แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนาคตประเทศไทย กับการตัดสินใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

โดย ชยิกา วงศ์นภาจันทร์


www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364448117&grpid=&catid=02&subcatid=0207

หลังรัฐบาลจัดนิทรรศการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาทเป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายค้านได้ตั้งประเด็นคำถาม และข้อสังเกตมากมายและที่สุดยืนยันว่า "ไม่เห็นด้วย" พร้อมประกาศว่าจะ "ค้านถึงที่สุดในการกู้เงินนอกระบบงบประมาณโดยรัฐบาล"



อีก ทั้งยังกระหน่ำซ้ำด้วยการสร้างวาทกรรมให้ประชาชนเชื่อว่า "ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.....คือ ภาระหนี้ที่ประชาชนต้องใช้ในระยะเวลา 50 ปีต่อจากนี้ในการใช้หนี้

เป็น การกู้หนี้นอกระบบงบประมาณ ตบท้ายด้วยการพยายามจะบอกว่าร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และเข้าข่าย "ผิดกฎหมาย" โดยเฉพาะ พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ ที่ออกมาในยุครัฐบาลทักษิณ

แต่สิ่งที่ฝ่าย ค้านไม่ได้บอกประชาชน คือ หนี้ที่จะเกิดจากร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทนี้ เป็น "หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ใหม่สำหรับประชาชน"

โดยจะเป็นการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานของประเทศในระยะยาว เพื่อลดต้นทุนในการเดินทางและขนส่ง ซึ่งจะไปเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต

เป็นการ เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางอาเซียน" ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากการกู้เงิน โดย พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน ของโครงการไทยเข้มแข็งสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เนื่องจากโครงการไทยเข้มแข็งนั้นเน้นการลงทุนในโครงการ ขนาดเล็กแล้วกระจายไปทั่วประเทศ แต่กลับกลายเป็นการขาดวิสัยทัศน์ที่จะวางรากฐานระยะยาวให้กับประเทศ

จน ทำให้เกิดปัญหาด้านความโปร่งใสของโครงการทั้งก่อนและหลังโครงการ ตัวอย่างจะเห็นได้จาก "โครงการถนนไร้ฝุ่น" ของกระทรวงคมนาคม ที่ก่อสร้างเสร็จล่าช้ากว่ากำหนด หรือโครงการตู้หยอดน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานไม่ได้จริง หรือโฆษณาที่ติดหูประชาชนอย่างกิจกรรมจัดหางาน "ต้นกล้า อาชีพ" ที่มีเพียงแค่การ "ตั้งเป้า" อัตราการจ้างงาน

ขณะที่ พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาทนั้น กลับเป็น "หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้" เพราะมุ่งเน้นการยกระดับประเทศให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ เท่าที่ประเทศไทยสามารถจะก้าวไปถึงได้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับเศรษฐกิจมหภาค

อย่างที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ย้ำผ่านแฟนเพจยิ่งลักษณ์ระหว่างการเยือนประเทศปาปัวนิวกินี ว่า "แนวคิดที่รัฐบาลใช้ในการพัฒนาโครงสร้างของประเทศ คือ

(1) เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งขาดการลงทุน โครงการใหญ่ที่ต่อเนื่องมานาน ทำให้ประเทศอื่นเขาพัฒนาไปกว่าเรามาก

(2) เป็นการเชื่อมโยงแนวคิดภายใต้กรอบ Connectivity ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่ออาเซียน และเกิดฐานการเชื่อมประชากร 600 ล้านคน นั้นคือ โอกาสในการสร้างรายได้ของคนไทย และการใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสู่อาเซียน

(3) ประเทศไทยขาดการเชื่อมเส้นทางบก น้ำ อย่างเชื่อมต่อเพื่อให้ต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ ผ่านแหล่งอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลางน้ำ ไปยังปลายน้ำ ก็คือ การส่งออก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง รวมถึงร่นระยะเวลาการเดินทางนั้นหมายถึง อาหารที่สดขึ้น ลดต้นทุนในการสูญเสีย

(4) การเชื่อมสถานที่ท่องเที่ยวจากเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น เชียงราย-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร-สุโขทัย-ตาก-อุตรดิตถ์ เพื่อดึงความเจริญ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยว ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่เพียงแต่เราจะมีรายได้เพิ่มแล้ว เราจะดึงให้นักท่องเที่ยวอยู่นานขึ้นอีกด้วย

(5) การเชื่อมเส้นทางโดยสาร เพื่อให้คนมีทางเลือก เดินทางโดยรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ปลอดภัยจากการใช้รถบนท้องถนน หลักการนี้ ยังกระจายความเจริญจากหัวเมืองไปยังชานเมือง ลดความแออัดให้คนกรุง เติมเต็มความเจริญให้กับนอกเมืองตามยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ นั่นคือ เราจะทำให้เมืองชนบทนั้นเจริญขึ้น ก็คือ รายได้ของประเทศที่เพิ่มขึ้น ควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่สะดวกเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และความแออัดด้วย ตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมที่จะได้ค่าขนส่งที่ลดลง 2% ในช่วงของการลงทุนมูลค่าจีดีพี (GDP) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1% ต่อปี และการจ้างงานประมาณ 500,000 อัตรา ซึ่งจะส่งผลทั้งความแข็งแรง การหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคต"

จึงเป็นที่ น่าสังเกตว่า เหตุใดฝ่ายค้านจึง "ดาหน้า" กันออกมาค้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า "ไม่มีใครเถียงว่าโครงการต่างๆ ตามโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างจากงบประมาณ 2 ล้านล้านไม่ดี แต่ค้านสุดสุดตรงที่จะใช้เงินนอกระบบมาเพื่อสามารถโยกงบได้"

เป็น การใช้วาทกรรมง่ายๆ ให้ประชาชนเข้าใจผิด ว่าเป็นการ "กู้เงินนอกระบบ" ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริง การออก พ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้นเป็นการเสนอเรื่องผ่านเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระบบการตรวจสอบจากรัฐสภา ซึ่งเป็นกระบวนการปกติในการออกกฎหมาย ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.ก.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง ที่เป็นเพียงโครงการแจ้งเพื่อทราบ ในรัฐสภาเท่านั้น

ที่ สำคัญคือ "ฝ่ายค้าน" ยังพยายามปรามาสเอาไว้ว่าร่าง พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้นจะมีการโยกงบประมาณด้วยการจัดทำ "ระเบียบพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้าง" เช่นเดียวกับที่ พ.ร.ก.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง ที่เคยทำมาแล้วในรัฐบาลชุดก่อน

แต่ทว่า ด้วยเหตุและผลในการพยายาม "คัดค้าน" ของ "ฝ่ายค้าน" ในครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการเสนอแนวทางในการดำเนินการที่สร้างสรรค์อย่างใดเลย

เพียงแต่พร่ำบอกว่า "ไม่ได้คัดค้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน" และค้านการออก พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

คำถามสำหรับการ "คัดค้าน" ครั้งนี้ ก็คงหนีไม่พ้นประโยคที่ว่า "ทางออกของประเทศอยู่ตรงไหน"?

หาก "ฝ่ายค้าน" ยังคงคัดค้าน "ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน" ในลักษณะที่ไม่เสนอทางออกที่สร้างสรรค์อยู่แบบนี้ แสดงว่าประเทศไทยจะไม่สามารถมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ใช่หรือไม่?

ท้ายที่สุดคงต้องฝากให้ทุกฝ่ายช่วยกันตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะผงาดในเวทีประชาคมอาเซียน!!

1 ความคิดเห็น:


  1. ร่างพ.ร.บ. เงินกู้ ตรวจสอบ บทบาทสภา บทบาท การเมือง
    www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EUXdNRGs0TXc9PQ==&sectionid=

    หากถือว่าร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศเป็นโครงการร่วมจาก 2 ส่วน

    1 จากกระทรวงคมนาคม 1 จากกระทรวงการคลัง

    ต้องยอมรับว่า การทำงานระหว่าง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประสานและเข้าขากันอย่างดียิ่ง

    ฝ่ายหนึ่ง ร่างโครงการ ฝ่ายหนึ่ง บริหารจัดการเรื่องงบประมาณ

    หน่วยราชการที่เข้ามาเกี่ยวข้องนอกจากภายในกระทรวงคมนาคม นอกจากภายในกระทรวงการคลังแล้ว ที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือ สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมมูลรายละเอียดของโครงการ รายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ก็ผ่านมติและความเห็นชอบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร

    วันที่ 28 มีนาคม คือการพิจารณาวาระ 1

    น่ายินดีที่รายละเอียดของโครงการมิได้ดำเนินไปอย่างที่เรียกกันว่างุบงิบ ตรงกันข้าม ระหว่างดำเนินการกระทำอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา

    ไม่ว่าสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ล้วนแผ่แบออกมา

    ไม่ว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งหลายส่วนให้ความสนใจเป็นพิเศษก็ทำความกระจ่างอย่างเป็นรูปธรรม

    เช่นเดียวกับ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    การจัดนิทรรศการไทยแลนด์ 2020 ศูนย์ราชการ สร้างความฮือฮามากอยู่แล้ว การเดินสายของทั้ง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ตลอดจนหัวขบวนของข้าราชการประจำ ไม่ว่าจะเป็นเวทีกรรมาธิการ เวทีโทรทัศน์ ยิ่งไม่มีอะไรเป็นความลับ

    แผ่แบ โปร่งใส ตรงไปตรงมา

    ประเด็นที่วางแบอยู่ ณ เบื้องหน้าประชาชน ไมว่าจะไปดูผ่านนิทรรศการไทยแลนด์ 2020 หรือเมื่อรับฟังจากปากของ 2 รัฐมนตรีเจ้าของงานอันเสมือนเป็นเจ้าภาพคือ

    มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท

    เป็นการลงทุนบนความมั่นใจเป็นอย่างสูงในความแข็งแกร่งของสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

    เป็นการลงทุนเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐาน �ใหม่� ให้กับประเทศ

    เป็นการลงทุนโดยไม่คิดที่จะไปกู้เงินจากต่างประเทศ หากแต่เป็นการกู้เงินจากภายในประเทศ ดอกเบี้ยก็ได้แก่ภายในประเทศ ผลงานก็ตกเป็นของคนไทยในประเทศ

    เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน

    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทจึงทรงความหมาย

    ทรงความหมายในความพร้อมของรัฐบาลว่าจะสามารถขับเคลื่อนสร้างความหวังให้กับประเทศและประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ทรงความหมายในบทบาทของฝ่ายค้านเป็นพิเศษ

    ค้านอย่างสร้างสรรค์ หรือขัดแข้งขัดขา

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน