รายงานพิเศษ
วันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เปิดหน้าเคลื่อนไหวนอกสภาเรียบร้อยแล้ว
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ที่จับมือม็อบแช่แข็งขับไล่รัฐบาล
ต่อต้านการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
กรณี ดังกล่าวได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า สถานการณ์และระบบกลไกในสภาชะงักงันถึงขั้นที่ส.ส.ต้องใช้เวทีนอกสภาออกไป เคลื่อนไหวแล้วหรือ โดยเฉพาะกับพรรคที่ประกาศตัวมาตลอดว่ายึดมั่นในระบบรัฐสภา
มีความเห็นจากนักวิชาการและผู้สันทัดกรณี ถึงท่าทีและบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ ว่าได้เสียจากการเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างไร
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
พรรค ประชาธิปัตย์ต้องการพลังจากประชาชน ต้องการกองเชียร์ และต้องการเลื่อนประเด็นกฎหมายนิรโทษกรรมออกไปให้ได้ จึงมักอ้างว่าเกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเกี่ยวข้องกับคดีมาตรา 112
เพื่อทำให้ตัวเองได้ยื้อเวลาในคดีสั่งสลายการชุมนุมจนมีประชาชนเสียชีวิต
การ เคลื่อนไหวของพรรคประชาธิ ปัตย์ไม่ได้ต้องการจับมือกับกลุ่มนอกสภากลุ่มใด แต่ต้องการกำหนดประเด็นเองเพื่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณากฎหมาย เรื่อยๆ
แม้จะเป็นสิทธิที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถเดินเกมนอกสภาได้ แต่คำถามคือใครจะเชื่อสิ่งที่เขาพูด
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัว หน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยยอมรับว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับ นายวรชัย เหมะ ใช้ได้ เพราะเป็นการนิรโทษประชาชน ไม่ใช่แกนนำ แต่มาเปลี่ยนใจภายหลัง ไม่รู้ว่าคิดอะไร
แต่การไปร่วมมือกับกองทัพ ประชาชนฯ ย่อมไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย ในเมื่อสภากำลัง ขับเคลื่อนก็ต้องว่าไปตามนั้น ไม่ใช่เล่นเกมทั้งในและนอกสภา
ช่วง นี้เห็นชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเกมสู้ในลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อนสำหรับพรรคที่บอกว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมาตลอด การเดินเกมแบบนี้ยังมองถึงอุดมการณ์ทางการเมืองได้ด้วย
โดยเกมนอก สภาของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการตะโกนอยู่ข้างถนน การสื่อสารเนื้อหาไม่สร้างสรรค์ ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริง เป็นเวทีที่ด่ากันมากกว่า ไม่ใช่เวทีผ่าความจริง
น่าจะเป็นการ ตั้งเวทีเพื่อหาเสียงก่อนเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์อาจคิดว่าจะทำให้รัฐบาลยุบสภาได้ จึง เดินเกมนี้ตั้งแต่ต้น เหมือนยิงปืน นัดเดียวได้นกสองตัว ทั้งคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ และเตรียม หาเสียงเลือกตั้ง เพราะรู้ดีว่ายังได้รับความนิยมในพื้นที่กทม.อยู่
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อมีกระบวนการประชาธิปไตย มีการเปิดประชุมสภาอย่างถูกต้องก็ต้องว่าไปตาม เกม ไม่ใช่พยายามใช้ความไม่ เป็นประชาธิปไตย ประชาธิปัตย์มียุทธศาสตร์ของพรรคได้ แต่ต้องยึดหลักการประชาธิปไตยด้วย
การเลือกเดินเกมนี้ เขาคงมองว่าทำแล้วได้ เพราะขณะนี้นอกจากกฎหมายต่างๆ ที่ค้างในสภาแล้ว รัฐบาลยังมีปัญหาสินค้าราคาแพง ต่อไปคงหยิบยกประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินมาโจมตี ปลุกคะแนนนิยมให้ ตัวเอง
แต่คงไม่สามารถเอาชนะรัฐบาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว
สมบัติ บุญงามอนงค์
บ.ก.ลายจุด
เป็น ภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างแตกต่างจากภาพเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นท่วงทำนองที่นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นคู่กรณีในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี"53
พฤติกรรม นายอภิสิทธิ์ตอนนี้เรียกได้ว่า "ธาตุไฟแตก" เพราะมาเคลื่อนมวลชนเอง ทำม็อบเอง โดยมีช่องบลูสกายและเวที ผ่าความจริงเป็นเครื่องมือ ล่าสุด วันประชุมสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็เดินนำม็อบเอง
สะท้อน ให้เห็นว่าเขารู้สึกเจ็บปวดในสมัยที่เป็นรัฐบาลแล้วถูกคนเสื้อแดงและมวลชน อื่นๆ กดดัน ความรู้สึกที่เคยโดนแบบนี้จึงพยายามคืนบทเรียนนี้กลับไป
เป็น ความเจ็บแค้นของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ แม้ประเด็นการเคลื่อนไหวจะไม่เอื้ออำนวยแต่ก็ยังฝืนทำ นายอภิสิทธิ์ไม่เคยมีประสบการณ์ทำม็อบ พื้นที่ที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือสภา ไม่ใช่ข้างถนน
พอ ลงมาทำแบบนี้แล้วดูไม่ดี ภาพของนายอภิสิทธิ์ก็ดูแย่ ความสุขุมลดลง บางครั้งใช้คำพูดหยาบๆ สถานการณ์แบบนี้แม้พรรคประชาธิปัตย์มีสิทธิ์เดินเกมนอกสภาได้ แต่ก็ไม่ควร เพราะไม่มีต้นทุนความเชี่ยวชาญ
การสนับสนุนม็อบที่สวนลุมฯ ยังพอได้ แต่เดินม็อบเองแบบนี้เสียหายมาก โดยเฉพาะการนำมวลชนเดินเข้ามาในพื้นที่ประกาศพ.ร.บ.มั่นคงฯ นับว่ายัง โชคดีที่ไม่มีการผลักดันเข้ามา ไม่เช่นนั้นคงเกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียหายมาก
พรรคประชาธิปัตย์ เล่นเกมนอกสภาน่าจะเสียหายต่อพรรคมากกว่า เพราะเขาไปปลุกมวลชนมาหน้าสภา แต่เมื่อไม่ได้ความรู้สึกของมวลชนก็จะเสีย ภาพลักษณ์ของพรรคก็ไม่ดี
มีคำถามตามมาว่า ตกลงพรรคประชาธิปัตย์จะเล่นการเมืองแบบนี้ใช่หรือไม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การ เปิดหน้าต่อสู้นอกสภาของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการเลือกวิธีต่อสู้ที่เร็วเกินไป การพิจารณากฎหมายยังเป็นแค่วาระแรกคือรับหลักการ ข้อกฎหมายยังสามารถแก้ไขได้
จึงมีเวลาตั้งข้อสงสัย สอบถามและตรวจสอบในช่วงการแปรญัตติ วาระ 2 และ 3 ซึ่งเปิดโอกาสให้กระทำได้และถูกต้องตามกฎหมาย
อีก ทั้งการอธิบายเหตุผลที่ต่อต้านก็พูดถึงตัวเนื้อหากฎหมายน้อยมาก เพราะพูดแต่ว่าหากกฎหมายนิรโทษกรรมมีผลบังคับใช้ จะไปช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นผิดจากทุกข้อกล่าวหา
หากพรรคประชาธิปัตย์เปิดตาอ่าน ร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจัง จะพบว่าช่วยนิรโทษกรรมให้ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่หลังปี 2549 เป็นต้นมา
อีกทั้งมีประชาชนจำนวนมากเรียกร้องให้กฎหมายนี้ผ่านการ พิจารณาโดยเร็ว เพราะยังมีนักโทษการเมืองที่รอการช่วยเหลือจำนวนไม่น้อย แต่หากมีการสอดไส้กฎหมายให้ครอบคลุมถึงแกนนำหรือพ.ต.ท.ทักษิณจริง ก็สมควรถูกคัดค้าน
ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ในการชุมนุมแสดงความ คิดเห็นทางการเมือง ทั้งประชาชนและพรรคการเมือง แต่ความแตกต่างระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองคือ
พรรคการเมืองมี บุคคลที่เป็นสมาชิกสภา มีเวทีแสดงความคิดเห็นตามระบบกลไกรัฐสภา ขณะที่ประชาชนไม่สามารถกระทำได้ นอกจากฝากเรื่องไว้กับส.ส.เท่านั้น จึงต้องใช้วิธีต่อสู้บนถนน
การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์น่าจะ สร้างปัญหา อาจกลายเป็นมาตรฐานที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ระบบรัฐสภาต้องล่มยิ่งเป็นพรรค ที่เคยประกาศอย่างแน่วแน่ว่าจะยึดมั่นในสภาด้วยแล้ว การเคลื่อนไหวขณะนี้จึงน่าประหลาดใจ
แม้การปลุกระดมโค่นระบอบทักษิณหรือล้มรัฐบาล จะมีมวลชนจำนวนหนึ่งพร้อมออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน แต่ก็ไม่น่าจะเป็นวงกว้างมากนัก
แต่ สิ่งที่ควรระวังในการเคลื่อนไหวทางการเมืองคือ คนที่จะบาดเจ็บ ถูกจับกุม หรือถูกดำเนินคดี ล้วนเป็นประชาชนทั้งสิ้น มักไม่เกิดกับแกนนำหรือนักการเมืองที่ปลุกระดมมวลชน
ขอฝากว่าสิ่งที่ จะทำให้การพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรมสามารถผ่านสภาไปได้โดยไม่มีเหตุรุนแรงคือ รัฐบาลต้องให้ความชัดเจนและแสดงจุดยืนเดิมว่าจะช่วยเหลือเฉพาะประชาชน
ส่วน การพิจารณากฎหมายอื่นต่อจากนี้ ไม่น่าจะเกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างที่เป็นอยู่นี้ แต่น่าจะเป็นการใช้องค์กรอิสระต่างๆ เป็นเครื่องมือต่อสู้กับรัฐบาลมากกว่า
กรณี ดังกล่าวได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า สถานการณ์และระบบกลไกในสภาชะงักงันถึงขั้นที่ส.ส.ต้องใช้เวทีนอกสภาออกไป เคลื่อนไหวแล้วหรือ โดยเฉพาะกับพรรคที่ประกาศตัวมาตลอดว่ายึดมั่นในระบบรัฐสภา
มีความเห็นจากนักวิชาการและผู้สันทัดกรณี ถึงท่าทีและบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ ว่าได้เสียจากการเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างไร
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
พรรค ประชาธิปัตย์ต้องการพลังจากประชาชน ต้องการกองเชียร์ และต้องการเลื่อนประเด็นกฎหมายนิรโทษกรรมออกไปให้ได้ จึงมักอ้างว่าเกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเกี่ยวข้องกับคดีมาตรา 112
เพื่อทำให้ตัวเองได้ยื้อเวลาในคดีสั่งสลายการชุมนุมจนมีประชาชนเสียชีวิต
การ เคลื่อนไหวของพรรคประชาธิ ปัตย์ไม่ได้ต้องการจับมือกับกลุ่มนอกสภากลุ่มใด แต่ต้องการกำหนดประเด็นเองเพื่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณากฎหมาย เรื่อยๆ
แม้จะเป็นสิทธิที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถเดินเกมนอกสภาได้ แต่คำถามคือใครจะเชื่อสิ่งที่เขาพูด
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัว หน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยยอมรับว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับ นายวรชัย เหมะ ใช้ได้ เพราะเป็นการนิรโทษประชาชน ไม่ใช่แกนนำ แต่มาเปลี่ยนใจภายหลัง ไม่รู้ว่าคิดอะไร
แต่การไปร่วมมือกับกองทัพ ประชาชนฯ ย่อมไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย ในเมื่อสภากำลัง ขับเคลื่อนก็ต้องว่าไปตามนั้น ไม่ใช่เล่นเกมทั้งในและนอกสภา
ช่วง นี้เห็นชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเกมสู้ในลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อนสำหรับพรรคที่บอกว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมาตลอด การเดินเกมแบบนี้ยังมองถึงอุดมการณ์ทางการเมืองได้ด้วย
โดยเกมนอก สภาของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการตะโกนอยู่ข้างถนน การสื่อสารเนื้อหาไม่สร้างสรรค์ ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริง เป็นเวทีที่ด่ากันมากกว่า ไม่ใช่เวทีผ่าความจริง
น่าจะเป็นการ ตั้งเวทีเพื่อหาเสียงก่อนเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์อาจคิดว่าจะทำให้รัฐบาลยุบสภาได้ จึง เดินเกมนี้ตั้งแต่ต้น เหมือนยิงปืน นัดเดียวได้นกสองตัว ทั้งคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ และเตรียม หาเสียงเลือกตั้ง เพราะรู้ดีว่ายังได้รับความนิยมในพื้นที่กทม.อยู่
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อมีกระบวนการประชาธิปไตย มีการเปิดประชุมสภาอย่างถูกต้องก็ต้องว่าไปตาม เกม ไม่ใช่พยายามใช้ความไม่ เป็นประชาธิปไตย ประชาธิปัตย์มียุทธศาสตร์ของพรรคได้ แต่ต้องยึดหลักการประชาธิปไตยด้วย
การเลือกเดินเกมนี้ เขาคงมองว่าทำแล้วได้ เพราะขณะนี้นอกจากกฎหมายต่างๆ ที่ค้างในสภาแล้ว รัฐบาลยังมีปัญหาสินค้าราคาแพง ต่อไปคงหยิบยกประเด็นการบริหารราชการแผ่นดินมาโจมตี ปลุกคะแนนนิยมให้ ตัวเอง
แต่คงไม่สามารถเอาชนะรัฐบาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว
สมบัติ บุญงามอนงค์
บ.ก.ลายจุด
เป็น ภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างแตกต่างจากภาพเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นท่วงทำนองที่นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นคู่กรณีในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี"53
พฤติกรรม นายอภิสิทธิ์ตอนนี้เรียกได้ว่า "ธาตุไฟแตก" เพราะมาเคลื่อนมวลชนเอง ทำม็อบเอง โดยมีช่องบลูสกายและเวที ผ่าความจริงเป็นเครื่องมือ ล่าสุด วันประชุมสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็เดินนำม็อบเอง
สะท้อน ให้เห็นว่าเขารู้สึกเจ็บปวดในสมัยที่เป็นรัฐบาลแล้วถูกคนเสื้อแดงและมวลชน อื่นๆ กดดัน ความรู้สึกที่เคยโดนแบบนี้จึงพยายามคืนบทเรียนนี้กลับไป
เป็น ความเจ็บแค้นของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ แม้ประเด็นการเคลื่อนไหวจะไม่เอื้ออำนวยแต่ก็ยังฝืนทำ นายอภิสิทธิ์ไม่เคยมีประสบการณ์ทำม็อบ พื้นที่ที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือสภา ไม่ใช่ข้างถนน
พอ ลงมาทำแบบนี้แล้วดูไม่ดี ภาพของนายอภิสิทธิ์ก็ดูแย่ ความสุขุมลดลง บางครั้งใช้คำพูดหยาบๆ สถานการณ์แบบนี้แม้พรรคประชาธิปัตย์มีสิทธิ์เดินเกมนอกสภาได้ แต่ก็ไม่ควร เพราะไม่มีต้นทุนความเชี่ยวชาญ
การสนับสนุนม็อบที่สวนลุมฯ ยังพอได้ แต่เดินม็อบเองแบบนี้เสียหายมาก โดยเฉพาะการนำมวลชนเดินเข้ามาในพื้นที่ประกาศพ.ร.บ.มั่นคงฯ นับว่ายัง โชคดีที่ไม่มีการผลักดันเข้ามา ไม่เช่นนั้นคงเกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียหายมาก
พรรคประชาธิปัตย์ เล่นเกมนอกสภาน่าจะเสียหายต่อพรรคมากกว่า เพราะเขาไปปลุกมวลชนมาหน้าสภา แต่เมื่อไม่ได้ความรู้สึกของมวลชนก็จะเสีย ภาพลักษณ์ของพรรคก็ไม่ดี
มีคำถามตามมาว่า ตกลงพรรคประชาธิปัตย์จะเล่นการเมืองแบบนี้ใช่หรือไม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การ เปิดหน้าต่อสู้นอกสภาของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการเลือกวิธีต่อสู้ที่เร็วเกินไป การพิจารณากฎหมายยังเป็นแค่วาระแรกคือรับหลักการ ข้อกฎหมายยังสามารถแก้ไขได้
จึงมีเวลาตั้งข้อสงสัย สอบถามและตรวจสอบในช่วงการแปรญัตติ วาระ 2 และ 3 ซึ่งเปิดโอกาสให้กระทำได้และถูกต้องตามกฎหมาย
อีก ทั้งการอธิบายเหตุผลที่ต่อต้านก็พูดถึงตัวเนื้อหากฎหมายน้อยมาก เพราะพูดแต่ว่าหากกฎหมายนิรโทษกรรมมีผลบังคับใช้ จะไปช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นผิดจากทุกข้อกล่าวหา
หากพรรคประชาธิปัตย์เปิดตาอ่าน ร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจัง จะพบว่าช่วยนิรโทษกรรมให้ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่หลังปี 2549 เป็นต้นมา
อีกทั้งมีประชาชนจำนวนมากเรียกร้องให้กฎหมายนี้ผ่านการ พิจารณาโดยเร็ว เพราะยังมีนักโทษการเมืองที่รอการช่วยเหลือจำนวนไม่น้อย แต่หากมีการสอดไส้กฎหมายให้ครอบคลุมถึงแกนนำหรือพ.ต.ท.ทักษิณจริง ก็สมควรถูกคัดค้าน
ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ในการชุมนุมแสดงความ คิดเห็นทางการเมือง ทั้งประชาชนและพรรคการเมือง แต่ความแตกต่างระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองคือ
พรรคการเมืองมี บุคคลที่เป็นสมาชิกสภา มีเวทีแสดงความคิดเห็นตามระบบกลไกรัฐสภา ขณะที่ประชาชนไม่สามารถกระทำได้ นอกจากฝากเรื่องไว้กับส.ส.เท่านั้น จึงต้องใช้วิธีต่อสู้บนถนน
การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์น่าจะ สร้างปัญหา อาจกลายเป็นมาตรฐานที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ระบบรัฐสภาต้องล่มยิ่งเป็นพรรค ที่เคยประกาศอย่างแน่วแน่ว่าจะยึดมั่นในสภาด้วยแล้ว การเคลื่อนไหวขณะนี้จึงน่าประหลาดใจ
แม้การปลุกระดมโค่นระบอบทักษิณหรือล้มรัฐบาล จะมีมวลชนจำนวนหนึ่งพร้อมออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน แต่ก็ไม่น่าจะเป็นวงกว้างมากนัก
แต่ สิ่งที่ควรระวังในการเคลื่อนไหวทางการเมืองคือ คนที่จะบาดเจ็บ ถูกจับกุม หรือถูกดำเนินคดี ล้วนเป็นประชาชนทั้งสิ้น มักไม่เกิดกับแกนนำหรือนักการเมืองที่ปลุกระดมมวลชน
ขอฝากว่าสิ่งที่ จะทำให้การพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรมสามารถผ่านสภาไปได้โดยไม่มีเหตุรุนแรงคือ รัฐบาลต้องให้ความชัดเจนและแสดงจุดยืนเดิมว่าจะช่วยเหลือเฉพาะประชาชน
ส่วน การพิจารณากฎหมายอื่นต่อจากนี้ ไม่น่าจะเกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างที่เป็นอยู่นี้ แต่น่าจะเป็นการใช้องค์กรอิสระต่างๆ เป็นเครื่องมือต่อสู้กับรัฐบาลมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น