แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

“แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” นัดหมายกดดันรัฐบาล 29 ม.ค.นี้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359263437&grpid=&catid=01&subcatid=0100

วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:07:48 น.
 

วันนี้ (27 ม.ค.) “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” นำโดยนักวิชาการ อาทิ  พวงทอง ภวัครพันธุ์ , กฤตยา อาชวนิจกุล, ยุกติ มุกดาวิจิตร และ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ได้เผยแพร่ แถลงการณ์ชี้แจงความจำเป็นของการปลดปล่อยนักโทษการเมือง และนัดหมายรวมตัวกันที่ หมุดคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 29 ม.ค. ก่อนจะยื่นหนังสือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

------------------------------------------

แถลงการณ์ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) และเครือข่ายสันติประชาธรรม

สนับสนุนการแก้ไข รธน. เพื่อนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองของ
 “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง”


นับ เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน นับตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง จนนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนจำนวนมาก และนับแต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นบริหารประเทศ กระบวนการเยียวยาให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในรูปของเงินชดเชย รวมทั้งการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องก็ได้เริ่มไปบ้างแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมจำนวนมาก กลับไม่ได้รับการเหลียวแลใด ๆ จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอย่างจริงจังเลย

ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมขอเตือนความจำทรงจำของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังหลังเหตุการณ์ เมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังต่อไปนี้

• เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตเข้าจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจ ตั้งข้อหาร้ายแรงเกินจริง เป็นการจับกุมแบบเหวี่ยงแห ขาดหลักฐาน หลายกรณีมีเพียงภาพถ่ายผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นหลักฐานเท่านั้น
• มีการซ้อมและทรมานผู้ต้องขัง หลายรายเป็นเยาวชน
• ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ หลายคนเป็นผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ และเยาวชนที่ยังศึกษาอยู่
• ช่วงแรกของการจับกุม ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงทนายความเพราะเจ้าหน้าที่ตัดการสื่อสาร จำนวนมากถูกจับกุมด้วยข้อหาละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และศาลพิพากษาตัดสินอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาแค่ 15 นาที
 • ส่วนใหญ่ไม่มีทนายความเพราะฐานะยากจน ถูกเจ้าหน้าที่บังคับหรือเกลี้ยกล่อมให้รับสารภาพโดยทำให้หลงเชื่อว่าจะได้ รับการบรรเทาโทษ แต่เมื่อรับสารภาพ พวกเขากลับถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยไม่มีโอกาสนำพยานหลักฐานฝ่ายตนเข้าต่อสู้คดี
• มีการใช้ข้อหาก่อการร้ายต่อผู้ต้องขัง 44 รายในลัษณะครอบจักรวาล โดยไม่มีนิยามและขอบเขตของคำว่าก่อการร้ายที่ชัดเจน
• ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกคุมขังเกินกว่าคำพิพากษา จำนวนมากถูกขังฟรีเป็นเวลาปีกว่าหลังจากศาลเห็นว่า เห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอและพิพากษายกฟ้อง
• ผู้ชุมนุมจำนวน 22 คนยังถูกคุมขังอยู่ ณ เรือนจำชั่วคราว รร.พลตำรวจ บางเขน

ข้อ เท็จจริงดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าคนเสื้อแดงถูกปฏิบัติประหนึ่งศัตรูของ ชาติหรืออาชญากรร้ายแรง ทั้ง ๆ ที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงมีสาเหตุมาจากความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ที่เริ่มก่อตัวขึ้นนับแต่การรัฐประหารปี 2549 พวกเขามุ่งต่อต้านอำนาจฉ้อฉลที่สนับสนุนและมาพร้อมกับการรัฐประหาร และเรียกร้องให้สังคมเคารพในสิทธิการเมืองตามแนวทางประชาธิปไตยของพวกเขา

นอกจากนี้ หลังรัฐประหาร 2549 จำนวนนักโทษการเมืองจากกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความหวาดกลัวมากกว่าเพื่อสร้างความยุติธรรม ในสังคม ผู้ถูกกล่าวหามีแนวโน้มจะถูกลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวกับว่าพวกเขาเป็นฆาตกรอำมหิต ขณะเดียวกัน มันได้ตอกลิ่มความแตกแยกและความเกลียดชังในสังคมให้รุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ได้เลย กรณีนายอำพล ตั้งนพคุณ (อากง) และล่าสุด นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ทำให้ชื่อเสียของประเทศไทยฉาวโฉ่ไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้มีอำนาจในสังคม รวมทั้งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ประธานรัฐสภา และแกนนำ นปช. กลับเมินเฉยต่อปัญหานี้อย่างเลือดเย็น เพียงเพื่อรักษาสถานะอำนาจทางการเมืองของตนไว้เท่านั้น นับเป็นสิ่งที่น่าละอายและหยามเหยียดอย่างยิ่ง ทั้งที่ภาระกิจสำคัญที่คนเหล่านี้รับปากกับประชาชนของตนก่อนเลือกตั้งว่า จะผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง

แต่เมื่อคนเหล่านี้ได้เข้ามามีอำนาจ กลับไม่ได้มีความพยายามอย่างจริงจัง ที่จะคืนความยุติธรรมให้กับนักโทษการเมืองเลย ทั้ง ๆ ที่อำนาจที่พวกท่านยึดครองอยู่ในขณะนี้ เป็นผลโดยตรงจากการต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงโดยแท้
บัดนี้ กลุ่มองค์กรประชาชนต่าง ๆ ในนามของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ภายใต้การนำของ “กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล” เห็นความสำคัญที่จะต้องผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองอย่าง เร่งด่วน
ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมจึงขอประกาศสนับสนุนต่อการรณรงค์ของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ที่จะนัดชุมนุม “หมื่นปลดปล่อย” ในวันที่ 29 มกราคม ณ หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เพื่อคืนสิทธิและเสรีภาพให้แก่นักโทษการเมือง ตาม “ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง” ของคณะนิติราษฎร์

 เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และนปช. ถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนของตนที่จะต้องคืนความยุติธรรม ให้แก่นักโทษการเมืองทุกกลุ่ม



ลงนาม

พวงทอง ภวัครพันธุ์
กฤตยา อาชวนิจกุล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เวียงรัฐ เนติโพธิ์
เกษม เพ็ญภินันท์
ชัยธวัช ตุลาธน
ขวัญระวี วังอุดม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นีรนุช เนียมทรัพย์
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม
อนุสรณ์ อุณโณ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน