คอลัมน์ การเมือง มติชน 4 พ.ค. 2556
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367639298&grpid=&catid=01&subcatid=0100 ยิ่งเข้าทาง ยิ่งอดีต ส.ส.ร.ซึ่งมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ออกมายื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทย ยิ่งเข้าทาง ไม่เพียงแต่เข้าทางอัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตีปลาหน้าไซเอาไว้ในปาฐกถาพิเศษ ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย หากยังเข้าทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 นั่นคือ กระดุมเม็ดแรก กระดุมเม็ดแรกอันมีสภาพร้ายแรงไม่ผิดไปจากสภาวะแห่ง "รถไฟตกราง" และยังคาราคาซังมากระทั่งทุกวันนี้ 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐ อํานาจรัฐ 1 มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำรงอยู่ในสถานะฝ่ายนิติบัญญัติ ดำรงอยู่ในสถานะฝ่ายบริหาร บางส่วนไปเป็นประธานรัฐสภา บางส่วนไปเป็นนายกรัฐมนตรี ร่วมกับพรรคการเมืองอันเป็นพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลและเข้าบริหารในฐานะรัฐมนตรี บริหารได้ แต่ไม่ราบรื่น ตัวอย่าง เห็นได้จากภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 ที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 1 ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ นายสมัคร สุนทรเวช เป็น นายกรัฐมนตรี ถาม ว่าบริหารได้ไหม คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะ 1 เผชิญกับกระแสการชุมนุมต่อต้านจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืดเยื้อจากเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2551 การต่อต้านรุนแรงถึงกับยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน ขณะเดียวกัน 1 เผชิญกับกระแสบีบรัดของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ปลด นายสมัคร สุนทรเวช ยุบพรรคพลังประชาชน นี่คืออีกอำนาจรัฐ 1 อันซ้อนทับกับอำนาจรัฐแรก อํานา จรัฐที่ซ้อนอยู่นี้ ส่วน 1 เป็นอำนาจอย่างที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ อาศัยองค์กรอิสระ อาศัยการขับเคลื่อนโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ อำนาจส่วนนี้ไม่เพียงแต่เข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้ง "ส.ว." หากแต่ยังรักษาฐานอำนาจเดิมอันได้มาจากการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เอาไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น "องค์กรอิสระ" ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. "สรรหา" ลองไปสืบประวัติของ ส.ว.สรรหาที่ออกมาเต้นแร้งเต้นกาเนื่องแต่ปาฐกถาพิเศษก็จะประจักษ์ในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น นายสมชาย แสวงการ ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม การ ดำรงอยู่ของอำนาจรัฐส่วนนี้ผ่านกระบวนการรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการองค์กรอิสระ คือ การเตะสกัดขามิให้อำนาจรัฐอันมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเดินหน้าไปได้โดย ราบรื่น เว้นแต่เมื่อใดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล หากเมื่อใดไม่อาจเตะสกัดขาโดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ก็ถึงเวลาที่จะอาศัยอีกกลไกอำนาจรัฐหนึ่งซึ่งเคยใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นี่คือสภาพ 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐ ถามว่าการดำรงอยู่ของสภาพ 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐเช่นนี้เป็นผลดีกับประเทศกับประชาชนหรือไม่ ตอบ ได้เลยว่าไม่เป็นผลดี ตัวอย่างของความปั่นป่วน วุ่นวายอันดำรงอยู่ตลอดเกือบ 7 ปี ภายหลังการรัฐประหารนับว่าเด่นชัด เห็นเป็นรูปธรรมในทุกประเด็นทุกปัญหา ประเทศหยุดนิ่ง ประชาชนเสียโอกาส |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น