Sat, 2011-10-01 18:21
2011.10.01 Declaration of the "112 hunger strike" calling for Thailand's lese majeste reform
http://www.youtube.com/watch?v=l-FajeG0BS8&feature=player_embedded
อัปโหลดโดย prachatai เมื่อ 1 ต.ค. 2011
เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (1 ต.ค.) ภายหลัง “ปฏิบัติการอดอาหารท้วงประเทียด 112 ชั่วโมง” (112 Hunger Strike) ของนายมิตร ใจอินทร์และกลุ่มเพื่อนศิลปินซึ่งสิ้นสุดในเวลา 04.00 น. นายมิตรและกลุ่มศิลปินได้แถลงคำประกาศ “112 ในมิติทางวัฒนธรรม” โดยผู้อ่านแถลงการณ์คือนายทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ สาขาสื่อศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “เป็นปัญหาที่กินความกว้างขว้างมากในระดับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะต่อจินตนาการของการดำเนินชีวิต กิจกรรม และนิยามความหมายของวัฒนธรรมไทยที่เป็นปัญหาในมิติที่ซับซ้อน ปัญหามาตรา 112 ในมิติทางวัฒนธรรมนี้ไม่เพียงสร้างความหวาดกลัวต่อเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นสาธารณะที่มักถูกใช้เป็นข้อกล่าวหาในเรื่อง “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” แต่มันได้สร้างความหวาดกลัวต่อการดำรงชีวิตที่เป็นปกติสามัญภายใต้ขนบความ เป็นพลเมืองไทยที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพในแทบทุกด้านอีกด้วย”
“ดังนี้แล้วเมื่อผลกระทบของมาตรา 112 มีใจความที่กว้างขวางในระดับวัฒนธรรม และชีวิตประจำวัน ดังนั้นการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการแก้ไขจนถึงการล้มเลิกกฎหมายมาตรานี้จึง จำเป็นต้องเกิดจากกิจกรรมในพื้นที่ของวัฒนธรรมและพื้นที่ของชีวิตเป็นคู่ ขนานกันไปกับการถกเถียงในมิติทางนิติศาสตร์ จุดประสงค์สำคัญในการอดข้าวของมิตร ใจอินทร์ คือการทำให้พื้นที่ของชีวิตสามัญ ชีวิตที่ทุกคนเดินเหินไปมาในกิจกรรมของชีวิตที่แตกต่างหลากหลายคือเวทีแห่ง การรณรงค์เรียกร้องสิทธิเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ และเป็นเวทีที่แท้จริงในการไต่สวนความอยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ เพศสภาพ และอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ด้วยเครื่องมือที่ทุกคนมีเป็นต้นทุนอยู่แล้วในกระเป๋าของตัวเอง”
“มิตร ใจอินทร์” ประกาศรณรงค์เลิก ม.112 ในมิติวัฒนธรรม
Sat, 2011-10-01 14:51
สิ้นสุดการอดอาหาร 112 ชั่วโมง ของ “มิตร ใจอินทร์” แล้ว พร้อมอ่านแถลงการณ์ระบุกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนอกจากผลกระทบด้านกฎหมาย แล้วยังมีผลต่อวัฒนธรรมระดับการใช้ชีวิตประจำวัน-ต่อจินตนาการของการดำเนิน ชีวิต การแก้ไข-เลิกกฎหมายดังกล่าวต้องเกิดจากกิจกรรมในพื้นที่ของวัฒนธรรมและ พื้นที่ของชีวิตคู่ขนานกับมิติทางนิติศาสตร์
[url=http://img.zuzaa.com/share.php?id=22D2_4E8841B1][img]http://img.zuzaa.com/image.php?id=22D2_4E8841B1&jpg[/img][/url]
มิตร ใจอินทร์ กับอาหารมื้อแรก หลังปฏิบัติการอดอาหารรณรงค์แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครบ 112 ชั่วโมง เมื่อ 04.00 น. วันนี้ (1 ต.ค.)
ตามที่มีการจัดเทศกาลศิลปะ madiFESTO 2011 จัดโดยสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้าน ถ.นิมมานเหมินทร์ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ร่วมแสดงผลงานคือ "ปฏิบัติการอดอาหารท้วง ประเทียด 112 ชั่วโมง” (112 Hunger Strike) ของนายมิตร ใจอินทร์และเพื่อนศิลปิน ที่อดอาหารและดื่มเพียงแต่น้ำเป็นเวลา 112 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 26 ก.ย. เพื่อรณรงค์ให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น
ล่าสุดเมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (1 ต.ค.) ที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ปฏิบัติการอดอาหารท้วงประเทียด 112 ชั่วโมง” (112 Hunger Strike) ของนายมิตร ใจอินทร์และกลุ่มเพื่อนศิลปินดำเนินต่อมาจนครบ 112 ชั่วโมงตามที่วางแผนเอาไว้ โดยหลังครบกำหนดอดอาหาร นายมิตรได้รับประทานอาหารมื้อแรก โดยได้มีกลุ่มศิลปิน เพื่อน และญาติของนายมิตร และผู้ที่ทราบข่าวการอดอาหารของนายมิตร ได้เดินทางมาให้กำลังใจพร้อมนำอาหารมาร่วมรับประทานกับนายมิตรด้วย โดยในจำนวนนี้มีนายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน เดินทางมาให้กำลังใจนายมิตรด้วย ตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้นางเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ หรือเพ็ญ ภัคตะ นักเขียนและนักวิชาการท้องถิ่น ก็ได้มาพบกับนายมิตรด้วย โดยนางเพ็ญสุภาเปิดเผยว่า ก่อนที่สามีจะอดอาหาร ได้เตรียมร่างกายมาเป็นเวลา 3 เดือน โดยลดมื้ออาหารเหลือเพียง 2 มื้อ และลดปริมาณอาหารที่จะรับประทานลงทีละน้อยๆ ก่อนเริ่มปฏิบัติการอดอาหาร 112 ชั่วโมงดังกล่าว
และในเวลา 8.00 น. นายมิตรและกลุ่มศิลปินได้แถลงคำประกาศ “112 ในมิติทางวัฒนธรรม” โดยก่อนอ่านคำประกาศ นายมิตรกล่าวถึงปฏิบัติการอดอาหารที่ทำร่วมกับศิลปินรุ่นใหม่ครั้งนี้ถือ เป็นการเปิดพื้นที่วิจารณ์ในทุกมิติ รวมถึงพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมด้วย แต่ก็พบปัญหาเดียวที่วัฒนธรรมไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่อีกต่อไปได้ โดยเฉพาะไม่สามารถมีชีวิตอยู่กับสามัญชน เพราะกฎหมายอาญามาตรา 112 นั่นเอง ที่กดขี่ ข่มเหง ไม่ให้เราคิด ไม่ให้เราพูดตามสิทธิเสรีภาพที่เราควรมีในฐานะประชาชน เราก็เลยเรียกร้องให้มีการล้มเลิก หรือถ้าไม่ได้ก็ให้มีแก้ไข ชื่อนิทรรศการชิ้นนี้ที่มีศิลปินร่วมงานประมาณ 100 กว่าคนมาร่วมกันนี้เรียกว่า "FALL" นั่นก็คือการล้มเลิกนั่นเอง
หลังจากนั้น นายทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ สาขาสื่อศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อ่านคำประกาศของปฏิบัติการครั้งนี้ที่ชื่อว่า “112 ในมิติวัฒนธรรม” โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “เป็นปัญหาที่กินความกว้างขว้างมากในระดับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะต่อจินตนาการของการดำเนินชีวิต กิจกรรม และนิยามความหมายของวัฒนธรรมไทยที่เป็นปัญหาในมิติที่ซับซ้อน ปัญหามาตรา 112 ในมิติทางวัฒนธรรมนี้ไม่เพียงสร้างความหวาดกลัวต่อเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นสาธารณะที่มักถูกใช้เป็นข้อกล่าวหาในเรื่อง “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” แต่มันได้สร้างความหวาดกลัวต่อการดำรงชีวิตที่เป็นปกติสามัญภายใต้ขนบความ เป็นพลเมืองไทยที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพในแทบทุกด้านอีกด้วย”
“ดังนี้แล้วเมื่อผลกระทบของมาตรา 112 มีใจความที่กว้างขวางในระดับวัฒนธรรม และชีวิตประจำวัน ดังนั้นการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการแก้ไขจนถึงการล้มเลิกกฎหมายมาตรานี้จึง จำเป็นต้องเกิดจากกิจกรรมในพื้นที่ของวัฒนธรรมและพื้นที่ของชีวิตเป็นคู่ ขนานกันไปกับการถกเถียงในมิติทางนิติศาสตร์ จุดประสงค์สำคัญในการอดข้าวของมิตร ใจอินทร์ คือการทำให้พื้นที่ของชีวิตสามัญ ชีวิตที่ทุกคนเดินเหินไปมาในกิจกรรมของชีวิตที่แตกต่างหลากหลายคือเวทีแห่ง การรณรงค์เรียกร้องสิทธิเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ และเป็นเวทีที่แท้จริงในการไต่สวนความอยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ เพศสภาพ และอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ด้วยเครื่องมือที่ทุกคนมีเป็นต้นทุนอยู่แล้วในกระเป๋าของตัวเอง”
สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้
000
112 ในมิติทางวัฒนธรรม
ปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่ รู้จักกันในนาม “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มิได้มีเพียงการถูกนำไปใช้ในการกล่าวหา หรือการเปิดโอกาสให้เกิดการกล่าวหา การกระทำที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทำให้เกิดการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็นที่เป็นสุจริตในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นองค์กรเอกชนตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น
เนื้อหาทางกฎหมายในมิติทางนิติศาสตร์ทำให้เกิดการปิด กั้นอิสรภาพของชีวิตทางวัฒนธรรมในวงเขตที่กว้างขวาง หากวัฒนธรรมหมายถึงวิถีชีวิตแล้ว วิถีชีวิตแบบไทยๆ ก็ถูกทำให้อยู่ภายใต้กรอบกำหนด และกรอบกำหนดดังกล่าวนี้เองที่ทำให้การมีชีวิตไปตามยถากรรมเป็นสิ่งปกติ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีสิทธิเสรีภาพอะไร
หรือหากชีวิตจะต้องมีสิทธิเสรีภาพต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งถูกเขียนขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ในสองมิติ 1. มิติ ความหมายของคำว่า “เสรีภาพ” ที่กฎหมายนั้นๆ อนุญาตให้มี 2. มิติของกรอบความเข้าใจชีวิตทางวัฒนธรรม ภายใต้ขนบแบบไทยๆ ชุดหนึ่ง ดังนั้นแล้วทั้งสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายอนุญาตให้มีและขนบความเป็นวัฒนธรรม ไทย มีสิ่งที่เชื่อมโยงกันคือการไม่เปิดโอกาสให้เกิดข้อถกเถียงต่อคำว่า “สิทธิ และเสรีภาพ”
ในมิติแรกมีปัญหามากมายตามที่ทราบกันบ้างแล้วจากประเด็นปัญหาและข้อถกเถียงต่างๆ ในทางนิติศาสตร์
แต่ในมิติที่สองคือมิติทางวัฒนธรรมนี้ ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลในระดับชีวิตประจำวัน และผลกระทบนี้กินความอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมากต่อความหมายของสิทธิและ เสรีภาพในการดำรงชีวิต ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับปัญหาของข้อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยตรง แต่มันได้สร้างกรอบหรือจินตนากรรมต่อภาพของวิถีชีวิตตามยถากรรมที่ทำให้ ประชาชนไม่สามารถมองเห็นถึงสาระสำคัญของคำว่าอิสรภาพและเสรีภาพ หรือไม่สามารถที่จะตั้งคำถามต่อข้อจำกัดของอิสรภาพและเสรีภาพที่ส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นจากผลพวงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากข้อกำหนดทางกฎหมายในมาตรา 112 และมาตราอื่นในกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันได้เลย
ดังนั้นปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึง ส่งผลกระทบที่ซับซ้อนในหลายมิติ และประเด็นข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรานี้และมาตราที่เกี่ยวข้อง จึงเกิดจากการเคลื่อนไหวของคนในหลายๆ กลุ่มซึ่งเป็นผลพวงของปัญหาในชีวิตทางวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ไม่เห็นว่า ปัญหาในระดับประจำวันของตนเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ และดำเนินไปตามยถากรรม หากแต่เกิดขึ้นจากการถูกทำให้เชื่อว่าตนเองไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะพูดถึง ปัญหาเหล่านั้นได้ สิ่งเหล่านี้ได้สร้างภาพให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่มีปัญหา เป็นลักษณะของสังคมที่ปิดเงียบ ในขณะที่ปัญหาในระดับชีวิตประจำวันยังคงรุมเร้าผู้คนและทวีความรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น และยังไม่ได้รับการเหลียวแล การเป็นสังคมปิดเงียบจึงสร้างภาวะความหวาดกลัวที่จะพูดถึงยถากรรมที่ทุกคน กำลังประเชิญหน้าอยู่
ในอดีต หน้าที่ของหลักปรัชญากฎหมายไทยคือการวางกรอบให้พลเมืองปฏิบัติตามสิ่งที่พระ มหากษัตริย์ ชนชั้นนำ และผู้นำของรัฐในสมัยต่างๆ ต้องการ แทบไม่มีกฎหมายที่เกิดขึ้นจากพลเมืองของรัฐเองที่ใช้เป็นกรอบข้อตกลงในการ อยู่ร่วมกันในสังคมสมัยใหม่เลย ชีวิตของพลเมืองไทยถูกปล่อยไว้ในจินตนาการที่ต้องเผชิญยถากรรมแต่เพียงลำพัง แต่เมื่อใดก็ตามที่การใช้ชีวิตตามยถากรรมซึ่งยากแค้นแสนลำเค็ญอยู่แล้ว มีเรื่องที่ละเมิดกรอบการจัดวางชีวิตที่เป็นระเบียบเรียบร้อยตามหลักปรัชญา กฎหมายไทย พลเมืองคนนั้นๆ กลุ่มนั้นๆ ก็จะถูกจัดการจากประมวลกฎหมายมาตราต่างๆ ตามลักษณะของกฎหมายที่มีระดับต่างกัน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ ระเบียบ ฯลฯ พลเมืองของรัฐไทยจึงมีชีวิตไปตามยถากรรมและอยู่ภายใต้จินตนาการเรื่องสิทธิ เสรีภาพตามแต่กรอบกฎหมาย และผู้เขียนกฎหมายจะเห็นสมควร
ในยุคที่รัฐ ทุนและระบบตลาด ซึ่งในภายหลังมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในโลกโลกาภิวัตน์ ชีวิตตามยถากรรมแต่เดิมที่ถูกอธิบายตามหลักผู้มีวาสนาบารมีและผู้เกิดมาบุญ น้อย โดยมีพุทธศาสนาที่ถูกใช้รับรองความไม่เสมอภาคแต่กำเนิดเพื่อตอกย้ำภาพชีวิต ของพลเมืองที่ต้องเผชิญปัญหามากมายแต่เพียงลำพัง ยังคงทำหน้าที่สำคัญอยู่ และยิ่งไปกว่านั้นในโลกสมัยใหม่พลเมืองต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตประจำวันใน มิติทางเศรษฐกิจ ซึ่งสร้างช่องว่างที่ห่างออกจากกันเรื่อยๆ ระหว่างผู้ไม่มีจะกิน และผู้ที่ร่ำรวยเกินกว่าปกติมากนัก นอกจากภาพของชีวิตที่ต้องได้รับความช่วยเหลือให้พออยู่ไปวันๆ แบบบอนไซ คือไม่ตายแต่เลี้ยงไม่โต ยิ่งไปกว่านั้นความเชื่อเรื่องยถากรรมในอดีตถูกอธิบายใหม่ด้วยปรัชญา เศรษฐกิจที่ให้พลเมืองรู้จักประมาณตน ไม่ควรคิดอะไรมาก และไม่ควรคิดถึงสิทธิที่จะลืมตาอ้าปากได้อย่างมีอิสรภาพ ในขณะที่ชีวิตของพลเมืองถูกผูกเข้ากับพันธนาการของข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจใน การดำรงชีพที่เต็มไปด้วยหนี้สิน และบุญคุณต่างๆ นานาโดยทั้งหมดต้องก้มหน้ารับกรรมไปกันเอง
แต่เมื่อสังคมมีความรู้ที่มากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมชีวิตจึงเต็มไปด้วยปัญหาที่เชื่อมโยงกันในหลายมิติ นี้ และเริ่มเรียกร้องเพียงสิทธิที่จะพูด ตั้งคำถามและวิจารณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเรียกร้องการมีชีวิตที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ก็ต้องเผชิญกับกรอบที่ถูกกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายภายใต้ขนบชุดหนึ่งที่ พลเมืองไทยควรหุบปากและสํารวมเจียมตัวอีก
ดังนั้นปัญหาของประมวลกฎหมายมาตรา 112 จึงเป็น ปัญหาที่กินความกว้างขว้างมากในระดับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะต่อจินตนาการของการดำเนินชีวิต กิจกรรม และนิยามความหมายของวัฒนธรรมไทยที่เป็นปัญหาในมิติที่ซับซ้อน ปัญหามาตรา 112 ในมิติทางวัฒนธรรมนี้ไม่เพียงสร้างความหวาดกลัวต่อเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นสาธารณะที่มักถูกใช้เป็นข้อกล่าวหาในเรื่อง “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” แต่มันได้สร้างความหวาดกลัวต่อการดำรงชีวิตที่เป็นปกติสามัญภายใต้ขนบความ เป็นพลเมืองไทยที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพในแทบทุกด้านอีกด้วย
ดังนี้แล้วเมื่อผลกระทบของมาตรา 112 มีใจความ ที่กว้างขวางในระดับวัฒนธรรม และชีวิตประจำวัน ดังนั้นการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการแก้ไขจนถึงการล้มเลิกกฎหมายมาตรานี้จึง จำเป็นต้องเกิดจากกิจกรรมในพื้นที่ของวัฒนธรรมและพื้นที่ของชีวิตเป็นคู่ ขนานกันไปกับการถกเถียงในมิติทางนิติศาสตร์
จุดประสงค์สำคัญในการอดข้าวของมิตร ใจอินทร์ คือการทำให้พื้นที่ของชีวิตสามัญ ชีวิตที่ทุกคนเดินเหินไปมาในกิจกรรมของชีวิตที่แตกต่างหลากหลายคือเวทีแห่ง การรณรงค์เรียกร้องสิทธิเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ และเป็นเวทีที่แท้จริงในการไต่สวนความอยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ เพศสภาพ และอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ด้วยเครื่องมือที่ทุกคนมีเป็นต้นทุนอยู่แล้วในกระเป๋าของตัวเอง
มิตร ใจอินทร์ และผองเพื่อนศิลปินอิสระ
1 ตุลาคม 2554
http://www.prachatai3.info/journal/2011/10/37177
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น