แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต หลังปฏิวัติ 5 ปี "รัฐบาล-กองทัพ"ปีนเกลียว!

สัมภาษณ์โดย สุเมศ ทองพันธ์ นัฐวัฒน์ ดวงแก้ว

"เขาเป็นคนที่ถือปืน เป็นยาม มีหน้าที่ดูแลห้องนี้ไม่ให้ใครขโมยของ วันหนึ่งเขาอาจจะเปลี่ยนใจขโมยของเองก็ได้ เพราะฉะนั้นโอกาสมันถึงยังมี ถ้าวันหนึ่งเขาเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา ... อุปกรณ์ในมือเขาครบนี่

ก่อน "19 กันยายน 2549" พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต อยู่ในตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ"

เขาเป็น "นายทหาร" คนสำคัญ ในกลุ่ม "เตรียมทหารรุ่น 10" รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

"สุกำ พล" ถือเป็น "เพื่อนสนิท" ที่สุด คนหนึ่งของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ในขณะนั้น เพราะนอกจากกำลังได้รับการสนับสนุน จาก "รัฐบาลพรรคไทยรักไทย" ให้ขึ้นรับตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารอากาศ" แล้ว

ชื่อ "สุกำพล" ยังถูก "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" นำมาใช้เป็นประเด็นในการโจมตี "พ.ต.ท.ทักษิณ" กรณีการจัดเที่ยวบินพิเศษ ไปร่วมงานวันเกิดน้องสาว ที่ จ.เชียงใหม่ ด้วย

ช่วง "ปฏิวัติ 19 กันยายน" พล.อ.อ.สุกำพลยืนยันว่า เขาเป็นคนหนึ่งที่ "ถูกกระทำ" โดยตรง เช่นเดียวกับฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ แม้เขาเองจะยืนอยู่ใน "กองทัพอากาศ" ก็ตาม

ที่สำคัญคือ เส้นทางสู่เก้าอี้ "ผบ.ทอ." ที่วาดฝันเอาไว้ต้องสลายลงในทันที ...

วันนี้ หลังการปฏิวัติรัฐประหารผ่านมา 5 ปีเต็ม ชีวิตของ "พล.อ.อ.สุกำพล" เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก "รัฐบาลพรรคเพื่อไทย" ให้มานั่งในเก้าอี้ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม"

"พล.อ.อ .สุกำพล" เปิดใจคุยกับ "มติชน" ถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการเข้ามารับตำแหน่งเสนาบดี โดยที่จับตามองสัมพันธภาพระหว่าง "กองทัพ" และ "เครือข่าย พ.ต.ท. ทักษิณ" ไม่ได้ดีขึ้นเลยตลอดระยะเวลา 5 ที่ผ่านมา

- เล่าได้ไหมว่าเบื้องหลังการเข้ามารับตำแหน่ง รมว.คมนาคม เป็นมาอย่างไร

ที่ ผมมาเป็น รมว.คมนาคมน่ะหรือ ก็... คนในรัฐบาลแหละ อย่าไปเอ่ยชื่อเขาเลยว่าเป็นใคร มาทาบทามมาว่า เอ๊ะ! จะมาเป็นไหม มาร่วมงานในรัฐบาลกัน ตอนแรกยังไม่ได้บอกว่าจะให้อยู่ที่ไหน เราก็เอ้า! ก็พร้อม เพราะผมก็จะเกษียณแล้ว...ก็รับปากเขาไปว่า เอา ถ้าหากว่าต้องการผมก็ไม่มีปัญหาอะไร พอใกล้ๆ เขาก็มาบอกว่าต้องการจริงๆ แล้วให้ลาออกได้ ผมก็ลาออกมาจากราชการ แล้วเขาก็บอกว่าให้เรามาเป็นอะไร แต่เขาก็ไม่ได้บอกเหตุผลนะว่าทำไมถึงให้มาอยู่ที่นี่ คิดว่าเขาคงอาจจะเห็นว่าเราทำตรงนี้ได้

-คิดว่าคนคนนั้นมองเห็นศักยภาพตรงไหนของเราถึงให้มาอยู่กระทรวงคมนาคม

เหตุผล จริงๆ คงต้องถามคนนั้นเขานะ เพราะเป็นเรื่องภายในของเขาที่เขาคงไม่บอกเรา ที่ผมคิดเองนะ มองว่ากระทรวงคมนาคมนั้นใครก็อยากมาอยู่ เป็นกระทรวงเกรดเอ ประมาณนี้ ไอ้ผมก็ไม่ได้คาดคิดเพราะเรามีแต่ความรู้ทางทหาร ส่วนที่เคยเกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมบ้างก็คือการเป็นบอร์ดการบินไทย บอร์ดบริษัท วิทยุการบิน ซึ่งมีความรู้บ้างก็ทางด้านการบินเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็มีพื้นฐานด้านการบริหารที่เป็นอันหนึ่งที่อาจจะเป็นจุดแข็งของ ตัวเอง ผมเคยเป็นมาตั้งแต่เจ้ากรมยุทธการ เป็นผู้ช่วยเสธ.ยุทธการ รองเสธ. สุดท้ายก็โดนปฏิวัติ 19 กันยายน ก็โดนออกไป จุดนี้ทำให้เราได้ประสบการณ์ด้านการบริหารหน่วยงานขนาดใหญ่ เขาคงคิดว่าผมคงจะมาบริหารที่นี่ได้ และก็มีบางหน่วยงานที่คล้ายๆ กับของกองทัพอากาศ อย่างการบินไทย การท่าอากาศ ยาน และวิทยุการบิน ถ้าเรามองจริงๆ แล้ว การบินไทย การท่าอากาศยาน และวิทยุการบิน หรือกรมการบินพลเรือนทุกวันนี้ก็กำเนิดมาจากกองทัพอากาศทั้งนั้นเลย ส่วนเรื่องอื่น อย่างเรื่องทางหลวง ทางบก ทางน้ำอะไรทั้งหลาย พูดจริงๆ ก็ไม่ยากเย็นอะไร ก็เป็นงานที่เหมือนกับงานบริหาร...ถ้าคิดว่าผมทำได้ ก็คงทำได้ แล้วพอได้มาอยู่ ทำงานจริงๆ จนถึงวันนี้ก็เดือนนึงแล้ว ก็สบายใจมากขึ้น แรกๆ ก็เอ๊ะ เรายังไม่รู้จักใคร ก็ต้องทำความคุ้นเคยกันก่อน เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดี อะไรก็ค่อยๆ ออกมา ทุกอย่างก็รื่นไหล วันนี้มั่นใจมากว่าอยู่ที่นี่แล้วไม่มีอะไร

- "เขา" คนที่มาทาบทามให้เป็น รมว.คมนา คม คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช่ไหม

คือ...พ. ต.ท.ทักษิณกับผมเนี่ยเป็นเพื่อนกัน มีการติดต่อกันตลอดนะครับ ผมว่าท่านให้เกียรติรัฐบาล หลังจากมีคนมาทาบทามแล้วเนี่ย ท่านถึงติดต่อมาว่า...เฮ้ยๆ อย่างนั้นอย่างนี้ ยินดีด้วยเว้ย อย่างนี้ ผมกับนายกฯ ทักษิณรู้จักกันมานาน ตอนเรียนไม่ได้อยู่ตอนเดียวกัน ก็ไม่ค่อยสนิทกัน แต่ถ้าเวลาเจอกันก็ แม้ว...เมิ้ว เรียกกันอะไรอย่างนี้ พอเพื่อนมาเล่นการเมืองก็ยินดีด้วย ตอนท่านทำธุรกิจโทรศัพท์อยู่ก็ให้เพื่อนๆ ซื้อโทรศัพท์ราคาพิเศษหน่อย...อู้หู สมัยนั้นโทรศัพท์ราคาแพงนะ แต่มันก็แค่เพื่อนฝูงเอื้ออำนวยกันเท่านั้นเอง (ยิ้มๆ) มาใกล้ชิดกันมากคือตอนที่ท่านเป็นนายกฯแล้ว ผมเป็นเจ้ากรมยุทธการ ท่านมาเดินทางใช้เครื่อง ทอ.บ่อย เราเป็นเพื่อนก็มาส่ง ก็ได้เป็นผู้อำนวยการการเดินทางก็ใกล้ชิดมากขึ้น นายกฯทักษิณ เวลาท่านจะสนับสนุนใคร ท่านจะดูก่อน ไม่ใช่สนับ สนุนคนซี้ซั้ว ท่านจะดูว่าในรุ่นนี้ใครเหมาะอะไรอย่างไร แต่ท่านไม่ได้เป็นคนดันผมหรอกนะ ผมเป็นเจ้ากรมยุทธการแล้ว ก็แค่ประสานงานกับกรมยุทธการมากขึ้น ประสานงานกันมาเรื่อยๆ จนถูกปฏิวัติแหละ

- คิดไหมว่ามานั่งในกระทรวงนี้อาจทำให้คนในพรรคที่ตั้งความหวังเอาไว้เกิดความไม่พอใจ

อัน นี้มันเรื่องของข้างบนเขานะ ผมไม่ได้เลือกนี่ว่าจะอยู่ที่ไหน ผมยินดีมาช่วย แต่จะให้ผมอยู่ตรงไหนเป็นเรื่องของข้างบนเขา ข้างบนรัฐบาล นายกฯยิ่งลักษณ์ให้อยู่ที่นี่ ก็เอาที่นี่ เรื่องการเมืองคือผมโชคดีที่ผมไม่ได้เป็นนักการเมือง และเป็นโควตาคนนอกเข้ามา อย่างที่เขาว่ากัน...แต่ผมต้องเข้ากับนักการเมืองให้ได้ รมช.คมนาคม ก็มีนักการเมืองอยู่คนหนึ่ง แต่เมื่อมาอยู่ในแวดวงเขาแล้ว ไม่ใช่เรามาแล้วปลีกตัว ผมก็เข้าหาแบบคนนอกเข้าหานักการเมือง อาจจะเยี่ยมเยียนบ้าง มาขอความช่วยเหลือบ้าง ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าเขาเป็นตัวแทนประชาชนมาแจ้งเรื่องราวความเดือดร้อน เราก็ต้องรับเรื่องไว้ เราต้องดูว่าเรามีเท่าไร ช่วยเขาได้เท่าไร อย่างเรามีเงินอยู่ร้อยเดียว คนขอมาซ่อมถนนตั้งห้าร้อย เราก็ต้องตัดสินใจ ตรงไหนมันจำเป็นต้องซ่อมถนน ก็ไปทำ มันเป็นเรื่องของการบริการ ผมไม่ใช่นักการเมือง แต่คิดว่าต้องเข้ากันให้ได้ระดับหนึ่ง แต่ผมคงจะไม่ไปทำตัวเป็นนักการเมืองทั้งหมดเลย

- ไม่ค่อยปรากฏชื่อว่าเข้าไปช่วยเหลืองานพรรคมาก่อนแต่กลับมีชื่อเป็นรัฐมนตรี

จะ เข้าไปได้อย่างไร ตอนนั้นผมเป็นข้าราช การอยู่ เป็นจเรทหารทั่วไป ผมไม่เคยได้เข้าไปช่วยงานเขาเลย แต่เพื่อนในกลุ่ม ตท.10 ด้วยกันหลายคนที่เกษียณแล้ว เช่น พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ซึ่งผมสนิทกับท่านมาก ตอนเด็กๆ ผมเดือดร้อนก็ได้เมธนี่แหละเป็นคนช่วยผม แล้วที่ผมได้มาเป็น รมว.คมนาคม ก็เป็นเรื่องที่เมธเขาเข้าใจได้ ส่วนเพื่อนคนอื่นๆ อีกหลายคนก็สนิทสนม รู้จักกันดี ทั้งกลุ่มที่เป็นทหารบก ทหารเรือ และตำรวจ ที่เขาเข้าไปช่วยงานที่พรรคเพื่อไทยกัน ไอ้ผมมันมาไม่ได้ กติกามันบังคับไว้ แต่ผมเป็นประธานรุ่น 10 ของ ทอ.ก็รู้จักเพื่อนหลายคน ผมไม่ใช่พวกปลีกวิเวก มีความสัมพันธ์ดี เพื่อนกันทุกคนแหละไม่ว่า จะเป็นเพื่อนฝ่ายปฏิวัติ อย่างพี่ป๊อก (พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา) ก็รู้จักกัน ประชุมสภากลาโหม ผมเป็นจเรทหารฯ พี่ป๊อกเขาก็เป็น ผบ.ทบ. ก็นั่งติดกัน ตอนปฏิวัติเนี่ยมันเลยมาแล้ว คือเราโดน...ก็ต้องยอม ตอนนั้นเขายิ่งใหญ่เกินไป เราก็ต้องยอมรับ... จบ จะทำอะไรก็ว่าไป จะทำผมก็ว่าไป เมื่อแพ้ก็เป็นผู้แพ้ที่ดี แต่เมื่อชนะก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เราโดนจับติดคุกก็ยังไปเถียงกับผู้คุม เดี๋ยวเขาก็ซ้อมตายห่าสิ (หัวเราะ) แพ้ก็แพ้ ทหารไม่เคยโวยวายกัน...ก็แค่ พี่ครับ พี่ทำผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ผมจำได้ (หัวเราะ) เรื่องแบบนี้มันต้องจำ มันเป็นประวัติศาสตร์ของตัวเรา

- ขยายความได้ไหมที่บอกว่า "โดน" และต้อง "ยอม" หมายถึงอะไร

วัน ที่ผมโดน คือวันที่ผมเป็นเสนาธิการ ก็รู้ข่าวตอนบ่ายๆ คือคนทำก็นายผมด้วยแหละ ท่าน ผบ.ทอ.ก็ทำด้วย เขาก็รู้ว่าผมเป็นใคร เขาก็กันผมเอาไว้ เวลาทำเขาก็ทำกัน ผมเนี่ยโดยตำแหน่งมันไม่สามารถคุมกำลัง สั่งอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ก็โดนแค่จับตาเฉยๆ วันรุ่ง ขึ้นเขาก็เรียกผมไป แต่คนที่คุมกำลังอย่าง "สุเมธ" เนี่ย เขาโดนล็อกตัวไว้แล้ว สั่งไม่ได้ ...เขาเรียกมาก่อนแล้วก็ไม่ให้ออกไป เรื่องก็จบ! สุดท้ายผมก็ต้องอยู่เฉยๆ ทำอะไรไม่ได้ ก็ไม่ได้ไปไหน อยู่บ้าน แขวนเครื่องแบบไว้ที่หัวเตียงไว้ตัวหนึ่ง เผื่อเมื่อไรเขาเรียกผมไปก็จะได้ไปเร็วหน่อย ก็แค่นั้น

- วันเกิดเหตุได้ติดต่อกับ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือเปล่า

ตอน นั้นเขาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ก็มีเพื่อนๆ ติดต่อไป แต่มันไกลเกินกว่าที่จะทำอะไรได้ คนทางนี้ก็ถูกควบคุมตัวบ้าง คนที่มีโอกาสก็...แต่มันต้องเข้าใจว่าในเวลาอย่างนั้น สมมุติว่าผมเป็น ผบ.พล.ที่นี่สักคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนท่าน แม้จะยังไม่ถูกรวบตัว แต่คนอื่นโดนล็อกหมดแล้วเนี่ยการจะทำอะไรมันไม่ใช่เรื่องง่ายก็แค่คนเดียว แต่ทางโน้นเยอะ...

- มองว่าตั้งแต่ 19 กันยายน จนถึงวันนี้ การต่อสู้กันระหว่างพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายที่เคยทำการปฏิวัติยุติหรือยัง

ใน ความคิดผมนะ หลังปฏิวัติมานี้ ประเทศเปลี่ยนแปลงทางลบมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นอะไร เหตุที่เกิดเสื้อเหลือง เสื้อแดง มันเกิดมาจากตรงนั้น อย่ามาเถียงเลยว่า ยังไงๆ นั่นมันเป็นเหตุแรกเลย ความไม่เท่าเทียมกันมันเกิดขึ้น ผู้ปฏิวัติก็ไปถือหางใคร... ทุกคนก็รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น คนที่เป็นคนระดับล่าง ปกติรวมตัวกันยากจนตอนนี้เขารวมตัวกันได้ เพราะไปทำให้เขาเห็นความแตกต่างที่มากขึ้นเรื่อยๆ คนเราเมื่อถูกบีบก็มีแรงต้าน บ้านเมืองถึงได้เป็นอย่างนี้ ตอนนี้ถามว่ามันจบไหม...ผลของมัน มันเบาลง แต่ยังไม่จบ หมายความว่า วันนี้ถ้าทหารจะปฏิวัติอีกทีหนึ่ง มันไม่ง่าย แต่โอกาสมีไหมมันก็มี แต่ถ้าเขาทำเมื่อไรก็จะเจอแรงต้านเยอะขึ้น ผมว่ามันก็เป็นปัญหาพอสมควร พวกที่บอกว่าไม่ปฏิวัติอะไรเนี่ยนะ ใครก็พูดได้ทั้งนั้น ที่สำคัญคือพวกนักการเมืองทั้งหลายที่ไปถือท้ายทหาร ไอ้พวกขี้แพ้ที่ไปถือท้ายทหารเนี่ย ผมว่ามันไม่ถูกหรอก มันแค่ชนะชั่วคราว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเราเห็นกันอยู่ว่ามันเป็นการชนะชั่วคราว ตอนนี้เป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วการปฏิวัติมันไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วดีขึ้น ทหารกับการเมืองมันแยกกันไม่ออกหรอก ชาติอื่นเขามีปรมาณูหรืออาวุธอะไรตั้งเยอะแยะ ทหารเขาไม่เคยคิดเรื่องปฏิวัติเลย มีแต่ชาติอย่างเรา หรือพวกแอฟริกาที่มีปัญหานี่แหละที่ปฏิวัติกัน แต่เมื่อปฏิวัติจบ ผลที่เห็นคือคนปฏิวัติรวย มีอำนาจ...รวย แล้วไม่ผิดด้วย ไม่รู้ลูกผู้ชายหรือเปล่าที่ไปล้างมลทินให้ตัวเองเนี่ย เสร็จแล้วก็โอเค ยืนในสังคมได้ต่อ ...แม้จะมีคนบอกว่ามันถูกต้อง แต่ผมคนหนึ่งแหละที่ว่ามันไม่ถูกต้อง ถามว่าทหารปัจจุบันคิดปฏิวัติกันไหม ถ้าผมเป็นทหารเด็ก เป็นพันตรี ต่อไปผมจะเป็นนายพล มีอำนาจขึ้นมาดูประวัติ ศาสตร์ก็เห็น พี่นั่นทำปฏิวัติแล้วก็ดี คนนั้นทำก็ดี เจริญดี คนนี้ทำก็ดี ก็อยากทำ ถ้าทำแล้วตายสักคนหนึ่งสิ รับรองไม่มีใครกล้าทำ หรอก

- ที่บอกว่ามีโอกาสจะเกิดการปฏิวัติอีก ดูจากปัจจัยอะไร

คือ เขามีอุปกรณ์ครบ เขาเป็นคนที่ถือปืน เหมือนเป็นยาม มีหน้าที่ดูแลห้องนี้ไม่ให้ใครขโมยของ วันหนึ่งเขาอาจจะเปลี่ยนใจขโมยของเองก็ได้ เพราะฉะนั้นโอกาสมันถึง ถ้าวันหนึ่งเขาเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ..แต่มันต้องมีเหตุผลว่าพอคุณทำแล้ว คุณจะเจอสาหัสสากรรจ์นะ ถ้าล้างเสร็จแล้วจบมันก็อย่างนี้ ผมก็ทำ มันสบายนี่ รวยกันเป็นแถว แจกเงินกันเป็นแถว ไอ้คนอยากทำมันก็อ้างได้ร้อยแปดแหละ (หัวเราะ) ก็มันถูกตลอดนี่... (หัวเราะอีก) วันนี้ผมสงสาร รมว.กลาโหมนะ ผมเป็น รมว.คมนาคม ผมย้ายอธิบดี ย้ายปลัดได้ ซี 10 ซี 11 ได้ แต่เป็น รมว.กลาโหม จะย้าย พล.ต.สักคน ต้องมานั่งคุยในคณะกรรมการกัน 7 คน ผมว่ามันไม่ถูกต้องเลยที่จะย้ายลูกน้องตัวเองทำเรื่องขึ้นมาเข้า 7 คน น่าสงสารมาก กติกาที่สร้างเอาไว้อย่างนี้ แล้วจะบอกว่าการเมืองไม่ให้ยุ่งกับทหาร มันเป็นไปไม่ได้หรอก มีชาติไหนที่ไม่ให้การเมืองไปยุ่งกับทหาร เพราะทหารมันเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเมือง คนที่มาจากประชาชนต้องให้เขา ดูอย่างโอบามา (นาย บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) สิ นายพลอะไรที่อยู่ในอิรัก ตุกติกนิดเดียวเขาย้ายเลย มันต้องอย่างนั้น แต่เราบอกการเมืองอย่ามาจุ้นจ้านกับการโยกย้าย แล้วทีคุณโยกย้ายนายทหารคุณล่ะ ต้องเอาคนนั้นต้องเอาคนนี้ รู้ๆ กันอยู่ การเมืองเขาไม่ไปจุ้นจ้านมากหรอก ถ้าเป็นปึกแผ่นกัน ใครก็ได้ถ้ามาแล้วรู้เรื่อง อย่างผมมาอยู่ที่นี่ ผู้จัดการ บขส. (บริษัท ขนส่ง จำกัด) นามสกุลกัลยาณมิตร ผมยังไม่ย้ายเขาเลย เพราะช่วยไม่ได้ที่เขาเกิดมาเป็นกัลยาณมิตร

- กองทัพกับรัฐบาลปัจจุบันก็พอมีอาการให้เห็นบ้างเหมือนกัน จากกรณีโผแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร

ผม ว่าก็ยังเหมือนเดิมนะ คือว่าเขาอยากเปลี่ยนอะไร เขาอยากทำอะไรก็จะทำอย่างนั้น ทหารอยากทำอะไรก็ไม่อยากให้ใครมายุ่ง ยังเป็นภาพเดิมๆ คือผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะทำอะไรก็ยาก เขาจะถือไอ้กติกา 7 คน พยายามทำตัวเองให้เป็นสังคมปิด อย่างนี้มันไม่ถูกหรอก มันต้องเปิด ชาติอื่นเขาไปถึงไหนแล้ว ...ดูกันเสียบ้าง

- สัญญาณชัดเจนเลยหรือว่ากองทัพยังเขม็งเกลียวกับฝ่ายการเมือง

คือ ทุกอย่างนะ ไอ้คำพูดเนี่ยไม่สำคัญหรอก แต่การกระทำมันเป็นสิ่งสำคัญ จะพูดอะไรก็พูดได้แต่การกระทำน่ะสิ แม้ผมไม่ได้ไปอะไรตรงนั้น แต่ก็รู้ (เน้นเสียง) รู้แหละ ว่าอะไรคืออะไร ถ้ายังอยู่อย่างนี้อยู่ก็ไม่รู้ว่า มันจะเป็นอย่างไรต่อไป
.............


คมช.ริบตำแหน่ง "ผบ.ทอ."

แต่เปิดทาง "รมว.คมนาคม"


ชื่อ ของ "บิ๊กโอ๋" พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ แซงปาดหน้า "เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อย่าง "บิ๊กเมธ" พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี แกนนำกลุ่มเตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อนทักษิณ พรรคเพื่อไทย เข้าวินมารับตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม" ในช่วงโค้งสุดท้ายแบบเหนือความคาดหมาย

ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นชื่อ "พล.อ.อ.สุกำพล" แทบไม่ปรากฏอยู่ในแคนดิเดต "รมว.คมนาคม" เลยด้วยซ้ำ

หาก ย้อนดูโปรไฟล์ "พล.อ.อ.สุกำพล" จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 4, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 17, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 45, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 29, วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 29, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 46

ได้รับตำแหน่งสำคัญในกอง ทัพอากาศ เช่น เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ, รองเสนาธิการทหารอากาศ, เสนาธิการทหารอากาศ และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ, จเรทหารทั่วไปกระทรวงกลาโหม

ที่น่าสนใจคือ "พล.อ.อ.สุกำพล" นอกจากจะเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 กับ "พ.ต.ท.ทักษิณ" แล้ว ยังมีสายสัมพันธ์อันดีกับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ อีกด้วย

ก่อนเกิดเหตุปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 "พล.อ.อ.สุกำพล" ครองตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และถูกวางตัวจาก "รัฐบาลไทยรักไทย" ให้ขึ้นรับตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.)" ต่อจาก พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ไว้แล้ว

แต่ผลพวงจากการปฏิวัตินั้น ส่งผลรุนแรงถึงขั้นทำให้เก้าอี้ "ผบ.ทอ." ของ "พล.อ.อ.สุกำพล" ต้องหลุดลอยไปในพริบตา พร้อมทั้งถูกย้ายเข้ากรุมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทอ.ปี 2550 ก่อนถูกย้ายข้ามห้วยกระเด็นกระดอนออกจากทุ่งดอนเมือง มาดองเค็มในเก้าอี้ "จเรทหารทั่วไป" กระทรวงกลาโหม ช่วงปี 2551

เมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2554 พล.อ.อ. สุกำพล ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อเข้ารับตำแหน่ง "รมว.คมนาคม" ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามคำเชิญของแกนนำพรรคเพื่อไทยคนหนึ่ง ที่เจ้าตัวเฉลยแล้วว่า "ไม่ใช่" พ.ต.ท.ทักษิณ

ถามความรู้สึกของ "บิ๊กโอ๋" เมื่อหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยา เขาบอกด้วยน้ำเสียงอารมณ์ดีว่า ...

"ขอบคุณ คมช.ที่ตอนนั้นทำให้ผมหมดโอกาสเป็น ผบ.ทอ. แต่ให้ผมได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเลย... ผมขอขอบคุณ คมช.อีกครั้ง (หัวเราะเสียงดัง)"

(มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 19 กันยายน 2554)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน