อ้างอิง: http://www.spiegel.de/international/ger ... 25,00.html
เขียนโดย แอนเดรียส์ วอสเซอร์แมน
การพิพาทกันบนรันเวย์
ประเทศไทยให้คำมั่นสัญญาที่จะยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับเครื่องบินเจทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ภาษา อังกฤษที่อยู่ใต้รูปของบทความนั้น แปลว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ อาจจะได้รับเครื่องบินกลับคืน ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้"
บทความแปลโดย: ดวงจำปา
ประเทศ ไทยได้ส่งสัญญาณว่า อาจจะยุติข้อพิพาทในเรื่องของหนี้สินค้างชำระในกรณีที่ ศาลของประเทศเยอรมันนีได้อายัดเครื่องบินส่วนพระองค์ซึ่งเป็นของสมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารอย่างโดยฉับพลัน ทนายความด้านการล้มละลายของประเทศเยอรมันได้แสดงชั้นเชิงของความคิดและ ไหวพริบในการต่อสู้ที่ยังมีข้อข้องใจอยู่กับรัฐบาลไทย และ อาจจะจบลงในแนวทางที่เขาต้องการได้
เครื่องบินโดยสาร 737 ที่เจ้าฟ้าชายไทยเป็นเจ้าของนั้น ยังคงถูกยึดอยู่ที่สนามบินนครมิวนิคในเวลานี้ แต่ก็มีสัญญาณในการเคลื่อนไหวในเรื่อง การพิพาทที่แปลกประหลาด ระหว่างผู้ว่าการการล้มละลายของฝ่ายเยอรมันกับรัฐบาลไทย ในเรื่องของหนี้สินค้างชำระ
รัฐบาล ไทยได้กล่าวในสัปดาห์นี้ว่า กำลังพิจารณาให้ออกการค้ำประกันการจ่ายเงินทั้งหมดจำนวน 36 ล้านยูโร (หรือ 51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ที่เรียกร้องโดยผู้ว่าการการล้มละลายของบริษัทก่อสร้างเยอรมัน วอลเตอร์ บาว, ซึ่งต้องประสบการขาดทุนในโครงการทางด่วนในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการละเมิดสัญญาที่ฝ่ายรัฐบาลไทยเป็นผู้กระทำ
นาย เวอร์เนอร์ ชไนเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ว่าการนั้น ได้ไปรับเอาคำสั่งศาลเมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อที่จะอายัดเครื่องบินเจท ในขณะที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มหาวชิราลงกรณ์ได้อยู่ในช่วงการพักร้อนในประเทศเยอรมันนี
คดีนี้ได้ นำไปสู่การพิพาทอย่างตรึงเครียดในทางการฑูตและอาจส่งผลให้เกิดความขุ่นข้อง หมองใจระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมัน ในตอนเริ่มแรกนั้น รัฐบาลไทยเองได้ กล่าวแย้งว่า เครื่องบินเจทลำนี้ ควรที่จะถูกปล่อยออกมา เพราะมันเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลของเจ้าฟ้าชายเอง และรัฐบาลไทยนั้น ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ
ศาลของประเทศเยอรมันนั้น มีกำหนดที่จะให้คำพิพากษาในเดือนกันยายนว่า การยึดทรัพย์สินนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าเกิดตัดสินว่า เครื่องบินลำนั้น แท้จริงแล้วเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้าชาย เครื่องบินลำนั้นก็จะถูกปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน เขาควรที่จะต้องเสนอเงินจำนวน 20 ล้านยูโร มาประกัน เพื่อให้ปล่อยเครื่องบินลำนั้นออกมา
ในตอนแรกนั้น ทางกรุงเทพฯ ได้ปฎิเสธที่จะจ่ายเงินก้อนนั้น แต่ในสถานการณ์ที่เพิ่งเปลี่ยนแปรผันมาอย่างสดๆ ร้อนๆ เจ้าฟ้าชายได้ประกาศเมื่อวันจันทร์ (1 สค) ว่า พระองค์จะทรงจ่ายเงินจำนวน 20 ล้านยูโรเอง ต่อมา เมื่อในวันอังคาร (2 สค) รัฐบาลไทยได้กล่าวว่า เจ้าฟ้าชายไม่ควรที่จะต้องมารับภาระกับปัญหานี้ และ ตัวรัฐบาลเองจะเป็นผู้ยุติการพิพาทเรื่องนี้เอง
ตามที่หนังสือพิมพ์ ของประเทศไทยได้รายงานเมื่อวันจันทร์, นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งกำลังจะพ้นตำแหน่งได้กล่าวว่า เรื่องข้อพิพาทเหล่านี้ ไม่ควรจะนำมาเป็นใจให้เกิดความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้
หนี้สินค้างชำระ
บริษัท วอลเตอร์ บาวได้ยื่นเรื่องการล้มละลายในปี พ.ศ. 2548 เมื่อนายชไนเดอร์ได้กระทำการตรวจสอบในบัญชีทั้งหมด เขาได้พบสัญญาที่มีกับรัฐบาลไทย บริษัทวอลเตอร์ บาว ได้เป็นเจ้าของหุ้นส่วนอยู่กับบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในการสร้างโทล์เวย์ระหว่าง สนามบินเก่าในกรุงเทพมหานคร ให้เชื่อมต่อเข้ามาในใจกลางเมืองหลวง แต่โครงการนั้น เป็นความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์เพราะว่ารัฐบาลไทยได้ละเมิดข้อสัญญาที่เป็น พันธะอยู่ โดยการสร้างทางด่วนโทล์เวย์ เส้นที่สอง ซึ่งหมายความว่า จำนวนผู้ใช้บริการในการใช้โทล์เวย์ (เส้นแรก) จะลดลง มากกว่าที่เคยประเมินกันไว้
นายชไนเดอร์ได้คำนวณว่า บริษัท (วอลเตอร์ บาว) ได้สูญเสีย รายได้ 100 ล้านยูโร จากผลของสัญญาฉบับนี้ ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อปี พ.ศ. 2552 แล้วว่า ประเทศไทย ต้องจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับบริษัทวอลเตอร์ บาว เป็นจำนวน 30 ล้านยูโร แต่รัฐบาลไทย ก็ยังไม่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้น
นายชไนเดอร์ได้ เดินทางมาที่กรุงเทพมหานครหลายครั้ง ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา เพื่อพยายามที่จะติดตามหนี้สินที่ประเทศไทยเป็นหนี้อยู่ เขาได้พบกับเจ้าพนักงานของรัฐของฝ่ายไทย ซึ่งใส่สูทสีเข้ม และเจ้าหน้าที่ซึ่งแต่งเครื่องแบบอยู่เป็นสีทองถักเหลืองอร่าม ซึ่งแสดงความเป็นมิตรอยู่เสมอ แต่ไม่ยอมที่จะผูกมัดตามข้อตกลง เขาได้ส่งจดหมายตักเตือนในเรื่องหนี้สินมากกว่าสิบสองครั้ง ในต้นปี พ.ศ. 2554 นายชไนเดอร์ ก็บอกว่า หมดความอดทนแล้ว เขาก็ได้กระทำหน้าที่ เหมือนกับ ผู้ว่าการในเรื่องการล้มละลายทั่วไป ที่จะต้องกระทำ เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมที่จะชำระหนี้ - เขาก็ได้เตรียมการที่จะยึดทรัพย์สินและเริ่มพินิจพิเคราะห์ในเรื่องของฝูง เครื่องบินเจทของประเทศไทยที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งรัฐบาลไทยนั้นเป็นเจ้าของอยู่
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม, แหล่งข้อมูลที่ไม่เปิดเผยชื่อแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ได้ส่งโทรสารชิ้นหนึ่งให้กับเขา ซึ่งประกอบด้วย กำหนดการเดินทางโดยเครื่องบินเจทของบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง พร้อมกับทะเบียนเครื่องบิน, เบอร์เที่ยวบิน และ ชื่อของกัปตันผู้ขับเครื่องบินลำนั้น เครื่องบินมีกำหนดเวลาที่จะถึงสนามบินเมืองมิวนิค ในวันที่ 21 พฤษภาคม จากกรุงเทพมหานคร และ จะอยู่ที่นั่นจนถึงวันที่ 8 สิงหาคม เครื่องโบอิ้ง 737 ลำนั้น มีกำหนดว่า จะมีการบินไปบินมาจากนครมิวนิค ไปยังสนามบินของเมืองเมมมิงเก้น ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 100 กิโลเมตร รวมไปถึงการบินไปที่กรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบอร์ก (รัสเซีย) และ ไปที่กรุงลอนดอน (อังกฤษ) แต่จุดหมายปลายทางนั้น ไม่เป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็น เจ้าฟ้าชายเอง ซึ่งทรงได้รับการฝึกฝนอบรมในตำแหน่งของผู้ขับเครื่องบินและมีพระยศเป็นพล อากาศเอกในกองทัพอากาศไทย ต้องการที่จะบินไปรอบๆ น่านฟ้าของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการทดสอบการปฎิบัติการของพระองค์เอง
การตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมา
ที่ ติดสอยห้อยตามกันกับคณะผู้เดินทางที่ไปกันเป็นจำนวนมาก เจ้าฟ้าชายได้ทรงไปถึงนครมิวนิคเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พระองค์ทรงเป็นผู้โดยสารชั้นหนึ่ง จากการบริการของเครื่องบินสายการบินไทย เป็นเวลาสองวันหลังจากที่เครื่องบินส่วนพระองค์ได้เดินทางมาถึงจุดหมายปลาย ทาง
พระองค์ได้ทรงประทับอยู่ทางปีกด้านหนึ่งของโรงแรมเคมพิ้นสกี้อัน หรูหราตระการตา ที่สนามบินนครมิวนิค เมื่อไรก็ตามที่พระองค์มีความประสงค์ที่จะทรงบิน รถลิมูซีน เมเซเดส เบ็นซ์ รุ่น เอส สีดำคันหนึ่งจะมาจอดอยู่ที่ทางเข้าโรงแรมส่วนตัว และ ผู้ขับรถนั้นจะขับตรงไปที่บริเวณลานจอดเครื่องบิน ที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสนามบิน ซึ่งเครื่องบิน โบอิ้ง 737 ของพระองค์ได้ทรงจอดประทับรออยู่
นายชไนเดอร์ได้ว่าจ้าง นักเรียนคนหนึ่ง ให้ไปนั่งเฝ้าอยู่บนเนินเขาใกล้ๆ กับสนามบิน และบันทึกการเคลื่อนไหวจากเที่ยวบินของเจ้าฟ้าชาย พระมหากษัตริย์ในอนาคต ได้ทรงยึดมั่นต่อการปฎิบัติตามกฎและแผนการบินอย่างเคร่งครัด ซึ่งนายชไนเดอร์ได้รับรายการจากแหล่งข้อมูลที่กรุงเทพมหานคร
ตอนนี้ สิ่งที่นายชไนเดอร์ต้องการทั้งหมด ก็คือ คำสั่งศาลเท่านั้น
ความ พยายามครั้งแรกประสบความล้มเหลว ศาลสูงประจำเขตนครมิวนิคได้ตัดสินว่า ศาลนั้นไม่มีเขตอำนาจของศาลในการบังคับใช้กฎหมายต่อกรณีนี้ ศาลยังได้กล่าวด้วยว่า เจ้าฟ้าชาย ได้ทรงอยู่ในเครื่องแบบและมีสิทธิคุ้มกันต่อการฟ้องร้อง ดังนั้น นายชไนเดอร์ ก็ได้นำเอาคดีนี้เข้าไปสู่ศาลในนครเบอร์ลิน และก็ประสบความสำเร็จในการฟ้อง
เจ้าฟ้าชายทรงสั่งให้เครื่องบินลำที่สองบินเข้ามา
เมื่อ สามสัปดาห์ที่ผ่านไป นายกุนเตอร์ เดอร์ช ซึ่งเป็นปลัดศาล ได้เดินทางมาเยี่ยมการท่าอากาศยานแห่งนครมิวนิค เพื่อทำการยื่นคำสั่งศาล และกล่าวว่า ตัวเขาต้องการที่จะยึดเครื่องบินลำหนึ่ง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสองคน ซึ่งเดินทางเป็นผู้คุ้มกัน เขาได้ยื่นหมายศาลที่แสดงให้เห็นจากโทรศัพท์มือถือ และ แปะหมายประกาศการแจ้งการอายัดทรัพย์อยู่ที่หน้าประตูทุกบานของเครื่องบิน เขายังแปะหมายประกาศด้วยกระดาษขนาด A-4 พร้อมกับตราประทับอย่างเป็นทางการ ที่ประตูทางออกของเครื่องบินด้านหน้า. “มันได้ติดอยู่บนตัวเครื่องบินแล้ว” เขาได้ตะโกนบอกในโทรศัพท์มือถือ นายชไนเดอร์ ซึ่งรอฟังอยู่อีกฝั่งหนึ่งของสาย ก็แสดงความพึงพอใจให้ทราบ
แต่ เครื่องบินของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มหาวชิราลงกรณ์ ไม่ได้ถูกให้จอดนิ่งอยู่เป็นเวลานานเท่าไรนัก สัปดาห์ต่อมาหลังจากที่เครื่องบินของพระองค์ได้ถูกยึดไป พระองค์ทรงสั่งให้เครื่องบินลำที่สองบินออกมาจากกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พระองค์ได้ทรงเดินทางออกมาจากนครมิวนิค ก็คงจะทรงประทับอยู่ในเครื่องบินลำนั้น เครื่องบินโบอิ้งที่ถูกยึดไปนั้น ได้ถูกลากมาอยู่ในโรงเก็บเครื่องบินแทน
ในขณะที่เจ้าฟ้าชายได้ทรง เดินทางไปเก็บผลสตอร์เบอรี่ในเมืองบาวาเรีย ฑูตานุฑูตของทางฝ่ายรัฐบาลเยอรมันและรัฐบาลไทย ก็ลงมาเคี่ยวเข็ญฟัดกันอยู่ในกรณีนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเ?สของไทย ถึงกับต้องเดินทางไปที่กรุงเบอร์ลินในตอนหนึ่ง เพื่อทำการเรียกร้องให้ปล่อยเครื่องบินลำนี้ออกมา เขาได้รับคำตอบว่า รัฐบาลของประเทศเยอรมันนั้น ไม่มีอำนาจที่จะไปแทรกแทรงกับศาลยุติธรรมในเรื่องนี้ได้
แต่ในที่สุด แล้ว รัฐบาลเยอรมันก็อาจจะต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องจนได้ และอาจจะถึงกับต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัทวอลเตอร์ บาวเองด้วย รายงานล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายการล้มละลายคนหนึ่ง คือ ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ พอลลูส ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮัมโบล์ท ในกรุงเบอร์ลิน ได้สรุปว่า ทางรัฐบาลของประเทศเยอรมันควรจะกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าที่จะกระทำได้ ตามอำนาจที่มีอยู่ ในการบังคับให้ประเทศไทยจ่ายหนี้สินให้กับบริษัทก่อสร้างที่ล้มละลาย เรื่องนี้ก็รวมไปถึง “การจำกัดความสัมพันธ์ในทางพาณิชย์” หรือ “การอายัดทรัพย์สินของทางต่างประเทศ”
ถ้ารัฐบาลไม่กระทำการใดๆ “การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็เป็นเรื่องที่สามารถปฎิบัติได้” ศาสตราจารย์พอลลุสได้เขียนไว้ในรายงาน
ความคิดเห็นของผู้แปล:
บท ความไม่ได้กล่าวไว้ว่า นายชไนเดอร์จะได้รับเงินค้ำประกัน 20 ล้านยูโรอย่างไร และใครจะเป็นผู้จ่ายหรือลงนามในการค้ำประกัน เรื่องนี้ต้องไปติดตามกันเองทีหลังนะคะ
http://www.internetfreedom.us/forum/viewtopic.php?f=2&t=4543
http://www.facebook.com/KrungsriSimple?sk=app_130294433717432#!/photo.php?fbid=177331495669481&set=at.113791572023474.15857.100001778963097.100001271883762&type=1&theater
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น