ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
เงินกู้ 2 ล้านล้าน
โดย วีรพงษ์ รามางกูร
ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งที่สื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามกัน
มากคือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
เพื่อมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อันได้แก่
ระบบการขนส่งโดยราง ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน ทางด่วน
แต่ไม่เห็นพูดถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
อ่าน ข่าวดูแล้วก็อดสงสารประเทศไทยไม่ได้ เพราะมีนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน การคลัง ออกมาผสมโรงอยู่ด้วยมากมาย เหตุผลก็คือ กลัวรัฐบาลนี้จะสร้างหนี้ให้ลูกหลานต้องแบกภาระ
สาเหตุ ที่จะมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ก็เพราะว่าประเทศไทยมีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปีแล้ว หลักฐานง่าย ๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
มาตลอด 15 ปี จนบัดนี้ก็ยังเกินดุลอยู่ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแปลว่าเรามีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปี
เงินออมส่วนเกินที่สูงกว่าเงินลงทุนนี้แหละคือหยาดเหงื่อของคนรุ่นเราที่อดออมไว้ให้ลูกหลาน นับ ๆ ดูแล้วก็กว่า 6-7 ล้านล้านบาท
อ่าน ข่าวดูแล้วก็อดสงสารประเทศไทยไม่ได้ เพราะมีนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน การคลัง ออกมาผสมโรงอยู่ด้วยมากมาย เหตุผลก็คือ กลัวรัฐบาลนี้จะสร้างหนี้ให้ลูกหลานต้องแบกภาระ
สาเหตุ ที่จะมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ก็เพราะว่าประเทศไทยมีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปีแล้ว หลักฐานง่าย ๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
มาตลอด 15 ปี จนบัดนี้ก็ยังเกินดุลอยู่ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแปลว่าเรามีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปี
เงินออมส่วนเกินที่สูงกว่าเงินลงทุนนี้แหละคือหยาดเหงื่อของคนรุ่นเราที่อดออมไว้ให้ลูกหลาน นับ ๆ ดูแล้วก็กว่า 6-7 ล้านล้านบาท
เรา แต่เป็นทรัพย์สินที่จะเสื่อมค่าลงทุกวัน ซึ่งเป็นความคิดของรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาที่คิดไม่เป็น เพราะคิดว่าเราไม่มีเงิน ถ้าจะทำต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศมาลงทุน
ทาง ที่ถูกก็คือ ควรเปลี่ยนทรัพย์สินของชาติจากกระดาษที่ออกโดยรัฐบาลอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป มาเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ ซึ่งจะมีมูลค่าราคาการลงทุนก่อสร้างแพงขึ้นเรื่อย ๆ ไว้ให้ลูกหลาน
เรา ใช้ เพราะถ้ารอให้ลูกหลานทำ ราคาคงแพงกว่านี้มาก อีกทั้งเงินออมในกระเป๋าเราที่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ก็คงเสื่อมค่าลงไปทุกวันด้วย
เมื่อ จะลงทุนขนาดใหญ่ ใช้เงินมาก จะระดมเงินออมในประเทศที่มีอย่างเหลือเฟือมาลงทุนอย่างไร ก็มี 2 วิธี คือ ใช้จากภาษีอากร หรือไม่ก็กู้จากประชาชนผู้ออม ขอใช้คำว่ากู้จากประชาชนผู้ออม ไม่ใช่กู้จากต่างประเทศ
ลอง มาดูว่าถ้าใช้จากภาษีอากรโดยบรรจุไว้ในงบประมาณประจำปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.วิธีการของบประมาณ ถ้ารายได้ไม่พอและเงินกู้ตามปกติติดเพดาน ก็ต้องขึ้นภาษีเอากับประชาชน ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้อง เพราะของเหล่านี้ใช้ไปถึงลูกถึงหลาน แล้วให้รุ่นเราจ่ายทั้งหมดก็ไม่น่าจะถูก เพราะโครงการที่ลงทุนมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน อาจจะเลยศตวรรษก็ได้
แต่ ถ้าไม่เอาภาษีมาใช้โดยใส่ในงบประมาณประจำปี ก็ต้องกู้จากประชาชนผู้ออม ผู้ออมก็จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนต่อการอดออมมาตลอด 15 ปี ดอกเบี้ยก็ไม่ได้แพงอะไรนัก แล้วก็ทยอยจ่ายเงินต้นไป 50 ปี ทั้ง ๆ ที่อายุการใช้งานของระบบราง สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ นั้น
ยืน ยาวกว่า 50 ปีมากนัก อาจจะถึง 100 ปีก็ได้ ดูอย่างรางรถไฟ ทางรถไฟที่รัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงท่านไปออกพันธบัตรเงินปอนด์ที่ฝรั่งเศสมาลง ทุน ใช้มา 120 ปี
แล้วก็ยังอยู่ ถ้ารุ่นเราต้องมาจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ค่าราง อาจจะต้องรออีกจนเราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเดี๋ยวนี้ถึงจะทำได้
มรดก จากรุ่นพระองค์ท่านนี้ รับภาระหนี้มาตั้งแต่รุ่นทวดรุ่นปู่ แต่มีรางรถไฟให้รุ่นเราใช้ รางรถไฟของพระองค์ท่านนอกจากให้ผู้คนใช้เดินทางแล้ว ยังสามารถนำอำนาจรัฐไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยเป็น
"รัฐ ชาติ" อย่างสมบูรณ์ด้วย มิฉะนั้นป่านนี้ 4 จังหวัดภาคใต้กับ 7 จังหวัดภาคเหนือ แล้วยังจังหวัดภาคอีสานคงไม่ได้รวมอยู่ใน "รัฐไทย" แล้ว
ของ ที่มีอายุเป็นร้อย ๆ ปี และลงทุนด้วยเงินออมของประชาชนในประเทศ เป็นของที่ไม่อันตรายต่อฐานะการคลังของประเทศ จะคิดอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนของโครงการที่มีอายุยาว ๆ ขนาดนั้นคิดลำบาก
ที่ สำคัญเมื่อกู้มา 2 ล้านล้านบาทแล้ว ไม่ได้กู้มาก่อสร้างสิ่งที่ไม่มีผลตอบแทนคืน เพราะกู้มาให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการกู้ต่อ หรือบางอย่างอาจจะเอาไปร่วมทุนกับรัฐบาลกู้ต่อ ซึ่งจะมีผลตอบแทนคืนให้รัฐบาลไปใช้หนี้ประชาชนผู้ออมในอนาคตด้วย เพราะโครงการเหล่านี้ไม่ได้ใช้ฟรีเหมือนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท แต่รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการ
ย่อมต้องใช้หนี้คืนรัฐบาล ให้ไปคืนประชาชน ถึงตอนนั้นประชาชนผู้ออมอาจจะไม่
อยาก ให้ใช้คืนก็ได้ เพราะได้ดอกเบี้ยดีกว่าฝากธนาคารและมั่นคงกว่าฝากธนาคาร แม้ว่าจะสร้างรางให้ฟรีเหมือนทางหลวงแผ่นดินก็ยังคุ้มค่า ดีกว่าเอาไปซื้อพันธบัตรอเมริกันดอกเบี้ยถูก ๆ
คำ ถามที่ควรถามแต่ยังไม่ได้ถามก็คือ เมื่อลงทุนแล้วรัฐบาลจะจัดการบริหารอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพและสามารถคืนทุนได้ภายใน 50 ปี รัฐบาลจะลงทุนเรื่องราง แล้วจัดประมูลสัมปทานให้เอกชนลงทุน
เรื่องรถ การเดินรถ การบำรุงรักษา โรงซ่อมบำรุง จะทำเองหรือให้เอกชนทำ ค่าโดยสารจะคิดเท่าไหร่
ระยะ เวลาขาดทุนนานเท่าไหร่ 10 ปี หรือ 15 ปี กระแสเงินสดระหว่างนั้นจะจัดการอย่างไร ถ้าค่าโดยสารแพงไปคนอาจจะใช้น้อย ถ้าถูกเกินไปกระแสเงินสดจะไหวไหม จะขาดทุนแค่ไหน
ถ้าไม่ไหวจะทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันดู
ที่ ควรจะทำก็คือ รางเป็นของรัฐบาลเหมือนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท ลงทุนให้ฟรี ตั้งเงื่อนไขค่าโดยสารและคุณภาพของบริการ แล้วเปิดประมูลไปทั่วโลก ให้สัมปทานเอกชนมา
เดินรถ ทำนองเดียวกันกับรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพฯ
คราว นี้ ถ้ากู้จากแหล่งเงินทุนภายในประเทศ รัฐบาลเป็นลูกหนี้ แต่ประชาชนเป็นเจ้าหนี้ ประชาชนผู้เสียภาษีเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหลานรับภาระจ่ายคืนหนี้สินที่ตนเองก็เป็นเจ้าหนี้ด้วย แต่ประชาชนทั้งหมดเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่รัฐบาลจะลงทุน
การ บำรุงรักษาซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากในการบริหารจัดการ ก็ควรจะตั้งเงื่อนไขแล้วเปิดประมูล หรือจะพ่วงไปกับการประมูลสัมปทานการเดินรถด้วยก็จะดี จะได้ไม่มีปัญหาระหว่างผู้บำรุงรักษาและผู้เดินรถ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจอย่าทำเองเลย ได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งในแง่รายได้ รายจ่าย และคุณภาพของบริการ
สำหรับรถไฟราง คู่ความกว้าง 1 เมตรของเดิมก็ควรวางให้ทั่วประเทศ เอาไว้ใช้ขนสินค้าที่ไม่ต้องการความเร็ว และไว้บริการประชาชนรายได้น้อย รวมทั้งบริการฟรีสำหรับประชาชนที่ยากจน เป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน รวมทั้งสร้างสายใหม่ แต่ที่อยากเห็นคือรถไฟรางแคบก็ใช้ไฟฟ้า จะได้ประหยัดพลังงานได้ด้วยอีกโสดหนึ่ง
พวก เราเคยสร้างประวัติศาสตร์ค้านโครงการเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาแล้ว คราวนี้ก็คงเป็นประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน คือคัดค้านโครงการลงทุนไปเสียหมด เพราะกลัวการคอร์รัปชั่น ไม่ใช่กลัวการลงทุนมากเกินไป หรือลงทุนในโครงการที่ไม่มีประโยชน์
คราวนี้ก็คงเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น