วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับความสำเร็จแบบ “ทักษิณ" = โอกาส และความกล้า



โดย Thaksinmove by Asia Update เมื่อ 30 สิงหาคม 2011 เวลา 20:30 น.

สำหรับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร แล้วชื่อเสียงภาพ ลักษณ์ การยอมรับจากบุคคลทั่วไปในด้านต่างๆนั้นความสามารถทางธุรกิจ กับความ สำเร็จของ กลุ่มบริษัทในเครือ "ชินวัตร" มักจะถูกกล่าวถึงเป็นอันดับแรกๆหาก นับจากจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2530 ที่ ดร.ทักษิณตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อ ดำเนินธุรกิจเต็มตัวเขาใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี ผลักดันให้ธุรกิจ-บริษัทใน เครือ เติบโต ขยายตัว จนกลายเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของประเทศไทยได้ สำเร็จ ดร.ทักษิณทำได้อย่างไร มีหลักวิธีการบริหารธุรกิจแบบไหน อาศัยองค์ ประกอบอะไรในการวางแผนกำหนดกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจ หัวข้อเหล่านี้ ถูกตั้งเป็นคำถาม วิเคราะห์วิจัย และศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างมาแล้วนับครั้ง ไม่ถ้วน

ข้อสรุปที่ตรงกันประการหนึ่งนั่นคือ เพราะตัว ดร.ทักษิณเองกับวิธี คิด วิสัยทัศน์ และข้อเด่น ในด้านต่างๆซึ่งเขานำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้ อย่างเหมาะสม

และหากมองย้อนกลับไปดูการทำงานและความสำเร็จทางธุรกิจหลายๆ กรณีก็จะเห็น "ความคิด" และวิธีการของ ดร.ทักษิณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย

บุกเบิกธุรกิจไฮเทค

ดร.ทักษิณ และคุณพจมาน ชินวัตร เริ่มต้น "นับ 1" ทางธุรกิจในช่วงปี พ.ศ .2526 โดยตัดสินใจจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ. ขึ้นมาเป็นผู้ขายให้ บริการและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ของ ไอบีเอ็ม เหตุผลประการ สำคัญในการเลือกแนวทางธุรกิจดังกล่าวเนื่องเพราะ ดร.ทักษิณสนใจศึกษา เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ช่วงที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก เมื่อกลับมาทำงานใน กรม

ตำรวจก็ได้สัมผัสงานระบบคอมพิวเตอร์มาตลอดใน ระหว่างที่ประจำอยู่ในศูนย์ ประมวลข่าวสารประกอบกับ ดร.ทักษิณเองเห็นความจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐจะต้อง พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานและยังรู้ระเบียบ ขั้นตอนในการดำเนิน การ การทำธุรกิจเป็นตัวแทนขาย-ให้เช่า ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเริ่ม ต้นได้ด้วยดี จากหจก.ไอซีเอสไอ. ก็ขยายขึ้นมาเป็น บริษัท ชิน วัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด

แต่ก็ใช่ว่าเส้นทางธุรกิจจะราบรื่นเสมอไป ยุคแห่งการบุกเบิกธุรกิจด้วย ตัวเองนั้น แม้ดร.ทักษิณจะสามารถประมูลงานจัดซื้อ ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ให้กับหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ได้หลายแห่ง หากในบางช่วงจังหวะที่ต้องเผชิญ ความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกรณีการลดค่าเงินบาทในปี 2527 ธุรกิจของเขา ก็ต้องหาทางเแก้ปัญหาฝ่าวิกฤตด้วยการออกแรงอย่างหนักเหมือนกัน

"ผมกับภรรยาก็เคยผ่านประสบการณ์ที่ธุรกิจเกิดสะดุด ขาดสภาพคล่อง ต้องวิ่ง

แลกเช็คเพื่อให้ได้เงินแสนมาก่อนก็เคย. . ." ดร.ทักษิณ เล่าถึงการต่อสู้ในยุคเริ่มต้น

จากจุดเริ่มต้นที่ธุรกิจการค้าและเป็นตัวแทนคอมพิวเตอร์ ดร.ทักษิณเริ่ม เห็นว่า ภาวะ ผันผวนของเศรษฐกิจ กอปรกับคู่แข่งมีมากขึ้น ความคิดที่จะขยาย ธุรกิจใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นและเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว รวดเร็วด้วยวิธีคิดแบบ มองไปข้างหน้า บวกกับความกล้าในการตัดสินใจ ในช่วงระยะเวลา ไล่เรี่ย กัน ดร.ทักษิณริเริ่มธุรกิจใหม่ 3 ประเภทคือ

1. ธุรกิจเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (เอส.โอ.เอส)

2. ธุรกิจวิทยุบนรถประจำทาง (บัสซาวด์)

3. ธุรกิจให้บริการวิทยุติดตามตัว(เพจเจอร์)

อย่าง ไรก็ตาม แม้ในช่วงเติบโตขยายตัว ดร.ทักษิณจะมีพร้อมทั้งความคิด วิสัย ทัศน์ ความกล้าในการตัดสินใจ รวมไปถึงสายสัมพันธ์อันกว้างขวาง แต่นั่นก็มิ ได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือเป็นหลักประกันว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จใน ทุกๆ ธุรกิจที่เข้าไปทำเมื่อเวลาผ่านไป เงื่อนไขจากการยอมรับของตลาด ปัจจัย ด้านอื่นๆ ก็ยังมีผลกระทบให้แผนที่วางไว้ไม่เป็นไปตามที่คาด การณ์ ทั้ง เอส. โอ. เอส. และบัสซาวด์ ไม่สามารถขยายตัวทำกำไรได้เร็วและ คุ้มกับการลงทุน ขณะที่ธุรกิจวิทยุติดตามตัวที่ ดร.ทักษิณร่วมทุนกับ บริษัท แปซิฟิก เทเลซิส "แพ็คลิงค์" เกิดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ถือ หุ้น ท้ายที่สุด ดร.ทักษิณตัดสินใจขายหุ้นในกิจการดังกล่าว

สำหรับคน อื่น ความผิดพลาดดังกล่าวอาจหมายถึงการปิดฉาก เลิกรา ถอนตัวออกจาก ธุรกิจไปแล้ว ทว่าดร.ทักษิณกลับนำเอาบทเรียน ประสบการณ์เหล่านั้นมาศึกษาและ สร้างโอกาสใหม่ จนกระทั่งได้มุมมองข้อสรุปในทิศทางใหม่ที่เขาเชื่อว่าจะ เหมาะสมกับตลาดและการแข่งขันมากกว่า

"ประสบการณ์จะสอนเรา ผมถือว่าผิดเป็นครู รู้เป็นอาจารย์ คือไม่มีอะไรจะเสีย

ถ้าผิดก็เป็นครู อย่าให้การลงทุนที่เสียไปเป็นสิ่งสูญเปล่า สิ่งที่เสียไปถ้านำมาสอน

เรา ให้ประสบการณ์แก่เรา นั่นอาจเป็นกำไรก็ได้"

ดร.ทักษิณ ยืนยันความเชื่อดังกล่าว ด้วยการนำโครงการวิทยุติดตามตัวกลับมาลง ทุนทำเองในชื่อ "โฟนลิงค์" จนประสบความสำเร็จเป็นผู้นำในธุรกิจเพจเจอร์จน ถึงปัจจุบันนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือ คลื่นลูกที่สาม ของอัลวิ น ทอฟเลอร์ ดร. ทักษิณเล็งเห็นถึงทิศทางใหม่ของธุรกิจที่จะเข้ามามีบทบาทใน สังคม

"ตั้งแต่ปี 2529 ผมสนใจเรื่องโทรคมนาคม . . . ตอนนั้นหลายคนในบริษัท

ไม่สนับสนุนเพราะกำลังมองว่า คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องดี . . . แต่ผมมองว่า

คอมพิวเตอร์จะดีในแง่ชื่อเสียงแต่ไม่เหมาะสมในเชิงธุรกิจผมก็เริ่มจับงาน

โทรคมนาคมตั้งแต่นั้นมา . . . และทุกวันนี้ทุกคนก็ยอมรับว่าธุรกิจที่นำความ

สำเร็จและความยิ่งใหญ่มาให้บริษัทคือ โทรคมนาคม"

สู่บทบาทผู้นำพลิกโลกสื่อสาร-โทรคมนาคม

หลังจากพลิกบทเรียนทางธุรกิจให้เป็นโอกาส ก้าวเดินใหม่ด้วยวิธีคิด ใหม่ ดร.ทักษิณและกลุ่มชินวัตรก้าวเดินสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมั่น คงจนครองความเป็นผู้นำในธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคมได้แบบครบวงจร โดยเมื่อ สามารถดำเนินธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 ได้อย่างกว้างขวาง

สร้าง ความสำเร็จให้แก่บริษัทเป็นอย่างยิ่ง จึงขยายการลงทุนไปยังธุรกิจโทร คมนาคมอื่นๆอีก อาทิ รับสัมปทานดำเนินโครงการดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร "ไทย คม" ในนาม บริษัทชินวัตร แซทเทิลไลท์ เซอร์วิส, เพิ่มกลุ่มธุรกิจให้บริการ ด้านโทรคมนาคม เช่น บริษัทชินวัตรดาต้าคอม,บริษัทชินวัตรเพจจิ้งกลุ่ม ธุรกิจการลงทุนด้านสื่อสารโทรคมนาคมในต่างประเทศ เช่น บริษัท แคมโบเดีย ชิน วัตร(ดำเนินงานในกัมพูชา) บริษัทลาวชินวัตรเทเลคอม (ดำเนินงานในลาว ) บริษัท อิสลา คอมมิวนิเคชั่น ฯลฯ ขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ อาทิกลุ่มธุรกิจ คอมพิวเตอร์, บริการเคเบิลทีวี ฯลฯ ก็ยังดำเนินงานต่อไปได้อย่างเข้มแข็งภาย ใต้ระบบการบริหารงานแบบผสมผสานซึ่งถือเป็นเคล็ดลับอีกประการหนึ่ง ของ ดร.ทักษิณหลังการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและบริษัท ในกลุ่มหลายครั้ง บทบาทของ ดร.ทักษิณในบริษัทต่างๆ ของกลุ่มชินวัตรยิ่งน้อย ลง หรือกล่าวอีกทางหนึ่งเขาลอยตัวขึ้นไปเหนือโครงสร้างการบริหารมาก ขึ้น หลังจากใช้ช่วงเวลาในระหว่างการขยายธุรกิจ พัฒนาบุคลากร สร้างทีม บริหารในระดับต่างๆ เข้ามารองรับงานได้อย่างเหมาะสม

"ท่านรอง(ดร.ทักษิณ) ไม่ได้เข้ามาทำงานแล้ว ส่วนมากจะเป็นผู้บริหาร กลุ่มต่างๆ เป็นคนดำเนินการมากกว่า" ผู้บริหารในกลุ่มชินวัตรให้สัมภาษณ์ถึง บทบาท ดร.ทักษิณในระยะหลังสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นจุดแข็งอย่างแท้ จริงอีกประการหนึ่งในการ "เลือกคน" และบริหารคนของดร.ทักษิณนั่นคือ เขา พร้อมที่จะให้โอกาสคนเก่ง คนที่มีความสามารถช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทใน เครือชินวัตรจึงได้ต้อนรับ "มืออาชีพ" จากหลายองค์กรหลายสถาบันเข้ามาทำงาน ร่วมกับ ดร.ทักษิณ

ไม่ว่าจะเป็น ดร.ไพบูลย์ ลิมปพยอม (อดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ),

บุญคลี ปลั่งศิริ (อดีต ผอ. กองโทรศัพท์ระหว่างประเทศ),

ดร.นิยม ปุราคำ (อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ),

คุณนิวัฒน์ บุญทรง (อดีตผู้บริหารจาก ไอบีเอ็ม) ฯลฯ

ความ สามารถของมันสมองระดับมืออาชีพเหล่านี้เองเป็นกุญแจสำคัญที่นำพาเครือ ชินวัตรก้าวไปสู่ความสำเร็จและยังคงรักษาความเป็น "ผู้นำ" ในวงการธุรกิจ สื่อสาร-โทรคมนาคมมาได้จนถึงวันนี้และด้วยคุณลักษณะของความเป็น "นักคิด " เป็น "นักแก้ปัญหา" ที่เปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นลำดับต่อไป ของ ดร.ทักษิณนอกเหนือความสำเร็จทางธุรกิจก็คือ การก้าวออกมาอาสางานเพื่อ สังคมด้วยความหวังว่าเขาจะมีโอกาสนำเสนอแนวคิดทิศทางเพื่อที่จะเป็นคำตอบ ใหม่สำหรับประเทศไทยที่จะก้าวเดินไปในวันพรุ่งนี้

http://www.facebook.com/pages/Thaksin-in-JAPANby-Asia-Update/159779640768459?sk=wall#!/notes/thaksinmove-by-asia-update/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2/206333886093193

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น