คำผกา
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับที่ 1703 วันที่ 5 - 11 เม.ย.2556.
1. เราโอดครวญกันมาโดยตลอดเกี่ยวกับระบบการขนส่งและคมนาคมของไทย เราเฝ้าคร่ำครวญกันมาหลายสิบปีว่าทำไม รถไฟไทยถึงได้ล้าหลังน่าอับอาย เข้าสู่สหัสวรรษ รถไฟของเราก็ยังอยู่ในสภาพ
แมลงสาบวิ่งพล่าน ส้วมเหม็น มีแต่คราบน้ำมูก น้ำลาย มา สายเป็นอาจิณ และยังร้องเพลง "ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง" อย่าเสมอต้นเสมอปลาย
เราโอดครวญกันมาหลายสิบปีว่า การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของไทยนับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขสงครามเย็น เรารับเอาแบบแผน
การสร้างเมืองที่เน้นการขนส่งด้วย "ถนน" ทั้งๆ ที่ประเทศเล็กๆ ซึ่งไม่มีทรัพยากรด้านพลังงาน ของตนเองควรพัฒนาระบบขนส่งด้วยระบบรางมากกว่า
2. เราโอดครวญกันมาหลายสิบปีถึงอาการ "บ้ารถยนต์" ของคนไทย ซึ่งอาการบ้ารถยนต์นั้น อาจมีมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่ารถยนต์ในฐานะเครื่องมือแสดงสถานภาพทางสังคม หรือ
เราต้องมีรถยนต์เพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นในการเดินทาง เราต้องมีรถยนต์เพราะรัฐบาล ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการ "เคหะสาธารณะ" หรือ public housing ที่เร้าใจ เชิญชวนให้
ประชากรวัยทำงานอยากอยู่แฟลตในเมือง ใกล้ ที่ทำงานมากกว่าจะตะเกียกตะกายไปซื้อบ้านอยู่ ชานเมืองแล้วชีวิตต้องมาลงเอยด้วยการขับรถมาทำงานเช้า -เย็น
เราโอดครวญอยากให้คนไทยปั่นจักร ยายไปนู่นมานี่เพื่อลดโลกร้อน เพื่อประหยัด พลังงาน เพื่อโลกสีเขียว เราเรียกร้องให้คน ไทยใช้ "ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ" มากขึ้น
เราก่นด่านโยบายรถคันแรก แต่พฤติกรรมการ "เดินทาง" ของมนุษย์จะเปลี่ยนได้อย่างไร หาก ไม่มีการ "ผ่าตัด" ครั้งใหญ่ของ "ภูมิศาสตร์" การเดินทาง และระบบไหลเวียนของสิ่งมีชีวิต
และวัตถุมวลสารทุกอย่างใน "พื้นที่" ที่มีชื่อว่า "ประเทศไทย"
3. ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทย ไม่ได้ตั้งอยู่บนดาวอังคารหรือเป็นเกาะ เราเป็น mainland เป็นแผ่นดินผืนเดียวเชื่อมต่อกันกับ "พื้นที่การเมืองสมมุติ" อันมีชื่อว่า ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย อยู่ด้วย
การ "ผ่าตัด" ระบบ ขนส่งของไทยจึงต้องมีจินตนาการถึงแผ่นดิน ในภูมิภาคนี้ทั้งหมด และเป็นจินตนาการที่แตกต่างจากยุคสงครามเย็น แต่น่าเศร้าว่า ในหกทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยเรียนประวัติศาสตร์
และภูมิศาสตร์ด้วยจินตนาการของ "ขวานทอง" อันโดดเดี่ยว เดียวดาย หนาวเหน็บ เต็มไปความหวาดระแวงว่า เพื่อนบ้านในนามของคอมมิวนิสต์จะเข้ามางาบ กลืนขวานของเราลงท้อง และพลันเราจะหาย ไปจากโลกนี้
4. เราโอดครวญกันมากว่า "คนไทย" ไม่มีสำนึกเรื่อง "พื้นที่สาธารณะ" เราเป็นมนุษย์ที่ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เราขับรถใช้ถนน แต่ไม่เคยมีการบ่มเพาะวัฒนธรรมการใช้ "ถนน" ร่วมกัน
เราคือคนไทยที่หน้าด้านจนสามารถทำให้หนึ่งเลนบนถนนกลายเป็นที่จอดรถอย่างไม่รู้สึกรู้สา เราสามารถเอากระถางต้นไม้มาจับจองพื้นที่บนถนนหน้าบ้านมาเป็นที่จอดรถส่วนตัว
เราเป็นประเทศที่คนนึกอยากจะโบกรถให้ จอดที่ไหนก็จอด อยากข้ามถนนที่ไหนก็ข้าม บ้างก็อธิบายว่า คนไทยยังขับรถและใช้ถนน ตรอกซอกซอยด้วยไวยากรณ์การพายเรือที่คด เคี้ยวไปตามแม่น้ำาลำคลอง
การขับและขี่รถบนถนนใน เมืองไทยจึงมิใช่การ "ขับขี่" และการเคารพกฎจราจร แต่เป็นการ "เลาะเลี้ยว ลื่นไหล สอดแทรก หลบหลีก" ไปตามกระแสธารของยานพาหนะบนท้องถนน
5. เหล่าผู้ดีมีการศึกษาทั้งหลายยังโอดครวญ กันมากเรื่องคนไทยไม่มีวินัย คนไทยไม่มี "สำนึกทางเวลา" แบบสมัยใหม่ คนไทยยัง ชอบบอกเวลากันด้วยคำว่า "แป๊บนึง", "สายๆ", "บ่าย" หรือ "เย็นๆ"-
การกำหนดเวลาเป็นเลขผา นาทีชัดเจน เช่น เก้าโมงสิบเจ็ดนาที เก้าโมงสิบ แปดนาทีเป็นอะไรที่คนไทยไม่คุ้นเคย ทำไม่เป็น เห็นว่าน่าหัวร่อ
เว้นแต่กำหนดเป็นฤกษ์แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ออกรถใหม่ คนไทยจึงจะหันมาเคร่งครัดเรื่องเวลา นาที กันอย่างมิยอมให้ผิดเพี้ยน
6. สำหรับฉันโครงการสองล้านล้านของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผ่าตัดระบบโลจิสติกส์การขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำสร้างจุดเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน สร้างจุดเชื่อมต่อของการขนส่งทาง บก น้ำ อากาศ ปฏิวัติการ "เคลื่อนย้ายวัตถุ" จากถนนมาสู่ระบบราง-ทั้งหมดนี้จะเป็นการ เปลี่ยนโฉมหน้าประเทศครั้งสำคัญ
7. สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความยากจนทางวิชาการเข้มข้นมาก เราทุ่มเททรัพยาการไปกับการเขียนงานประวัติศาสตร์เพื่อเชิดชูวีรบุรุษ และวีรสตรีทั้งที่ มีอยู่จริงและไม่มีอยู่จริง แต่ราแทบจะไม่เคยมีงานศึกษา ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าการเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดขึ้นของ นวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกนี้แต่ละครั้ง ล้วน นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตสำนึกรับรู้ อุดมการณ์ การเมือง อุดมคติ ความใฝ่ฝันของมนุษย์
กำเนิดใหม่ของเทคโนโลยีแต่ละครั้งล้วนมี ส่วนสำคัญในการก่อรูปใหม่ของทั้งร่างกายและ จิตวิญญาณของมนุษย์ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน
8. หากประชากรไทยห้าสิบเปอร์เซ็นต์ เปลี่ยน การเดินทางจากการนั่งสองแถว ขับรถ ขี่รถ เครื่อง ไปเป็นการเดินทางด้วยรถไฟ เช้า-เย็น สิ่งแรกที่เปลี่ยนแปลงในตัวของพวกเขาคือ
สำนึกทางเวลาที่ต่อไปนี้จะผูกพันอยู่กับเวลาจอดเข้า-ออกของรถไฟในแต่ละสถานี
ต่อไปนี้คนไทยจะไม่เคร่งครัดกับเลขผานาทีเฉพาะตอนที่เป็นฤกษ์ส่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวขึ้นเตียง แต่เคร่งครัด ตรงต่อเวลาในทุกกิจกรรม ในชีวิตประจำวันของเขา
9. มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการปฏิวัติระบบคมนาคมและการขนส่งในประเทศจะเป็นลบ หรือบวก จะขาดทุนหรือกำไร อย่างไร สำหรับ นักเรียนประวัติศาสตร์อย่างฉันไม่สำคัญเท่ากับ
การรอคอยความเปลี่ยนแปลงทางจิตสำนึก และอุดมการณ์ของคนไทยที่จะได้เคลื่อนเข้าสู่ "ความเป็นสมัยใหม่"
อันเป็นสภาวะที่ชนชั้นนำประเพณีนิยม พยายามสกัดกั้นทุกวิถีทางมิให้เราได้เข้าถึง ทั้งโดยการรัฐประหาร โดยการผูกขาดทางเศรษฐกิจ โดยการสถาปนาระบบมาเฟียใหญ่ เรียกค่าคุ้มครองคนทั้งประเทศ
โดยพิธีกรรม ประเพณีประดิษฐ์ โดยโฆษณาชวนเชื่อ โดยการสมอ้างแต่งประวัติศาสตร์จอมปลอม โดยการ ครอบงำระบบการศึกษา หลักสูตร แบบเรียน ฯลฯ
10. อินเตอร์เน็ต ได้ปลดปล่อยมนุษย์พันธุ์ "ไทย" ออกไปตั้งคำถามกับความเป็นไทยได้ ในระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้การผ่าตัดระบบขนส่งที่จะสร้างภูมิศาสตร์และจินตนาการใหม่ ต่อ "พื้นที่" และการกระจาย
ศูนย์กลางออกจากกรุงเทพฯ ทำให้จุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจอาจย้ายไปที่ "ชายแดน" orientation ของการเมือง และเศรษฐกิจจะกระจัดกระจายออกจากเส้นเขตแดนคร่ำครึของพวกคลั่งชาติออกไปทุกทิศทาง
อีกยี่สิบปีข้างหน้า คนไทยจะพูดถึง พุกาม คุนหมิง อุดรฯ พนมเปญ หนองคาย แม่สอด สุวรรณเขต เชียงราย เชียงแสน ฯลฯ มากกว่าพูดถึงกรุงเทพฯ
การเชื่อมต่อเหล่านี้จะบังคับให้คนไทยต้อง ออกจากกะลาไปโดยปริยาย เพราะข่าวสารที่น่าสนใจจะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ
แต่คนไทยจะสนใจมากขึ้นว่า มีความ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองอะไรในประเทศ ใน เมืองที่เราเชื่อมต่อด้วยอย่างใกล้ชิดมากกว่า
หัวเมืองทางเหนืออาจจะสนใจข่าวจากปักกิ่ง มากกว่ากรุงเทพฯ
หัวเมืองทางใต้จะสนใจข่าวที่เกิดขึ้นในกัวลาลัมเปอร์พอๆกับข่าวจากกรุงเทพฯ
11. การออกจากรถส่วนตัว จะทำให้คนไทยต้องออกมา "ปะทะ" กับพื้นที“ส่วนรวม" หรือพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ราคาที่ดินที่แพงขึ้นจะบีบให้คนมีทางเลือกจะอยู่ "บ้านเดี่ยว" มีสวน มีสระ ส่วนตัวหรือส่วนหมู่บ้าน(จัดสรร) น้อยลง "สวนสาธารณะ" และ "พื้นที่ใช้สอยสาธารณะ" จะกลายเป็น ความจำเป็นของสังคมมากขึ้น
คนที่ออกมาเรียกร้องในมีพื้นที่สาธารณะจะคือคนที่ต้องการ พื้นที่สาธารณะจริงๆ ในขณะที่ในปัจจุบัน กลุ่มคนที่ออกมาเรียก ร้องสวนสาธารณะและเลนจักรยาน
ล้วนแต่เป็นคนที่มี "สวน" อยู่บ้าน และมี "รถยนต์" ขับ กันเสียเป็นส่วนใหญ่ ความแตกต่างของการเรียกร้องเลนจักรยานหรือสวนสาธารณะของคนที่มีความจำเป็น
จะเป็นการเรียกร้องเชิง "ประโยชน์ใช้สอย" เช่น เรียกร้องสวนสาธารณะเพราะอยากนั่งกินส้มตำใต้ร่มไม้บ้าง
ในขณะที่การเรียกร้องอยากมีสวนสาธารณะของคนที่มี "สวน" ของตนเองอยู่ในบ้าน เป็นการเรียกร้องเพื่อการ "เพิ่มพื้นที่สีเขียว" ให้กับเมือง เพิ่มปอดให้กับเมือง
เพื่อแก้ปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
12. การขนส่งเครือข่ายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ของพื้นที่แบบใหม่ที่ช่วยสร้างศักยภาพในการ มองโลกแบบแนวราบ แทนที่การมองแบบแนวดิ่งอย่างที่คนไทย
ถูกทำให้เป็นอยู่ทุกวันนี้ ในทางอ้อมมันจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรม ที่เป็นประชาธิปไตย
การปฏิรูปการเมือง การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น การกระจายความเจริญ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมใน แบบที่หมอประเวศโหยหามาหลายสิบปี
ก็น่าจะใกล้กับความเป็นจริงมากขึ้น
แน่นอนว่าการปฏิวัติระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ใหญ่ขนาดนี้ ต้องมีปัญหามากมายให้ต้องเผชิญ ทั้งความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่ไม่ลงรอยกัน
ผลประโยชน์ของ ภูมิภาคต่างๆ ที่ย่อมขัดแย้งกัน ปัญหาของการช่วงชิงทรัพยากร มีกลุ่มคนเล็กคนน้อยที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ มีการปะทะกันของการพัฒนา
กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ มีการคอร์รัปชั่น ฉกฉวย หากิน จากทุกภาคส่วน
13. พวกเราคงไม่ใช่นักฝันที่มองเห็นแต่สัมฤทธิผลอันเรืองรอง แต่ realistic พอที่จะรู้ว่าโครงการนี้จะไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ และไม่รับประกันความสุขและความพึงพอใจ
ของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้
และเราก็พึงรู้ด้วยว่ามีแต่กระบวนการ "ประชาธิปไตย" เท่านั้นที่จะช่วยลดแรงเสียดทานของความขัดแย้ง มีแต่ "กระบวนการประชาธิปไตย" เท่านั้นที่คนเล็กคนน้อย
จะได้ส่งเสียง
มีแต่กระบวนการ "ประชาธิปไตย" เท่านั้นที่จะเปิดพื้นที่ให้แก่ การต่อรองผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเกิดขึ้นอย่างโปร่งใสที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้ แม้จะไม่รับประกัน
"ความเสมอภาค" ของผลลัพธ์
แต่รับประกันความเสมอภาคในโอกาสของการช่วงชิงต่อรอง
14. ถึงที่สุดการมี "รถไฟความเร็วสูง" อาจเป็นผลลัพธ์ที่อยู่ ปลายทาง แต่ในระหว่างทางของโครงการผ่าตัดประเทศครั้งนี้คือโอกาสของคนไทยที่จะได้มีประสบการณ์ทางการเมือง
และการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองตรวจสอบ
และนำเสนอความคิดเห็นของตนเองไปยังภาครัฐ ต่อรองกดดัน เพื่อให้ "กลุ่ม" ของตนเองได้ประโยชน์สูงสุด
นี่คือโอกาสของการเรียนรู้
แต่ดูเหมือนคนไทยจะถูกสอนให้ เป็น "ข้า" ทุกชาติไป
เลยกลัวที่ต้องเป็นพลเมืองที่มีประสบการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น