สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกควบคุมตัวในเรือนจำมา 1 ปี 8 เดือน
ในข้อหาหมิ่นพระประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
โดยถูกจับที่ด่านตรวจคนเข้าเมื องอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ขณะพาลูกทัวร์ของบริษัททัวร์ ของเขาเข้ายื่นเอกสารเข้าไปยั งประเทศกัมพูชา
ทนายความได้ยื่นประกันตัวแล้ วกว่า 10 ครั้งแต่ศาลปฏิเสธคำร้อง
ความคืบหน้าล่าสุด วันพุธที่ 19 ธันวาคมนี้ ศาลนัดพร้อมอีกครั้ง ก่อนจะมีคำพิพากษา
เขาโดนจับวันที่ 30 เมษายน 2554 จากกรณีที่เป็นบรรณาธิการนิ ตยสาร
Voice of Taksin ซึ่งตีพิมพ์บทความ 2 ชิ้นในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2553
โดยผู้ใช้นามแฝงว่า จิตร พลจันทร์ ซึ่งสมยศเบิกความในศาลว่า คือ นายจักรภพ
เพ็ญแข บทความนั้นชื่อ แผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น และ 6 ตุลา แห่ง
พ.ศ.2553
สุวิทย์ หอมหวล ทนายจำเลย กล่าวว่า การนัดพร้อมครั้งนี้เลื่ อนมาจากนัดที่แล้ว (19 ก.ย.55) และจะเป็นการดูกระบวนการต่างๆ ที่ยังเหลือ รวมทั้งจะมีการอ่านคำวินิจฉั ยของศาลรัฐธรรมนูญหลังจากที่ ทางจำเลยยื่นไปว่า มาตรา 112 ขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ผลนั้นทราบก่อนแล้วจากเว็ บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญว่าศาลวินิ จฉัยแล้วไม่ขัด จากนั้นน่าจะมีการนัดฟังคำพิ พากษา แต่เชื่อว่าจะไม่อ่านคำพิ พากษาเลยในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ เนื่องจากโดยปกติแล้วต้องมี การนัดหมายล่วงหน้า
ทนายจำเลยยังกล่าวสรุปถึงข้อต่ อสู้
ในคดีว่า ประการแรก มีการสู้ในเรื่องเนื้อหา โดยชี้ว่า
บทความนี้ไม่เป็นการหมิ่นสถาบัน ไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมาย
เพราะไม่ได้หมายความไปถึงสถาบั นกษัตริย์ แต่โจทก์เพียงนำคนไม่กี่คนมาอ่ านแล้วตีความว่าเป็นการเขียนถึ งกษัตริย์
ประการที่สอง สมยศไม่ใช่คนเขียน ดังนั้นไม่ต้องรับผิ ดชอบตามกฎหมาย เป็นไปตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีการแก้ไขใหม่จากเดิมที่ บรรณาธิการต้องรับผิด ชอบด้วย นอกจากนี้สมยศยังไม่ใช่บรรณาธิ การตามกฎหมายด้วย แต่เจ้าหน้าที่อ้างว่าสมยศเป็ นบรรณาธิการโดยพฤตินัย
ประการที่สาม การยื่นเรื่องมาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องนี้ทราบผลวินิจฉัยแล้ว
“เรื่องนี้เป็นเรื่องทางการเมื อง เพราะสมยศเขาเคลื่อนไหวแรง ไม่ได้แรงโดยแอคชั่น แต่แรงโดยเนื้อหา สุเทพ (เทือกสุบรรณ) เคยขู่ออกทีวีเลยว่าจะต้ องเอาเข้าคุกให้ได้พวกที่อยู่ ในผังล้มเจ้า ซึ่งชื่อสมยศก็ถูกใส่ไว้ด้วย” สุวิทย์กล่าว
ผังล้มเจ้าถูกยอมรับไปแล้วว่ าไม่มีมูล ทั้งจาก พ.อ.สรรเสริญแก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ.เอง หรือ สำนวนการสอบสวนและความเห็ นของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งถึงอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
"จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุ คคลตามผัง...จะได้ร่วมกันในลั กษณะเป็นขบวนการหรือองค์กร เพื่อกระทำความผิ ดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ประกอบมาตรา 83"
แต่เรื่องราวต่อเนื่องจากนั้นก็ ยังไม่จบ
สมยศ เป็นหนึ่งในจำเลยไม่กี่คนที่ต่ อสู้
คดี และยืนยันว่าเนื้อหาไม่ผิด (ไม่เกี่ยวกับสถาบัน)
ชื่อของเขาถูกพูดถึงบ่อย แต่อาจยังไม่มีใครรู้จักเขานัก โดยเฉพาะบทบาทอื่นๆ
นอกเหนือจากการเมือง
ในช่วงไม่กี่ปีของความขัดแย้ งทางการเมือง สมยศ เป็นที่รู้จักดีในนามแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เขาเริ่มออกมาเคลื่อนไหวตั้งแต่ หลังรัฐประหารใหม่ๆ ก่อนจะมีขบวนการคนเสื้อแดงอย่ างเป็น
เรื่องเป็นราว เขาร่วมกับสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายขุด จรัล
ดิษฐาอภิชัย หมอเหวง โตจิราการ หมอสันต์ หัตถีรัตน์ ครูประทีบ อึ้งทรงธรรม
จัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวขึ้นซึ่ งนับก้าวแรก ก่อนจะไปสู่แนวร่วมประชาธิ ปไตยขับไล่เผด็จการหรือ นปก. ซึ่งเขาเป็นแกนนำรุ่น 2 จนกระทั่งมีการขยับขยายกลายเป็ นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็ จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในปัจจุบัน
นอกเหนือจากบทบาททางการเมือง อาจมีไม่กี่คนที่รู้ว่าเส้ นทางชีวิตส่วนใหญ่ของสมยศนั้ นอยู่บน ‘ถนนสายแรงงาน’ ประวัติศาสตร์การต่อสู้เด่นๆ ของแรงงาน หลายกรณีมีชื่อของเขาร่วมส่ วนอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย เช่น กรณีการต่อสู้เรียกร้องค่ าชดเชยคนงานเคเดอร์ โรงงานตุ๊กตาที่ถูกไฟไหม้ ปี 2536
สุวรรณา ตาลเหล็ก แห่งกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ทีมงานคนสนิทของสมยศ
เล่าให้ฟังว่า เธอร่วมงานกับเขามาตั้งแต่ปี 2540 ที่
ศูนย์บริการข้อมูลและฝึ กอบรมแรงงาน (ศบร.) ซึ่งสมยศก่อตั้งมาตั้งแต่หลั งการรัฐประหารปี 2534
อย่างไรก็ตาม สมยศเริ่มทำงานด้านสิทธิ แรงงานมาก่อนหน้านั้นแล้ว โดยเฉพาะย่างก้าวสำคัญอย่ างการร่วมกันกับขบวนการแรงงาน นักศึกษา นักกิจกรรม ผลักดันเรื่องระบบประกันสั งคมจนกระทั่งประสบความสำเร็ จในยุครัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ
ศูนย์นี้มีบทบาทในการให้การศึ กษา ฝึกอบรมด้านกฎหมายคุ้ มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้กั บคนงาน เคลื่อนไหวเรียกร้องการเพิ่มค่ าแรงขั้นต่ำ ยกเลิกระบบเหมาช่วง ส่งเสริมการรวมตัวของคนงาน การจัดตั้งสหภาพ ฯลฯ เรียกได้ว่า ช่วยให้คนงานได้มีความเข้มแข็ งในการต่อรองกับนายจ้างและสร้ างความเป็นธรรมขึ้นในระบบการจ้ างงาน
“เขามีบทบาทในการนำคนงานยื่นข้ อเรียกร้อง เจรจานายจ้าง เรื่องที่ร่วมกันกับองค์ กร
แรงงานต่างๆ ผลักดันจนสำเร็จก็มีเรื่อง สิทธิในการลาคลอด
การประกันการว่างงาน ซึ่งเขาบทบาทเด่น เพราะการตามติดแบบไม่มีทิ้ง”
สุวรรณากล่าว
เยาวภา ดอนสี เจ้าหน้าที่สหพันธ์แรงงานฯ ซึ่งทำงานกับเครือข่ายช่วยเหลื อสิทธิคนงานไก่ เป็นแรงงานอีกคนที่รู้จั กสมยศมาตั้งแต่เธอยังเป็ นคนงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ าในเครืออีเดนกรุ๊ป ช่วงนั้นสมยศเข้าไปจัดการศึ กษาเรื่องความสำคั ญของสหภาพแรงงาน แต่ไม่ทันไรพวกเขาก็ได้มี ประสบการณ์ตรงเมื่อโรงงานมี การเลิกจ้างและปิดโรงงานในช่ วงปี 2538-2539 ในขณะที่สหภาพของคนงานไม่เข้ มแข็ง กลุ่มของสมยศได้ช่วยรณรงค์ ในทางสากล และประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ให้ร่วมกดดัน จนกระทั่งมีการทำบันทึกเรื่ องการจ่ายค่าชดเชยที่มากกว่ ามาตรฐานโดยทั่วไปในขณะนั้นที่ จะจ่ายค่าชดเชย 6 เดือน กลายเป็น 10 เดือน ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานจนกระทั่ งปัจจุบัน
“คนข้างนอกมองว่าแกเป็ นแบดแมนในวงการแรงงาน แต่ตลอดเวลาที่เห็นมาแกไม่เคยรั บเงิน
นายจ้าง คนชอบว่าแกได้เงินเยอะ แต่เคสที่เกิดขึ้นกับเรา
เราเป็นคนดูเรื่องเงิน แกไม่เคยได้ พอคนงานได้ค่าชดเชย
คนงานจะซื้อทองให้บาทนึง ก็ยังไม่รับ” เยาวภากล่าว
“เขามีบทบาทสูงมากในการสร้ างแนวคิดเรื่องสหภาพแรงงาน และย้ำตลอดว่าเราไม่ควรต่อสู้ เฉพาะเรื่องแรงงาน ควรต่อสู้ทางสังคมในเรื่องอื่นๆ ที่กระทบกับประชาชนโดยรวมด้วย เพื่อให้สังคมมันดีขึ้น” เยาวภากล่าว
สุวรรณา ช่วยยืนยันถึงความใส่ใจในประเด็ นปากท้องคนงานของสมยศ ว่า แม้เมื่อมาเคลื่อนไหวทางการเมื องในช่วงที่เป็นแกนนำ นปก.รุ่นสอง เขาก็ไม่ลืมที่จะผลักดันให้มี การบรรจุเรื่อง การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำลงไปในข้ อเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่ มด้วย
“มันเป็นข้อเรียกร้องทางการเมื อง แต่ก็มีเรื่องค่าแรงขั้นต่ำด้วย คนฟังอาจจะงงว่ามายังไง แต่พี่ยศก็ไฟท์จนคนอื่นยอมรับว่ าเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องของคนชั้นล่างเป็ นเรื่องสำคัญ”
เมื่อถามว่าสุวรรณาเข้ามาสู่ การต่อสู้ทางการเมืองจนกระทั่ งมี
การก่อตัวกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ได้อย่างไร เธอเล่าว่า หลังการรัฐประหาร 19
ก.ย.49 สมยศได้ชักชวนเพื่อนๆ บางส่วนไปที่สนามหลวงซึ่งขณะนั้ นยังมีประชาชนกลุ่มย่อยๆ ออกมาใช้พื้นนั้นต่อต้านการรั ฐประหารกันเอง
ส่วนกลุ่ม 24 มิถุนาฯ นั้นเกิดขึ้นเมื่อราวปี 2552 จากการหารือกันของคอการเมืองซึ่ งเป็นนักธุรกิจชั้นกลาง หรือเอสเอ็มอี นักศึกษา นักกิจกรรม กรรมกรว่า น่าจะมีกลุ่มเคลื่ อนไหวทางการเมืองเรื่องประชาธิ ปไตยจริงๆ จังๆ โดยสมยศเห็นว่าการมีกลุ่มย่ อยหลายๆ กลุ่มนั้นเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 19 กันยาต้านรัฐประหาร กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ฯ
“ช่วงที่ตั้งกลุ่มพอดีมันใกล้วั นเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา ปีนั้นครบรอบ 77 ปี แล้วเราก็ทำกิจกรรมในเชิงสัญลั กษณ์กันเยอะ เราเลยเอาวันนี้มาตั้งชื่อกลุ่ม โดยประกาศว่าจะสืบทอดเจตนารมณ์ ของคณะราษฎร์” สุวรรณากล่าวและยกตัวอย่างกิ จก
รรมของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเปิดตูดคว่ำรัฐธรรมนูญ 2550,
ยิงธนูยกเลิกกฎอัยการศึก, ปลาร้าปาร์ตี้, ฉีกสมุดบัญชีธนาคารที่สนับสนุ นกลุ่มพันธมิตรและรัฐประหาร, กิจกรรมกรีดเลือด เป็นต้น
ด้วยความที่สมยศเชื่อใน ‘การจัดกลุ่มศึกษา’
มาตั้งแต่สมัยทำงานด้านแรงงาน เขาจึงจัดกลุ่มลงพื้นที่ ใต้ อีสาน กลาง
เหนือ เพื่อจัดการศึกษาเรื่องประชาธิ ปไตยในหมู่บ้าน
“จริงๆ พวกเรานี่ตะลอนไปทั่วอยู่ก่ อนแล้ว พวกสมยศ วิภูแถลง จรัล ตั้งแต่ยังไม่มีคนเสื้อแดงเลยด้ วยซ้ำ เราไปจัดสัมมนากันครึ่งวัน เงินก็ออกกันเอง สมยศกดบัตรเครดิตออกไปก่อน ช่วงนั้นไม่มีใครสนับสนุนใครได้ ”
“ตอนนั้นคนอยากรู้ มีคำถาม แต่ยังไม่ตื่นตัวเหมือนเดี๋ยวนี ้ เรื่องประชาธิปไตย เรื่องบทบาทสถาบันนี้ตื่นตั วระยะหลังปี 52 มากที่สุดก็ตอนงานศพน้องโบว์ มวลชนในพื้นที่เริ่มถามเรื่ องระบอบ เรื่องความเหลื่อมล้ำ พวกนี้เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยขึ ้น คือ มองข้ามทักษิณไปเลย” สุวรรณากล่าว
เขาทำเช่นนั้นมาโดยตลอดจนกระทั่ งถูกจับกุม ก่อนหน้าถูกจับ 5 วัน เขาประกาศล่ารายชื่อประชาชนเพื่ อเสนอยกเลิกกฎหมายมาตรา 112
“เขาเชื่อมั่นว่าทำได้ภายใต้ กรอบรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิการแสดงออกขั้นพื้ นฐาน”สุวรรณาระบุเหตุผลเบื้ องหลังกิจกรรมนี้
สุวรรณาเล่าว่า ก่อนจะมีการประกาศขับเคลื่อนเรื ่องนี้ก็มีการประชุมและประเมิ นเรื่องนี้กันอยู่เป็นระยะ เนื่องจากเห็นว่ามาตรานี้ถู กนำมาใช้ในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีจักรภพ เพ็ญแข กรณีดา ตอร์ปิดโด กรณีแม่หมอ หรือบุญยืน ประเสริฐยิ่ง
หลังจากประกาศเดินหน้าเรื่องนี้ 5 วัน เขาก็ถูกจับกุม โดยตำรวจแจ้งข้อหาเกี่ยวกับบทความที่ลงไปตั้งแต่ปีที่แล้ว (2553) ในนิตยสาร Voice of Taksin
อันที่จริง นิตยสารต่างๆ ของคนเสื้อแดงเริ่มเบ่งบานมาตั้ งแต่ปี 2552 โดยเฉพาะหลังการสลายการชุมนุ มเดือนเมษายน เราจะพบหนังสือหลากหลายหัว รายปักษ์ รายเดือน รายสามเดือน เต็มแผงเมื่อมีการชุมนุมที่ท้ องสนามหลวง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีไม่กี่หั วที่ยังเหลือรอด หนึ่งในนั้นคือหนังสือที่ สมยศทำด้วย
“ตอนแรกเป็น Voice of Taksin แล้วก็โดน ศอฉ.ปิด หลังจากนั้นเขาถูกจับไปค่ายอดิ ศร 21 วัน พอทหารปล่อยออกมาเขาก็ประกาศเปิ ดเป็น Red Power” สุวรรณากล่าว และอธิบายถึงเบื้องหลังแนวคิ ดการเปิดตัวนิตยสารการเมื องของสมยศว่าเป็นเพราะเขาเห็นว่ า เสื้อแดงยังไม่ค่อยมีสื่อของตั วเอง จึงอยากทำสื่อนี้ขึ้นมา
เมื่อถามว่า ตกลงชื่อนิตยสารหมายถึงอะไรกั นแน่ สุวรรณาหัวเราะก่อนตอบว่า “เท่าที่รู้มันเป็นการตลาด จะอ่านทักษิณก็ได้ ตากสินก็ได้ หรือจะหมายถึงทักษิณที่แปลว่ าใต้ก็ได้ แต่ที่รู้ๆ คือชื่อนี้ขายดีแน่” เธอกล่าว และว่าแต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ คนไม่สนับสนุนด้านการบริ จาคเพราะคิดว่าได้รับเงินจากทั กษิณแล้ว ทั้งที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุ นใดๆ จากอดีตนายกรัฐมนตรี
นี่คือคำบอกจากเล่าจากอดี ตแรงงานซึ่งทำงานร่วมกับสมยศตั้ งแต่อยู่บนถนนสายแรงง เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ ของ ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพคนนี้ และเป็นคดีที่กำลังจะมีคำพิ พากษาเร็วๆ นี้
ประวัติสมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2504 ในครอบครัวคนจีนย่านฝั่งธนบุรี มีพี่น้องด้วยกัน 7 คน
สมยศมีความสนใจด้านการเมืองตั้ งแต่ยังเยาว์วัย สมัยที่ยังนุ่งขาสั้นนักเรียนมั ธยมต้นเขาตามพี่ชายไปร่วมชุมนุ มในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบานได้ ทำให้เด็กหนุ่มชื่อสมยศ ซึมซับกับความเป็นประชาธิปไตย และหากเห็นความไม่ชอบธรรมเขามั กเข้าร่วมเรียกร้องความยุติ ธรรมเสมอ
ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 สมยศได้เข้าร่วมกิ จกรรมทางการเมืองอย่างเต็มตัวกั บเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันในนามเด็กอาชี วะจากเทพศิรินทร์ซึ่งเขากำลังศึ กษาอยู่ในขณะนั้น หลังเรียนจบที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ก็เข้ามาเป็นนักศึกษาที่มหาลัยรามคำแหง ในปี 2524 ได้เริ่มทำกิจกรรม ในกลุ่มศูนย์นักศึกษารามคำแหงศึ กษาปัญหาแรงงาน และระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาเป็นนักกิจกรรมตัวยงคนหนึ่งที่อุทิศตนต่อการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและความชอบธรรมทั้งหลายโดยเข้าร่วมกับกลุ่มเสรีธรรม (ในสมัยนั้น) ในการทำกิจกรรมกับกรรมกรในโรงงานและชาวบ้านในชุมชน เพื่อสร้างความตื่นตัวในการรับรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมืองและแนวคิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ควบคู่ไปกับการเขียนหนังสือ บทความที่เขาชื่นชอบและถนัดในงานเขียนกิจกรรมกลุ่ม จัดตั้งสหภาพแรงงาน จัดทำอบรมให้ความรู้ทางด้ านกฎหมาย จัดค่ายกรรมกรกับนักศึกษา สนับสนุนการนัดหยุดงาน การชุมนุมเดินขบวน เรียกร้องต่อรัฐบาล อย่างแข็งขัน
พื้นที่สหภาพแรงงานย่ านสหภาพ
แรงงานพระประแดง สมุทรปราการ เช่นสหภาพแรงงานอาภรณ์ไทย
สหภาพแรงงานส่งเสริมการทอ สหภาพแรงงานไทยเกรียง สหภาพแรงงานพิพัฒน์สัมพันธ์
สหภาพแรงงานเซ็นจูรี่ สหภาพแรงงาน เมโทร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสิ ่งทอฯ และสหภาพแรงงานเหล็กและโลหะแห่ งประเทศ
ในปี พ.ศ. 2527 ได้เข้ามาทำงานใน ในสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน( สสส) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมั ครฝ่ายส่งเสริมสิทธิกรรมกร ในปี 2527 (สสส.)กำหนดให้พื้นที่อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก นำไปสู่การจัดกิจกรรมอบรมกฎหมายแรงงาน กิจกรรมคลีนิกแรงงานกิจกรรมสนับสนุนการรวมกลุ่มและช่วยเหลือจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่คนงานได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าพื้นที่อื่น
ในปี 2529 ได้เข้าทำงานในกลุ่ มเยาวชนคนงานสากล Young Christain Worker (YCW) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการรวมกลุ่มคนงานระดับเยาวชน เพื่อการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตในสถานะคนงาน การร่วมกันคิด เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายที่มีเครือข่ายในระดับสากล ทั้งภูมิภาคเอเชีย และยุโรปและอเมริกา เป็นต้น มีสมาชิกจากคนงานในโรงงานในแถบพระประแดง บางพลี จ.สมุทรปราการ รังสิต จ.ปมุมธานี การผลักดันกฎหมายประกันสังคม มีบทบาทสนับสนุนการรวมกลุ่มและให้การศึกษาแก่สมาชิกที่อยู่ในสหภาพแรงงานร่วมมือในการผลักดันผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันกฎหมายประกันสังคมในช่วงนั้น คือคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานและเจ้าหน้าที่
ในปี 2534 พฤษภาคม ปี2534 หลังการรัฐประหารยึดอำนาจจาก พล.อ ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่ งชาติ (รสช.) สมยศได้ร่วมกับเพื่อนจัดตั้ งโครงการบริการข้อมูลและฝึ กอบรมแรงงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน ๆ นักกิจกรรมทางสังคมทั้งในและต่ างประเทศ และพัฒนามาเป็นศูนย์บริการข้อมู ลและฝึกอบรมแรงงาน (ศบร.) ในเวลาต่อมา โดยมีความมุ่งหวังเพื่อ
- ให้การศึกษาอบรมอบรมแก่คนงานให้
ตระหนักรู้ในสิทธิของตนเอง - ส่งเสริมการรวมกลุ่
มของคนงานในรูปองค์กรเพื่อเป็ นเครื่องมือในการต่อสู้ ยกสถานภาพของผู้ใช้แรงงานและปรั บปรุงสภาพแวดล้ อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตให้ ดีขึ้น - ส่งเสริม สนับสนุนการสร้
างสหภาพแรงงานแนวประชาธิปไตย - ส่งเสริมการรวมกลุ่มคนงานหญิ
งและสร้างแกนนำแรงงานหญิงในองค์ กร - รณรงค์ให้มีการแก้
ไขกฎหมายแรงงานเพื่อให้ สามารถปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ ของผู้ใช้แรงงานได้ดีขึ้น และเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ใช้แรงงานหากมีการปฏิเสธไม่ ยอมรับ หรือละเมิดสิทธิของผู้ใช้แรงงาน - เพื่อจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมที
่ให้ความรู้อื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้ และตระหนักถึงสิทธิของตน - เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้
แรงงานรวมกลุ่มขึ้นเป็นองค์กร เพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ เพื่อยกสถานภาพของผู้ใช้ แรงงานและปรับปรุง สภาพแวดล้อมในการทำงานและคุ ณภาพชีวิตให้ดีขึ้น - เพื่อรณรงค์ให้มีการแก้
ไขกฎหมายแรงงานเพื่อให้ สามารถปกป้องสิทธิและผล ประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานได้ดีขึ ้น และเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ใช้แรงงานหากมีการปฏิเสธไม่ ยอมรับ หรือละเมิดสิทธิของผู้ใช้แรงงาน
กิจกรรม
- จัดการฝึกอบรม
- ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานรวมกลุ่
มขึ้นเป็นองค์กร - ให้การสนับสนุนนโยบาย
- ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
- ออกจดหมายข่าวผู้ใช้แรงงาน (ซึ่งคุณสมยศพฤกษาเกษมสุข เป็นบรรณาธิการ)
ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ศูนย์ บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน (Center for Labour Information Service and Training; CLIST) ได้ร่วมต่อสู้ร่วมกั บคนงานและขบวนการแรงงานมาโดยตลอ ดจนข้อเรียกร้องเหล่านั้ นประสบ
ความสำเร็จในปัจจุบัน เช่น กฎหมายประกันสังคม การลาคลอด 90 วัน
การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร การประกันการว่างงาน
การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุ นการต่อสู้ของคนงาน เช่นกรณีคนงานเคเดอร์ คนงานไทยเบลเยี่ยม คนงานเครืออีเด็นกรุ๊ฟ ซึ่งสามารถเรียกค้าชดเชยได้สู งกว่ากฎหมาย เป็นต้น นอกจากนั้น ศูนย์บริการข้อมูลและฝึ กอบรมแรงงาน (ภายใต้การบริหารของสมยศ) ยังให้การสนับสนุนการจัดตั้ งองค์กรการจัดตั้งกลุ่ มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ การจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานเคมี ภัณฑ์ และสนับสนุนการจัดตั้งพันธมิ ตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย จนกระทั่งศูนย์บริการข้อมู ลและฝึกอบรมแรงงานปิดตัวลงเมื่ อเดือน พฤษภาคม 2550 ด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ โดยมีสมยศ เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 2534 – 2550 รวมระยะเวลา 16 ปี
มีผลงานในทางวิชาการที่ตีพิมพ์ เป็นหนังสือที่เกี่ยวข้ องทางการเมืองและกรรมกร
- ประกันสังคมประกันการว่างงาน ความหวังของผู้ใช้แรงงานและคนว่
างงาน - คุณค่า ความหมาย ของสหภาพแรงงาน
- เทคนิคการเจรจาต่อรองในการยื่
นข้อเรียกร้อง - กระเทาะเปลือกทักษิณ
- เหี้ยครองเมือง
แรงบั นดาลใจในการทำงานกรรมกรเพราะเคย ไปทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ เพื่อศึกษาวิถีชีวิ ตของกรรมกรในช่วงระยะเวลาสั้ นๆเพื่อได้เห็ นสภาพความยากลำบากของกรรมกร และได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกั บการยื่นข้อเรียกร้องที่ทำให้ กรรมกรเห็นถึงการกดขี่ ขูดรีด มูลค่าส่วนเกินที่ทำให้คนเข้ าใจได้ง่าย
ภายหลังการปิดตัวของ ศบร. สมยศ ได้หันไปทำงานด้านสื่ อสารมวลชนที่คนตนเองถนัดและชื่ นชอบโดยจัดพิมพ์และเป็นบรรณาธิ การหนังสือสยามปริทัศน์ และบทบาทหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 สมยศได้เข้าร่วมขับไล่รัฐบาลรัฐประหาร หรือที่เราเรียกกันว่ารัฐบาล คมช. ในนามแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.) หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยเป็นแกนนำรุ่นสอง
ในขณะเดียวกัน สมยศร่วมกับเพื่อนๆ และประชาชนที่รักประชาธิปไตยที่ ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน “รัฐประหาร 19 กันยา 49” ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม “24 มิถุนาประชาธิปไตย” ขึ้น ในต้นเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่ งจะครบวาระการสถาปนาระบอบประชาธ ิปไตยครบรอบ 75 ปี ในวันที่ 24 มิถุนายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ 1)ให้การศึกษาเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูลเพื่อปลูกฝังจิตสำนึ กประชาธิปไตยให้กั บประชาชนและสาธารณชน 2)รวมกลุ่มประชาชนทุกสาขาอาชี พในการเข้าร่วมและสนับสนุ นการเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็ จการทุกรูปแบบ 3)ประสานความร่วมมือกับกลุ่ มองค์กรประชาชนทั้ งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้ างสังคมประชาธิปไตย ความเป็นธรรม สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม
อย่างไรก็ตามแม้สมยศจะเคยเป็ นแกนนำ นปช.รุ่นสองมาก่อน แต่ก็ได้ยุติ บทบาทและออกจากการเป็นแกนนำ นปช.ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับแกนนำและกิจกรรมอื่นๆ ของ นปช. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2553 ได้ถูกพนักงานควบคุมตัวในขณะเข้ ามอบ
ตัวตามหมายจับ ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พร้อมกับผศ.ดร.สุธาชัย
ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 ของ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะเดินทางเข้ามอบตัวกับ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู
ผบช.ก. พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบช.น. และ พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ
รรท.ผบก.ป. ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ ในความผิดตาม
พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที ่สงสัยว่าจะ เป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิ ดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกั บการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุ กเฉินถูก
จับกุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สมยศเป็นบรรณาธิการหนังสือ “Voice of Taksin” หรือ
“เสียงชาวใต้” ซึ่งหมายถึงเสียงของคนชั้นล่าง เสียงของผู้ไร้สิทธิไร้เสียงในสังคม เพื่อจะเป็นกระบอกเสียงให้กับคนชั้นล่างของสังคม ในการถ่ายทอดความรู้สึก ความต้องการ ของพวกเขาเหล่านั้นผ่านงานเขียนทางหนังสือ เพื่อสะท้อนปัญหา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างตรงไปตรงมา อย่างต่อเนื่อง
ใน
วันที่ 12 มิถุนายน 2553 ศาลยกคำร้อง ศอฉ.กรณีขอคุมตัว “สมยศ พฤกษาเกษมสุข”
ต่อครั้งที่ 3 ชี้ ไม่มีความจำเป็น เหตุความวุ่นวายสิ้นสุดแล้วจึ งปล่อยตัว
*ข้อมูลจากกลุ่มเคลื่อนไหว FREE SOMYOS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น