แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

"ทักษิณ" โพสต์เฟซบุ๊ก แลคเชอร์ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ชี้แม้หนี้พุ่งรายได้ก็พุ่งด้วย

Thaksin Shinawatra

7 เมษายน 2556
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" ถึง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมว่า


อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน

รูปภาพ : อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน

ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยน ไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน