วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

เหนือรัฐธรรมนูญ


บทบรรณาธิการhttp://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5URXpNVEE0Tnc9PQ==&sectionid=
วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 10:03 น.  ข่าวสดออนไลน์ 





กระบวนการผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญในรัฐสภา แม้จะเดินหน้าไปได้แต่ก็เป็นไปอย่างทุลักทุเล

ส่วน หนึ่งเพราะยังมีความขัดแย้งทางความคิดของตัวแทนประชาชนสองฝ่ายที่มีความ เชื่อแตกต่างกันชนิดสุดปลาย อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นปกติของระบอบประชาธิปไตย

แต่ส่วนที่ไม่ปกติของเรื่องดังกล่าวก็คือ ควบ คู่กันไปกับการถกแถลงชี้แจงเหตุผลผ่านกระบวน การรัฐสภา

ก็ยังมีส.ส.และส.ว.อีกกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะใช้วิธี?เตะสกัด?ด้วยกระบวนการทางกฎหมาย

โดยการยื่นเรื่องให้ตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญพิจารณาระงับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ดำเนินอยู่




ทํา ให้ประเด็นที่คนจำนวนหนึ่งตั้งข้อสังเกต เอาไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งศาลรัฐธรรมนูญแสดงบทบาท?ยับยั้ง?การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาครั้งหนึ่งแล้ว กลับมาเป็นหัวข้อที่ควรแก่การพิจารณารอบใหม่

พิจารณาว่าองค์กรอิสระที่แม้จะมีที่มาตามรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการจัดตั้งและสรรหา มิได้ยึดโยงกับการมีสิทธิ์ออกเสียงของประชาชน

ควรจะมีอำนาจเหนือรัฐสภา อันเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน และมีหน้าที่โดยตรงในงานด้านนิติบัญญัติหรือไม่

แม้องค์กรดังกล่าวจะอ้างได้ว่ามีอำนาจ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ก็ยังมีคำถามตาม มาว่า

ถ้ากฎหมายนั้นไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม จะสามารถแก้ไขปรับปรุงได้หรือไม่



แนว คิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของคนจำนวนไม่น้อยตั้งอยู่บนหลักคิดพื้นฐานดัง กล่าวนั้นเอง แม้กระทั่งผู้ที่มิได้ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยหรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน

และยิ่งองค์กรอิสระบางแห่งแสดงบทบาท ที่ทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยในมาตรฐานทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม

คำ ถามหรือข้อเรียกร้องว่าควรจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกหรือจำกัด ขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ ไปจนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการสรรหาใหม่เพื่อให้ยึดโยงกับประชาชนมาก ยิ่งขึ้น ก็ดังขึ้นเป็นเงาตามตัว

เพื่อมิให้องค์กรเหล่านี้มีสถานะที่สูงส่งเสียยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น