วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุปภารกิจ ‘ยิ่งลักษณ์’ เยือนญี่ปุ่น

สรุปภารกิจ ‘ยิ่งลักษณ์’ เยือนญี่ปุ่น
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะ เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22-25 พฤษภาคม 2556 ซึ่งมีภารกิจที่น่าสนใจดังนี้ (ตัวเน้นโดย SIU)

หารือนายกญี่ปุ่น ชวนลงทุนในพม่า

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฝ่ายไทยสนับสนุนญี่ปุ่นให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่และท่าเรือทวาย โดยร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตลอดจนนิคมอุตสาหกรรม อันจะเป็นการช่วยขยายตลาดการค้าและฐานการลงทุนในภูมิภาคของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากโครงการจะมีการเชื่อมต่อภูมิภาคจากมหาสมุทรแปซิฟิกสู่มหาสมุทรอินเดีย
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการทวาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่าเมื่อวานนี้ ( 22 พฤษภาคม 2556 ) ได้มีการนำเสนอรายละเอียดโครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการลงทุนพัฒนาเครือข่ายคมนาคม 2 ล้านล้านบาทของไทย รวมทั้ง โครงการพัฒนาท่าเรือและเขตเศรษฐกิจทวาย แก่นักลงทุนญี่ปุ่น และได้มอบข้อมูลเบ้องต้นแก่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพื่อเป็นใช้ในการตัดสินใจในการสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจการลงทุนในดาวเทียมและรถไฟความเร็วสูงในไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเรื่องดาวเทียมว่ารัฐบาลกำลังศึกษารายละเอียด ส่วนรถไฟความเร็วสูง ไทยต้องการเห็นญี่ปุ่นเข้ามาเสนอการลงทุน โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่ไทยให้ความสำคัญอย่างมาก
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย

Future of Asia สุนทรพจน์เชื่อมโยงเอเชีย

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ซึ่งจัดโดยบริษัท Nikkei ของญี่ปุ่น เนื้อหากล่าวถึง “การเชื่อมโยงเอเชีย” รายละเอียดอ่านได้จากบทความ ยิ่งลักษณ์ พูดถึงอนาคตเอเชียกับ “เส้นทางสายใหมใหม่” เชื่อม “ยูเรเชีย”

ร่วมงานเลี้ยงนักธุรกิจญี่ปุ่น สานสัมพันธ์ธุรกิจในไทย

นายกรัฐมนตรียังได้พบกับนักธุรกิจญี่ปุ่น ผู้บริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่ ดังนี้ (ตัวเน้นโดย SIU)
  • Mr. Tsuneo Kita ประธานบริษัท Nikkei
  • Mr. Osama  Masuko ประธานบริษัท Mitsubishi Motors Corporation
  • Mr. Masaaki  Tsuya CEO และกรรมการบริหาร Bridgestone Corp.
  • Mr. Takanobu Ito ประธานและ CEO บริษัท Honda Motor
  • Mr. Teisuke  Kitayama ประธานกรรมการบริหาร Sumitomo Mitsui Banking Corporation
  • Mr. Fujio  Mitarai, ประธานและ CEO บริษัท Canon Inc.
  • Mr. Akio Toyoda ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Toyota Motor Corp.
  • Mr. Masatoshi  ประธาน และ CEO บริษัท Ajinomoto
  • Mr. Koji  Nagai Group Ceo บริษัท Nomura Holdings Inc.
  • Mr. Takeuchi  Seishi นายกสมาคม Long Stay Foundation
  • Mr. Ohta  Hiroshi นายกสมาคม Thailand-Japan Longstay Promotion Association
  • นายฮิโรชิ ทากาดะ ประธานองค์การเพื่อการส่งเสริม SMEs และนวัตกรรมภาคประเทศญี่ปุ่น (SMRJ)
  • นายโนบุฮิโร เอ็นโดะ ประธานเอ็น อี ซี คอร์ปอเรชั่น
  • นายมาซามิ ลิจิมา ประธานบริษัทมิทซุย
  • นายมาซาฮิโร โอกาฟูจิ ประธานบริษัทอิโตชู
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย (1) (2)

เสนอ 3 เมกะโปรเจคต์ อ้อนนักลงทุนญี่ปุ่น

รัฐบาลไทยได้จัดงานโรดโชว์ต่อนักลงทุนจากญี่ปุ่น โดยเสนอประเด็น 3 โครงการใหญ่ ดังนี้
โครงการแรก คือ โครงการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในวงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจรที่จะช่วยปกป้องเขตเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมแล้ว ยังจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสาหรับภาคการเกษตรซึ่งเป็น สาขาการผลิตที่มีความสาคัญที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย โครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้า (Water Security) สำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค และเป็นการป้องกันอุทกภัยขนาดใหญ่ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โครงการที่สอง คือแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายพื้นฐานด้านการขนส่งของ ไทยเข้ากับฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็นเกษตรหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น ศูนย์กลางในภูมิภาค (Regional Hub) ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยมีโครงการลงทุนที่สาคัญ อาทิเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟใต้ดิน การปรับปรุงถนนสายหลัก ด่านศุลกากรและเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน สนามบิน ตลอดจนโครงข่ายพื้นฐานอื่นๆ
โครงการที่สาม คือ โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสองประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง เส็ง และนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงที่จะพัฒนา โดยเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่สาคัญ ก่อให้เกิดการค้า การลงทุนและการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค เนื่องจากทวายเป็นหนึ่งในสามเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สาคัญที่สุดของเมียนมาร์ใน ปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กว่า 200 ตารางกิโลเมตร ที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบแล้ว ท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นประตูการค้าขนาดใหญ่ออกสู่มหาสมุทรอินเดียเชื่อมต่อ ไปยังตลาดฝั่งตะวันตกของโลก ได้แก่ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจาก Nikkei Asian Review
ภาพจาก Nikkei Asian Review

Nikkei วิจารณ์ ไทยคู่ค้าสำคัญญี่ปุ่น-ระวังปัญหาเงินบาท

นิตยสาร Nikkei Asian Review เจ้าของเดียวกับ Nikkei Inc. ที่จัดงาน Future of Asia ตีพิมพ์บทความในนิตยสารฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม หน้าปก “คู่รักสวรรค์สร้าง” (A match made in heaven: Thailand, Japan tie up to tackle Asia) วิจารณ์การเดินทางของนายกรัฐมนตรีไทยว่า ไทยกำลังพยายามดันตัวเองให้หลุดพ้นจาก “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง” ผ่านการลงทุนในเมกะโปรเจคต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการท่าเรือทวาย
Nikkei ประเมินว่าสองโครงการนี้จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงของอาเซียน ภาคพื้นดิน โดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะเชื่อมโยงในแนวตั้งไปยังจีนและสิงคโปร์ ส่วนท่าเรือทวายจะเปิดประตูสู่อินเดีย โดยมีถนนซูเปอร์ไฮเวย์ตัดผ่าแนวนอนระหว่างทวายไปยังโฮจิมิห์นซิตี้
อย่างไรก็ตาม เมกะโปรเจคต์ของรัฐบาลไทยมีปัญหาเรื่องงบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งกรณีของทวาย รัฐบาลใช้วิธีดึงรัฐวิสาหกิจรายใหญ่เข้ามาร่วมถือหุ้น และเชื้อเชิญ “นักลงทุนญี่ปุ่น” โดยเฉพาะกลุ่มที่มีธุรกิจในไทยอยู่แล้วกว่า 4,000 บริษัท คิดเป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ถึง 40% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ไทยได้รับ มาร่วมกันลงทุนด้วย เพราะบริษัทญี่ปุ่นเองก็ได้ประโยชน์จากการขยายฐานไปพม่า-การปรับโครงสร้าง ลอจิสติกส์
Nikkei มองว่าในแง่เศรษฐกิจ ไทยมีความสัมพันธ์อย่างดีมากกับญี่ปุ่น ส่วนในแง่การทูตระดับภูมิภาค ไทยสนิทสนมกับทั้งสหรัฐและญี่ปุ่น และไม่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องพรมแดนกับจีน (อย่างที่เวียดนามหรือฟิลิปปินส์กำลังเผชิญอยู่) ทำให้ไทยอยู่ในสถานะที่ดีเยี่ยมสำหรับการสร้างดุลยภาพด้านการทูตภายใน ภูมิภาค แต่ไทยเองก็ยังต้องเผชิญความท้าทายเรื่องเงินบาทที่อาจแข็งค่าจนกระทบอัตรา การเติบโตของ GDP

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น