วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

หนุนไทยเป็นรัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ


http://news.voicetv.co.th/thailand/16589.html

รักเสรีประชาธิปไตย

นัก สิทธิมนุษยชน และภาคประชาชน สนับสนุนให้รัฐบาลลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศไทย ได้ ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมไทยเข้มแข็งมากขึ้น

คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดสัมมนา "ศาลอาญาระหว่างประเทศกับสังคมไทย" ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ระบุว่า รัฐบาลไทยควรลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพื่อให้สามารถนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซีได้ เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไทยยังมีปัญหา ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น กรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด และเหตุสลายการชุมนุมจากภาครัฐ

ขณะที่กรรมการสิทธิมนุษยชน และภาคประชาชนมองว่า หากประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ จะทำให้ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทยลดลง เนื่องจากผู้มีอำนาจในภาครัฐ จะตระหนักถึงการใช้อำนาจของตนเองมากขึ้น

ศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่เป็นรัฐภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ก็ยังมีอีก 2 ช่องทางที่สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ คือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรืออัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่คดีที่ยื่นคำร้องจะต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญกรุงโรมมีผลบังคับใช้ ดังนั้นกรณีเหตุสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 จึงยังมีหนทางที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ

Produced by VoiceTV
by VoiceNews

18
สิงหาคม 2554 เวลา 21:24 น.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รัฐไทยกับการเป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ
http://news.voicetv.co.th/global/16605.html




มี การพูดถึงศาลอาญาระหว่างประเทศมากขึ้น หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงประกาศว่า จะนำเอาคดีสลายการชุมนุมเมื่อปีที่แล้วไปฟ้องร้อง เนื่องจากไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทย

ซึ่งนักกฎหมายย้ำ ว่าแม้จะมีช่องทาง แต่ขั้นตอนซับซ้อนและอาจต้องใช้เวลานาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ศาล อาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี เป็นศาลระหว่างประเทศที่เป็นอิสระ ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีผู้กระทำผิดข้อหาอาชญากรรมร้ายแรง 4 ประเภท ได้แก่ อาชญากรรมที่เป็นการล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ, อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมที่เป็นการรุกราน

ศาลอาญาระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งได้รับการรับรองจาก 139 ประเทศทั่วโลก แต่มีเพียง 94 ประเทศเท่านั้น ที่ลงนามสัตยาบันเป็นรัฐภาคีแล้ว สำหรับประเทศไทย แม้จะลงนามในธรรมนูญกรุงโรมเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียน แต่การที่รัฐบาลยังไม่ได้ลงสัตยาบันเป็นรัฐภาคี ทำให้ไม่สามารถนำคดีเข้าสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ จึงต้องใช้อีก 2 ช่องทางที่เหลือ คือการยื่นคำร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรืออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

หลักการพิจารณาคดีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ คือจะต้องเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญศาลมีผลบังคับใช้ เป็นคดีที่ศาลภายในของรัฐนั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือไม่เต็มใจดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าหาว่ากระทำผิด ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่ใช้โทษประหารชีวิต แต่จะสั่งให้จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายแทน ซึ่งหลักการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น

นัก กฎหมายท่านนี้สนับสนุนให้รัฐบาลไทย เร่งเดินหน้าลงสัตยาบันเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า นี่จะเป็นบททดสอบสำคัญของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เนื่องจากการเป็นรัฐภาคี อาจกลายเป็นดาบสองคม เพราะแม้จะได้ประโยชน์จากกรณีสั่งสลายการชุมนุมในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่อาจเสียประโยชน์จากกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติดในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
Produced by VoiceTV
by VoiceNews

18
สิงหาคม 2554 เวลา 22:30 น.

http://www.internetfreedom.us/forum/viewtopic.php?f=2&t=7238

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น