วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

ฐานะ รัฐบาล กระบวน ′ตรวจสอบ′ ฐานะ ฝ่ายค้าน

www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365216831&grpid=01&catid=&subcatid=

 

คอลัมน์ มติชน การเมือง 6 เมษายน 2556










ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์เคลื่อนไหวเสนอวาทกรรม "แพงทั้งแผ่นดิน" ทั้งๆ ที่ขุนนางนักวิชาการในทีดีอาร์ไอโหมประโคมความล้มเหลวในเรื่องจำนำข้าว

ทั้งที่การตีปี๊บเรื่อง "หนี้สาธารณะ" เพื่อต้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

ประสานเข้ากับการชี้ให้เห็นความล้มเหลว เละเทะ ของการหว่านนโยบาย "ประชานิยม" ตั้งแต่ 30 บาทรักษาทุกโรคกระทั่งรถยนต์คันแรก

ดังอย่างอึกทึกครึกโครม ดังอย่างต่อเนื่องกว่า 1 ปีมาแล้ว

กระนั้น ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอันศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กระทำอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ

ก็ "สวน" อย่างสิ้นเชิงกับ "ความรู้สึก" ข้างต้น
ปรากฏว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2556 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 84.8 จากระดับ 84 ในเดือนกุมภาพันธ์

เป็นการปรับตัวสูงที่สุดในรอบ 7 ปี หรือ 85 เดือน

เหตุผล สำคัญคือ การบริโภคภาคประชาชนขยายตัวดีขึ้นเป็นลำดับ จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจ ไทย

รวมถึงนโยบายค่าแรง 300 บาท นโยบายการจำนำข้าว

ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กระทำตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2548

ก่อนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

ระดับ 84.8 ที่ปรากฏในเดือนมีนาคม 2556 ระบุว่าเป็นการปรับตัวสูงที่สุดในรอบ 7 ปี หรือ 85 เดือนที่ผ่านมา

สูงกว่ายุคปลายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

สูงกว่ายุคของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อันมาพร้อมกับปากกระบอกปืนของการรัฐประหาร โดย คมช.

สูงกว่ายุคของรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และยุคของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แน่ นอน สูงกว่ารัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันมาจากชัยชนะของกระบวนการตุลาการภิวัฒน์อันยืนยันความต่อเนื่องของรัฐ ประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 อีกคำรบ 1

รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แทบไม่ต้องกล่าวถึง

เพราะ เป็นรัฐบาลที่ทั้งไม่ได้ "บริหาร" ทั้งไม่ได้ "ปกครอง" เพราะการต่อต้านโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประสานเข้ากับพรรคประชา ธิปัตย์ และขบวนการตุลาการภิวัฒน์อันทำให้พังครืนในเดือนธันวาคม 2551

แล้วเหตุใดรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงได้รับความเชื่อมั่น

หากประเมินจากน้ำเสียง อันปรากฏจากพรรคประชาธิปัตย์ดัชนีความเชื่อมั่นอันปรากฏผ่านการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

น่าจะเป็นเรื่อง "ตลกร้าย"
ยิ่งสายตาที่มองด้วยความหมิ่นแคลนจากบุคคลระดับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จากบุคคลระดับ นายสมชัย จิตสุชน

ต้องฟันธงว่า "เป็นไปไม่ได้"

กระนั้น หากติดตามดูสถาบันจัดอันดับของโลก ไม่ว่าฟิตซ์เรตติ้ง ไม่ว่าจากประเทศญี่ปุ่น กลับมิได้เป็นอย่างที่หลายคนในพรรคประชาธิปัตย์มอง

ความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ในระดับ A
การ ออกโรงต้านร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ ไม่ว่าโดยขุนนางนักวิชาการ ไม่ว่าโดยกากเดนเก่าของขบวนการรัฐประหารทั้งในทางเศรษฐศาสตร์และในทาง นิติศาสตร์

กลับกำลังเป็นหินลองทองคมแหลม

เป็นหินลองทองคม แหลมเหมือนกับกรณีร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับผ่านความเห็นชอบวาระ 1 และกำลังถูกสกัด โดยพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 40 ส.ว.

ฝ่าย 1 ต้องการการพัฒนา ฝ่าย 1 ไม่ต้องการให้มีการพัฒนา

ทาง 1 มีความพยายามที่จะตรวจสอบรัฐบาล ทาง 1 การตรวจสอบนั้นก็เท่ากับตรวจสอบตนเอง
เพราะสิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงออกคือความต้องการการทำงาน เพราะสิ่งที่ขบวนการตรวจสอบแสดงออกคือ ความไม่ต้องการให้มีการทำงาน

ทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในสายตาของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น