www.siamintelligence.com/fabio-polenghi-death-redshert/
ที่มาของการตาย
จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหรือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ของทหารซึ่งนำโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ภายใต้คำสั่งของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. เมื่อช่วงเดือน พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมกว่า 90 คน ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มคนเสื้อแดง และคนกลุ่มอื่นๆ ผ่านการกระชำวงล้อมและใช้กระสุนจริง ด้วยเหตุผลของรัฐบาลที่มองว่าผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้ายทำลายประเทศ
ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ กว่า 3 ปี ที่ความยุติธรรมถูกถามหาในสังคมไทย และถูกพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมในวงกว้างของเหตุการณ์สลายการชุมนุม ในครั้งนั้น ในฐานะที่ว่ารัฐกระทำการเกินกว่าเหตุหรือผู้ชุมนุมกระทำผิดจริง และในกระบวนการปัจจุบันเหตุการณ์สลายการชุมนุมดังกล่าวได้เข้าสู่โหมดของ ระบบยุติธรรม ในฐานะศาลไทย ที่จะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าการตายของกลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ และคนกลุ่มอื่นๆ นั้น มีสาเหตุมาจากอะไร ใครเป็นผู้กระทำ
จากระยะเวลาที่ผ่านมาคดีการตายของคนกลุ่มต่างๆ ได้เข้าสู่โหมดของความยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นคดีการตายของนายพัน คำกอง,นายชาติชาย ชาเหลา, นายชาญณรงค์ พลศรีลา, ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ “อีซา” ซึ่งศาลพิจารณาพิสูจน์ตัดสินแล้วว่าตายจากกระสุนของเจ้าหน้าที่ทหาร และจะพิจารณาการตายของผู้เสียชีวิตรายต่อไปจนกว่าจะหมด
ศาลตัดสินคดีการตายของ ฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวอิตาลี
วันที่ 29 พ.ค.2556 ที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้อ่านคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพกรณีการถึงแก่ความตายของ นายฟาบิโอ โปเลงกี โดยมีนายแบรดลีย์ คอกซ์ ช่างภาพชาวอเมริกันที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนาย ฟาบิโอถูกยิง เป็นพยานในคดี ผ่านการยื่นคำร้องของสำนักอัยการสูงสุด โดยคำร้องขอให้ศาลตีความ เหตุก่อนยิงว่าน่าเชื่อว่าเป็นการตายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ขอให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งแสดงว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน ตายเมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตายศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องและมารดาผู้ตาย และสรุปจากข้อเท็จจริงที่ว่าระหว่างวันที่ 12 มี.ค.2553 ถึงวันที่ 19 พ.ค.2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน และมีการกระชำพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ผ่านคำสั่งของ ศอฉ.และระหว่างที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่และเคลื่อนเข้ากระชับพื้นที่ นั้น ได้มีนักข่าวซึ่งรวมผู้ตาย เข้าไปทำข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อเหตุการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุม นักข่าว และผู้ตายได้วิ่งหลบหนีจากแยกราชดำริไปยังแยกราชประสงค์ เมื่อผู้ตายวิ่งมาถึงบริเวณเกาะกลางถนนหน้าบริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ปรากฏว่าผู้ตายถูกยิงล้มลง จากนั้นมีคนนำผู้ตายไปส่งที่โรงพยาบาลตำรวจ และผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล
โดยศาลยังพิจารณาวินิจฉัยต่อถึงพฤติการณ์การตายของผู้ตาย โดยศาลพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพยาน โดยศาลชี้ว่าผู้ตายถูกยิงล้มลงขณะที่วิ่งหลบหนีไปทางแยกราชประสงค์ ระหว่างที่เจ้าพนักงานกำลังเคลื่อนมาจากแยกศาลาแดง พยานทั้ง 2 ปากเป็นคนกลางไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับฝ่ายใด เชื่อว่าพยานเบิกความตามความจริงที่รู้เห็นมา
เมื่อรับฟังประกอบความเห็นของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อได้ว่าวิถีกระสุนปืนยิงมาจากทางเเยกศาลาแดง ซึ่งเป็นทิศทางที่เจ้าพนัก งานกำลังเคลื่อนเข้ามาควบคุมพื้นที่จนถึงแยกราชดำริ อีกทั้งแพทย์ผู้ตรวจศพผู้ตาย และ ผู้แปลผลการชันสูตรพลิกศพยังเบิกความสอดคล้องต้องกัน โดยสรุปว่าบาดแผลของ ผู้ตายน่าจะเป็นบาดเเผลที่เกิดจากกระสุนปืนที่ยิงออกมาจากอาวุธปืนที่มีความ เร็วสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น