www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EWTJPRGt5TWc9PQ==§ionid=
ทั้ง
ปิดฉากและ "ปิดปาก"
อย่างเบ็ดเสร็จภายหลังศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้อง 2 จำเลยสุดท้าย
คดีวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา
จากที่ก่อนหน้านี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง มีคำพิพากษายกฟ้อง 2
เยาวชนที่ตกเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555
ไม่ เพียงเท่านั้นยังมีคำพิพากษาศาลแพ่งให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายให้ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และสยามสแควร์ เพราะไม่พบว่าเป็นการวางเพลิงจากเหตุก่อการร้าย และคำพิพากษายังระบุอีกว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังแกนนำนปช.สลายการชุมนุม แล้ว
จึงเท่ากับว่าวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง" ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สาดใส่คนเสื้อแดง พร้อมกับการตั้งข้อหาที่รุนแรง ทำให้จำเลยไม่ได้รับการประกันตัวต้องติดคุกฟรีเกือบ 3 ปี ถึงตอนนี้พิสูจน์ทราบแน่ชัดว่าไม่ต่างจากการประดิษฐ์ถ้อยคำเพื่อใช้กลบ เกลื่อนการสลายม็อบจนมีผู้เสียชีวิตถึง 99 ราย บาดเจ็บหลายพันคนเท่านั้นเอง
เปิดคำพิพากษาศาลอาญา
คดี สุดท้ายของเหตุการณ์เผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มี นายสายชล แพบัว อายุ 31 ปี และ นายพินิจ จันทร์ณรงค์ อายุ 29 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บรรยายพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 จำเลยทั้ง 2 กับพวกร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ในช่วงเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และเข้าไปในอาคารห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ทำลายบานกระจก ผนังอาคารบานกระจกประตู อาคารเซ็นทาวเวอร์ อาคารเซ็นทรัลเวิลด์
เข้าไปในอาคารเซ็นทาวเวอร์ และอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เป็นทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ จนทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ลุกลามเผาอาคารเซ็นทาวเวอร์ และเผาทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เสียหาย 270 ราย รวมค่าเสียหาย 8,890,578,649.61 บาท และเป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ หรือ กิตติพงษ์ สมสุข ที่อยู่ภายในอาคารถึงแก่ความตาย
โจทก์นำสืบว่าระหว่างมี.ค.-พ.ค.2553 กลุ่มนปช.ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กทม. หลังแกนนำประกาศยุติการชุมนุม มีกลุ่มคนร้ายใช้ไม้และเหล็กทุบกระจกเข้าไปในห้างเซน ใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง จุดไฟแล้วโยนเข้าไปชั้น 1 ของห้าง ทำให้เพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ หรือกิตติพงษ์ สมสุข ถึงแก่ความตาย
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานมี ประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าโจทก์มีรปภ.เป็นประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ และถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ขณะถือถังดับเพลิง เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 19 พ.ค. เบิกความเห็นจำเลยกับกลุ่มคนร้าย 5-6 คนใช้ไม้ทุบกระจกเข้ามาภายในห้าง จึงหลบไปอยู่ชั้น 3 และถ่ายภาพจำเลยไว้
พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เบิกความว่าหลังตำรวจสน. ชนะสงครามส่งตัวจำเลยมาให้รปภ.ชี้ตัวได้ถูกต้องถึง 2 ครั้ง ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 รับว่าอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ใช่ ผู้กระทำผิด ส่วนพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เบิกความจำเลยที่ 1 ให้การใหม่ว่าขณะเกิดเหตุขายซีดีอยู่ที่ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ เขียนได้เฉพาะชื่อตนเอง
ไม่มีหลักฐานเป็นคนวางเพลิง
ศาล เห็นว่าแม้โจทก์มีพยานเป็นรปภ. ซึ่งเป็นผู้ถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ได้ในที่เกิดเหตุ แต่ก็อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 30 เมตร และเห็นเพียงว่าจำเลยที่ 1 ถือถังดับเพลิง ไม่ใช่อุปกรณ์ใช้วางเพลิง แม้จะอนุมานไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จะเข้าไปช่วยดับเพลิงหรือไม่ ประกอบกับพยานโจทก์ไม่สามารถตอบคำถามทนายจำเลยได้ว่าเห็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้วางเพลิงหรือไม่ และยังไม่มีพยานชี้ชัดถึงพฤติการณ์ในการวางเพลิง หรือสนับสนุนการวางเพลิง พยานโจทก์จึงยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมทำผิดในคดีนี้หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ส่วน จำเลยที่ 2 โจทก์มีพนักงานห้างเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเห็นคนร้าย 40-50 คน มีชาย 4-5 คนเดินนำหน้าใช้หนังสติ๊กยิงใส่เป็นระยะ และเห็นชายชุดดำลายพรางสวมหมวกปีกใช้ระเบิดโยนใส่มีคนเจ็บ 9 คน ต่อมาตำรวจจับกุมคนร้ายภายในห้างได้ 9 คน มีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย
พยาน โจทก์กลุ่มนี้สามารถจดจำรูปพรรณสัณฐานจำเลยที่ 2 ได้ตรงกันหมด ยกเว้นสีเสื้อไม่ตรงกับภาพที่ปรากฏ ระหว่างนั้นพยานต้องคอยหลบลูกหินที่ถูกยิงเข้าใส่ อีกทั้งอยู่ห่างไปกว่า 30 เมตรนั้น น่าสงสัยว่าจะจำคนร้ายได้จริงหรือไม่ และโจทก์ยังไม่นำเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลยที่ 2 มาเบิกความ พยานโจทก์ที่นำสืบยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะกระทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 2 ในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พลิกแฟ้มคดี 2 เยาวชน
คำ พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 2 รายนี้ นับเป็น 2 รายสุดท้ายที่เป็นจำเลยคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยก่อนหน้านี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง มีคำพิพากษายกฟ้อง 2 เยาวชนที่ตกเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555
คดี ดังกล่าวมีคำพิพากษาว่า นายเอ (นามสมมติ) อายุ 16 ปี และนายบี (นามสมมติ) อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นเยาวชน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันวางเพลิง เผาทรัพย์โรงเรือน อันเป็นสถานที่เก็บสินค้าของผู้อื่น และเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 7 ก.ย.53 สรุปว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยในความผิดฐานเดียวกันซึ่งถูกยื่นฟ้องเป็นคดีอาญา ร่วมกันบุกเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเผาอาคารดังกล่าว เป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุข ถึงแก่ความตาย อยู่ภายในอาคาร
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด จึงพิพากษายกฟ้อง
นาย โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความกล่าวว่า ที่ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสองมีรายละเอียดจำนวนมาก ที่สำคัญคือศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของอัยการโจทก์ที่ปรากฏยังไม่พอฟังได้ว่า จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง กทม. และเจ้าหน้าที่ รปภ. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานไม่มีใครยืนยันได้ว่าเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อเหตุ อีกทั้งคดีจำเลยถูกจับกุมในเวลา 17.00 น.ซึ่งเป็นเวลาเย็น และเมื่อถึงตรวจค้นก็ไม่พบของกลางในตัวของจำเลยที่จะเป็นอุปกรณ์วางเพลิงได้
ประกอบ กับภาพกล้องวงจรปิดก็ไม่พบว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์ ขณะที่จำเลยทั้งสองยังยืนยันมาโดยตลอดว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด เพียงแต่วันเกิดเหตุหลังการสลายการชุมนุมด้วยความกลัวได้เข้าไปหลบในห้างที่ เกิดเหตุแล้วจึงถูกจับกุมตัว
"เดิมทีเยาวชนทั้งสองถูกตั้งข้อหาเพียง ร่วมกันปล้นทรัพย์ ซึ่งศาลเยาวชนฯ พิพากษายกฟ้องไปแล้ว แต่ขณะเดียวกันกลับมีการตั้งข้อหากับเพิ่มร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ในคดีนี้ ซึ่งต้องต่อสู้คดีกันมานานกว่า 2 ปี แต่ในที่สุดศาลก็พิพากษายกฟ้อง"
ศาลแพ่งชี้-ไม่พบเสื้อแดงเผา
ขณะ ที่คดีอาญาศาลยกฟ้องไปหมดแล้ว ยังมีคำพิพากษาศาลแพ่งกรณีกองทุนรวมธุรกิจไทยสี่ โจทก์ที่ 1, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ 2, บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด ที่ 3 และบริษัท ห้างเซ็นทรัล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด ที่ 4 ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยในความผิดสัญญาประกันวินาศภัย จากกรณีเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วไม่ได้ค่าชดเชยเพราะจำเลยอ้างว่าเป็นการก่อการร้ายซึ่งกรมธรรม์ไม่ครอบ คลุม
ศาลแพ่งมีคำพิพากษาว่า ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏชัดว่าเป็นการกระทำของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนใด หรือสั่งการจากแกนนำ ส่วนที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงปราศรัยมีเนื้อหาส่งเสริมความรุนแรงนั้น ถ้ามีการทำร้ายคนเสื้อแดงก็จะเกิดความรุนแรงขึ้น แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ารัฐบาลจะสลายการชุมนุมเมื่อใด การปราศรัยจึงเป็นการป้องกันเพื่อไม่ให้มีการสลายการชุมนุม
เห็นว่า กลุ่มคนร้ายที่บุกรุกและเผาทรัพย์ในห้างสรรพสินค้าเซนมีจำนวนไม่มาก ใช้วิธีการไม่สลับซับซ้อน ไม่ได้ใช้ทักษะพิเศษใดๆ ที่เป็นความชำนาญ สำหรับถังแก๊ส น้ำมัน ยางรถยนต์ ก็หยิบฉวยได้ในบริเวณใกล้เคียง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ที่สำคัญขณะมีการเผาห้างเซนแกนนำก็ประกาศยุติการชุมนุมแล้ว คนร้ายที่เผาห้างสรรพสินค้าเซนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็มิได้ต้องการให้ข่มขู่ รัฐบาลยุบสภาหรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากนายกรัฐมนตรี จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่หวังผลการทางเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฟังไม่ได้ว่าเป็นการก่อการร้าย
พิพากษาให้จำเลย ชำระค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทุกชนิดให้แก่โจทก์ทั้ง สี่ หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเงิน 2,719,734,975.29 บาท และให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักให้แก่ โจทก์ที่ 1 และ 3 เป็นจำนวนเงิน 989,848,850.01 บาทและให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าเสียหายทั้งสองแก่โจทก์ทั้งสี่และหรือสำนักงานส่วนทรัพย์สินพระ มหากษัตริย์ กับโจทก์ที่ 1 และ 3 ตามลำดับ นับแต่วันที่ 31 มี.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลในนามโจทก์กำหนดค่าทนายความให้ 60,000 บาท
ทั้งคำพิพากษาศาลอาญา และศาลแพ่งที่ออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเหตุการณ์เผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่สลายการชุมนุมนำมาใช้เป็นข้ออ้าง นำมาเป็นข้อกล่าวหาม็อบเพื่อกลบเหตุสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาด เจ็บจำนวนมาก
ถึงตอนนี้เมื่อมีคำพิพากษาออกมาชัดเจน ยังจะกล้านำวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง"มาใช้อีกหรือไม่!??
ไม่ เพียงเท่านั้นยังมีคำพิพากษาศาลแพ่งให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายให้ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และสยามสแควร์ เพราะไม่พบว่าเป็นการวางเพลิงจากเหตุก่อการร้าย และคำพิพากษายังระบุอีกว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังแกนนำนปช.สลายการชุมนุม แล้ว
จึงเท่ากับว่าวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง" ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สาดใส่คนเสื้อแดง พร้อมกับการตั้งข้อหาที่รุนแรง ทำให้จำเลยไม่ได้รับการประกันตัวต้องติดคุกฟรีเกือบ 3 ปี ถึงตอนนี้พิสูจน์ทราบแน่ชัดว่าไม่ต่างจากการประดิษฐ์ถ้อยคำเพื่อใช้กลบ เกลื่อนการสลายม็อบจนมีผู้เสียชีวิตถึง 99 ราย บาดเจ็บหลายพันคนเท่านั้นเอง
เปิดคำพิพากษาศาลอาญา
คดี สุดท้ายของเหตุการณ์เผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มี นายสายชล แพบัว อายุ 31 ปี และ นายพินิจ จันทร์ณรงค์ อายุ 29 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บรรยายพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 จำเลยทั้ง 2 กับพวกร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ในช่วงเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และเข้าไปในอาคารห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ทำลายบานกระจก ผนังอาคารบานกระจกประตู อาคารเซ็นทาวเวอร์ อาคารเซ็นทรัลเวิลด์
เข้าไปในอาคารเซ็นทาวเวอร์ และอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เป็นทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ จนทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ลุกลามเผาอาคารเซ็นทาวเวอร์ และเผาทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เสียหาย 270 ราย รวมค่าเสียหาย 8,890,578,649.61 บาท และเป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ หรือ กิตติพงษ์ สมสุข ที่อยู่ภายในอาคารถึงแก่ความตาย
โจทก์นำสืบว่าระหว่างมี.ค.-พ.ค.2553 กลุ่มนปช.ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กทม. หลังแกนนำประกาศยุติการชุมนุม มีกลุ่มคนร้ายใช้ไม้และเหล็กทุบกระจกเข้าไปในห้างเซน ใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง จุดไฟแล้วโยนเข้าไปชั้น 1 ของห้าง ทำให้เพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ หรือกิตติพงษ์ สมสุข ถึงแก่ความตาย
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานมี ประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าโจทก์มีรปภ.เป็นประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ และถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ขณะถือถังดับเพลิง เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 19 พ.ค. เบิกความเห็นจำเลยกับกลุ่มคนร้าย 5-6 คนใช้ไม้ทุบกระจกเข้ามาภายในห้าง จึงหลบไปอยู่ชั้น 3 และถ่ายภาพจำเลยไว้
พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เบิกความว่าหลังตำรวจสน. ชนะสงครามส่งตัวจำเลยมาให้รปภ.ชี้ตัวได้ถูกต้องถึง 2 ครั้ง ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 รับว่าอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ใช่ ผู้กระทำผิด ส่วนพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เบิกความจำเลยที่ 1 ให้การใหม่ว่าขณะเกิดเหตุขายซีดีอยู่ที่ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ เขียนได้เฉพาะชื่อตนเอง
ไม่มีหลักฐานเป็นคนวางเพลิง
ศาล เห็นว่าแม้โจทก์มีพยานเป็นรปภ. ซึ่งเป็นผู้ถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ได้ในที่เกิดเหตุ แต่ก็อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 30 เมตร และเห็นเพียงว่าจำเลยที่ 1 ถือถังดับเพลิง ไม่ใช่อุปกรณ์ใช้วางเพลิง แม้จะอนุมานไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จะเข้าไปช่วยดับเพลิงหรือไม่ ประกอบกับพยานโจทก์ไม่สามารถตอบคำถามทนายจำเลยได้ว่าเห็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้วางเพลิงหรือไม่ และยังไม่มีพยานชี้ชัดถึงพฤติการณ์ในการวางเพลิง หรือสนับสนุนการวางเพลิง พยานโจทก์จึงยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมทำผิดในคดีนี้หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ส่วน จำเลยที่ 2 โจทก์มีพนักงานห้างเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเห็นคนร้าย 40-50 คน มีชาย 4-5 คนเดินนำหน้าใช้หนังสติ๊กยิงใส่เป็นระยะ และเห็นชายชุดดำลายพรางสวมหมวกปีกใช้ระเบิดโยนใส่มีคนเจ็บ 9 คน ต่อมาตำรวจจับกุมคนร้ายภายในห้างได้ 9 คน มีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย
พยาน โจทก์กลุ่มนี้สามารถจดจำรูปพรรณสัณฐานจำเลยที่ 2 ได้ตรงกันหมด ยกเว้นสีเสื้อไม่ตรงกับภาพที่ปรากฏ ระหว่างนั้นพยานต้องคอยหลบลูกหินที่ถูกยิงเข้าใส่ อีกทั้งอยู่ห่างไปกว่า 30 เมตรนั้น น่าสงสัยว่าจะจำคนร้ายได้จริงหรือไม่ และโจทก์ยังไม่นำเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลยที่ 2 มาเบิกความ พยานโจทก์ที่นำสืบยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะกระทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 2 ในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พลิกแฟ้มคดี 2 เยาวชน
คำ พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 2 รายนี้ นับเป็น 2 รายสุดท้ายที่เป็นจำเลยคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยก่อนหน้านี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง มีคำพิพากษายกฟ้อง 2 เยาวชนที่ตกเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555
คดี ดังกล่าวมีคำพิพากษาว่า นายเอ (นามสมมติ) อายุ 16 ปี และนายบี (นามสมมติ) อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นเยาวชน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันวางเพลิง เผาทรัพย์โรงเรือน อันเป็นสถานที่เก็บสินค้าของผู้อื่น และเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 7 ก.ย.53 สรุปว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยในความผิดฐานเดียวกันซึ่งถูกยื่นฟ้องเป็นคดีอาญา ร่วมกันบุกเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเผาอาคารดังกล่าว เป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุข ถึงแก่ความตาย อยู่ภายในอาคาร
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด จึงพิพากษายกฟ้อง
นาย โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความกล่าวว่า ที่ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสองมีรายละเอียดจำนวนมาก ที่สำคัญคือศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของอัยการโจทก์ที่ปรากฏยังไม่พอฟังได้ว่า จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง กทม. และเจ้าหน้าที่ รปภ. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานไม่มีใครยืนยันได้ว่าเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อเหตุ อีกทั้งคดีจำเลยถูกจับกุมในเวลา 17.00 น.ซึ่งเป็นเวลาเย็น และเมื่อถึงตรวจค้นก็ไม่พบของกลางในตัวของจำเลยที่จะเป็นอุปกรณ์วางเพลิงได้
ประกอบ กับภาพกล้องวงจรปิดก็ไม่พบว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์ ขณะที่จำเลยทั้งสองยังยืนยันมาโดยตลอดว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด เพียงแต่วันเกิดเหตุหลังการสลายการชุมนุมด้วยความกลัวได้เข้าไปหลบในห้างที่ เกิดเหตุแล้วจึงถูกจับกุมตัว
"เดิมทีเยาวชนทั้งสองถูกตั้งข้อหาเพียง ร่วมกันปล้นทรัพย์ ซึ่งศาลเยาวชนฯ พิพากษายกฟ้องไปแล้ว แต่ขณะเดียวกันกลับมีการตั้งข้อหากับเพิ่มร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ในคดีนี้ ซึ่งต้องต่อสู้คดีกันมานานกว่า 2 ปี แต่ในที่สุดศาลก็พิพากษายกฟ้อง"
ศาลแพ่งชี้-ไม่พบเสื้อแดงเผา
ขณะ ที่คดีอาญาศาลยกฟ้องไปหมดแล้ว ยังมีคำพิพากษาศาลแพ่งกรณีกองทุนรวมธุรกิจไทยสี่ โจทก์ที่ 1, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ 2, บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด ที่ 3 และบริษัท ห้างเซ็นทรัล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด ที่ 4 ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยในความผิดสัญญาประกันวินาศภัย จากกรณีเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วไม่ได้ค่าชดเชยเพราะจำเลยอ้างว่าเป็นการก่อการร้ายซึ่งกรมธรรม์ไม่ครอบ คลุม
ศาลแพ่งมีคำพิพากษาว่า ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏชัดว่าเป็นการกระทำของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนใด หรือสั่งการจากแกนนำ ส่วนที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงปราศรัยมีเนื้อหาส่งเสริมความรุนแรงนั้น ถ้ามีการทำร้ายคนเสื้อแดงก็จะเกิดความรุนแรงขึ้น แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ารัฐบาลจะสลายการชุมนุมเมื่อใด การปราศรัยจึงเป็นการป้องกันเพื่อไม่ให้มีการสลายการชุมนุม
เห็นว่า กลุ่มคนร้ายที่บุกรุกและเผาทรัพย์ในห้างสรรพสินค้าเซนมีจำนวนไม่มาก ใช้วิธีการไม่สลับซับซ้อน ไม่ได้ใช้ทักษะพิเศษใดๆ ที่เป็นความชำนาญ สำหรับถังแก๊ส น้ำมัน ยางรถยนต์ ก็หยิบฉวยได้ในบริเวณใกล้เคียง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ที่สำคัญขณะมีการเผาห้างเซนแกนนำก็ประกาศยุติการชุมนุมแล้ว คนร้ายที่เผาห้างสรรพสินค้าเซนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็มิได้ต้องการให้ข่มขู่ รัฐบาลยุบสภาหรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากนายกรัฐมนตรี จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่หวังผลการทางเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฟังไม่ได้ว่าเป็นการก่อการร้าย
พิพากษาให้จำเลย ชำระค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทุกชนิดให้แก่โจทก์ทั้ง สี่ หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเงิน 2,719,734,975.29 บาท และให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักให้แก่ โจทก์ที่ 1 และ 3 เป็นจำนวนเงิน 989,848,850.01 บาทและให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าเสียหายทั้งสองแก่โจทก์ทั้งสี่และหรือสำนักงานส่วนทรัพย์สินพระ มหากษัตริย์ กับโจทก์ที่ 1 และ 3 ตามลำดับ นับแต่วันที่ 31 มี.ค. 2554 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลในนามโจทก์กำหนดค่าทนายความให้ 60,000 บาท
ทั้งคำพิพากษาศาลอาญา และศาลแพ่งที่ออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเหตุการณ์เผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่สลายการชุมนุมนำมาใช้เป็นข้ออ้าง นำมาเป็นข้อกล่าวหาม็อบเพื่อกลบเหตุสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาด เจ็บจำนวนมาก
ถึงตอนนี้เมื่อมีคำพิพากษาออกมาชัดเจน ยังจะกล้านำวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง"มาใช้อีกหรือไม่!??