อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนแรก กระผมเป็นเพียงผู้ส่งสารมายังพี่น้องคนไทยที่เห็นว่าประชาชนมีค่าที่สุด ในประเทศนี้ เท่านั้น
ผู้เขียนที่แท้จริง ท่านกรุณาให้ผมนำมาลงให้พี่น้องได้อ่านทบทวนกัน
เพื่อเป็นแนวทางการต่อสู้ที่แท้จริงต่อไป
ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ถึงแนวทางที่ท่านผู้เขียนได้เรียบเรียงเอาไว้
เรา ท่าน จะอ่านเพื่อศึกษา อ่านเพื่อรู้ทันคน อ่านเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ทุกอย่างเกิดประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ขอเพียงท่านได้อ่านแค่นั้นเองก็พอครับ
ไม่ว่ากันถ้าท่านอาจจะไม่เห็นด้วย
ไม่ว่ากันถ้าท่านคิดว่ามันไม่มีประโยชน์
ไม่ว่ากันถ้าท่านคิดว่าข้อเขียนชั้นนี้ โบราณคร่ำครึ ไม่ทันสมัยกับเหตุการณ์
เพราะเราอยู่ในโลกของประชาธิปไตย ที่ "ความเห็นต่างคือความงดงาม"
กระผม ต้องกราบขอบพระคุณท่านผู้เขียนไว้ณ.ที่นี้ด้วย ครับ
...........................................
ประมวล วงษ์พันธ์
ตอนที่ ๒
การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย
สงครามปฏิวัติ
ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจก่อนว่า “สงคราม” ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ หมายถึง
“สงครามปฏิวัติ” และเป็นสงครามแห่ง “การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย” หรือ
“การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน” เท่านั้น
ที่จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไข ๓ ประการคือ
(๑) หลังจากการต่อสู้แบบสันติวิธีของประชาชน ไม่สามารถทำได้อีกต่อไปแล้ว
เนื่องจากพวกเผด็จการทำการกวาดล้างทำลายขบวนการประชาชนอย่างรุนแรง
จนองค์การนำของฝ่ายประชาชนที่มีมาแต่เดิมก็ถูกทำลายลงสิ้น
(๒) เกิดองค์การนำที่ปฏิวัติขึ้นมา และ
(๓)ในทางสากล ประเทศจักรพรรดินิยมก่อสงครามเย็นครั้งใหม่สำแดงอิทธิพลโดยตรงเข้ามาแทรกแซง สนับสนุนพวกเผด็จการในประเทศไทย
ปัจจุบันเงื่อนไข ๓ ประการนี้ยังไม่มี แม้ว่าในเงื่อนไขประการที่ ๑
ฝ่ายเผด็จการจะได้ทำการปราบปรามฝ่ายประชาชนไปแล้วขั้นหนึ่งแต่ด้วยข้อจำกัด
ภายในของตัวพวกเขาเองและแรงกดดันจากภายนอก
มันจึงไม่อาจทำการปราบปรามประชาชนรุนแรงต่อไปได้
แม้ว่าพวกเขาต้องการจะทำเช่นนั้นก็ตาม ในประการที่ ๒
องค์การนำที่ปฏิวัติก็ยังไม่ปรากฏตัวขึ้น ส่วนในประการที่ ๓
เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในโลกตะวันตก
จักรพรรดินิยมไม่อยู่ในฐานะที่จะก่อสงครามใหญ่ขึ้นอีกได้
แม้ว่าจะประกาศจะย้ายจุดเน้นยุทธศาสตร์จากย่านอ่าวเปอร์เซีย
มาเป็นย่านเอเชีย-แปซิฟิกก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการปฏิบัติใด ๆ
ที่เป็นจริงออกมาอย่างชัดเจน
การประกาศเคลื่อนย้ายยุทธศาสตร์ดังกล่าวจึงเป็นแค่ข้ออ้างที่จะปลดภาระที่
ต้องแบกทั้งโลกเอาไว้บนบ่ามาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ เท่านั้นเอง
กรณีพิพาทเกาะขวังเหยียนระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน เป็นการพิสูจน์ศักยภาพและความตั้งใจแท้จริงของสหรัฐอเมริกา
การปฏิวัติ
จะไม่อธิบายให้มากมายเกี่ยวกับคำว่า “ปฏิวัติ”
ผู้สนใจต้องไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง ปรัชญาวิทยาศาสตร์
(ทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ) และทฤษฎีวิวัฒนาการสังคม ถ้าไม่มีพื้นฐานใน ๒
เรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจของผู้อ่านเรื่องวิวัฒนาการสังคม
ที่มี “พลังการผลิต” และ “ความสัมพันธ์ทางการผลิต” เป็นตัวผลักดัน
ให้สังคมก้าวหน้าไป ตามขั้นการพัฒนาสังคมยุคต่าง ๆ (สังคมชุมชนบุพกาล
สังคมทาส สังคมศักดินา สังคมทุน และสังคมชุมชน)
การเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
ที่รุนแรง ก็คือ “การปฏิวัติ” จากนั้นผู้ศึกษาจึงจะทำความเข้าใจถึง
กลไกที่มนุษย์ทำการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกันเองว่ามันเป็น
อย่างไร การกระทำขิงกลไกนี้ก็คือ
มูลเหตุเพียงประการเดียวของการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีกว่าเดิม
โดยการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิต (เปลี่ยนระบอบอำนาจรัฐ–
จากรวมศูนย์ไปสู่กระจาย, จากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย)
และปลดปล่อยพลังการผลิต
(เพิ่มความสามารถทางการผลิตและกระจายโภคทรัพย์ของสังคมที่เกิดขึ้นให้ทั่ว
ถึง) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดที่ไม่ได้มาจากมูลเหตุนี้
ล้วนแล้วแต่ไม่อาจเรียกว่าเป็นการปฏิวัติได้ทั้งนั้น
การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีลักษณะ
เป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างฉับพลัน รุนแรง แบบ
โค่นเก่าแล้วสร้างใหม่ขึ้นมาแทนทั้งหมด .....
ในที่นี้จะไม่อธิบายให้ยืดยาวไปกว่านี้
ซึ่งผู้ศึกษาจะต้องไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันเอง
และต่อไปนี้ผู้เขียนจะอนุมานว่า ผู้อ่านน่าจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว
การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย
อย่าเพิ่งตกใจกับคำว่า “การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย” เป็นคำเดียวกับที่
สนธิ ลิ้มทองกุล พธม. ประกาศออกมา เมื่อไม่นานมานี้
แต่ก็ชี้ให้เห็นชัดว่านายสนธิ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในคำนี้แต่อย่างใด
เพียงแต่ใช้คำพูดให้ดูขลังไปเท่านั้น
“การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย” มีความหมายตรงตัว ก็คือ
“การปฏิวัติประชาชาติ” หมายถึง การปลดแอกประเทศจากการครอบงำครอบครองของต่างชาติ และ “การปฏิวัติประชาธิปไตย” หมายถึง การปฏิวัติโค่นล้มระบอบเผด็จการ (ระบอบอำนาจรวมศูนย์) และสร้างระบอบประชาธิปไตย (อำนาจกระจาย) ขึ้นมา
“การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย”
เป็นการปฏิวัติของประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
ที่เกิดขึ้นในประเทศกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา
เป็นการปฏิวัติของชนชั้นนายทุน โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการอิสระทุกชนิด เช่น
ผู้ผลิตขนาดกลางขนาดเล็ก พ่อค้าแม่ค้า แรงงานรับจ้างอิสระ แท็กซี่
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ
เพื่อปลดแอกการกดขี่ขูดรีดของพวกศักดินานิยมและทุนนิยมขุนนาง
ที่ทำมาหากินขูดรีดจากชนชั้นนายทุนน้อยและนายทุนชาติ ผ่าน ค่าเช่า ดอกเบี้ย
และตลาดผูกขาด ดังนั้นในการปฏิวัตินี้ ชาวนา และกรรมกรจึงมีส่วนร่วมน้อย
เช่นเดียวกับการปฏิวัติอเมริกา การปฏิวัติฝรั่งเศส หรือ การปฏิวัติซินไห้
ของจีน เป็นต้น
ชาวนา แม้จะเป็นชนชั้นที่อยู่ตรงข้ามกับศักดินา
แต่ก็เป็นสวยหนึ่งชองระบอบศักดินานิยม
ชาวนาจึงมีวิธีคิดและค่านิยมเช่นเดียวกับพวกศักดินา
คือยึดมั่นอยู่กับปัจจัยการผลิตดั้งเดิมของพวกตน นั่นคือ “ที่ดิน”
“ที่ทำกิน” และด้วยวิธีคิดและระบบคุณค่าศักดินา
ที่ตัดสินใจผลิตตามประเพณีและฝากความสำเร็จของการผลิตไว้กับความเมตตากรุณา
จากเทพเจ้าและฟ้ากับฝนโดยไม่สนใจเรื่องต้นทุนการผลิต
ชาวนาจึงต้องล้มละลายลง จากความล้มเหลวในวิถีการผลิตแบบทุนนิยม
ที่ยึดถือวิธีคิด “ต้นทุน-กำไร” ซึ่งนายทุนจะตัดสินใจผลิตตามต้นทุน
และภาวะตลาด
ส่วนกรรมกรในระบอบทุนนิยมขุนนาง
ไม่มีอิสระและความสามารถในการรวมกำลังกันถูกจำกัดลง
กำลังของพวกเขาถูกแยกสลายอยู่ตลอดเวลา
บางส่วนก็ยังถูกพวกอำมาตย์นำมาใช้สนับสนุนฐานอำนาจของตน นอกจากนี้
กรรมกรส่วนนี้แม้ว่าจะเป็นชนชั้นร่วมกับนายทุนในระบอบทุนนิยมก็ไม่เห็น
ประโยชน์อะไรที่จะได้รับจากการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน
เว้นเสียแต่ว่าฝ่ายปฏิวัติจะสามารถมีข้อเสนอที่สอดคล้องกับความเรียกร้อง
ต้องการของพวกเขา
สำหรับประเทศไทยนั้นเข้าสู่ การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย หรือการ
ปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน มาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕
หลังจากนั้น การนำของการปฏิวัติ โลเล แยกมิตรแยกศัตรูไม่ออก
ประกอบกับซากเดนลัทธิศักดินานิยมยังคงมีอิทธิพลสูง ปรีดี ผู้นำการปฏิวัติ
ก็มีสภาพไม่ต่างอะไรกับ ทักษิณในปัจจุบัน
จนกระแสสูงของการปฏิวัตินี้ต้องตกลงไป
และพวกศักดินาได้กลับฟื้นขึ้นมามีอำนาจอีกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ จนกระทั่งปี
พ.ศ. ๒๕๑๖ การปฏิวัติก็มีกระแสสูงขึ้นอีก จนต้องถูกปราบปรามลงในอีก ๓
ปีต่อมา
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
สำหรับบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีส่วนร่วมในกระแสการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยมา
ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และปฏิบัติงานอย่างเงียบ ๆ
เรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามในอินโดจีนพคท.
จึงถูกผลักดันให้ดำเนินการต่อสู้ด้วยอาวุธ
ทั้งโดยการปราบปรามรุนแรงของรัฐบาลสฤษฏ์
และกระแสสากลต่อต้านจักรพรรดินิยมในอินโดจีน ทั้ง ๆ
ที่สภาพทางอัตวิสัยของตนเองก็ยังไม่พร้อมเต็มที่ จนแตกเสียงปืน
(รบครั้งแรก) ใน พ.ศ. ๒๕๐๘ สภาพเช่นนี้ทำให้ พคท.
ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภายนอกเป็นด้านหลักทั้งทางการเมืองและการทหาร
เมื่อสงครามในอินโดจีนสิ้นสุดลง การช่วยเหลือจากภายนอกจึงต้องยุติลง
ปัญหาความไม่พร้อมทางอัตวิสัยที่มีมาแต่เดิม
และการนำที่ถูกครอบงำโดยลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้ายที่หวังแต่การพึ่งพาจีนจึง
ส่งผลทำให้ พคท. ต้องยุติการปฏิบัติงานปฏิวัติลงไปในที่สุด
เหลือไว้แต่หลักความคิดและจิตใจที่คัดค้านต่อต้านระบอบสังคมแห่งการกดขี่ขูด
รีด ผู้มีส่วนร่วมกับ พคท.
ก็แปลงสภาพเข้าสู่ความเป็นจริงของกฎวิวัฒนาการสังคม
และธาตุแท้ทางชนชั้นของตน บ้างก็กลับไปเป็นชาวนา บ้างก็กลายไปเป็นศักดินา
หรืออำมาตย์ในยุคใหม่ บ้างก็กลับไปเป็นนายทุน
จึงไม่แปลกอะไรที่ตอนนี้จึงเกิดพวกคอมมิวนิสต์ ร.อ. ขึ้น
ซึ่งกลายเป็นเรื่องน่าตลกขบขันทางประวัติศาสตร์อับอายขายหน้าไปทั่วทั้งสากล
แต่ถึงอย่างไรเรื่องเหลวไหลเช่นนี้มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว
คนเหล่านี้ไม่เข้าใจหรือมีเจตนาจะไม่เข้าใจว่า
ระบอบที่กดขี่ขูดรีดและขัดขวางชาวไทยไม่ให้บรรลุการปลดปล่อยประชาธิปไตย
ก็ยังเป็น “ขุนเขาสามลูก” อยู่เหมือนเดิม อันได้แก่ จักรพรรดินิยม
ศักดินานิยม และทุนนิยมขุนนาง
เพียงแต่รูปแบบของมันได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย
แต่เนื้อแท้ของมันก็ยังคงเหมือนเดิม
คำกล่าวที่ว่า “ทุนสามานย์” แท้จริงแล้ว
ทุนนิยมทุกชนิดต่างก็สามานย์ทั้งสิ้นเพราะมันล้วนแล้วแต่ขูดรีดทั้งนั้น
จะต่างกันก็ตรงที่อันไหนมันขูดรีดหนักหน่วงกว่ากันเท่านั้น
ในบรรดาทุนนิยมทั้งหลาย ทุนจักรพรรดินิยม และทุนนิยมขุนนาง
หรือทุนผูกขาดนั้นขูดรีดที่สุด หากการขูดรีดเป็นความสามานย์แล้ว
ทุนนิยมขุนนางหรือทุนนิยมผูกขาดก็สามานย์ที่สุด ไม่ใช่ทุนนิยมแข่งขันเสรี
ไม่ต้องกล่าวถึง ศักดินานิยมที่กดขี่ขูดรีดทารุณยิ่งกว่า ทุนนิยมใด ๆ มาก
เมื่อรวมกันเข้าทั้งจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม และทุนนิยมขุนนาง
จึงเป็นสุดยอดของความสามานย์ เลยไม่เข้าใจว่า
จะมีคอมมิวนิสต์ที่ไหนในโลกจะไปยืนอยู่ข้างและพิทักษ์ปกป้อง
ศัตรูร้ายทางชนชั้นเหล่านี้ได้อย่างไร
โดยไม่กลัวว่ากงล้อประวัติศาสตร์จะบดทับเอาเข้าสักวันเว้นแต่มันจะเป็น
คอมมิวนิสต์ปลอม
ที่แผงตัวอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน
หรือไม่ก็เป็นผู้ทรยศต่อเจตจำนงของวีรชนปฏิวัติทั้งหลายที่ได้เสียสละไปใน
สงครามโค่นล้มระบอบเผด็จการกดขี่ขูดรีด
แม้แต่ประเทศจีน
แม้ได้ผ่านการปฏิวัติประชาชนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาแล้ว
ก็ยังไม่อาจก้าวพ้นกฎวิวัฒนาการสังคม
ต้องหันมาปฏิรูปปลดปล่อยพลังการผลิตโดยการคลีคลายปัญหาความสัมพันธ์ทางการ
ผลิต ขจัดซากเดนศักดินาและปฏิกิริยาในพรรค ได้แก่ ลัทธิการรวมศูนย์
ลัทธิบูชาบุคคล ลัทธิคัมภีร์ ลัทธิจิตนิยม ลัทธิเอียงซ้าย
ลัทธิฉวยโอกาสรูปแบบต่าง ๆและต้องแก้ปัญหาสำคัญทางทฤษฎี ที่ว่า “สังคมนิยมไม่ใช่ความยากจน แต่เป็นความมั่งคั่ง” และความคิดว่าด้วยเรื่องตลาด โดยชี้ว่า “ “แท้จริงแล้วตัว ตลาด
เองนั้นเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ
ในการแลกเปลี่ยนโภคทรัพย์ของสังคมมาตั้งแต่ยุคบรรพกาล
ตัวของมันเองไม่ใช่เครื่องมือของการขูดรีด
แต่การขูดรีดเกิดขึ้นจากการใช้เล่ห์กระเท่ของนายทุนทำการขูดรีดโดยการเข้าไป
ควบคุมดัดแปลง อุปาทาน และอุปสงค์ธรรมชาติในตลาดผ่านระบบมูลค่าแลกเปลี่ยน”โดยลัทธิมาร์กซชี้ว่าเครื่องมือของการกดขี่ขูดรีดก็คือ ระบอบกรรมสิทธิ์
ซึ่งหมายถึงการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหลักของสังคม
ระบอบกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือ สาธารณะ
ก็ล้วนแล้วแต่ขูดรีดเอาแรงงานส่วนเกินของผู้ผลิตไปทั้งสิ้น
แต่ระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะ มีความโน้มเอียงขูดรีดน้อยกว่า
ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน แม้ว่าจะสถาปนาระบอบสังคมนิยมขึ้นมาแล้ว
ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ยังดำรงอยู่ทั้ง ๒ ด้าน คือ
ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนและสาธารณะ
แต่ในระบอบสังคมนิยมมีระบอบกรรมสาธารณะเป็นด้านหลัก
ทั้งนี้เนื่องมาจากความจำเป็นในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาสนอง
ต่อพลังการผลิตที่ยังไม่ก้าวหน้าพอ
จนกระทั่งพลังการผลิตชองมนุษยชาติพัฒนาไปถึงจุด “ทุกคนได้รับตามต้องการ”
แล้ว เมื่อนั้นความจำเป็นของระบอบกรรมสิทธิ์ก็จะหมดไป
การขูดรีดก็จะหมดไปด้วย
นั่นหมายถึงการสิ้นสุดลงของรัฐและสังคมมนุษย์ก็จะก้าวสาสังคมคอมมิวนิสม์ข้อ
สรุปนี้เป็นการแก้ปัญหาสำคัญทางทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินโดยรากฐาน
เปิดทางให้กับ “เศรษฐกิจแบบตลาด” ขึ้น ประเทศจีนจึงสามารถดำเนินการปฏิรูป
แก้ปมเงื่อนในระบอบความสัมพันธ์ทางการผลิต
และปลดปล่อยพลังการผลิตทุนนิยมออกมาได้
เกิดการก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจของจีนอย่างที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อนในโลก
ดังนั้นไม่ใช่แต่ระบอบทุนนิยมนั้นขูดรีด
ในระบอบสังคมนิยมอันเป็นบั้นปลายของระบอบทุนนิยม การขูดรีดก็ยังมีอยู่
ใครที่เห็นว่า ทุนนิยม นั้นขูดรีด ก็ต้องรู้ว่า ทุนนิยมมันขูดรีดอย่างไร
สรรพสิ่งล้วนมี ๒ ด้านตามกฎวิภาษวิธี
ทุนนิยมใช่ว่าจะขูดรีดโดยความสัมพันธ์ทางการผลิตเพียงด้านเดียว
ในอีกด้านหนึ่ง ทุนนิยม ก็ได้ปลดปล่อยพลังการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรม
ที่ก้าวหน้า สามารถแบ่งสรรกระจายโภคทรัพย์ของสังคมได้ดีกว่า มากกว่า
และกวางขวางกว่าพลังการผลิตเกษตรกรรมของศักดินานิยม
ระบอบสังคมนิยมไม่ใช่ความแปลกแยกออกไปต่างหาก
แต่เป็นพัฒนาการด้านหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
ในอีกทางหนึ่งทุนนิยมที่เน้นระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนเป็นด้านหลัก
ก็จะพัฒนาไปเป็น จักรพรรดินิยม ดังนั้น สังคมนิยม และ จักรพรรดินิยม
จึ่งเป็นทางแยก ๒
ทางของพัฒนาการสุดท้ายของระบอบทุนนิยมซึ่งมีปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่ ลักษณะทั้ง
๒ ด้านของระบอบกรรมสิทธิ์หลักของสังคมนั้น ๆ
มีคนที่อ้างว่าตนเองเป็น นักลัทธิมาร์กซจำนวนหนึ่ง ไม่ใช้วิภาษวิธี
แต่กลับไปใช้อภิปรัชญา มอง ทุนนิยม เห็นแต่ด้านร้ายด้านเดียว
ไม่เห็นด้านที่เป็นคุณ
นักลัทธิมาร์กซพวกนี้ความจริงแล้วจึงกลายเป็นนักลัทธิอนาธิปไตยไป
อันด้วยมาจาก ทรรศนะอภิปรัชญา จิตนิยมของพวกเขานั่นเองพวกเขาแยก สังคมนิยม
ออกมาจาก ทุนนิยม และปฏิเสธระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน ความจริงแล้ว
ภายในระบอบกรรมสิทธิ์ ประกอบด้วย ๒ ด้านที่ตรงกันข้ามกัน คือ เอกชน
และสาธารณะ กล่าวคือ กรรมสิทธิ์ของปัจเจกชน กับ กรรมสิทธิ์ของรัฐ
ตามปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษระบอบกรรมสิทธ์นี้จะดำรงอยู่โดด ๆ ไม่ได้
โดยมีปัจจัยภายในอันเดียว ต้องมีองค์ประกอบภายในเป็น ๒
ด้านที่ตรงกันข้ามกันเสมอ
แต่ว่ามันจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าอะไรเป็นด้านหลักของความขัดแย้งใน
เวลานั้น โดยจะไม่มีอีกด้านดำรงอยู่ด้วยไม่ได้
อย่างไรก็ตามความเข้าใจผิดเช่นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในเมืองไทย
แต่เกิดขึ้นทั่วโลก
ทรรศนะผิดพลาดเช่นนี้นำไปสู่ความล้มเหลวของระบอบสังคมนิยมดั้งเดิม รวมไปถึง
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยเชื่อไปว่า ไม่มีระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนแล้ว
ก็จะกลายเป็นสังคมนิยม แต่ความจริงกลับกลายเป็นว่า
ระบอบกรรมสิทธิ์ด้านเดียวกลายเป็นอุปสรรคของการกระจายโภคทรัพย์แห่งสังคมให้
ทั่วถึง และไม่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาพลังการผลิตที่ล้ำเลิศของสังคมนิยม
รัฐทำการขูดรีดแรงงานส่วนเกินของประชาชนไป
สนองความต้องการของชนชันปกครองเป็นพิเศษ สร้างกองทัพ และก่อสงคราม
ไม่สิ้นสุด
สรุปว่า ณ ระยะประวัติศาสตร์ตอนนี้
ประเทศไทยก็กำลังอยู่ในกระบวนการและกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน
ตราบจนกระทั่งซากเดนลัทธิศักดินานิยมจะต้องถูกขจัดออกไป
การปฏิวัติจึงจะบรรลุเป้าหมาย
ที่กล่าวมาการปฏิวัติที่เกิดขึ้นบนโลกมิได้เกิดขึ้นจากเจตจำนงเฉพาะของคน
กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วเป็นเจตจำนงร่วมของสังคมแต่ละสังคม
และเจตจำนงเฉพาะของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นไปสอดคล้องกับเจตจำนงใหญ่ของ
สังคมนั่นเอง ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างจิตนิยมอีกอย่างหนึ่งว่า
“การปฏิวัติเป็นเจตจำนงของสวรรค์” โดยแท้จริง การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยไทย ก็เป็นอย่างนี้
อำมาตยาธิปไตย
คำว่าระบอบ “อำมาตยาธิปไตย” (ผู้เขียนเชื่อว่า ผู้นำเสนอคำนี้คนแรก คือ คุณบั๊กบันนี่ ในเว็บฟ้าใหม่
ซึ่งปัจจุบันถูกปิดไปแล้ว) เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน
๒๕๔๙ เป็นคำที่สรุปหมายถึง ซากเดนลัทธิศักดินานิยม ร่วมไปกับทุนนิยมขุนนาง
(กลุ่มทุนศักดินาที่แปลงมาเป็นทุนผูกขาด) คำว่า “กึ่งศักดินา”
จึงมีความหมาย ในทางรูปธรรมที่ “ศักดินานิยม” พัฒนาไปเป็น “ทุนนิยมขุนนาง”
คำว่า “ซากเดนศักดินานิยม” หมายถึงสภาพทางนามธรรม ของระบอบศักดินา
ได้แก่ระบบคุณค่า ระบบวิธีคิดความเชื่อ วิถีการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรม และ
วัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายฯลฯ กล่าวง่าย ๆ ก็คือ การยึดติดกับ “ที่ดิน”
การทำไรทำนา การพออยู่พอกิน ความเชื่อเรื่องบุญกรรม การเวียนว่ายตายเกิด
ภพนี้ชาติหน้า เชื่อไสยศาสตร์ปฏิเสธวิทยาศาสตร์เชิดชู“คุณธรรม”มากกว่า
“ความสามารถ” นับถือลำดับชั้นทางสังคม ติดระบบอุปถัมภ์ ชื่นชม
“ศักดินานิยม”รังเกียจเกลียดชัง “ทุนนิยม” เนื่องจาก ระบอบทุนนิยม
เป็นศัตรูตามธรรมชาติที่โค่นทำลายศักดินานิยมพวกศักดินาอำมาตย์จึงสามารถ
ประสานเสียงร่วมพวกฝ่ายซ้ายเดิมบางส่วนที่เป็นพวก “ศักดินาแดง”
ซึ่งพวกเขายึดติดจุดยืนและวิธีคิดชาวนาไม่ยอมรับความผิดพลาดเอียงซ้ายของพวก
เขาที่นำไปสู่การสลายลงของ
พคท.แล้วยังหลงไปสามัคคีกับศักดินาศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของตนอย่างไม่
รู้สึกตะขิดตะขวงใจ อันนี้ชี้ชัดถึงธาตุแท้ทางชนชั้นของพวกเขาถ้าไม่เป็น
“ชาวนา” ก็ย่อมต้องเป็น “ศักดินา”
ชาวนา กับ ศักดินา เป็นชนชั้นตรงกันข้ามกันในระบอบศักดินา ทั้ง ๒ ชนชั้น
ร่วมกันในการผลิตแต่ขัดกันในการแบ่งผลผลิต
เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ทั้งคู่จึงมีทรรศนะและระบบคุณค่าแบบเดียวกัน
ทั้งคู่จึงต่างเกลียดชัง “นายทุน” และรังเกียจ “กรรมกร”
ซึ่งเป็นชนชั้นตรงข้ามกันในระบอบทุนนิยม ทั้ง ๒ ชนชั้น
ร่วมกันในการผลิตแต่ขัดกันในการแบ่งผลผลิต
ทั้งคู่จึงมีทรรศนะและระบบคุณค่าเดียวกัน นายทุนมุ่งหากำไร ส่วนกรรมกร
มุ่งหาประสิทธิภาพ (เพื่อให้ตนเองเหนื่อยน้อยลง และนายทุนก็มีกำไรเพิ่ม)
ในระบอบศักดินาที่มีพลังการผลิตแบบเกษตรกรรม ชนชั้นนายทุน
เป็นชนชั้นที่อยู่ นอกความสัมพันธ์ทางการผลิตหลัก ส่วนกรรมกร ก็คือ
ชาวนาที่ล้มละลาย สิ้นสภาพเป็นเลกไพร่ สิ้นไร้ไม้ตอกไม่มีพระยาเลี้ยง
ต้องไปหันรับใช้นายทุน
การมุ่งหากำไรและประสิทธิภาพนี้จึงเป็นตัวขับดันให้มีการพัฒนาพลังการผลิต
ทุนนิยม ซึ่งก็คือ การผลิตแบบอุตสาหกรรมนั่นเอง
สำหรับผู้เขียนและผู้อ่านจำนวนมาก ก็มีธาตุแท้ทางชนชั้นดั้งเดิมของตนเอง
ร่วมกับ ยอร์จวอชิงตัน,โธมัสเจฟเฟอร์สัน,
เบนจามินแฟรงคลิน,แม๊กซิมิเลียนโรบสเปียร์,คาร์ล มาร์กซ, เฟรดริก
เองเกลส์,วี.ไอ. เลนิน, เหมาเจ๋อตง,โจวเอินไหล,ฟิเดลคาสโตร, ปรีดี พนมยง,
ทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่กำเนิดในชนชั้นนายทุนทั้งสิ้น
ดังนั้นโดยพื้นฐานจึงเป็นศัตรูกับชนชั้นศักดินา
แรงขับทางการเมืองพื้นฐานจึงเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นของเราเอง
ส่วนในภายหลังทรรศนะทางชนชั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพกรรมสิทธิ์
(ผลประโยชน์) ที่แต่ละคนมีอยู่จริง ณ ขณะนั้น ๆ
บางคนก็อาจจะกลายไปเป็นศักดินา บางคนก็อาจจะดำรงการเป็นนายทุน
หรือบางคนก็อาจกลายเป็นกรรมาชีพ มีคนเป็นจำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่า กรรมกร
กับ กรรมาชีพ เป็นชนชั้นเดียวกัน แต่ที่จริงนั้นไม่ใช่ ชนชั้นกรรมาชีพ
เป็นชนชั้นที่ ๓ ในระบอบทุนนิยม เช่นเดียวกับที่ ชนชั้นศักดินา
ก็เป็นชนชั้นที่ ๓ ในระบอบทาส คาร์ล มาร์กซ จึงใช้ คำว่า
Proletariat ไม่ใช่ labourerแต่ทั้งสองก็เป็นคนงานเหมือนกัน จึงใช้คำรวม ๆ
ว่า worker (proletariat เป็นคนงานที่ใช้ สติปัญญาและเทคโนโลยี
เป็นเครื่องในการผลิตเป็นหลัก ส่วน
labourerเป็นคนงานที่ใช้แรงกายของตนเป็นเครื่องมือในการผลิตเป็นหลัก
proletariat โดยตรงตัวแปลว่า ชนชั้นผู้ไร้สมบัติ แต่ มาร์กซ
ได้ให้นิยามเพิ่มว่าเป็นผู้ไร้สมบัติที่อยู่ในวิถีผลิตที่ก้าวหน้าที่สุดของ
สังคม (ทุนนิยม) ซึ่งนั่นก็คือ เทคโนโลยี นั่นเอง
เมื่อทำการผลิตด้วยเทคโนโลยีจึงต้องใช้สติปัญญาเป็นหลักแรงกายเป็นรอง
การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย
เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านยุคทางสังคม จากยุคศักดินาไปสู่ยุคทุนนิยม หรือ
การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม อย่างเต็มตัว
แต่การปฏิวัตินี้มีลักษณ์พิเศษ ตรงที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีลักษณะเรียกว่า
สังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ดังนั้นการปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ.๑๗๖๓
–๑๗๗๔) จึงเป็น “การปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย”
ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก การปฏิวัตินี้นำโดยชนชั้นนายทุน
เรียกอีกอย่างว่า “เสรีสามัญชน”
ปลดแอกอำนาจปกครองเมืองขึ้นที่รวมศูนย์ของอังกฤษ
แล้วสร้างระบอบอำนาจรัฐแบบกระจาย ที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย”
ของชนชั้นนายทุน ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก การปฏิวัติอเมริกัน
สร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของ
ฝรั่งเศสขึ้นมาในปี ค.ศ.๑๗๘๙
แต่คนไทยเราจะได้รับรู้เฉพาะเรื่องของการรบในสงครามปฏิวัติอเมริกาบางส่วน
บางสนามรบ และความโหดร้ายสยดสยองของการปฏิวัติฝรั่งเศส
เท่านั้นโดยจะรู้เกี่ยวกับปรัชญาแนวคิดจิตวิญญาณ
และบทเรียนของการปฏิวัตินี้น้อยมาก
มองไม่เห็นกระบวนการปฏิวัติทั้งกระบวนเนื่องจากถูกปิดกั้นบิดเบือนจากชนชั้น
ปกครองศักดินาไทยมาโดยตลอด
ในที่นี้จะยังไม่กล่าวถึง “การปฏิวัติสังคมนิยม” ที่มีชนชั้นกรรมาชีพเป็นหัวหอก เนื่องจาก ชน
ชั้นกรรมาชีพเป็นผลผลิตของสังคมทุนนิยม
ถ้าไม่มีสังคมทุนนิยมที่ก้าวหน้าแล้วก็ไม่มีวันที่จะมีชนชั้นกรรมมาชีพเกิด
ขึ้นไปขับเคลื่อนการปฏิวัติสังคมนิยม และปลดปล่อยสู่สังคมคอมมิวนิสม์ได้ และต้องเข้าใจก่อนว่าสังคมนิยมเป็นพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบอบทุนนิยม ที่มีเป้าหมายในการแบ่งปันโภคทรัพย์แห่งสังคมว่า“ทุกคนได้รับตามความสามารถ”
แต่ที่ยังไม่ไปสู่สังคมคอมมิวนิสม์ เนื่องจาก
ระบอบกรรมสิทธิ์ยังดำรงอยู่ในโลก
ตราบเท่าที่พลังการผลิตของมนุษย์ยังไม่สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ใน
ระดับ“ทุกคนได้รับตามต้องการ”กระทั่งพลังการผลิตบรรลุสมรรถนะขั้นสูง
สุดนี้แล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็จะหมดความจำเป็นและสิ้นสลายไป
ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์โลกก็สิ้นสุดลง
และจะพัฒนาเป็นความขัดแย้งรูปแบบใหม่ ย้ายด้านหลักของความขัดแข้งระหว่าง
“มนุษย์กับมนุษย์” ไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง
“มนุษย์กับธรรมชาติ”ผู้อ่านต้องลองไปค้นคว้าเรื่องวิวัฒนาการสังคม
และทำความเข้าใจว่าด้วย “ทุน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น