ยิ่งลักษณ์ พูดถึงอนาคตเอเชียกับ “เส้นทางสายใหมใหม่” เชื่อม “ยูเรเชีย”
วันนี้่ (24 พฤษภาคม 2556) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of
Asia) ณ กรุงโตเกียว ดังนี้
ดิฉันขอขอบคุณบริษัทนิคเคอิ ที่ได้เชิญให้ดิฉันเข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับทิศทางของเอเชียในอนาคต เอเชียกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ภูมิภาคเอเชียมีจำนวนประชากรขนาดใหญ่ และพื้นที่ที่เป็นผืนแผ่นดินต่อเนื่องคาบเกี่ยวมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ซึ่งหมายความว่ามีอิทธิพลสูงต่อความเป็นไปของโลก
ภาพ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ณ กรุงโตเกียว, ที่มา : Facebook Yingluck Shinawatra
และหลายศตวรรษที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมหลายครั้งหลายหน
ซึ่งปัจจุบันโลกได้มาถึงทางแยกสำคัญ
ที่เอเชียจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของโลกอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.75 ในปีนี้ และประมาณร้อยละ 6 ในปี ค.ศ.2014 โดยมีระดับอัตราเงินเฟ้อปานกลาง และมีอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับ บริหารจัดการได้ นำมาซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคง
ในขณะเดียวกัน นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของชาวเอเชีย รวมถึงการมีกำลังแรงงานที่มีประสิทธิภาพและได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี ใหม่ๆ จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการว่าสัดส่วนของ GDP ของเอเชีย ต่อ GDP ของโลกจะเพิ่มเป็นสองเท่าถึงร้อยละ 51 ในปี พ.ศ 2050 โดยฐานการบริโภคและกำลังการใช้จ่ายของเอเชียจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป ซึ่งสัดส่วนชนชั้นกลางที่เป็นคนเอเชียนั้นคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 66 ของชนชั้นกลางทั้งโลก
นอกจากนี้ เงินทุนสำรองต่างประเทศของเอเชียสูงถึง 6.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ศตวรรษแห่งเอเชีย (The Asian Century) เป็นจริง
สิ่งเหล่านี้ได้ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคีแข็งแกร่งใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น จากการที่มีการเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีและระบบการขนส่งสมัยใหม่ ประเทศจำนวนน้อยที่เลือกจะไม่เข้าร่วมก็จะเป็นผู้ที่เสียโอกาส
แต่ในเวลาเดียวกัน คือ เมื่อมีความแตกต่างแล้วในบางครั้งย่อมจะเกิดความขัดแย้งและเกิดผลประโยชน์ ทับซ้อนได้ ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียต้องมองให้ไกลไปปกว่าผลประโยชน์ของประเทศของตน เพียงลำพัง และมองถึงผลประโยชน์โดยรวมของภูมิภาค
เราต้องเริ่มคิดว่า เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเอเชีย ที่มองไปข้างไปสู่ภายนอก เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมและรับมือกับความท้าทายด้วยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้วในโลกทุกวันนี้ เราต่างมีความเชื่อมโยง
ประเทศอย่างญี่ปุ่นมีบทบาท และสามารถมีบทบาทที่สำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และที่สำคัญการที่ญี่ปุ่นกลับพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรีอาเบะทำให้มีศักยภาพในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตในภูมิภาคโดยรวม
มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing Measures) ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) สู่ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมองว่ามีเหตุจากพิ้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่เอเชียต้องร่วมมือกันบริหารจัดการการไหลเข้าของเงินทุนเหล่านี้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นคงในภูมิภาค
มีบางคนกล่าวว่าเงินทุนไหลดั่งสายน้ำ ดิฉันเชื่อว่าเราต้องมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างทุกประเทศที่น้ำไหลผ่าน เพื่อให้ทุกประเทศได้ประโยชน์และเติบโตด้วยกัน
สำหรับภาคพื้นดิน การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ เป็นการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด จากอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราต้องสร้างทางเชื่อมสู่เอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในทางตรงกันข้าม คือ ไปสู่เอเชียใต้ เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง
ภาพ เส้นทางสายใหมเอเชียทั้งทางบกและทางทะเล, ที่มา : Perspective
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียเข้าด้วยกันเป็น
“เส้นทางสายไหมใหม่”
โดยจะต่อกับเส้นทางลำเลียงของระบบรถไฟขนส่งและผู้โดยสาร
เพื่อเป็นสะพานบนดินเอเชียยุโรปเชื่อมโยงสองทวีปเข้าด้วยกัน
ในขณะเดียวกัน เราจะพัฒนาความเชื่อมโยงทางถนน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ อย่างท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศเมียนมาร์ ก็จะเชื่อมต่อจุดต่างๆในมหาสมุทรอินเดีย และมีการผ่านเส้นทางถนนสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก
ด้านมหาสมุทรอินเดีย ทวายจะเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับตะวันออกกลางและแอฟริกา ทั้งนี้ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของประเทศต่าง ๆ ที่มีฐานการผลิตในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ท่าเรือทวายถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของเอเชีย และในระยะยาวจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการขนส่งในการเชื่อมต่อ เพื่อเสริมและต่อยอดกับท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศเมียนมาร์
เมื่อเรามองไปข้างหน้า เราต้องการเห็นการมีส่วนร่วมในการลงทุนจากผู้ลงทุนต่างชาติ และต้องการเห็นสถาบันระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ช่วยให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงการในภูมิภาค
อีกประเด็นที่จะเป็นปัจจัยต่อการลงทุนเพื่ออนาคต คือการลงทุนกว่า 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานและการพัฒนา ซึ่งรวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่รวมถึงการเชื่อมต่อทางรางระหว่าง ไทย ลาว และจีน เราวางแผนที่จะขยายการลงทุน ไปยังประเทศเอเชียอื่นๆด้วย
ความไม่มีเสถียรภาพในทะเลจีนใต้และข้อพิพาททางทะเลที่มีอยู่ ไม่มีฝ่ายใดได้รับประโยชน์ ประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องก้าวข้ามอดีต และจัดการกับความท้าทายซึ่งอาจคุกคามการสร้างความเชื่อมโยงทางทะเลในอนาคต สันติภาพและความมั่นคงเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
เช่นเดียวกัน สันติภาพและความมั่นคงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้การเชื่อมต่อทางบกบรรลุผล และเพื่อให้เอเชียตระหนักถึงศักยภาพที่เต็มปี่ยม รูปต่อที่หลากหลายต้องสามารถต่อเข้าเป็นรูปเดียวกัน
อาเซียนที่ไร้พรมแดนในปี 2015 จะต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันหากเราสามารถก้าวข้ามปี 2015 ไปได้ อาเซียนก็จะรวมตัวกันกับอนุภูมิภาคต่างๆของเอเชีย และเอเชียจะเติบโตไปด้วยกันได้
เพื่อช่วยต่อรูปต่อเหล่านี้เข้าให้เป็นภาพเดียวกัน ดิฉันเสนอให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะที่มุ่งให้ทุกฝ่ายเป็นผู้ที่ ได้ประโยชน์ (win-win) ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มแก่เอเชียโดยรวม ประเด็นเหล่านี้จะรวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
การรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ จะทำให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์เพื่อประชาชนของ ภูมิภาคเอเชียของเรา รวมทั้งช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงน้ำและน้ำมัน
นอกจากนี้ ไทยกำลังลงทุนในด้านระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนองตอบและรองรับต่อความต้องการในการใช้น้ำในการเกษตร อุตสาหกรรม และครัวเรือน ดังนั้น การมีระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดี ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมๆกับการมีระบบป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ดี จะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเจริญเติบโต ตลอดจนความสามัคคีในสังคมและภายในภูมิภาคของเรา
นอกจากนี้ เพื่อช่วยเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเราจะดำเนินการให้มีการเจริญเติบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) และการพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทน (Alternative Energy) สำหรับภูมิภาคเอเชียกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเอเชียจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
ดิฉันเชื่อว่า เอเชียมีศักยภาพในการสร้างร่วมมือระหว่างภูมิภาค ที่ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหารสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับความมั่นคงทางด้าน พลังงานได้ เช่น ระหว่างประเทศอาเซียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ในตะวันออกกลาง
และเช่นกัน เนื่องจากเอเชียกำลังเติบโตและมองไปข้างหน้า ความร่วมมือในการค้าและการลงทุน ต้องขยายไปยังภูมิภาคอื่น เช่น แอฟริกาที่กำลังเติบโตเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ไทยกำลังริเริ่มการประชุมไทย-แอฟริกา เพื่อเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับแอฟริกา
บรรทัดสุดท้าย คือ ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกา อเมริกา หรือยุโรป จะต้องร่วมมือกันและเติบโตไปด้วยกัน
อนาคตของเอเชียอยู่ในมือเรา และขึ้นอยู่กับคนรุ่นเราที่จะกำหนดทิศทางอนาคต เพื่อนำสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเราทุกคน และเป็นเส้นทางที่เราจะร่วมมือร่วมใจกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเติบโตด้วยกัน ไม่เพียงเพื่อภูมิภาคเราเท่านั้น แต่รวมถึงโลกใบนี้ด้วย
ขอบคุณค่ะ
ที่มา:
ดิฉันขอขอบคุณบริษัทนิคเคอิ ที่ได้เชิญให้ดิฉันเข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับทิศทางของเอเชียในอนาคต เอเชียกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ภูมิภาคเอเชียมีจำนวนประชากรขนาดใหญ่ และพื้นที่ที่เป็นผืนแผ่นดินต่อเนื่องคาบเกี่ยวมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ซึ่งหมายความว่ามีอิทธิพลสูงต่อความเป็นไปของโลก
ภาพ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ณ กรุงโตเกียว, ที่มา : Facebook Yingluck Shinawatra
ศักยภาพเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของเอเชีย การเจริญเติบโต และกำลังการใช้จ่าย
ในช่วงทศวรรษ 1980 ศูนย์กลางความเจริญเติบโตของโลกได้ขยับมาอยู่ที่ภูมิภาค โดยประเทศญี่ป่นได้นำกลุ่มที่มี เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศไทย ในการสร้างความมั่งคั่งและร่ำรวย และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนและอินเดียได้กลายเป็นเครื่องจักรใหม่แห่งความเติบโตของโลกเมื่อเร็วๆนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.75 ในปีนี้ และประมาณร้อยละ 6 ในปี ค.ศ.2014 โดยมีระดับอัตราเงินเฟ้อปานกลาง และมีอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับ บริหารจัดการได้ นำมาซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคง
ในขณะเดียวกัน นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของชาวเอเชีย รวมถึงการมีกำลังแรงงานที่มีประสิทธิภาพและได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี ใหม่ๆ จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการว่าสัดส่วนของ GDP ของเอเชีย ต่อ GDP ของโลกจะเพิ่มเป็นสองเท่าถึงร้อยละ 51 ในปี พ.ศ 2050 โดยฐานการบริโภคและกำลังการใช้จ่ายของเอเชียจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป ซึ่งสัดส่วนชนชั้นกลางที่เป็นคนเอเชียนั้นคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 66 ของชนชั้นกลางทั้งโลก
นอกจากนี้ เงินทุนสำรองต่างประเทศของเอเชียสูงถึง 6.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ศตวรรษแห่งเอเชีย (The Asian Century) เป็นจริง
เจตนารมณ์และความร่วมมือในระดับการเมือง
ในด้านการเมืองภูมิภาคเอเชียกลับมาเชื่อมโยงกัน โดยมีความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิผล ทั้งจากความร่วมมือความมนตรีความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ไปจนถึงสมาคมความร่วมมือภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) และจากความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย (ACD) ไปจนถึงอาเซียน (ASEAN) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ที่ทำให้ความร่วมมือเอเชียตะวันออกไปสู่ภูมิภาคอื่นๆสิ่งเหล่านี้ได้ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคีแข็งแกร่งใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น จากการที่มีการเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีและระบบการขนส่งสมัยใหม่ ประเทศจำนวนน้อยที่เลือกจะไม่เข้าร่วมก็จะเป็นผู้ที่เสียโอกาส
ความท้าทายของเอเชีย
ดิฉันเชื่อว่า เวทีได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้วสำหรับความรุ่งโรจน์ของภูมิภาคเอเชีย แต่หนทางสู่จุดหมายนั้นไม่ใช่ง่ายเสมอไป ยังมีสิ่งท้าทายที่เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตและความรุ่งเรืองที่น่าจะ เป็นความหลากหลายของเอเชีย
ประการแรก เอเชียถือเป็นภูมิภาคที่มีความแตกต่างหลากหลาย ดิฉันมีความเชื่อเสมอว่าความแข็งแกร่งเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความหลากหลาย และยิ่งไปกว่านั้น เอเชียไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่เอเชียตะวันออก แต่รวมถึงภูมิภาคอื่นที่มีการเจริญเติบโตและมีศักยภาพ เช่น เอเชียใต้, เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อผนึกกำลังรวมตัวกันในระหว่างภูมิภาคต่างๆดังกล่าว จะช่วยขับเคลื่อนให้โลกเจริญเติบโตได้แต่ในเวลาเดียวกัน คือ เมื่อมีความแตกต่างแล้วในบางครั้งย่อมจะเกิดความขัดแย้งและเกิดผลประโยชน์ ทับซ้อนได้ ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียต้องมองให้ไกลไปปกว่าผลประโยชน์ของประเทศของตน เพียงลำพัง และมองถึงผลประโยชน์โดยรวมของภูมิภาค
เราต้องเริ่มคิดว่า เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเอเชีย ที่มองไปข้างไปสู่ภายนอก เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมและรับมือกับความท้าทายด้วยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้วในโลกทุกวันนี้ เราต่างมีความเชื่อมโยง
ประเทศอย่างญี่ปุ่นมีบทบาท และสามารถมีบทบาทที่สำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และที่สำคัญการที่ญี่ปุ่นกลับพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรีอาเบะทำให้มีศักยภาพในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตในภูมิภาคโดยรวม
การเคลื่อนไหวของเงินทุนและความร่วมมือเพื่อการบริหาร
ตัวอย่างหนึ่ง คือ ความซบเซาทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่จะเป็นบททดสอบสำคัญของภูมิภาคเอเชีย พื้นฐานของเอเชียนั้นแข็งแรงดังที่ดิฉันได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ แต่การดำเนินการของเราวันนี้จะกำหนดอนาคตของเราทุกคนมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing Measures) ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) สู่ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมองว่ามีเหตุจากพิ้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่เอเชียต้องร่วมมือกันบริหารจัดการการไหลเข้าของเงินทุนเหล่านี้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นคงในภูมิภาค
มีบางคนกล่าวว่าเงินทุนไหลดั่งสายน้ำ ดิฉันเชื่อว่าเราต้องมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างทุกประเทศที่น้ำไหลผ่าน เพื่อให้ทุกประเทศได้ประโยชน์และเติบโตด้วยกัน
โครงข่ายพื้นฐานเพื่อความเชื่อมโยง
เรื่องนี้นำมาสู่ประเด็นที่สองของดิฉัน ดิฉันเสนอให้เรามุ่งเน้นการลงทุนในการสร้างความเชื่อมโยง ทั้งทางบกและทางทะเล เพราะเอเชียประกอบด้วยผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสำหรับภาคพื้นดิน การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ เป็นการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด จากอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราต้องสร้างทางเชื่อมสู่เอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในทางตรงกันข้าม คือ ไปสู่เอเชียใต้ เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง
ภาพ เส้นทางสายใหมเอเชียทั้งทางบกและทางทะเล, ที่มา : Perspective
ในขณะเดียวกัน เราจะพัฒนาความเชื่อมโยงทางถนน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ อย่างท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศเมียนมาร์ ก็จะเชื่อมต่อจุดต่างๆในมหาสมุทรอินเดีย และมีการผ่านเส้นทางถนนสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก
ด้านมหาสมุทรอินเดีย ทวายจะเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับตะวันออกกลางและแอฟริกา ทั้งนี้ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของประเทศต่าง ๆ ที่มีฐานการผลิตในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ท่าเรือทวายถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของเอเชีย และในระยะยาวจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการขนส่งในการเชื่อมต่อ เพื่อเสริมและต่อยอดกับท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศเมียนมาร์
เมื่อเรามองไปข้างหน้า เราต้องการเห็นการมีส่วนร่วมในการลงทุนจากผู้ลงทุนต่างชาติ และต้องการเห็นสถาบันระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ช่วยให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงการในภูมิภาค
อีกประเด็นที่จะเป็นปัจจัยต่อการลงทุนเพื่ออนาคต คือการลงทุนกว่า 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานและการพัฒนา ซึ่งรวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่รวมถึงการเชื่อมต่อทางรางระหว่าง ไทย ลาว และจีน เราวางแผนที่จะขยายการลงทุน ไปยังประเทศเอเชียอื่นๆด้วย
ความท้าทายในการเชื่อมโยงภูมิภาค
ความท้าทายประการหนึ่ง คือ ความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกิดขึ้นจากความท้าทายด้านภูมิ-รัฐ ศาสตร์ทางทะเล หากไม่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตของเอเชียจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี สภาพแวดล้อมของความมั่นคง และสันติภาพ ก็จะไมมีการเติบโตที่ยั่งยืนและอนาคตที่สดใสสำหรับภูมิภาคเอเชียความไม่มีเสถียรภาพในทะเลจีนใต้และข้อพิพาททางทะเลที่มีอยู่ ไม่มีฝ่ายใดได้รับประโยชน์ ประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องก้าวข้ามอดีต และจัดการกับความท้าทายซึ่งอาจคุกคามการสร้างความเชื่อมโยงทางทะเลในอนาคต สันติภาพและความมั่นคงเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
เช่นเดียวกัน สันติภาพและความมั่นคงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้การเชื่อมต่อทางบกบรรลุผล และเพื่อให้เอเชียตระหนักถึงศักยภาพที่เต็มปี่ยม รูปต่อที่หลากหลายต้องสามารถต่อเข้าเป็นรูปเดียวกัน
อาเซียนที่ไร้พรมแดนในปี 2015 จะต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันหากเราสามารถก้าวข้ามปี 2015 ไปได้ อาเซียนก็จะรวมตัวกันกับอนุภูมิภาคต่างๆของเอเชีย และเอเชียจะเติบโตไปด้วยกันได้
เพื่อช่วยต่อรูปต่อเหล่านี้เข้าให้เป็นภาพเดียวกัน ดิฉันเสนอให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะที่มุ่งให้ทุกฝ่ายเป็นผู้ที่ ได้ประโยชน์ (win-win) ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มแก่เอเชียโดยรวม ประเด็นเหล่านี้จะรวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
การรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ จะทำให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์เพื่อประชาชนของ ภูมิภาคเอเชียของเรา รวมทั้งช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงน้ำและน้ำมัน
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านอาหาร น้ำ และพลังงาน
ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร ซึ่งประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร โดยมีการจัดโซนนิ่ง (Zoning) และพัฒนาความสามารถในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้อาหารมีคุณภาพที่สูงขึ้น และในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการรับรองความมั่นคงทางอาหารสำหรับประเทศไทย เอเชีย และโลกนอกจากนี้ ไทยกำลังลงทุนในด้านระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนองตอบและรองรับต่อความต้องการในการใช้น้ำในการเกษตร อุตสาหกรรม และครัวเรือน ดังนั้น การมีระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดี ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมๆกับการมีระบบป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ดี จะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเจริญเติบโต ตลอดจนความสามัคคีในสังคมและภายในภูมิภาคของเรา
นอกจากนี้ เพื่อช่วยเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเราจะดำเนินการให้มีการเจริญเติบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) และการพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทน (Alternative Energy) สำหรับภูมิภาคเอเชียกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเอเชียจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
ดิฉันเชื่อว่า เอเชียมีศักยภาพในการสร้างร่วมมือระหว่างภูมิภาค ที่ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหารสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับความมั่นคงทางด้าน พลังงานได้ เช่น ระหว่างประเทศอาเซียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ในตะวันออกกลาง
และเช่นกัน เนื่องจากเอเชียกำลังเติบโตและมองไปข้างหน้า ความร่วมมือในการค้าและการลงทุน ต้องขยายไปยังภูมิภาคอื่น เช่น แอฟริกาที่กำลังเติบโตเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ไทยกำลังริเริ่มการประชุมไทย-แอฟริกา เพื่อเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับแอฟริกา
บรรทัดสุดท้าย คือ ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกา อเมริกา หรือยุโรป จะต้องร่วมมือกันและเติบโตไปด้วยกัน
อนาคตของเอเชียอยู่ในมือเรา และขึ้นอยู่กับคนรุ่นเราที่จะกำหนดทิศทางอนาคต เพื่อนำสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเราทุกคน และเป็นเส้นทางที่เราจะร่วมมือร่วมใจกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเติบโตด้วยกัน ไม่เพียงเพื่อภูมิภาคเราเท่านั้น แต่รวมถึงโลกใบนี้ด้วย
ขอบคุณค่ะ
ที่มา: