แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์

thaireddenmark.blogspot.com/2013/07/blog-post_2712.html 

"การเข้าใจเรียนรู้ถึงอุดมการณ์ของวีรชนนักสู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ถูกปกปิดบิดเบือนไป ให้เป็นเพียงเหยื่อสังหาร และอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” ที่ เป็นกระแสในหมู่คนหนุ่มสาวขณะนั้น แม้แต่การลอบสังหารเลขาธิการพรรคสังคมนิยมเมื่อต้นปี 2519 ก็ถูกลืมเลือนจากสังคมไทยไปแล้ว" 
โดย ยังดี โดมพระจันทร์  
เรื่องราวสีเทาๆ กับความทรงจำในประวัติศาสตร์
การจัดงานรำลึกถึงวีรชนกรณีกวางจูที่เกาหลีใต้ ในเดือนพฤษภาคมทุกปีมีการจัดงานรำลึกถึงวีรชน เพื่อตอกย้ำประวัติศาสตร์เหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู กับเผด็จการทหาร(Gwangju People Uprising)

ปูมหลังคือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 หลังจากประธานาธิบดี ชอนดูฮวน ขึ้นสู่อำนาจได้จับกุมนักการเมืองหลายคน นักศึกษามหาวิทยาลัยชนนัมจึงจัดชุมนุมคัดค้านและถูกปราบปรามโดยกำลังติด อาวุธของรัฐ ทำให้ประชาชนกวางจูนับแสนโกรธแค้น เข้ายึดอาวุธจากสถานีตำรวจท้องถิ่น จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศของรัฐบาล  ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตราว 207 คน และสูญหายกว่า 900 คน  เหตุการณ์ผ่านมา 32 ปี ที่อนุสรณ์วีรชนกวางจู จะมีการประกอบพิธีระลึก โดยนายกรัฐมนตรีมาร่วมงาน รวมทั้งนักการเมือง นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และญาติวีรชนเข้าร่วม ขณะที่กลางเมืองกวางจู มีการปิดถนนสายร่วมงานรำลึกกันนับหมื่นคน

สิ่งที่น่าคิดซึ่งสหายจากกลุ่ม All Together ซึ่งเป็นกลุ่มก้าวหน้าตั้งข้อสังเกตคือ ยุคใดที่รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย เนื้อหาการจัดกิจกรรมรำลึกจะเน้นถึงวีรชน และอุดมการณ์ของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ แต่หากยุคใดรัฐบาลเป็นแนวปฏิรูป หรือกลุ่มอนุรักษ์นิยมก็จะเรียกผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ว่าเป็น “เหยื่อ” ของความรุนแรง

รูปธรรมก็คือ การอธิบายถึงเหตุการณ์โดยไม่ประณามรัฐบาลและกลุ่มนายทหารที่ร่วมมือกันก่อ อาชญากรรม โดยเน้นภาพเหยื่อผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจากการถูกลูกหลงแทน เช่น เหยื่อเสียชีวิตในบ้านขณะนั่งกินข้าว หรือไปซื้อของ เสียชิวิตจากเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมจับอาวุธต่อสู้ หรือกลุ่มนักศึกษาที่มีองค์กรจัดตั้ง เป็นต้น  การเลือกที่จะเสนอ “ความเป็นเหยื่อ” สร้างภาพ และเรื่องราวสีเทาๆ เหล่านี้เป็นการจงใจบิดเบือนประวัติศาสตร์หรือไม่???



จาก 6 ตุลา 2519 เราเคยมีรัฐบาลของประชาชนหรือไม่??? 

ขณะที่เราเห็นใจเหยื่อ เราก็ต้องไม่ลืมวีรชน และอุดมการณ์ของเขา เพราะมิเช่นนั้นพวกนักบิดเบือนประวัติศาสตร์ก็สามารถจะสร้างเรื่องราว และชุดความคิดอื่นเข้ามาแทนที่
หันมามองสังคมไทย อาชญากรรมรัฐในเหตุการณ์ 6 ตุลา ในความเห็นของนักวิชาการหลายคน เรื่องของเหตุการณ์นองเลือดไม่มีอะไรลึกลับ และทุกวันนี้ถึงแม้ว่าเราจะขาดข้อมูลบางประการ โดยเฉพาะข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐว่าใครสั่ง หน่วยอะไรวางแผน และปฏิบัติงานอย่างไร แต่ข้อมูลจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ตลอดจนบทความในยุคต่อมา รวมกับความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องก็สามารถประกอบเป็นภาพรวม ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ในที่สุดคำถามที่ว่าใครสั่งฆ่าประชาชนก็ยังไม่มีคำตอบ



ดร.ธงชัย วินิจจะกูล เสนอเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เราไม่มีประวัติศาสตร์สาธารณะของเหตุการณ์นี้ ว่าฝ่ายที่ได้รับ “ชัยชนะ” ในวันนั้นเป็นฝ่ายที่มีส่วนโดยตรงหรือทางอ้อมในการปราบปราม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีอำนาจและอิทธิพลในสังคมไทย ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับ 6 ตุลา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ สรุปว่าประวัติศาสตร์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ของผู้ชนะ ซึ่งลักษณะนี้ต่างกับประวัติศาสตร์ที่มีความเจ็บปวดและบาดแผลในประเทศอื่น บางประเทศที่ได้รับการชำระไปแล้ว เนื่องจากการชำระดังกล่าวส่งเสริมอุดมการณ์และอำนาจของรัฐปัจจุบันในประเทศ นั้นๆ  ที่ต้องขีดเส้นใต้เพราะ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ผ่านมากว่า 35 ปี เราเคยมีรัฐบาลของประชาชนจริงหรือ???

การปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” จาก 6 ตุลาทำให้อุดมการณ์พร่าเลือน
   
การเข้าใจเรียนรู้ถึงอุดมการณ์ของวีรชนนักสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ถูกปกปิดบิดเบือนไป ให้เป็นเพียงเหยื่อสังหาร และอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” ที่เป็นกระแสในหมู่คนหนุ่มสาวขณะนั้น แม้แต่การลอบสังหารเลขาธิการพรรคสังคมนิยมเมื่อต้นปี 2519 ก็ถูกลืมเลือนจากสังคมไทยไปแล้ว 

ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ให้ข้อสรุปว่า  6 ตุลา เป็นเรื่องของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ยากที่จะมีผู้ร้ายฝ่ายเดียวที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นผู้ร้าย ไม่เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2519 ที่สังคมโดยรวมยอมสรุปว่าเป็นเพราะความผิดของเผด็จการทหาร ดังนั้น 6 ตุลา จึงถูกทำให้ “ลืม” มากกว่าการจดจำ

เวลาผ่านไป สังคมไทยเปลี่ยนจากการมองว่านักศึกษาเป็นผู้กระทำผิด มาเป็นการมองนักศึกษาว่าเป็น “เหยื่อ” ที่น่าเห็นใจ

แต่กระแสหลักในสังคมกำหนดเงื่อนไขในการ “ให้อภัย” นักศึกษาว่าจะต้องมีการเลิกตั้งข้อสงสัยต่างๆ พร้อมกันไป เพื่อสิ่งที่ ดร.ธงชัย เรียกว่า “การหุบปากเหยื่อเพื่อสมานฉันท์สังคม” เมื่อ นำมาเทียบกับเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553 แล้ว การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนพยายามเสนอการปรองดอง น่าจะกล่าวได้ว่าเป็นการหุบปากเหยื่อเช่นกัน

ขบวนการคนเสื้อแดง และผู้รักประชาธิปไตยคงต้องสำรวจตรวจสอบ และร่วมกันพิจารณาอย่างจริงจังว่า เราจักสืบทอด ความเป็นเหยื่อ เชิดชูวีรชน หรือ ยึดถืออุดมการณ์??? จะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้อย่างไร จะสามารถจดจำความจริงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ความจริงไม่ใช่เพียงจำนวนกระสุนสังหาร จำนวนศพ และการลำดับเหตุการณ์ แต่ความจริงของไพร่กับอำมาตย์ อุดมการณ์ที่เราหวงแหน    ความขัดแย้งทางชนชั้นที่เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ อาชญากรรมรัฐที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ อย่าลืม!!

(ข้อมูลจากหนังสือ “อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง 6 ตุลาคม 2519” เว็บไซต์ www.2519.net) 



(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/10/blog-post_5.html  

ทำไมจึงเกิด พรบ.ฉบับญาติวีรชนขึ้น???






thaireddenmark.blogspot.com/2013/07/blog-post_23.html 






Nithiwat Wannasiri

นิธิวัติ วรรณศิริ
"ถ้าคุณยอมเอานักโทษการเมืองเป็นตัวประกันเพื่อเกี๊ยะเซี๊ยะต่อรองกับกองทัพ ไม่เอาผิดทหารที่ลั่นไกใส่พี่น้องเราได้ลง ผมว่าพวกคุณต้องพิจารณาตัวเองกันบ้างแล้วล่ะว่ากำลังยืนอยู่บนหลักการอะไรกัน ทุกคนเค้าก็อยากให้นักโทษพี่น้องเราได้ออกจากคุกกันทั้งนั้น 

แต่ถ้าใช้วิธีการมักง่ายฉาบฉวย ไปผูกการนิรโทษกองทัพไว้กับนิรโทษประชาชนแบบพรบ.ฉบับวรชัย... หายนะย่อมมาเยือนประชาชนทุกสีทุกฝ่ายในอนาคต ที่ทหารไม่เคยได้รับบทเรียนสักครั้งในการหันปากกระบอกปืนใส่ประชาชนตามคำสั่งของนักการเมืองใจอมหิต
สำหรับคนที่ยังสงสัยเรื่องพรบ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัยนั้น"หมกเม็ดนิรโทษทหาร"หรือไม่ ถ้าว่ากันตามตัวบท ก็ต้องบอกว่า"คลุมเครือ" ตามที่อ.สมศักดิ์บอกนั่นแหล่ะ แต่ไอ้ที่"ไม่คลุมเครือ"คือการยอมรับจากตัวคุณวรชัยเองผ่านสื่อสาธารณะอย่างน้อย 2 ครั้ง ว่าฉบับนี้ "นิรโทษกรรมให้ทหาร"ด้วย ...คนที่หนุนร่างฉบับนี้ยอมรับกันตรงๆได้รึปล่าวล่ะว่าเห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะนี่เป็นสาเหตุหลักที่ญาติวีรชนเขาต้องออกมาร่างพรบ.กันอีกฉบับเพื่อไม่ให้คนฆ่าญาติพี่น้องเขาต้องลอยนวลนั่นเอง"
"ช่วงก่อนนี้ผมก็ออกตัวหนุนร่างฉบับวรชัยอยู่พักใหญ่ๆ เพราะเนื้อหามันไม่ได้ระบุถึงการนิรโทษทหารแต่ก็ยังคลุมเครือ สุดท้ายทำไมจึงเกิดพรบ.ฉบับญาติวีรชนขึ้น ก็บอกได้เลยว่ามันเริ่มจากวันที่วรชัยมาออกปากว่าร่างฉบับเขา"นิรโทษกรรมให้ทหารทั้งหมด"นั่นเอง หากคุณเคลียร์เรื่องนี้ได้ ให้สัญญาประชาคมว่าจะช่วยแต่ประชาชนไม่เหมารวมทหารที่ฆ่าประชาชน ก็ไม่มีใครเขามีปัญหากับร่างวรชัยกันหรอกครับ แต่นี่คุณไม่ทำ ดันมาแบล็คเมล์เอาคนคุกไปผูกกับการเกี๊ยะเซี๊ยะกองทัพ คนที่เขายังยึดมั่นหลักการความยุติธรรมที่ไหนเขาจะยอมปล่อยผ่านได้ล่ะ?"
 

ถามตรงๆตามนี้ครับ ว่ากันด้วยหลักการและเหตุผล ร่วมต่อสู้มาด้วยกันทั้งนั้น เอาความจริงมาพูดกันดีกว่าคือ ถ้า อ.หวาน Suda Rangkupan คุณ ไม้หนึ่ง ก.กุนที อ.ตุ้ม Sudsanguan Suthisorn หรือใครก็ตาม ทีออกมาโจมตีญาติ

ต้องการจะบอกว่า

"ถึงจุดนี้นะ เราต้องยอมรับการ 'แลก' แบบแบล็กเมล์ คือ ต้องยอมไม่แตะเรืองทหาร ต้องยอมไม่ใส่มาตราเรืองทหารทีนิติราษฎร์เสนอ(และญาติยืมมา) ทีเราเองเคยสนับสนุน

ไม่งั้น มวลชนในคุก จะไม่ได้อิสรภาพ"

ก็บอกกันมาตรงๆแบบนี้ อภิปรายกันตรงๆว่า ทำไม ถึงจุดนี้ ต้องยอมรับการ "แบล็กเมล์" แบบนี้ และบอกมวลชนตรงๆว่า นี่คือผลจากการแบล็กเมล์ดังกล่าว ("ต้องแลก")

ไมใช่ ไปพูดในประเด็นอืน ไปโจมตีในลักษณะไร้หลักการ ไร้เหตุผล แบบทีทำๆกันทีผ่านมา

แน่นอน ในทางกลับกัน ถ้าพวกท่าน ยังยืนยันว่า ไมใช่ยอมรับการแบล็กเมล์ พวกท่าน ยังยืนยันหลักการทีนิติราษฎร์-ญาติ เสนอ (หรือแม้แต่ กรณีคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ ทีพูดกับ "ข่าวสด" สนับสนุนร่างวรชัย โดยอ้างว่าไม่ได้นิรโทษกรรมทหาร)

ก็ไม่ยากเลย และไม่มีข้อแก้ตัวด้วย ทีจะเสนอให้เพิ่มมาตราว่าด้วยทหาร ตามทีนิติราษฎร์+ญาติ เสนอเข้าไปในร่างวรชัยเลย และช่วยเรียกร้องผลักดันตามที ญาติ (และนิติราษฎร์) เสนอ (และท่านเคยเห็นด้วยเชิดชู) - ถ้าบอกว่า ทำไม่ได้ คนคุกจะไม่ได้ออก ก็คือ ยอมรับเรืองการ "แบล็กเมล์" ข้างต้นนันแหละ

เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึง ขอแตให้พูดกันแบบตรงไปตรงมา ไมใช่แสดงความไม่เอาไหน ด้วยการหลีกปัญหา ไม่กล้าพูดตรงๆ หรือแย่กว่านั้น ไปพูดในลักษณะ "ชกใต้เข็มขัด" อย่างทีทำๆกันมา



Podjana Walai
พัชณีย์ คำหนัก เลี้ยวซ้าย


"ในสถานการณ์ที่นปช.ใช้ยุทธศาสตร์สองขาและเชียร์รัฐบาล พร้อมกับที่รัฐบาลมีนโยบายปรองดองกับทหาร ความพยายามที่จะเอาผิดทหารทั้งระดับปฏิบัติการและผู้บังคับบัญชาก็ ถูกวิจารณ์ว่า เป็นไปได้ยากบ้าง ถูกมองว่าทำให้เพื่อนที่ติดคุก ติดคุกนานขึ้นอีก เกิดการต่อรอง กดดันกันเองภายในขบวนการว่า เอาคนที่ติดคุกออกมาก่อน แล้วที่มีการนิรโทษกรรมทหารระดับปฏิบัติการก็ช่างมัน ไม่ขอกล่าวถึงตอนนี้ ส่วนระดับผู้บังคับบัญชาค่อยไปว่ากันอีกที ซึ่งทำให้ทางที่ปชช.จะได้ประโยชน์สูงสุดหดลง ...แต่สำหรับเรา เราไม่เคยไว้ใจนักการเมืองพรรคนายทุน ผลจะออกมายังไงก็คงได้แค่นั้นจริงๆ เพราะหัวขบวนนปช. และรัฐบาลเป็นผู้กำหนดวาระและเกมการเมืองมากกว่า แถมยังเต็มไปด้วยกองเชียร์
ถ้าฝ่ายคนเสื้อแดงสนับสนุนร่างพรบ.ของวรชัย เท่ากับนิรโทษกรรมให้ทหาร แล้วจะมาเอาผิดทีหลังได้ยังไงคิดไม่ออก หากคนถูกกระทำเองไม่เอาผิดคนฆ่าแต่แรก ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีแต่พวกทหารเองออกก.ม.นิรโทษตัวเอง มันคงจะเป็นตลกร้ายมากในประวัติศาสตร์การเมืองยุคปัจจุบันถ้าจะบันทึกเหตุการณ์แบบนี้
น่าจะเลิกสัญลักษณ์สีเสื้อแดงได้แล้ว เลิกพูดว่าแดงแท้ แดงเทียม เอานิสัยอำมาตย์เผด็จการมาใช้ ในบริบทที่เพื่อไทยได้อำนาจรัฐแล้วปรองดองกับทหาร ใช้นักโทษการเมืองเป็นตัวประกันในการต่อรองกันภายในชนชั้นนำด้วยกัน....เอาอุดมการณ์ แนวทางการเคลื่อนไหวเป็นตัวนำเสนอเลยดีกว่า จะได้รู้ว่ามีใครกันบ้างชอบบิดเบือนข้อมูล เบี่ยงเบนประเด็น ปล่อยข่าวลือ พวกแทงกั๊ก ฉวยโอกาส พวกทำแนวร่วมกับรัฐบาลเป็นกองเชยร์ พวกอะไรอีกสารพัด"
จรรยา ยิ้มประเสริฐ์

น่าหนักใจแทนนักโทษการเมืองจริง

ดูเหมือนว่าเมื่อ "คนตาย" ไม่ใช่ "วีรชน" "ไม่ใช่คนเสื้อแดง" และ "ไม่มีสิทธิพูด" แล้ว ต่อไปนี้ คนที่ยังเป็น "วีรชน" "คนเสื้อแดง" และ "มีสิทธิพูด" คือ "นักโทษการเมือง" ที่ยังอยู่ในคุก (ยกเว้นนักโทษ 112 นะฮะ)

พวกเขาจะกลายเป็นได้ทั้ง "เหตุผล" หรือ "สาเหตุ" ให้ พรบ. นิรโทษกรรมฉบับใดฉบับหนึ่งผ่านรัฐสภาหรือไม่ผ่านรัฐสภา ... ด้วยข้ออ้างเอานักโทษการเมืองออกจากคุกก่อน (หลังจากติดคุกไป 3 ปีกว่า) เรื่องอื่นๆ เอาไว้ก่อน

ถ้าผลออกมาไม่เป็นที่ถูกใจ พวกเขาจะกลายเป็น "แพะรับบาป" กลุ่มต่อไป

เพราะท้ายที่สุด "แพะรับบาป" ที่เป็นมาในอดีตและก็อาจจะดำรงอยู่ต่อไป ก็คือคนชั้นล่าง ชาวบ้าน และแนวร่วม - คนไร้เส้นไร้เงินเหล่านี้นี่เอง 

  

 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เอาง่ายๆกันแบบนี้เลยครับ "วัดใจ" กันเลย

ร่างของญาติ มีปัญหาโน่นนี่ ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องสนใจเลย สนับสนุนเชียร์ ร่างวรชัย กันต่อไป ผมยินดีจะร่วมด้วย

ขออย่างเดียว ในเมือ่ ประเด็นใหญ่จริงๆทีญาติเสนอคือ เรือง ทหาร

และในเมื่อ คนทีเชียร์ร่าง วรชัย ก็อ้างว่า ร่าง วรชัย ไม่นิรโทษกรรมทหาร (แม้เจ้าตัวเองจะพูดอีกอย่าง)

มาช่วยกันสนับสนุนให้ใส่มาตรา เรืองทหาร ทีนิติราษฎร์เสนอ (และญาติลอกมา) และทีคนที่ด่าร่างของญาติตอนนี้
หลายคน ก็เคย แสดงความชืนชม

เอาไหมล่ะครับ

 
ถ้าไม่เอา ทำไมไม่เอาครับ?
 
 
 


สำหรับคนทีหนุนร่างวรชัย ด้วยการอ้างเหตผลว่า ร่างวรชัย ไม่ได้นิรโทษกรรมทหาร (แม้ตัววรชัย จะให้สัมภาษณ์ชัดเจนถึง 2 ครั้งว่า นิรโทษ ด้วย - แต่ไม่เป็นไร ไม่นับ "เอาตามตัวบท" (ทีคลุมเครือ) อย่างทีเป็นอยู่ ก็ได้)

ถ้างั้น ถ้าบอกว่า ไม่นิรโทษกรรมทหาร ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ทีจะเรียกร้องให้ เพิ่มมาตรา ทีญาติ เอามาจากนิติราษฎร์ (คือข้อเสนอของนิติราษฎร์นันแหละ) เรืองทหาร เข้าไปด้วย เพื่อความชัดเจนไปเลย

และในเมื่อก่อนหน้านี้ รู้สึก (ชืนชมด้วยซ้ำ) ว่า นิติราษฎร์ เสนอ ทั้งนิรโทษกรรมได้ และทั้งมีมาตรายกเว้นทหารโดยชัดเจนได้ พร้อมๆกัน ... ก็ไม่เห็นต้องกลัวเลยว่า ร่างวรชัย จะใส่อันนี้เข้าไปไม่ได้

ยกเว้นแต่จะบอกว่า ไม่ได้ เพราะทาง รบ.ไม่ยอมแน่ วรชัย ไม่ยอมแน่ นักการเมืองไม่ยอมแน่

อ้าว ถ้างัน ก็เท่ากับยอมรับว่า มีการ "หมกเม็ด" นิรโทษกรรมทหารเข้าไว้ด้วยนันแหละ

และถ้างั้น ก็บอกมาตรงๆ ว่า ยินดีให้มีการหมกเม็ดเรืองทหาร เท่านั้นแหละ

(และถ้ายอมรับกันตรงๆแบบนี้ ก็เลิกหาเรืองญาติได้แล้ว เพราะแสดงว่า ประเด็นทีเขาไม่ไว้ใจ กรณีหมกเม็ดนิรโทษกรรมทหาร มันถูกจริงๆ)
 

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เสียงเตือน "จตุพร"แม่ทัพ"นปช." ดัน"นิรโทษฯ"ก่อน"แดง"หัวใจสลาย

มติชนออนไลน์ :  สัมภาษณ์พิเศษ
โดย พนัสชัย คงศิริขันต์,ศุภกาญจน์ เรืองเดช

www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374489249&grpid=01&catid=&subcatid= 






"ถ้าคนเสื้อแดงใจสลาย เมื่อคนใจสลายรัฐบาลต้องล้มอยู่แล้ว ถามว่าใครจะออกมาตาย ออกมาเจ็บ ออกมาถูกขังให้กับคนที่ไร้หัวใจ"

หมายเหตุ - นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใน ฐานะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงสถานการณ์การเมืองในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พท. ภายหลังเปิดประชุมรัฐสภา สมัยสามัญทั่วไป ในเดือนสิงหาคมนี้

- จะหาข้อยุติอย่างไรกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่คนเสื้อแดงสนับสนุน เพราะมีเสียงจากวิปรัฐบาลอาจจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณหรือกฎหมายอื่นก่อน

ผมได้รับการแจ้งจากคณะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ว่า จะพิจารณาแล้วเสร็จและจะนำเข้าสู่สภาอย่างเร็วที่สุดคือวันที่ 14 สิงหาคม หมายความว่าเปิดสภา 1 สิงหาคมก็ยังไม่เสร็จ จะแล้วเสร็จในสัปดาห์ที่ 3 ฉะนั้นเรื่องงบประมาณจะนำมาถูกกล่าวอ้างเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว กรณีการนิรโทษกรรม ร่างของนายวรชัยก็ล้อร่าง พ.ร.ก. ของ นปช.ที่เสนอไปว่าให้ประกาศใช้เป็น พ.ร.ก. คือปลดปล่อยประชาชนทุกฝ่ายยกเว้นแกนนำ ที่ผ่านมาเราก็ยืนในเรื่องนี้ เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะเอาเรื่องใดเข้าก่อนก็มีผลเท่ากันในกระบวนการขับไล่ รัฐบาล แต่จะแตกต่างกัน ถ้าคนเสื้อแดงใจสลาย เมื่อคนใจสลายรัฐบาลต้องล้มอยู่แล้ว ถามว่าใครจะออกมาตาย ออกมาเจ็บ ออกมาถูกขังให้กับคนที่ไร้หัวใจ

- หากผลักดันร่างกฎหมายอื่นเข้ามาแทนจะทำให้คนเสื้อแดงหัวใจสลายใช่หรือไม่
ขณะ นี้ในทางเทคนิคถือว่าจบไปแล้ว แม้จะอยากจะพิจารณาก่อนก็ทำไม่ได้อยู่ดี เรื่องนี้ถือว่าไม่เปลี่ยนแปลงจากนี้ ส่วนจะเอาเรื่องอื่นมาหรือไม่ การต่อสู้ที่ผ่านมา ผมเคยบอกกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ในสภาว่าในโลกความเป็นจริงไม่มีใครถูกจ้างให้มาตายได้ แต่มีคนจ้างให้คุณไปฆ่าคนได้ แต่จ้างให้ไปตายนั้นไม่มี จ้างให้ไปเจ็บไม่มี ฉะนั้นเขามาด้วยหัวใจ คนเสื้อแดงสละทรัพย์ สละชีวิต ดังนั้นถ้าไม่มีเหตุการณ์ไปล้อมปราบและยัดเยียดความผิดใส่เขา วันนี้สิ่งเหล่านี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ถ้าเสื้อแดงเค้าเป็นนักต่อรองจะทนมาถึง 2 ปีหรือ เขาให้ความรักต่อรัฐบาลชุดนี้ไม่เพียงพอหรือ

ผมเอาตัวเอง เป็นจุดยืนชัดเจนคือผมเรียกร้องรัฐบาลให้ทำ 1.ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น คนเสื้อแดงพร้อมจะไปตายกับพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลชุดนี้ในทุกเรื่องแต่ต้อง ไม่ใช่เรื่องคอร์รัปชั่น 2.รัฐบาลต้องไม่ลุแก่อำนาจ เพราะเราผ่านการเจ็บปวดต่อการลุแก่อำนาจมา ต่อสู้มาและก็ตายมา และ 3.ต้องไม่ทรยศประชาชน และหลังจากที่เรามีข้อเรียกร้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญท้ายที่สุดก็ไปไม่ถึง ไม่กล้าที่จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 ถ้าวันนั้นผมไม่มาทักท้วงแล้วทำประชามติวันนี้ก็จะผิดรัฐธรรมนูญเหมือนกับ เรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำ

- เมื่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณยังไม่แล้วเสร็จ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมน่าจะเข้าในวันที่ 7 สิงหาคมนี้
มัน อยู่ในวาระการประชุมสภาอยู่แล้ว มีอย่างเดียวคือถูกเตะทิ้งเท่านั้นเอง คือเปิดสภาต้องบรรจุเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เมื่องบประมาณไม่เสร็จ วันที่ 7 สิงหาคม ก็เหมาะเพราะเป็นวันรพี บิดาแห่งกฎหมายไทย ก็สามารถพิจารณาได้เพราะว่างบประมาณเข้าอีกสัปดาห์หนึ่งคือ 14-15 สิงหาคมนี้ ก็ว่ากันไป ในขณะนั้นก็มีคนชนนอกสภาเต็มไปหมดแล้ว เพราะว่าเรื่องชุมนุมติดต่อกัน ปราศรัยติดต่อกันและการขับเคลื่อนองคาพยพทั้งองค์กร ทุกองค์กรก็จะไหลมารวมกัน คือทั้งหมดไหลมาโดยนัดหมาย พูดง่ายๆ ว่าทุกทัพ ทุกทิศทางก็จะรุกประชิดแม้ว่าจะมีเรื่องนิรโทษกรรมหรือไม่ก็ตาม

- ตอนนี้ญาติวีรชน เม.ย.-พ.ค.2553 ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีกฉบับ ทำให้ถูกมองว่าเป็นการสกัดและเตะถ่วงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย

ถ้า เจอญาติวีรชนฯ จะอธิบายให้ฟัง และเชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไรจะชี้ให้ดูว่าท้ายที่สุดเราไม่โชคร้าย ผมไม่เชื่อว่ากลุ่มญาติวีรชนถูกหลอก เพราะผมก็ยังถูกหลอกเลย และหลายคนก็ยังถูกหลอกด้วย ผมถูกหลอกก็แค่ชีวิตเดียว แต่ว่าคนบางคนถูกหลอกจะนำพาสู่ความตายของประชาชนครั้งใหญ่อีกครั้ง

- แต่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของญาติวีรชน ทำให้ ปชป.ออกมาขานรับ จะทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคนเสื้อแดงกันเองและกระทบกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่อยู่ในสภาหรือไม่
คนโง่ที่สุดในประเทศก็คิด ได้ ผมก็ถามกลับเพื่อจะบอกบรรดาญาติวีรชนซึ่งไม่ได้ประชุมกันเป็นเรื่องเป็นราว แต่จะถามกลับว่าใครทำให้ น.ส.กมนเกด อัคฮาด เสียชีวิต รัฐบาลไหนทำให้น้องเฌอถึงแก่ชีวิต ฉะนั้นมีความสุขนักเหรอ เพราะผมรู้ว่าเขาเจ็บปวด สุดท้ายญาติวีรชนจะได้เห็นว่า นี่ไงที่ผมเคยพูดเมื่อปีกลายว่า การเมืองคือละคร ผมคือคนพลัดหลงเข้าไปในโรงละคร คนเสื้อแดงคือคนที่มีอุดมการณ์พลัดหลงเข้าไปในโรงละครที่เขาแสดงกันอยู่ เข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง ผมว่าเรื่องญาติวีรชนซึ่งเข้าใจว่า 2 คนนี้เป็นหลัก ผมจะได้อธิบายเขา ที่ผ่านมาก็มาบ้านกันบ่อยอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาผมสุขภาพไม่ค่อยดีเลยไม่ค่อยได้คุยกับเขา ถ้ารู้ก่อนผมก็จะขอดูก่อนว่าเนื้อหาเป็นอย่างไร

- จะเกิดอะไรขึ้นหากรัฐบาลตัดสินไม่เดินหน้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก่อน
พอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าก็ไม่ได้จบ เพราะต้องเข้ากรรมาธิการวิสามัญ ถ้า พ.ร.บ.งบประมาณ หากบอกว่าถ้าไม่พิจารณาภายในวันนี้ มันใช้ไม่ได้ทำไมคนเสื้อแดงจะให้ไม่ได้ เพราะชีวิตเขาก็ให้มาแล้ว อิสรภาพ 2 ปี เขายังไม่ปริปากพร่ำบ่น บางคนยังเดินไม่ได้ มองไม่เห็น แค่ระเบียบวาระ แค่นี้กระจอกมาก แต่เรารู้ว่ามันไม่ได้แค่เรื่องระเบียบวาระนี้ เราไม่ใช่ไม่รู้ว่าอะไรควร งบประมาณมันใช้ 1 ตุลาคม ที่สุดมันก็จนมุมแล้วว่าทำไม่เสร็จ มันไปไหนไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นเราจึงอธิบายกระดานอื่นต่อว่า เรื่องมันรออยู่ที่องค์กรอิสระ กระบวนในและนอกสภา ฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นผนังทองแดงเหมือนกับดงไม้ทึบให้กับกวาง หรือรัฐบาลก็คือประชาชน

ผมมาชี้ทางให้เอาหัวใจของประชาชนไว้ก่อน ไม่ใช่ไร้เหตุผลไม่รู้เรื่องรู้ราวว่าเสนอโหวตกฎหมายแล้วจะต้องได้วันนั้น เลย ถ้าในโลกของความเป็นจริงบอกว่า ถ้าพิจารณางบประมาณแล้วไม่ทัน แล้วไม่มีสถานการณ์ทางการเมืองใดๆ บอกคนเสื้อแดงถอยสิ ทำไมจะให้ไม่ได้ ให้เท่านี้ยังไม่พออีกเหรอ ทุกเรื่องมันจึงเป็นเรื่องเล็ก ถ้าผมเห็นแก่ตัวผมก็นอนอยู่บ้านเฉยๆ สบายจะตาย ทุกฝ่าย รัฐบาลก็เห็นว่าดี ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลก็เห็นว่าดี และรัฐบาลก็พัง ที่ผมพูดก็เพราะไม่ต้องการให้พัง เพราะถ้าผมอยู่เฉยๆ ยังไงก็พังอยู่แล้ว

- ขณะนี้ต้องการส่งสัญญาณเตือนรัฐบาลไม่ให้เดินเข้าสู่สถานการณ์ที่คนเสื้อแดงจะถูกหลอกใช่หรือไม่
เวลา จะถูกหลอกมันจะทำน่าเชื่อถือ พูดง่ายๆ ว่าไปเชื่อลมปากของศัตรูกับนักเลือกตั้งที่เห็นผลประโยชน์กับคนที่หนีเมื่อ ภัยมา แต่คนที่เขาสู้แลกชีวิตให้กลับไม่เชื่อใจ ฉะนั้นผมเองก็เตือนสติ ผมไม่ปรารถนาอะไรอีกแล้ว แต่นอกเหนือจากนี้ต้องการปลดปล่อยพี่น้อง ต้องการเยียวยาและต้องการให้รัฐบาลอยู่ได้ ผมดูว่ายาก ผมรู้ ผมผ่านเวทีพฤษภาทมิฬ 2535 หลังจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถูกจับผมถือไม้สุดท้ายของเหตุการณ์นั้น ผมรู้ว่าเหลือกี่คน ท้ายที่สุดทัพแตกผมก็เป็นคนนำทัพต่อ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ในขณะเดียวกันวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ผมต้องยืนขึ้นยุติการชุมนุมด้วยน้ำตานองหน้า ผมไม่ต้องการสภาพนั้นอีกแล้ว พูดเพื่อเตือน 81 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเมืองกับขบวนการรัฐประหารสลับขึ้นไปมีอำนาจ แต่ทุกครั้งที่มีการสลับจะมีกระบวนการคั่นกลางคือการต่อสู้ของประชาชน และทุกครั้งประชาชนก็บาดเจ็บล้มตาย คือ ได้เลือกตั้ง ก็ยึดอำนาจ ประชาชนก็ไปต่อสู้บาดเจ็บล้มตาย ได้เลือกตั้ง และก็ยึดอำนาจ ฝ่ายเดียวที่เสียมาตลอด 81 ปีนี้ คือ ประชาชน
(ที่มา มติชนรายวัน วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)


ข่าวต่อเนื่อง

จับ"ปฏิกิริยา"เสียงเตือน"นปช." "รัฐบาล-พท."ส่อดอง"นิรโทษฯ"

ที่มา:มติชนรายวัน วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20:03:12 น.
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374570386&grpid=01&catid=&subcatid=








จับ "อาการ" หรือวัด "ปฏิกิริยา" ของ "แม่ทัพคนเสื้อแดง" อย่าง "จตุพร พรหมพันธุ์" ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) ถึงการเรียกร้องให้มีการ "ลงมติ" รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ

จะพบความรู้สึกซึ่งผ่านการแสดงออกจาก "คำพูด" ของ "แกนนำคนเสื้อแดง" ผู้นี้ที่ผ่าน "ความผิดหวัง" มาหลายครั้ง

โดย เฉพาะ "ปฏิกิริยา" เสียงสะท้อนของ "จตุพร" ที่ระบุว่า "ถ้าคนเสื้อแดงใจสลาย เมื่อคนใจสลายรัฐบาลต้องล้มอยู่แล้ว ถามว่าใครจะออกมาตาย ออกมาเจ็บ ออกมาถูกขังให้กับคนที่ไร้หัวใจ"

โดยเฉพาะ "ความรู้สึก" ของ "จตุพร" ที่ระบุว่า "เวลาจะถูกหลอกมันจะทำให้น่าเชื่อถือ พูดง่ายๆ ว่าไปเชื่อลมปากของศัตรูกับนักเลือกตั้งที่เห็นผลประโยชน์กับคนที่หนีเมื่อ ภัยมา แต่คนที่เขาสู้แลกชีวิตให้กลับไม่เชื่อใจ"

หรือแม้แต่ "เสียงสะท้อน" ที่ว่า "ผมเองก็เตือนสติ ผมไม่ปรารถนาอะไรอีกแล้ว แต่นอกเหนือจากนี้ต้องการปลดปล่อยพี่น้อง ต้องการเยียวยาและต้องการให้รัฐบาลอยู่ได้"

จับ "ประโยค" และท่วงท่าของ "จตุพร" มีเป้าหมายเดียวคือต้องการให้ "สภาผู้แทนราษฎร" และ "รัฐบาล" รวมทั้ง "พท." เดินหน้าผลักดัน "ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" เพื่อ "ปลดปล่อย" ประชาชนที่ถูก "คุมขัง" อยู่ใน "เรือนจำ" โดยทันที

เพราะ หลายครั้ง "ข้อเรียกร้อง" ของ "นปช." ที่เคยให้ "รัฐสภา" ลงมติในวาระที่สามของร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 ยังไม่ประสบความสำเร็จ

"ข้อเรียกร้อง" ของ "นปช." ซึ่งเคยผลักดันให้ "คณะรัฐมนตรี" (ครม.) ออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) นิรโทษกรรมโดยทันทีก็ไม่ได้รับการ "ตอบสนอง" จาก "ฝ่ายบริหาร"

เมื่อพลิก "ปฏิทิน" และ "กรอบเวลา" ในช่วงเปิดประชุมรัฐสภา สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ เป็นต้นไป

มีร่างกฎหมายสำคัญ ซึ่งรอจ่อคิวพิจารณาภายในเดือนนี้อยู่หลายฉบับ

ใน ขณะที่ "เสียง" ภายใน "พท." ในหมู่ "ส.ส." และ "แกนนำ" ยังคงไปคนละทาง โดยยังไม่รวมเป็น "คีย์เดียว" เพราะต้องรอการประชุมและท่าทีของ "พท." ในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้

รวมทั้งการหารือของ "คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร" หรือ "วิปรัฐบาล" ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ จะต้องประเมิน "ทิศทาง" และ "กระแสร้อน" ของ "การเมือง" ในช่วงเปิดสมัยประชุมรัฐสภาด้วย

เพราะล่าสุด "องค์การพิทักษ์สยาม" หรือ "อพส." ออกมาเป่านกหวีดขีดเส้นตาย "ขับไล่" รัฐบาล ด้วยการ "ชุมนุมใหญ่" ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะถึงสัปดาห์การพิจารณา "ร่างกฎหมายร้อน" หลังเปิดสมัยประชุม "รัฐสภา"

เมื่อพิจารณาถึง "ผลกระทบ" จากเบาไปมาก "ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557" ก็มีความสำคัญ และจะต้องพิจารณาตามกรอบเวลาที่ "รัฐธรรมนูญ" กำหนดไว้

ยิ่งพิจารณา "น้ำหนัก" และ "ผลกระทบ" น้อยที่สุด "ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ" จึงเป็น "ร่างกฎหมาย" ที่ "ร้อนน้อยที่สุด"

เป็น "ร่างกฎหมาย" ที่ร้อนน้อยกว่า "ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ที่จ่อคิวอยู่ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นลำดับแรก

ไม่ เพียงจะมีเสียงคัดค้านภายใน "พท." เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาผลักดัน "ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ก่อน เพราะถึงอย่างไร ร่างฉบับนี้ก็ยังไม่ได้มีผลบังคับใช้

นอกจากนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ที่มาของ ส.ว. ซึ่่งมีการนัดประชุมในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของรายงานและรูปเล่มก่อนชง "ประธานรัฐสภา" ให้ผลักดันเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว

ภายหลัง วันที่ 25 กรกฎาคม ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว. จำนวน 13 มาตรา น่าจะส่งถึงมือ "ประธานรัฐสภา" เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมรัฐสภา ภายใน 15 วันนับแต่วันเปิดสมัยประชุมวันที่ 1 สิงหาคมนี้

แนวโน้มการที่ "ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" จะถูก "ดอง" ให้อยู่ในวาระการประชุม "สภาผู้แทนราษฎร" จึงมีความเป็นไปได้อยู่

เนื่องด้วยระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคมนี้ แม้จะเป็นวันที่จะมีคิวพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ก็ตาม

แต่ทว่ามีความพยายามในการผลักดันให้เปิด "ประชุมร่วมกันของรัฐสภา" เพื่อพิจารณากรอบการเจรจาระหว่างประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190

รวม ทั้งอาจมีการนำร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว. ซึ่งพิจารณาเสร็จก่อนสอดไส้เข้ามาเป็น "ร่างแรก" เข้าคิวพิจารณาโดยทันทีในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคม

เพราะ อายุของ "ส.ว.เลือกตั้ง" ชุดปัจจุบันใกล้หมดวาระในต้นปี 2557 หากร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของ ส.ว. ถูกวางคิวเข้าพิจารณาในระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคมนี้ ถัดจากนั้นสัปดาห์ต่อไป ระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม จะต้อง ?ล็อก? วันพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ

ถัดจากนั้น ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็มี "คิว" จะเข้าตามมา เพราะต้องพิจารณาให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้

ขณะ ที่ "ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" แม้จะมีเสียงเรียกร้องผ่าน "แกนนำ นปช." นั้น ก็มี "แนวโน้ม" อาจถูก "ดอง" และ "เตะถ่วง" ให้อยู่ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไปอีก

เสมือน "ปฏิกิริยา" ของ "จตุพร" ที่ว่า "ผมถูกหลอกก็แค่ชีวิตเดียว แต่ว่าคนบางคนถูกหลอกจะนำพาสู่ความตายของประชาชนครั้งใหญ่อีกครั้ง"

๑๑๒ ปัญหานิรโทษกรรมการเมือง : สรุปประเด็นเรื่องข้อถกเถียงเรื่อง ๑๑๒ ปัญหานิรโทษกรรมการเมือง

๑๑๒ ปัญหานิรโทษกรรมการเมือง

เรียบเรียงตามถ้อยเถียงบนเว็บโดย ระยิบ เผ่ามโน
https://www.thaienews.blogspot.de/2013/07/blog-post_23.html


ระหว่างรอฟังการแจงเหตุผล ๑๐๘ ประการว่าทำไมต้องปลดปล่อยนักโทษการเมืองในประเทศไทย ที่รวมดาวนักประชาธิปไตยมากมายถึง ๑๓ ท่านมาเป็นผู้อภิปราย ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ราชดำเนิน ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคมนี้
พร้อม ทั้งกำลังลุ้นกันว่าจะมีการอภิปรายร่างกฏหมายนิรโทษกรรมผู้ต้องข้อหากระทำ ผิดจากการชุมนุมทางการเมืองในการเปิดสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร ๑ สิงหาคมที่จะถึงหรือไม่ ก็มีอันเกิดปัญหากับแนวทางการนิรโทษกรรมผู้ได้รับราชทัณฑ์จากผลของการสลาย ชุมนุมเมื่อ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ที่แม้จะเป็นการถกเถียงประเด็นถ้อยคำอันจะส่งผลต่อเนื้อหา ในร่าง พ.ร.บ. สองฉบับ ซึ่งเห็นกันในหมู่ผู้ฝักใฝ่วิถีประชาธิปไตยเนื้อแท้ (ไม่ใช่ชนิดดัดแปลงเสียจนรุ่มร่าม) ว่าจะเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด โดยไม่แฝงทางเลี่ยงให้คนสั่งการ และพวกแอบอิงสวมรอยได้ลอยนวล
แต่ก็เป็นผลให้เกิดอาการสะเทือนต่อกระบวนการขอคืนความเป็นธรรม จนดูเหมือนว่าเกิดเหตุจิกกันเองของไก่ในเข่งสีแดง เพราะต่างดิ้นรนกระเสือกกระสนให้พ้นภาวะบีบคั้นกดดัน แล้วเกิดกระทบกระทั่ง และกระแทกต่อกัน
ซึ่งกระบวนการที่ว่านี้มีการเสนอไว้เป็นร่างกฏหมายจำนวนทั้งสิ้น ๙ ฉบับด้วยกัน ในจำนวนนี้ ๕ ฉบับอ้างว่าเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรืออาจเรียกง่ายๆ ได้ว่า ขอให้เจ๊ากันไป แล้วอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะได้กลับบ้านเสียทีด้วย
โดยที่ฉบับเจ๋งของ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งมีเนื้อความง่ายๆ สั้นๆ แค่ ๖ มาตรา แต่ว่า ส.ส.เข้าชื่อสนับสนุนกันถึง ๑๖๒ คน นั้นก็ยังไม่ได้บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภา
อีก ๔ ฉบับมุ่งหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้เสียหาย บ้างสูญเสียชีวิต อิสรภาพ แล้วยังถุกข่มเหงทางกฏหมาย คือผู้ร่วมชุมนุม ร่วมสนับสนุน และแสดงออกต่างๆ ทางการเมืองนับแต่เกิดการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมาถึง ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ยังติดค้างรับทุกข์กันอยู่ในคุก หรือที่มีโทษติดตรึงไปถึงสัมปรายภพถ้าบังเอิญวิ่งเอาหัวไปชนกระสุนลูกซอง และสไน้เปอร์ของทหารหาญผู้สลายการชุมนุมล้มตายไปเสียก่อนแล้ว
ซึ่งสองในสี่ฉบับนี้ยังไม่ได้มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา (ฉบับนิติราษฎร์ และฉบับญาติผู้สูญเสีย) เช่นกัน
ปัญหาของ พ.ร.บ. ปรองดองต่างๆ ทั้งห้า (รวมทั้งร่างนิรโทษกรรมของนายนิยม วรปัญญา) อยู่ที่ว่าฝ่ายค้าน และเครือข่ายต่อต้านทักษิณปักหลักปฏิเสธหัวชนฝาไม่เล่นด้วย ไม่ยอมรับ และจับพลัดจับผลูอาจพลิกผันเปิดทางไปสู่การรักษาความสงบแห่งชาติโดยคณะทหารอีกครั้งหนึ่งได้ จึงยังคาราคาซังอยู่ในคิววาระการประชุมสภา
อีกทั้งฐานเสียงประชาชน และฝ่ายประชาธิปไตยไม่เห็นชอบที่จะปรองดอง เกี๊ยเซี้ย กันอย่าง เหมาเข่ง ทั้งพรรคเพื่อไทย และฝ่ายการเมืองเกี่ยวเนื่องทักษิณทั้งหลายเลยทำเฉยกันไว้ไปก่อน
ส่วน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดจากความขัดแย้ง ทางการเมืองที่เสนอโดยคณะนิติราษฎร์นั้นทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยเมินเฉยมาแต่ต้น แถมไม่ยอมแบะท่าให้เลยแม้แต่นิดว่าโอกาศหน้าพอมีหวังหรือไม่
กับร่างฯ ของญาติผู้สูญเสียที่นำร่างเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะนิติราษฎร์มาปรับแก้บางส่วน และแต้มแต่งด้วยความเห็นของนางนิชา (ธุวธรรม) หิรัญบูรณะ ภรรยา พ.อ.ร่มเกล้า นายทหารผู้เสียชีวิตด้วยระเบิดขว้าง (เอ็ม ๖๗) ระหว่างบัญชาการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัวเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งนี่ก็คงจะยังเนิ่นเกินไปสำหรับรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยจะแสดงกิริยาใดๆ ตามยุทธวิธีใช้ความระมัดระวังเป็นเลิศ เพื่อยุทธศาสตร์การเป็นรัฐบาลนานๆ
มีแต่ร่างฯ นิรโทษกรรมฉบับของนายวรชัย เหมะ เท่านั้นที่ท่านนายกฯ ในดวงใจ พี่ชายนายกฯ ผู้งดงามนัก ประกาศสนับสนุนเอาไว้แล้ว แต่ก็ยังเป็นปัญหาอีกแหละว่าเมื่อมาถึงกระบวนการขับเคลื่อนแล้วจะมีแรงผลัก แรงยื้อกันอย่างไร เมื่อการเปิดประชุมสามัญวันแรกกลางปี ๒๕๕๖ มาถึง เพราะว่าแม้แต่การเลื่อนลำดับขึ้นมาบรรจุเป็นวาระแรกของการอภิปรายก็ยังเป็นที่กังขา
ทางประธานวิปพรรครัฐบาลบอกว่าในกำหนดการไม่มีการพิจารณาร่างกฏหมายนิรโทษกรรมในวาระแรก แต่จะมีการเลื่อนร่างฯ ใดขึ้นมามิอาจทราบได้ แต่นายวรชัยเจ้าของร่างฯ ยืนยันว่าจะมีการดันร่างฯ นิรโทษกรรมขึ้นมาอภิปรายก่อนแน่นอน ตน และเพื่อน ส.ส. ๔๑ คนไม่เห็นด้วยกับฝ่ายยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยที่จะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี ๒๕๕๗ ขึ้นมาพิจารณาอันดับแรก ตามด้วยร่างฯ เงินกู้ ๒.๒ ล้านล้านบาท เพราะทั้งสองร่างยังชงไม่ได้ที่สำหรับการเปิดอภิปราย
ตานี้ปัญหามันเกิดตรงที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาโป๊ะเช้งสนับสนุนร่างฯ นิรโทษกรรมของญาติผู้สูญเสีย โดยนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคแถลงว่า “ร่างดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้สั่งการ คนทำผิดกฎหมายอาญา”
แล้วโฆษกฉายา ปลาบู่ชนตึก สาธยายต่อว่า “แต่คนที่มีพฤติกรรมหรือมีเหตุอันเชื่อว่า มุ่งหมายต่อชีวิต การวางเพลิงเผาทำลายทรัพย์สิน ประทุษร้ายต่อชีวิตประชาชน และทหาร จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม”
พร้อมทั้งให้ข่าวยัดปากสองผู้ประสานสำคัญของร่างฯ คือนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด และนายพันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อน้องเฌอ ว่า“อาจมีประเด็นปลีกย่อยบางประการที่ต้องระบุให้ชัด เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ไม่ควรจะได้รับการนิรโทษกรรม กรณีผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ซึ่งจะต้องมานั่งคุยกัน”
แม่น้องเกด กับพ่อน้องเฌอ
จากนั้นโฆษกฝ่ายค้านจัดการสอดไส้หลักการนิรโทษกรรมในข้อเสนอของญาติผู้สูญเสียด้วยความเนียนเป็นที่สุดว่า “หลังจากที่เราตกลงระบุรายละเอียดให้ชัดแล้ว ขอให้กลุ่มประชาชนเดินไปบอกรัฐบาลให้ถอนร่างทั้งหมดในสภาออก แล้วเรามาร่วมกันพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้”
จึงเห็นชัดชั้นเชิงในความหวังดีแต่ประสงค์ร้ายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า อาศัยช่องนิชาเข้าไปใช้ญาติผู้เสียหายเป็นเครื่องมือป่วน และถ่วงกระบวนการนิรโทษกรรม
ครั้นมีเสียงวิพากษ์หนักเข้าพรรคประชาธิปัตย์พอเจอสันดอนเลยออกสันดาน ปฏิเสธตาใสหน้าตายว่า "ไม่ได้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน" ด้วยถ้อยตระบัดของโฆษกคนเดียวกันนั่นเองว่า “เป็นความเข้าใจผิด เพราะจุดยืนของพรรคตั้งแต่แรก คือ นิรโทษกรรมตามฐานความผิด”
อย่างไรก็ดี damage has been done ผลจากการสอดไส้พยายามชักใยป่วนร่างฯ ของญาติผู้เสียหายทำให้เกิดการโต้เถียงในเชิงวิชาการ และเปรียบเทียบระหว่างสองร่างที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด คือร่างฯ ผู้เสียหาย กับร่างฯ นายวรชัย
ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลประชาชน แสดงความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรติงร่างฯ ญาติผู้สูญเสียว่า “ข้อเสนอให้นิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ต้องโทษฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน กำลังทำให้ข้อเรียกร้องการนิรโทษกรรมบิดเบี้ยว”
ดร.พวงทองอ้างถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระที่ต่างสนับสนุนการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้กระทำผิด พ.ร.บ. ฉุกเฉิน (ส่วนกรณีอื่นๆ ดร.วีรพัฒน์เสนอให้แยกไปพิจารณาพิเศษอีกฉบับหนึ่ง) ว่า
“ก่อนที่ใครจะเสนออะไรนั้น ควรต้องทำความใจข้อมูลเบื้องต้นเสียก่อน” นั่นคือ
“ประการแรก บรรดาผู้ชุมนุม ๑,๐๑๙ คนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้น ในขณะนี้ พวกเขาได้พ้นโทษไปหมดแล้ว (มีทั้งโทษปรับ จนถึงจำคุก ๖ เดือน – ๑ ปีครึ่ง)...แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ก็สมควรได้รับนิรโทษกรรม ลบล้างความผิด ให้กับพวกเขา เพราะข้อมูลที่ ศปช.รวบรวมขึ้นมาชี้ว่าขั้นตอนการจับกุมและดำเนินคดีมีปัญหามาก มีการซ้อมทรมานในระหว่างการจับกุม...
ข้อหาที่ติดตัวคนเหล่านี้จะกลายเป็นตราบาป สร้างความลำบากในอาชีพการงานให้กับพวกเขาอย่างยิ่ง จึงสมควรนิรโทษกรรมให้กับคนเหล่านี้ด้วย...
แต่เป้าหมาย เร่งด่วนของการนิรโทษกรรมคือชาวบ้านธรรมดาที่ยังติดอยู่ในคุกอีก ๒๐ คน ที่โดนฟ้องด้วยข้อหาหนัก เช่น เผาทำลายสถานที่ราชการ เผาเซ็นทรัลเวิลด์ ก่อการร้าย มีอาวุธในครอบครอง ก่อความวุ่นวาย บุกรุก ฯลฯ ในจำนวนนี้ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว ๑๘ คน ถูกตัดสินจำคุกระหว่าง ๖ – ๓๕ ปี ส่วนอีก ๒คนอยู่ในศาลชั้นต้น
การบอกว่า คนเผาไม่สมควรได้รับนิรโทษกรรมเป็นการพูดโดยไม่สนใจข้อเท็จจริงหลายประการ ดังข้อมูลจากรายงาน ความจริงเพื่อความยุติธรรมของ ศปช. อาทิ “กรณีเผาศาลากลางในต่างจังหวัด ประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตกเป็นจำเลยเพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมเท่านั้น”
กับคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ จากคำให้การของ พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยของกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลฯ มากว่ายี่สิบปี ชี้ว่าผู้ถูกจับกุม ๙ คนเป็นผู้ที่เข้าไปอาศัยหลบอยู่ในห้าง ไม่มีอาวุธ พวกมีอาวุธเป็นกลุ่มคนชุดพรางที่ไล่เจ้าหน้าที่ รปภ. ของห้างออกไปหมดก่อนเกิดไฟไหม้ในเวลาต่อมา
ดังนี้ “ข้อหาเผาบ้านเผาเมืองอาจเปลี่ยนจากจำเลยคนเสื้อแดงไปเป็นชายในชุดพรางกายแทนก็ได้ แต่สังคมก็เชื่อกันไปแล้วว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดงอย่างแน่นอน” ทั้งที่จำเลยบางคนหลุดพ้นคดีโดยศาลยกฟ้องไปแล้ว แต่อัยการก็ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้ ถ้าไม่ได้รับนิรโทษกรรมก็คงต้องถูกจองจำต่อ
นอกจากนี้ ดร.พวงทองยังแสดงความเห็นประเด็นการเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ และกระชับวงล้อมสลายการชุมนุมว่า ข้อความในร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชนที่ว่า หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย นี้อาจถูกตีความรวมถึงนายทหารระดับสั่งการที่อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และผู้อำนวยการ ศอฉ. (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) จึงสมควรแก่เหตุ และชอบด้วยกฏหมายก็ได้
อีกประเด็นที่สองแกนคนสำคัญผู้เสนอร่างฯ ฉบับประชาชนอ้างเหตุจูงใจว่าเพราะตำหนิร่างฯ ฉบับนายวรชัยที่ระบุไว้แต่เพียงกว้างๆ ว่า การนิรโทษกรรมจะ ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว อาจหมายถึงให้เอาผิดแต่เฉพาะนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพเท่านั้น
ดร.พวงทองกับเห็นแย้งว่า “ข้อความกว้างๆ นี้เปิดโอกาสให้ตีความว่า บรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ สามารถหมายถึงผู้นำกองทัพที่มีอำนาจในการวางแผน และตัดสินใจสั่งเคลื่อนกำลังพลได้ด้วย
แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันพรรคเพื่อไทยไม่กล้าที่จะขัดแย้งกับกองทัพ จึงกันผู้นำกองทัพออกจากการดำเนินคดี แต่ในอนาคต อาจจะเป็นสิบปี หรือยี่สิบปีข้างหน้าเมื่อดุลอำนาจทางการเมืองเปลี่ยน ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถรุกคืบทางการเมืองได้มากขึ้น กฎหมายที่ผ่านสภาแล้วนี้จะเปิดโอกาสให้เราสามารถนำผู้นำกองทัพมารับโทษก็ได้
ทางด้านผู้ที่ออกมาสนับสนุนร่างนิรโทษกรรมของญาติผู้สูญเสีย คือ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แห่งคณะศิลปศาสตร์ มธ. บอกว่า “อันทีจริงร่างนี้ดีกว่าร่างนิติราษฎร์ในแง่หนึงคือ มีข้อความทีทำให้รวม ๑๑๒ ไว้ด้วย” ซึ่งหมายถึง มาตรา ๓ (๓) ที่กล่าวถึงการกระทำ “ความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ถึงกระนั้น ดร.สมศักด์ก็แย้งกรณีที่แม่น้องเกด และพ่อน้องเฌอแสดงความเห็นต่อสื่อว่าร่างนิรโทษฉบับนายวรชัยหมกเม็ดการไม่เอาโทษทหารระดับบังคับบัญชาเอาไว้ว่า “ตามร่างวรชัยนั้น ทหารระดับปฏิบัติการจะได้รับการนิรโทษกรรมแน่นอน เพราะคงรวมอยู่ในข้อความทีว่า....ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง...ไม่รวมถึง ..ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการ
ปัญหาคือคำว่า ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการ ของร่างวรชัยนั้น จะรวมถึงเฉพาะอภิสิทธิ์-สุเทพ หรือ จะรวมนายทหารระดับบังคับบัญชาไว้ด้วย
เรืองนี้ส่วนหนึ่งกลายเป็นเรืองการเมืองไป นั่นคือในภาวะทีรัฐบาลใช้ยุทธศาสตร์เอาใจทหาร และดำเนินการทางกฎหมายโดยผ่าน DSI (ธาริต) เฉพาะกับอภิสิทธิ์-สุเทพเท่าน้ัน ในทางปฏิบัติก็เท่ากับไม่นับรวมนายทหารระดับบังคับบัญชาไว้ด้วย”
ประเด็นนายทหารระดับสั่งการจะได้รับนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ ใบตองแห้ง ประชาไท ออกมาให้ความเห็นด้วยอีกคนว่าร่างฯ ของนายวรชัยไม่สามารถตีความให้รวมถึงทหาร-ตำรวจที่เป็นผู้สั่งการในการสลายชุมนุมให้ได้รับนิรโทษกรรมด้วยได้ ใบตองแห้งชี้ให้เห็นมาตรา ๓ ของร่างฯ วรชัยที่ว่า
“การกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง” ไม่ได้ลอยอยู่โดดๆ แต่มันประกอบ และขยายการกระทำไปอีกว่า "โดยการกล่าววาจา.. โฆษณา... ให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน ต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ.....การชุมนุมประท้วง..(ซึ่งเป็นพฤติกรรมของประชาชนล้วนๆ)
ฉะนั้นอ่านทั้งมาตราแล้วแสดงว่าไม่ได้มีเจตนารมณ์นิรโทษให้เจ้าหน้าที่รัฐ ก็บอกอยู่ชัดๆ ว่าการกระทำนั้นต่อต้านรัฐ ต่อสู้ขัดขืนเจ้าหน้าที่รัฐ มันเป็นเจตนารมณ์นิรโทษให้ประชาชน”
ใบตองแห้งสรุปว่าร่างฯ ของนายวรชัยไม่น่ามีปัญหาอย่างที่ญาติผู้สูญเสียคิด ปัญหาอยู่ที่นายวรชัยเองดันไปให้สัมภาษณ์ว่าร่างฯ ของตนนั้นนิรโทษกรรมแก่ทหารระดับผู้ปฏิบัติการด้วย “และว่าเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับของตนนั้นจะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นจากความผิดหรือไม่ ให้เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการวิสามัญที่จะพิจารณาในอนาคต”
ยังมีนักกิจกรรมเสื้อแดงระดับแนวหน้าอีกสองคนที่ออกมาสนับสนุนร่างฯ ของนายวรชัยมากกว่าร่างฯ ของญาติผู้สูญเสีย
รศ.สุดสงวน สุธีสร
ดร.สุดสงวน สุธีสร หรือ อาจารย์ตุ้ม แห่งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง คู่กับ อาจารย์หวาน ดร.สุดา รังกุพันธุ์ แห่งกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล บอกว่าร่างฯ ของนายวรชัย “ดูแล้วเหมาะสมที่สุด”
อจ.ตุ้มวิจารณ์ร่างฯ ฉบับญาติผู้สูญเสียว่ากรณีละเว้นไม่นิรโทษกรรมแก่ผู้ชุมนุมที่ใช้อาวุธประทุษร้ายผู้อื่นสามารถตีความ และอาจครอบคลุมถึงบุคคลที่เรียกว่า ชายชุดดำซึ่งในกระบวนการไต่สวนคดีไม่ปรากฏว่ามีบุคคลลักษณะนี้ 
ที่สำคัญก็คือ การยอมรับชายชุดดำนี่ไปเข้าทางข้ออ้างให้ตนพ้นผิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาสั่งการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธร้ายแรงทำให้ประชาชนเสียชีวิต ๙๑ ราย 
อีกทั้งการมายื่นร่างฯ ฉบับประชาชนในขณะนี้อีกฉบับจะเป็นการถ่วงเวลาการพิจารณาร่างฯ ฉบับนายวรชัย โดยเฉพาะเมื่อมีข้อเสนอให้ปรับสองร่างฯ เข้าด้วยกัน จะยิ่งเยิ่นเย้อไปใหญ่
ทางด้านนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้รณรงค์ในเชิงสัญญลักษณ์เพื่อเสื้อแดงโดยเรียกตัวเองว่า แกนนอน หลังจากแกนนำระส่ำระสายหลังถูกสลายชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อ ๑๙ พ.ค. ๕๓ ให้ความเห็นว่า
ร่างฯ ของนายวรชัยจะสามารถช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ต้องคดีได้มากกว่า กว้างกว่า ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไร การเสนอร่างฯ ฉบับญาติผู้สูญเสียนี้ “ยอมรับว่าสับสนกับกระบวนการเสื้อแดง” และร่างฉบับใหม่ต้องใช้เวลาในการรวบรวม และตรวจสอบรายชื่อ ไม่ทันการประชุมสภาสมัยนี้ ขณะที่ร่างฯ ของนายวรชัยได้รับการบรรจุในคิววาระรออยู่แล้ว
ปฏิกิริยาที่ (อาจจะ) ทำให้คนที่อยู่ห่างๆ จะเรียกว่าวงนอก หรือชายขอบก็ได้ชักจะรู้สึกว่ามันจะกลายเป็นไก่จิกกันในเข่ง นั้นมาจากการตอบสนอง เท่าที่สามารถหยิบฉวยมาเป็นตัวอย่างได้สองราย
หนึ่งนั้นโดย Uchane Cheangsan นักกิจกรรมคร่ำหวอดมาแต่ครั้งเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันมาจนกระทั่ง คนเหมือนกันเขาอ้างถึงข้อความที่ อจ.ตุ้มเอ่ยถึงชายชุดดำในร่างฯ ฉบับผู้สูญเสียที่ว่า “เจตนาของร่างดังกล่าวจึงเป็นที่น่าสงสัย เพราะจะไปเพิ่มน้ำหนักคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารว่าคนก่อเหตุรุนแรงคือชายชุดดำ อาจเป็นคนสั่งการตัวจริงพ้นผิดได้”
เขาตบท้ายบนเนื้อความสเตตัสก่อนเที่ยงวันอังคารที่ ๒๓ ก.ค. ๕๖ ว่า “ผมขอท้าอาจารย์สุดสงวน สุธีสร ว่าถ้าผมเอาคลิปชายชุดดำให้อาจารย์ดูได้ ขอให้ อาจารย์กราบขอโทษญาติที่ไม่ใช่วีรชน และถ้าผมหาให้ไม่ได้ ผมจะไปกราบอาจารย์ผ่านรายการที่อาจารย์จัดทางเอเชียอัพเดท”
อีกปฏิกิริยามาจากกูรูคนสำคัญ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก่อนหน้าอุเชนทร์ ๑๑ ชั่วโมง คัดมาให้อ่านกันเต็มๆ
“ถ้าใครอ่านเพจผมประจำคงเห็นไม่ยากว่า ผม ยั้ง ไม่พยายามตอบโต้คนที่ออกมาวิจารณ์ในลักษณะโยนความผิดให้ญาติในลักษณะที เลยเถิดเหลือเชือ (ถึงขั้นหาว่าเขาต้องการไถเงิน หรือกระทั่งพูดเป็นนัยว่า คนตายทีญาติออกมาไมใช่เสื้อแดง หรือประเภท บังเอิญ ไปอยู่ตรงนั้นเลยตาย หรือแม้แต่ อาสาพยาบาล ก็เพราะอาสาไปงั้นเองไมใช่ต้องการช่วยเสื้อแดง ...ไปถึงหาว่าพวกญาติไม่เห็นแก่คนติดคุก ฯลฯ)

อันที่จริง ผมเห็นว่าการพูดในลักษณะนี้ offensive มากๆ แต่ที่ยั้งไม่ตอบโต้ เพราะเห็นแก่คนพูดเหล่านั้นเอง ไม่ต้องการให้พวกคุณนั่นแหละ เสีย มากไปกว่านี้่ (เพราะผมยังเชือในวิจารณาญาณคนอ่านว่า แค่เห็นก็ควรรู้ว่าการพูดแบบนี้มันเลยเถิด เสียต่อตัวคนพูดขนาดไหน)

แต่ถ้ายังไม่หยุดบิดเบือน โยนความผิดให้ญาติที่ไม่เกียว และไมใช่คนรับผิดชอบ เรื่องคนติดคุกมานาน ถึงตอนนี้ หรือความสำเร็จล้มเหลวของ พรบ.นิรโทษกรรม

ผมจะตอบโต้เต็มๆ บ้างแล้ว เพราะเห็นว่าชักจะมากไปแล้ว ตกต่ำทางคุณธรรม และสามัญสำนึกมากเกินไปหน่อยแล้ว”
น่าเสียดายที่ประเด็นผู้ต้องขังด้วยข้อหา และคำพิพากษาความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ยังไม่ได้รับการถก (หรือกระทั่งทะเลาะ) กันให้เห็นกระจ่างทางหนี หรือวิธีทะลวงทางตันแต่อย่างใด
ไม่แต่เพียงผู้ได้รับทัณฑ์ต่อการนี้จะถูกปฏิเสธการประกันตัว ตัดสินโทษรุนแรง ถูกซ้อมเป็นพิเศษในระหว่างคุมขัง (การเปิดเผยของ 'หนุ่ม เร็ดนนท์' เป็นหลักฐาน) บางคน เช่นนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แม้จะมีพระราชทานอภัยโทษแล้วก็มีข่าวว่าจะมีการขุดค้นแจ้งความเก่านำมาฟ้องคดีใหม่อีก* เหมือนจะตั้งใจให้ตายในคุกแบบเดียวกับ อากง นั่นแล้ว

แม้กระทั่ง ดร.สมศักดิ์เองได้แตะเอาไว้ที่ว่า “ประเด็น ๑๑๒ ทียากจะได้รับการรวมไว้ใน มูลเหตุจูงใจทางการเมือง (ดังปรากฏในข้อเสนอเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมของคณะนิติราษฎร์) ถ้ามีการให้กรรมการทีมาจากนักการเมืองเป็นคนตัดสิน”
หวังแต่ว่าประเด็นข้อเสนอนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองตามความผิด ม. ๑๑๒ คงจะได้รับการนำขึ้นมาอภิปรายโดย ๑๓ อรหันต์นักประชาธิปไตย ที่จะไปถกเรื่อง '๑๐๘ เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง' ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ศุกรที่ ๒๖ ก.ค. นี้
อย่างน้อยๆ พอให้เห็นแววบ้างว่าทางตันที่ยอมรับกันว่ายากกว่ายากนั้น มันอุดไว้ด้วยวัสดุชนิดใด จะได้มีช่องเพื่อไปคิดค้นวิจัยหาวิธีทะลวงทะลาย ได้เริ่มต้นนับหนึ่งเสียทีก็ยังดี

* หมายเหตุ :ประเด็นนี้ ส.ส. นครสวรรค์พรรคเพื่อไทย ดร. สุนัย จุลพงศธร กล่าวถึงไว้ในปาฐกถาที่ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ในนครซาน ฟรานซิสโก เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ศกนี้




ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน