แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อสรุปจากการสังเกตุการณ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไทย นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย

Thai Red Australia


พลังประชาธิปไตยไทยออสเตรเลีย (THAI RED AUSTRALIA) ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของผู้สังเกตุการณ์ในนามของตัวแทนภาคประชาชน ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 5 (อ้างอิงตามเว็บไซด์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง(
http://www.ect.go.th/newweb/th/cooperate/) โดยมีผู้อาสาทั้งสิ้น 5 คน นั่งผลัดเปลี่ยนกันตลอดทั้งสองวันเลือกตั้ง (18-19 มิถุนายน 2554)และได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ โดยจะกล่าวถึงขั้นตอนก่อนเป็นอันดับแรก และจะกล่าวถึงข้อสังเกตุเป็นอันดับถัดไป
ขั้นตอนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

1 ประชาชนไทยผู้ถือสัญชาติไทย ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยกรอกแบบฟอร์ม การขอลงทะเบียนเลือกตั้ง พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางส่งให้กับกงศุลไทยประจำซิดนีย์ ภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2554 โดยทำเครื่องหมายในช่องว่าจะเป็นการ ขอใช้สิทธิทางไปรษณีย์ หรือเลือกตั้งด้วยตนเอง ในวันที่18 และ 19 มิถุนายน 2554 โดย ทั้งนี้ ผู้ที่ได้เคยลงทะเบียนไว้แล้ว และไม่ขาดการใช้สิทธิ ครั้งล่าสุด ไม่มีความจำเป็นต้องลงทะเบียนอีก ยกเว้นการแจ้งเปลี่ยนที่อยู่

2 เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ (ผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้ และ ผู้ที่ไม่ขาดการใช้สิทธิ) นำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทางมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อจะตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ พร้อมบอกถึงเขตของผู้มีสิทธิว่าการเลือกแบบแบ่งเขตนั้น อยู่ในเขตใด และรวมถึงลำดับที่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตของตน และตรวจสอบหมายเลขพรรคสังกัด สำหรับ การเลือกแบบบัญชีรายชื่อ

4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงลายเซ็นในหนังสือลำดับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อยืนยันว่าได้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

5 ผู้มีสิทธิลงคะแนน รับบัตรลงคะแนน ทั้งแบบแบ่งเขต(สีชมพู) และบัญชีรายชื่อ(สีเขียว) พร้อมเซ็นชื่อที่ต้นขั้วของบัตรทั้งสองแบบ

6 ผู้มีสิทธิลงคะแนน เดินเข้าคูหาเพื่อกาบัตร หลังจากนั้นพับบัตรลงคะแนนทั้งสองแบบใส่ลงในซองเดียวกัน และปิดผนึกซอง

7 ผู้มีสิทธืลงคะแนน นำไปให้เจ้าหน้าที่คุมหีบ เซ็นชื่อ และผู้ลงคะแนนรับกลับมาหย่อนลงหีบ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการลงคะแนน

สถานที่เลือกตั้ง

18 มิถุนายน 2554 Metro Hotel Sydney Central (431-439 Pitt St. Sydney NSW 2000) เวลา 10:00 น. – 22:00 น.
19 มิถุนายน 2554 วัดพุทธรังสีแอนนันเดล (49 Trafalgar St. Annandale NSW 2000) เวลา 9:30 น. – 15:30 น.

สรุปข้อสังเกตุ การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (ซิดนีย์, ออสเตรเลีย) ของวันที่เสาร์ที่18 และ อาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2554

1 ในแบบฟอร์มการขอลงทะเบียน ไม่ได้ระบุวันที่สิ้นสุดการขอลงทะเบียนว่าเป็นเมื่อใด จึงทำให้หลายๆท่าน ไม่ทราบว่าต้องส่งกลับไปยังกงศุลภายในวันที่เท่าไหร่

2 ในแบบฟอร์มการขอลงทะเบียน ระบุว่า

ผู้ที่เคยลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้กับสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
ใช้สิทธิเลือกตั้งซ้ำอีก โดยถือว่าท่านมีสิทธิโดยสมบูรณ์

ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วก็ตาม หากมีการขาดการใช้สิทธิครั้งใดไปครั้งหนึ่ง ก็จะถือว่าสิทธินั้นได้หมดไป จำเป็นจะต้องลงทะเบียนใหม่อีก เพื่อขอใช้สิทธิในครั้งต่อไป
หรือถ้ามีการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล มีการฉีกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องลงทะเบียนใหม่เช่นกัน จากจุดนี้ทำให้หลายท่านที่เคยลงทะเบียนไว้นานมาแล้ว แต่ขาดการใช้สิทธิครั้งหนึ่งครั้งใดไป เข้าใจผิด และเสียสิทธิในการเลือกตั้ง โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่ามีเป็นจำนวนมาก ชั่วโมงละหลายคน

3 ผู้ที่มาใช้สิทธิ มีจำนวนสามคน(จากที่ได้พบ) ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งในออสเตรเลียไว้แล้ว แต่รายชื่อกลับไปเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในใต้หวัน

4 ผู้มาใช้สิทธิหลายท่าน ได้ส่งใบลงทะเบียนกลับไปแล้ว แต่กลับไม่มีชื่อปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งผู้ใช้มาใช้สิทธิที่ไม่มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีจำนวนพอสมควร

5 ผู้มาใช้สิทธิจำนวนหลายท่านไม่เข้าใจและไม่ทราบถึงระเบียบกำหนดของทางกงศุลว่าต้องมีการลงทะเบียนก่อนการเลือกตั้ง จึงสามารถจะมีสิทธิเลือกตั้งได้ บางท่านบ่นว่ายุ่งยาก และเลิกสนใจใช้สิทธิ

6 บางท่านได้ส่งใบขอลงทะเบียนไปแล้วแต่ไม่ได้แนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางไปด้วย ทำให้ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

7 การเลือกตั้งคราวนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ของผู้เลือกตั้ง เป็นวัยรุ่น จนถึงวัยกลางคนเสียเป็นส่วนใหญ่

8 การเลือกตั้งคราวนี้ พบว่า ผู้มาใช้สิทธิ เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

9 ผู้มาใช้สิทธิบางท่านไม่เข้าใจการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และแบบบัญชีรายชื่อ ว่าต้องเลือกแบบใด อย่างไร

10 เจ้าหน้าที่เสริม หรือเจ้าหน้าที่พิเศษ บางท่านยังอธิบายเรื่องเกียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และแบบบัญชีรายชื่อได้ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้มีสิทธิไม่เข้าใจอย่างแท้จริง

11 ผู้ใช้สิทธิบางท่าน ใช้โทรศัพท์ในหน่วยเลือกตั้ง(เจ้าหน้าที่ได้เตือน)

12 ผู้ใช้สิทธิบางท่าน สับสนกับการกาบัตรทั้งสองแบบ ว่าแบบใดต้องกาอย่างไร

13 ผู้ใช้สิทธิบางท่าน มีการถามกัน ระหว่าคูหา

14 ผู้ใช้สิทธิบางท่าน มีการมองหรือชี้กับผู้ใช้สิทธิอีกท่านในคูหา(เจ้าหน้าที่ได้เตือน)

15 ผู้ใช้สิทธิบางท่าน กาผิด และประสงค์จะได้บัตรใหม่(เจ้าหน้าที่ปฏิเสธ แต่ได้อธิบายว่าจะเป็นบัตรเสีย หรือเสียคะแนนให้กับผู้สมัครช่องนั้น หรือพรรคนั้น)

16 มีผู้ไม่เกี่ยวข้องบางท่านอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง บางคนเป็นสามีของผู้ใช้สิทธิ บางคนเป็นบุตรของผู้ใช้สิทธิ (เจ้าหน้าที่ได้บอกให้ออกจากหน่วยเลือกตั้ง)

17 เจ้าหน้าจ่ายบัตรลงคะแนน บางครั้งไม่ได้บอกให้ผู้มาใช้สิทธิทราบว่า ต้องมีเจ้าหน้าที่เซ็นที่ซองก่อนหย่อนบัตรลงหีบ ทำให้บางครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่เผลอ ทำให้ผู้มาใช้สิทธิบางท่านหย่อนบัตรลงคะแนนโดยไม่ได้มีการเซ็นรับรองก่อนโดยเจ้าหน้าที่(พบ2ครั้งจากการสังเกตุการณ์)

18 ผู้ใช้สิทธิบางท่านไม่สนใจหย่อนบัตรเอง คือมอบให้กับเจ้าหน้าที่แล้วเดินออกโดยไม่ได้สนใจว่าบัตรถูกหย่อนไปหรือไม่

19 ผู้มาใช้สิทธิ หากพบว่าตัวเองไม่มีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่ากรณีใดๆ เจ้าหน้าที่ จะให้กรอกใบคำร้อง เพื่อรักษาสิทธิทางการเมืองอย่างอื่น ยกเว้นการเลือกตั้ง

20 เจ้าหน้าที่อธิบายขั้นตอน และให้ความช่วยเหลือผู้มาใช้สิทธิเป็นอย่างดี

สรุปจำนวนบัตร ของทางหน่วยเลือกตั้ง และจากการสังเกตุและบันทึกด้วยการทำเครื่องหมายตามจำนวนคน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไทย ประจำนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย โดยความรับผิดชอบของกงศุลใหญ่ออสเตรเลีย มีจำนวนทั้งสิ้น(ไม่นับรวมผู้ขอใช้สิทธิทางไปรษณี) 3,720 ท่าน

บัตรที่ทางกงศุลได้จากกกต.(ไม่รวมบัตรทางไปรษณีย์) 3,475 ชุด
วันที่ 18 มิถุนายน 2554 มีผู้มาใช้สิทธิ1,480 เป็นบัตรชำรุด 5 รวม 1,485 ชุด
วันที่ 19 มิถุนายน 2554 มีผู้มาใช้สิทธิ 362 เป็นบัตรชำรุด 1 รวม 363 1,848 ชุด
คงเหลือบัตรที่ไม่ได้ใช้จำนวน(ไม่รวมบัตรทางไปรษณีย์) 1,627 ชุด

โดยการทำเครื่องหมายของผู้สังเกตุการณ์
วันที่ 18 มิถุนายน ทำเครื่องหมายผู้มาใช้สิทธิได้ 1,460 คน คลาดเคลื่อน 20 คน
วันที่ 19 มิถุนายน ทำเครื่องหมายผู้มาใช้สิทธิได้ 360 คน คลาดเคลื่อน 2 คน

***** หลังจากนี้ยังเหลือการสังเกตุการคัดแยกบัตรเพื่อส่งไปยังเมืองไทย และรวมถึงบัตรลงคะแนนทางไปรษณีในวันที่ 22 มิถุนายน 2554 นี้ อีกวันหนึ่ง *****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน