถึงตัว ก็ใครล่ะครับที่รับรองนายกอภิสิทธิ์ “คนนี้ผมเชียร์” ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง คนเชียร์ จะรอดเหรอ

    ดังนั้นตัวชี้วัดสถานการณ์ว่าจะร้อนแรงถึงจุดระเบิด หรือจะเปลี่ยนผ่านอย่างสงบ เพียงแค่ “คนชั่วถูกปราบราบคาบสิ้น” สามารถดูได้จากวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ครับ

    รอลุ้นด้วยใจระทึก

    ตอบลบ
  5. ตีกระหนาบทั้งในประเทศและต่างประเทศ หมดสิ้นกันแล้วเผด็จการอมาตย์ไทย

    อ้างถึง ข่าวการที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ ในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ณ ประเทศมองโกเลีย
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367203736&grpid=00&catid=&subcatid=
    ดูเหมือนว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เคยได้ยินท่านนายกยิ่งลักษณ์ แสดงความเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย การพูดครั้งนี้เป็นการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา และชัดถ้อยชัดคำที่สุดโดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า “ประเทศไทยถูกรัฐประหารทำให้ประเทศต้องถอยหลัง.. เสรีภาพของประชาชนถูกปล้นไป” ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ได้พูดถึงว่ามีการสลายการชุมนุมต่อผู้ที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 คน และยังเรียกร้องให้ทุกคนสนับสนุนประชาธิปไตยเพื่อเสรีภาพ และอิสรภาพต่อไป

    ปกติท่านนายกยิ่งลักษณ์ จะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดหรือแสดงความเห็นที่จะเป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง ท่านจะมุ่งเน้นไปยังการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลโดยดูเหมือนว่าจะลอยตัวเหนือปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ตลอดมา แต่ทว่าการปาฐกถาที่มองโกเลียครั้งนี้จะต่างไปอย่างสิ้นเชิง มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ท่านนายกยิ่งลักษณ์ หญิงสาวผู้อ่อนน้อมและสุภาพน่ารักกลับแสดงงบทแข็งกร้าวในครั้งนี้ และทำไมต้องเป็นที่มองโกเลีย

    ปาฐกถาครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ได้ปฏิเสธการพบปะกับ พล.อ. เปรม อย่างชัดแจ้ง วันสงกรานต์ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ก็ไปเล่นน้ำสงกรานต์ที่เชียงใหม่แทนที่จะไปรดน้ำขอพรจาก พล.อ. เปรม ดังเช่นที่นายกหลายๆ คนที่ผ่านมาเคยกระทำ.... ไม่ได้ไปร่วมงาน “เปรมดนตรี” เพื่อสร้างหอดนตรีที่สงขลา โดยแจ้งว่ามีอาการอาหารเป็นพิษกระทันหัน แต่จากนั้นไม่นานท่านนายกก็เดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศบูรไนดารุสลาม ท่านนายกยิ่งลักษณ์ได้มีโอกาสพบปะผู้กับนำประเทศอาเซียนครบทุกประเทศและได้มีโอกาสประชุมร่วมกัน ทั้งการประชุมแบบพหุภาคี ไตรภาคี และทวิภาคี กลับมาประเทศไทยวันที่ 26 เมษายน อยู่เมืองไทยเพียงแค่ไม่กี่วันก็เดินทางไปมองโกเลียอีก จากนั้นก็มีปาฐกถาสะท้านการเมืองออกมาที่มองโกเลีย

    ปาฐกถาของท่านนายกยิ่งลักษณ์ครั้งนี้ เป็นสถานการณ์ที่ประสานเสียงกันอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังต่อสู้กันอย่างเข้มข้นอยู่ในขณะนี้ นับตั้งแต่ท่านอดีตนายกทักษิณ วิดีโอลิ้งค์เข้ามาในการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งท่านอดีตนายกพูดอย่างแข็งกร้าวว่า “จะแสวงหาความเป็นธรรมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งแม้จะหาไม่ได้ในประเทศไทยก็ตาม” และจากจุดนั้นปฏิกริยาการโต้ตอบกับฝ่ายเผด็จการอมาตย์ ก็เกิดขึ้นอย่างแข็งกร้าวทั้งจากฝ่ายการเมืองในสภา และจากภาคประชาชนนอกสภา


    ปาฐกถาสะท้านประเทศของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเข้าสู่ความล่มสลายของอำนาจเผด็จการอมาตย์อย่างชัดแจ้ง ปาฐกถาในครั้งนี้ท่านนายกยิ่งลักษณ์กำลังบอกเป็นนัยให้กับเหล่าเผด็จการอมาตย์ได้รับรู้ว่า ถึงจะอย่างไรก็จะไม่ยอมถอยให้อำนาจเผด็จการอีกแล้ว และพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือจากมิตรประเทศที่มีอยู่รอบด้านและมากมายให้เข้ามาช่วยต่อต้านถ้าจะมีการใช้อำนาจใดๆ มาโค่นล้มรัฐบาลนี้โดยไม่เป็นประชาธิปไตย

    ปาฐกถาครั้งนี้ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ได้เปิดหน้าท้าชนกับฝ่ายเผด็จการอมาตย์อย่างตรงไปตรงมา หลังจากที่ได้ไปพบกับเหล่าผู้นำชาติอาเซียนที่บูรไน แสดงให้เห็นว่าต้องมีการพูดคุยปรึกษาหารือกับผู้นำชาติอาเซียนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยมาบ้างไม่มากก็น้อย และก็คงจะได้รับความมั่นใจมาจากผู้นำเหล่านั้นว่าจะให้การสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งนั่นหมายความว่านับจากนี้ไปการต่อสู้เพื่อนำประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายในประเทศจะเข้มข้น และดุเดือดชนิดใครพลาดก็ถึงกับสูญพันธุ์กันเลยทีเดียว ขณะเดียวกันแรงกดดันที่จะมีอย่างมากมายจากภายนอกประเทศก็จะยิ่งเป็นเหมือนศึกกระหนาบชนิดที่ฝ่ายเผด็จการอมาตย์แทบจะไม่มีหนทางให้เลือกเดินต่อไป แน่นอนว่าถึงอย่างไรประชาธิปไตยก็จะไม่มีวันพ่ายแพ้อำนาจเผด็จการอย่างแน่นอน เพราะในที่สุดแล้วประชาชนนั่นแหละจะเป็นผู้ชนะสร้างชาติไทยขึ้นมาใหม่ที่จะต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คงอีกไม่นานเกินรอแล้วล่ะครับพี่น้องที่

    “คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ”

    ปูนนก

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน