แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

ติดดาบปลายปืนอมาตย์กับประชาชน ขั้นแตกหักจะอยู่หรือจะไปได้รู้กัน



ติดดาบปลายปืนอมาตย์กับประชาชน ขั้นแตกหักจะอยู่หรือจะไปได้รู้กัน
ปูนนก

เมษายนเดือนที่อุณหภูมิของอากาศร้อนจนขั้นที่ถ้าใครออกมายืนตากแดดยามเที่ยงวันนานๆ อาจจะเกิดอาการ Heatstroke (เป็นลมแดด) ขึ้นได้อย่างปัจจุบันทันด่วน ฉะนั้นจึงมีคำเตือนออกมาจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะๆ ถึงการดูแลสุขภาพในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน และมีอุณหภูมิสูงจัดเช่นนี้

ขณะที่อุณหภูมิอากาศร้อนจัด อุณหภูมิทางการเมืองก็ร้อนจนถึงองศาเดือดเช่นกัน หลังจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ท่าทีของการต่อสู้ทางการเมืองก็ดูเหมือนจะปรับเปลี่ยนไปในทางที่แข็งกร้าว มากขึ้น ท่านอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดตัวอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หวั่นเกรงคำครหาอีกต่อไปว่า ต่อไปนี้จะเข้าร่วมประชุมกำหนดทิศทางการทำงานของพรรคอย่างตรงไปตรงมาทุกครั้ง หลังจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครอย่างน่าเคลือบแคลงใน ครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับอำนาจฝ่ายเผด็จการ อมาตย์อีกต่อไป

ประการแรกที่ ได้เห็นอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาก็คือ การลาออกจากการเป็น ส.ส. เขียงใหม่ ของ นายเกษม นิมมลรัตน์ ซึ่งเป็นการรู้กันโดยเปิดเผยว่าเป็นการเปิดทางให้นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ได้มีโอกาสลงรับสมัครเลือกตั้ง และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้นางเยาวภา ซึ่งรู้กันว่าเป็นน้องสาวสายตรงของท่านอดีตนายกทักษิณ กลับมาเป็นผู้แทนหรือไม่? อย่างไรก็ดีเป้าหมายที่ท่านอดีตนายกทักษิณ ต้องการให้น้องสาวคือคุณเยาวภา เข้ามามีบทบาทในพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ก็น่าจะเป็นเพราะต้องการให้มีการจัดระเบียบ ส.ส. ในพรรคให้อยู่ในแนวทางตามนโยบายของพรรค ไม่ออกนอกลู่นอกรอยไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะต่อไปนี้การต่อสู้ทางการเมืองในสภา และนอกสภาจะเข้มข้นชนิดพลาดไม่ได้เลยแม้แต่ก้าวเดียว
ประการที่2 ต่อมารัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็นำพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาในสภา เป้าหมายก็เพื่อปรับปรุงระบบโครงสร้างการขนส่งทั่วประเทศไทยเพื่อรองรับการ เข้าสู่การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน เพียงแค่วาระแรกคือวาระรับหลักการเท่านั้นเวทีในสภาก็ปะทะกันอย่างดุเดือด ชนิดไม่มีใครยอมใคร และแม้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้จะผ่านวาระแรกมาได้ แต่ทว่ากลุ่มเครือข่ายเผด็จการอมาตย์ก็จะไม่มีทางยอมให้กฏหมายฉบับนี้ผ่าน วาระ 2 วาระ 3 อย่างง่ายๆ การปลุกปั่นให้ประชาชนเข้าใจผิดในเรื่องการกู้เงินมาทำระบบขนส่งทางรางทั่ว ประเทศนี้ เกิดขึ้นจากนักวิชาการที่เป็นเครือข่ายเผด็จการทั่วไป ด้วยข้อหาเดียวคือการกู้มาครั้งนี้คือการโกงอย่างมโหฬาร ทั้งๆ พระราชบัญญัติที่แสดงไว้ในสภาก็มีความชัดเจนถึงการจัดทำโครงการ และการใช้งบประมาณรวมถึงการตรวจสอบ

ประการที่3 ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้พยายามที่จะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงก็ คือ การยุติความรุนแรงในภาคใต้ โดยรัฐบาลได้ติดต่อและสร้างสายการเจรจาอย่างต่อเนื่อง และโดยความช่วยเหลือของประเทศเพื่อนบ้านในที่สุด เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถพูดคุยเจรจากับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญของกลุ่ม BRN และกลุ่มพูโล แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงจะยังไม่สงบลงอย่างราบคาบ ทันทีทันใด แต่การพูดคุยกับระดับแกนนำคนสำคัญก็เป็นช่องทางและนิมิตหมายที่ดี ที่แสดงให้เห็นว่าความพยายามในการยุติปัญหาความรุนแรงในภาคใต้นั้น กำลังเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ประการที่4 รัฐบาลพรรคเพื่อไทยร่วมมือกับสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง ยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ใน 3 ฉบับคือ

ฉบับที่ 1. แก้ไขเพิ่มเติม ม.111 ม.112 ม.115 ม.116 (วรรคสอง) ม.117 ม.118 ม.120 และ ม.241 (วรรคหนึ่ง) และยกเลิก ม.113 และ ม.114 ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยมีมติ 367 เสียง ต่อ 204 เสียง งดออกเสียง 34 คน

ฉบับที่ 2. แก้ไขเพิ่มเติม ม.190 ว่าด้วยการทำสัญญาระหว่างประเทศ โดยมีมติ 374 เสียง ต่อ 209 เสียง งดออกเสียง 22 คน

ฉบับที่ 3. แก้ไขเพิ่มเติม ม.68 และ ม.237 ว่าด้วยการยุบพรรคการเมือง โดยมีมติ 374 เสียง ต่อ 206 เสียง งดออกเสียง 25 คน

ผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นฝ่ายรุกทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ ทำให้เห็นได้ชัดว่าทำให้กลุ่มเครือข่ายเผด็จการอมาตย์ไม่สามารถทนต่อภาวะแรง กดดันในลักษณะนี้ได้ เพราะรัฐบาลโดยการนำของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ได้เปิดยุทธการโจมตีในทุกด้านพร้อมๆ กัน ทั้งโครงการเมกกะโปรเจก เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยในด้านการขนส่งด้วยวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ใครๆ ก็เห็นได้ชัดว่าถ้าโครงการนี้สำเร็จ ประชาชนทั้งชาติจะได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างพร้อมหน้า ไม่ใช่เป็นการนำเงินกู้มาเพื่อโกงกินแล้วไม่เกิดผลใดๆ ต่อคนในชาติ เหมือนดังเช่นเงินกู้ 8 แสนล้านสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ แล้วประเทศไทยได้เสาธงต้นละ 5 แสน, ได้โรงพักที่มีแต่เสา, ได้ตู้น้ำเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานไม่ได้, ได้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่มีโรงพยาบาลใดต้องการ ฯลฯ

การเจรจายุติปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ แม้ว่าความรุนแรงจะยังไม่สงบทันที แต่ก็มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ และถ้าภายใน 3-5 ปีนี้ ความรุนแรงในภาคใต้ยุติลง ก็จะถือได้ว่าเป็นผลงานชั้นยอดของรัฐบาล

และที่สำคัญการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 นี้ เป็นเสมือนการทุบกล่องดวงใจของเผด็จการอมาตย์ ซึ่งฝ่ายเผด็จการจะไม่ยอมให้มีการแก้ไขโดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าทุกองคาพยพของเผด็จการ ตั้งแต่ คนสำคัญที่สุด ไล่เรียงมาจนถึงคนที่สำคัญน้อยที่สุด ต่างก็ออกมาถล่มโจมตีรัฐบาลในทุกๆ เรื่อง และพยายามสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ให้ได้ เป้าหมายก็เพียงเพื่อไม่ให้รัฐบาลทำงานในสภาได้อย่างราบรื่นนั่นเอง อะไรก็ได้ที่สามารถล้มรัฐบาลได้นั่นคือสิ่งฝ่ายเผด็จการอมาตย์จะพยายามกระทำ และถ้าทำได้กลุ่มเผด็จการอมาตย์ก็จะพยายามทำให้สิ่งต่างๆ ย้อนรอยกลับไปเหมือนกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ที่มีความพยายามจะป่วนสภาโดยการลากเก้าอี้ประธานสภาออกไปทิ้ง และมีม๊อบที่ตระเตรียมเอาไว้เป็นผู้ปั่นป่วนอยู่ภายนอกสภา เป็นการสร้างเรื่องให้ดูเหมือนว่าผู้แทนราษฎรที่ทำงานในสภาไม่สามารถจะได้ รับความเชื่อถืออีกต่อไป

ขณะที่รัฐบาลกำลังพยายามอย่างหนักที่จะสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับ ประเทศนี้ ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยและชื่นชอบอำนาจเผด็จการ ก็พยายามอย่างหนักเช่นกันในการที่จะดึงให้ประเทศนี้ย่ำอยู่กับที่ หรือกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอำนาจเผด็จการดังเดิม การออกมาเดินสายให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านคอรัปชั่น ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญพูดในงานปาฐกถาวันสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยอ้างถึง การผูกขาดอำนาจที่มาจากเสียงข้างมาก ของนักการเมือง รวมถึงการประสานเสียงอย่างเอาเป็นเอาตายของ ส.ส. พรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพันธมิตรและเครือข่าย ที่จะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างถึงที่สุด เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ไม่มีใครยอมใคร ไม่มีใครถอยให้ใครอีกแล้ว
ส่วน ในภาคประชาชนก็เป็นความจริงที่ว่า ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยต่างก็ร่วมในการสูญเสียมาอย่างมากมาย ทั้งชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงอิสระภาพเพื่อให้นักการเมืองที่อ้างตัวว่าเป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไป ต่อสู้แทนพวกเขาในสภา แต่ทว่าเกือบ 2 ปีมานี้ รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ มุ่งเน้นในเรื่องการบริหารประเทศเสียจนลืมความจริงไปว่า ประเทศไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของการเมืองแบบเผด็จการดังนั้นการพัฒนาประเทศ จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงไม่ได้ ถ้ารูปแบบการปกครองทางการเมืองไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างถูกต้องเสียก่อน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้ความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพรรคเพื่อไทยเริ่มสั่น คลอนไป แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่พรรคเพื่อไทย โดยท่านอดีตนายกทักษิณ จะหันกลับมาเน้นที่ความต้องการอันแท้จริงของประชาชนก่อนอื่นใด

วันที่ 10 เมษายน 2556 ที่จะถึงนี้ กลุ่ม นปช. และคนเสื้อแดงจะจัดชุมนุมใหญ่เพื่อแสดงพลังและระลึกถึงการล้อมปราบประชาชน เมื่อปี 2553 ที่สี่แยกคอกวัว และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย การชุมนุมแสดงพลังในครั้งนี้จะเป็นเครื่องยืนยันว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของ ประชาชน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังเดินหน้าอยู่นี้เป็นการปฏิบัติตามนโยบายที่ พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้ ซึ่งด้วยนโยบายนี้ทำให้ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยให้มาเป็นตัวแทนของพวกเขาใน การดำเนินตามนโยบายนี้ และประชาชนเสียงข้างมากในประเทศนี้คงจะไม่ยอมให้ใคร หรืออำนาจอะไรมาล้มรัฐบาลนี้ อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบธรรมอีกต่อไปแล้ว

และถ้ามีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ก็คงจะต้องปะทะกันชนิดติดดาบปลายปืนเป็นแน่แท้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะได้รู้กันว่าใครจะอยู่และใครจะไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน