แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ยิ่งลักษณ์ พูดถึงอนาคตเอเชียกับ “เส้นทางสายใหมใหม่” เชื่อม “ยูเรเชีย”

ยิ่งลักษณ์ พูดถึงอนาคตเอเชียกับ “เส้นทางสายใหมใหม่” เชื่อม “ยูเรเชีย”

วันนี้่ (24 พฤษภาคม 2556) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ณ กรุงโตเกียว ดังนี้
ดิฉันขอขอบคุณบริษัทนิคเคอิ ที่ได้เชิญให้ดิฉันเข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับทิศทางของเอเชียในอนาคต เอเชียกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ภูมิภาคเอเชียมีจำนวนประชากรขนาดใหญ่ และพื้นที่ที่เป็นผืนแผ่นดินต่อเนื่องคาบเกี่ยวมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ซึ่งหมายความว่ามีอิทธิพลสูงต่อความเป็นไปของโลก
yingluck_nikkei_future_of_asia

ภาพ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ณ กรุงโตเกียว, ที่มา : Facebook Yingluck Shinawatra
และหลายศตวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมหลายครั้งหลายหน ซึ่งปัจจุบันโลกได้มาถึงทางแยกสำคัญ ที่เอเชียจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของโลกอีกครั้งหนึ่ง

ศักยภาพเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของเอเชีย การเจริญเติบโต และกำลังการใช้จ่าย

ในช่วงทศวรรษ 1980 ศูนย์กลางความเจริญเติบโตของโลกได้ขยับมาอยู่ที่ภูมิภาค โดยประเทศญี่ป่นได้นำกลุ่มที่มี เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศไทย ในการสร้างความมั่งคั่งและร่ำรวย และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนและอินเดียได้กลายเป็นเครื่องจักรใหม่แห่งความเติบโตของโลก
เมื่อเร็วๆนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.75 ในปีนี้ และประมาณร้อยละ 6 ในปี ค.ศ.2014 โดยมีระดับอัตราเงินเฟ้อปานกลาง และมีอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับ บริหารจัดการได้ นำมาซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคง
ในขณะเดียวกัน นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของชาวเอเชีย รวมถึงการมีกำลังแรงงานที่มีประสิทธิภาพและได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี ใหม่ๆ จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการว่าสัดส่วนของ GDP ของเอเชีย ต่อ GDP ของโลกจะเพิ่มเป็นสองเท่าถึงร้อยละ 51 ในปี พ.ศ 2050 โดยฐานการบริโภคและกำลังการใช้จ่ายของเอเชียจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป ซึ่งสัดส่วนชนชั้นกลางที่เป็นคนเอเชียนั้นคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 66 ของชนชั้นกลางทั้งโลก
นอกจากนี้ เงินทุนสำรองต่างประเทศของเอเชียสูงถึง 6.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ศตวรรษแห่งเอเชีย (The Asian Century) เป็นจริง

เจตนารมณ์และความร่วมมือในระดับการเมือง

ในด้านการเมืองภูมิภาคเอเชียกลับมาเชื่อมโยงกัน โดยมีความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิผล ทั้งจากความร่วมมือความมนตรีความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ไปจนถึงสมาคมความร่วมมือภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) และจากความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย (ACD) ไปจนถึงอาเซียน (ASEAN) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ที่ทำให้ความร่วมมือเอเชียตะวันออกไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้ได้ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคีแข็งแกร่งใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น จากการที่มีการเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีและระบบการขนส่งสมัยใหม่ ประเทศจำนวนน้อยที่เลือกจะไม่เข้าร่วมก็จะเป็นผู้ที่เสียโอกาส

ความท้าทายของเอเชีย

ดิฉันเชื่อว่า เวทีได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้วสำหรับความรุ่งโรจน์ของภูมิภาคเอเชีย แต่หนทางสู่จุดหมายนั้นไม่ใช่ง่ายเสมอไป ยังมีสิ่งท้าทายที่เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตและความรุ่งเรืองที่น่าจะ เป็น

ความหลากหลายของเอเชีย

ประการแรก เอเชียถือเป็นภูมิภาคที่มีความแตกต่างหลากหลาย ดิฉันมีความเชื่อเสมอว่าความแข็งแกร่งเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความหลากหลาย และยิ่งไปกว่านั้น เอเชียไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่เอเชียตะวันออก แต่รวมถึงภูมิภาคอื่นที่มีการเจริญเติบโตและมีศักยภาพ เช่น เอเชียใต้, เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อผนึกกำลังรวมตัวกันในระหว่างภูมิภาคต่างๆดังกล่าว จะช่วยขับเคลื่อนให้โลกเจริญเติบโตได้
แต่ในเวลาเดียวกัน คือ เมื่อมีความแตกต่างแล้วในบางครั้งย่อมจะเกิดความขัดแย้งและเกิดผลประโยชน์ ทับซ้อนได้ ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียต้องมองให้ไกลไปปกว่าผลประโยชน์ของประเทศของตน เพียงลำพัง และมองถึงผลประโยชน์โดยรวมของภูมิภาค
เราต้องเริ่มคิดว่า เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเอเชีย ที่มองไปข้างไปสู่ภายนอก เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมและรับมือกับความท้าทายด้วยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้วในโลกทุกวันนี้ เราต่างมีความเชื่อมโยง
ประเทศอย่างญี่ปุ่นมีบทบาท และสามารถมีบทบาทที่สำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และที่สำคัญการที่ญี่ปุ่นกลับพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรีอาเบะทำให้มีศักยภาพในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตในภูมิภาคโดยรวม

การเคลื่อนไหวของเงินทุนและความร่วมมือเพื่อการบริหาร

ตัวอย่างหนึ่ง คือ ความซบเซาทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่จะเป็นบททดสอบสำคัญของภูมิภาคเอเชีย พื้นฐานของเอเชียนั้นแข็งแรงดังที่ดิฉันได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ แต่การดำเนินการของเราวันนี้จะกำหนดอนาคตของเราทุกคน
มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing Measures) ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) สู่ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมองว่ามีเหตุจากพิ้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่เอเชียต้องร่วมมือกันบริหารจัดการการไหลเข้าของเงินทุนเหล่านี้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นคงในภูมิภาค
มีบางคนกล่าวว่าเงินทุนไหลดั่งสายน้ำ ดิฉันเชื่อว่าเราต้องมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างทุกประเทศที่น้ำไหลผ่าน เพื่อให้ทุกประเทศได้ประโยชน์และเติบโตด้วยกัน

โครงข่ายพื้นฐานเพื่อความเชื่อมโยง

เรื่องนี้นำมาสู่ประเด็นที่สองของดิฉัน ดิฉันเสนอให้เรามุ่งเน้นการลงทุนในการสร้างความเชื่อมโยง ทั้งทางบกและทางทะเล เพราะเอเชียประกอบด้วยผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก
สำหรับภาคพื้นดิน การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ เป็นการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด จากอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราต้องสร้างทางเชื่อมสู่เอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในทางตรงกันข้าม คือ ไปสู่เอเชียใต้ เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง
silkroad


ภาพ เส้นทางสายใหมเอเชียทั้งทางบกและทางทะเล, ที่มา : Perspective
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียเข้าด้วยกันเป็น “เส้นทางสายไหมใหม่” โดยจะต่อกับเส้นทางลำเลียงของระบบรถไฟขนส่งและผู้โดยสาร เพื่อเป็นสะพานบนดินเอเชียยุโรปเชื่อมโยงสองทวีปเข้าด้วยกัน
ในขณะเดียวกัน เราจะพัฒนาความเชื่อมโยงทางถนน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ อย่างท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศเมียนมาร์ ก็จะเชื่อมต่อจุดต่างๆในมหาสมุทรอินเดีย และมีการผ่านเส้นทางถนนสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก
ด้านมหาสมุทรอินเดีย ทวายจะเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับตะวันออกกลางและแอฟริกา ทั้งนี้ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของประเทศต่าง ๆ ที่มีฐานการผลิตในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ท่าเรือทวายถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของเอเชีย และในระยะยาวจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการขนส่งในการเชื่อมต่อ เพื่อเสริมและต่อยอดกับท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศเมียนมาร์
เมื่อเรามองไปข้างหน้า เราต้องการเห็นการมีส่วนร่วมในการลงทุนจากผู้ลงทุนต่างชาติ และต้องการเห็นสถาบันระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ช่วยให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงการในภูมิภาค
อีกประเด็นที่จะเป็นปัจจัยต่อการลงทุนเพื่ออนาคต คือการลงทุนกว่า 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานและการพัฒนา ซึ่งรวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่รวมถึงการเชื่อมต่อทางรางระหว่าง ไทย ลาว และจีน เราวางแผนที่จะขยายการลงทุน ไปยังประเทศเอเชียอื่นๆด้วย

ความท้าทายในการเชื่อมโยงภูมิภาค

ความท้าทายประการหนึ่ง คือ ความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกิดขึ้นจากความท้าทายด้านภูมิ-รัฐ ศาสตร์ทางทะเล หากไม่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตของเอเชียจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี สภาพแวดล้อมของความมั่นคง และสันติภาพ ก็จะไมมีการเติบโตที่ยั่งยืนและอนาคตที่สดใสสำหรับภูมิภาคเอเชีย
ความไม่มีเสถียรภาพในทะเลจีนใต้และข้อพิพาททางทะเลที่มีอยู่ ไม่มีฝ่ายใดได้รับประโยชน์ ประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องก้าวข้ามอดีต และจัดการกับความท้าทายซึ่งอาจคุกคามการสร้างความเชื่อมโยงทางทะเลในอนาคต สันติภาพและความมั่นคงเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
เช่นเดียวกัน สันติภาพและความมั่นคงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้การเชื่อมต่อทางบกบรรลุผล และเพื่อให้เอเชียตระหนักถึงศักยภาพที่เต็มปี่ยม รูปต่อที่หลากหลายต้องสามารถต่อเข้าเป็นรูปเดียวกัน
อาเซียนที่ไร้พรมแดนในปี 2015 จะต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันหากเราสามารถก้าวข้ามปี 2015 ไปได้ อาเซียนก็จะรวมตัวกันกับอนุภูมิภาคต่างๆของเอเชีย และเอเชียจะเติบโตไปด้วยกันได้
เพื่อช่วยต่อรูปต่อเหล่านี้เข้าให้เป็นภาพเดียวกัน ดิฉันเสนอให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะที่มุ่งให้ทุกฝ่ายเป็นผู้ที่ ได้ประโยชน์ (win-win) ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มแก่เอเชียโดยรวม ประเด็นเหล่านี้จะรวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
การรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ จะทำให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์เพื่อประชาชนของ ภูมิภาคเอเชียของเรา รวมทั้งช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงน้ำและน้ำมัน

ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านอาหาร น้ำ และพลังงาน

ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร ซึ่งประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร โดยมีการจัดโซนนิ่ง (Zoning) และพัฒนาความสามารถในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้อาหารมีคุณภาพที่สูงขึ้น และในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการรับรองความมั่นคงทางอาหารสำหรับประเทศไทย เอเชีย และโลก
นอกจากนี้ ไทยกำลังลงทุนในด้านระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนองตอบและรองรับต่อความต้องการในการใช้น้ำในการเกษตร อุตสาหกรรม และครัวเรือน ดังนั้น การมีระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดี ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมๆกับการมีระบบป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ดี จะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเจริญเติบโต ตลอดจนความสามัคคีในสังคมและภายในภูมิภาคของเรา
นอกจากนี้ เพื่อช่วยเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเราจะดำเนินการให้มีการเจริญเติบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) และการพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทน (Alternative Energy) สำหรับภูมิภาคเอเชียกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเอเชียจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
ดิฉันเชื่อว่า เอเชียมีศักยภาพในการสร้างร่วมมือระหว่างภูมิภาค ที่ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหารสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับความมั่นคงทางด้าน พลังงานได้ เช่น ระหว่างประเทศอาเซียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ในตะวันออกกลาง
และเช่นกัน เนื่องจากเอเชียกำลังเติบโตและมองไปข้างหน้า ความร่วมมือในการค้าและการลงทุน ต้องขยายไปยังภูมิภาคอื่น เช่น แอฟริกาที่กำลังเติบโตเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ไทยกำลังริเริ่มการประชุมไทย-แอฟริกา เพื่อเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับแอฟริกา
บรรทัดสุดท้าย คือ ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกา อเมริกา หรือยุโรป จะต้องร่วมมือกันและเติบโตไปด้วยกัน
อนาคตของเอเชียอยู่ในมือเรา และขึ้นอยู่กับคนรุ่นเราที่จะกำหนดทิศทางอนาคต เพื่อนำสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเราทุกคน และเป็นเส้นทางที่เราจะร่วมมือร่วมใจกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเติบโตด้วยกัน ไม่เพียงเพื่อภูมิภาคเราเท่านั้น แต่รวมถึงโลกใบนี้ด้วย
ขอบคุณค่ะ
ที่มา:

สรุปภารกิจ ‘ยิ่งลักษณ์’ เยือนญี่ปุ่น

สรุปภารกิจ ‘ยิ่งลักษณ์’ เยือนญี่ปุ่น
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะ เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22-25 พฤษภาคม 2556 ซึ่งมีภารกิจที่น่าสนใจดังนี้ (ตัวเน้นโดย SIU)

หารือนายกญี่ปุ่น ชวนลงทุนในพม่า

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฝ่ายไทยสนับสนุนญี่ปุ่นให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่และท่าเรือทวาย โดยร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตลอดจนนิคมอุตสาหกรรม อันจะเป็นการช่วยขยายตลาดการค้าและฐานการลงทุนในภูมิภาคของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากโครงการจะมีการเชื่อมต่อภูมิภาคจากมหาสมุทรแปซิฟิกสู่มหาสมุทรอินเดีย
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการทวาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่าเมื่อวานนี้ ( 22 พฤษภาคม 2556 ) ได้มีการนำเสนอรายละเอียดโครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการลงทุนพัฒนาเครือข่ายคมนาคม 2 ล้านล้านบาทของไทย รวมทั้ง โครงการพัฒนาท่าเรือและเขตเศรษฐกิจทวาย แก่นักลงทุนญี่ปุ่น และได้มอบข้อมูลเบ้องต้นแก่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพื่อเป็นใช้ในการตัดสินใจในการสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจการลงทุนในดาวเทียมและรถไฟความเร็วสูงในไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเรื่องดาวเทียมว่ารัฐบาลกำลังศึกษารายละเอียด ส่วนรถไฟความเร็วสูง ไทยต้องการเห็นญี่ปุ่นเข้ามาเสนอการลงทุน โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่ไทยให้ความสำคัญอย่างมาก
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย

Future of Asia สุนทรพจน์เชื่อมโยงเอเชีย

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย (The Future of Asia) ซึ่งจัดโดยบริษัท Nikkei ของญี่ปุ่น เนื้อหากล่าวถึง “การเชื่อมโยงเอเชีย” รายละเอียดอ่านได้จากบทความ ยิ่งลักษณ์ พูดถึงอนาคตเอเชียกับ “เส้นทางสายใหมใหม่” เชื่อม “ยูเรเชีย”

ร่วมงานเลี้ยงนักธุรกิจญี่ปุ่น สานสัมพันธ์ธุรกิจในไทย

นายกรัฐมนตรียังได้พบกับนักธุรกิจญี่ปุ่น ผู้บริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่ ดังนี้ (ตัวเน้นโดย SIU)
  • Mr. Tsuneo Kita ประธานบริษัท Nikkei
  • Mr. Osama  Masuko ประธานบริษัท Mitsubishi Motors Corporation
  • Mr. Masaaki  Tsuya CEO และกรรมการบริหาร Bridgestone Corp.
  • Mr. Takanobu Ito ประธานและ CEO บริษัท Honda Motor
  • Mr. Teisuke  Kitayama ประธานกรรมการบริหาร Sumitomo Mitsui Banking Corporation
  • Mr. Fujio  Mitarai, ประธานและ CEO บริษัท Canon Inc.
  • Mr. Akio Toyoda ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Toyota Motor Corp.
  • Mr. Masatoshi  ประธาน และ CEO บริษัท Ajinomoto
  • Mr. Koji  Nagai Group Ceo บริษัท Nomura Holdings Inc.
  • Mr. Takeuchi  Seishi นายกสมาคม Long Stay Foundation
  • Mr. Ohta  Hiroshi นายกสมาคม Thailand-Japan Longstay Promotion Association
  • นายฮิโรชิ ทากาดะ ประธานองค์การเพื่อการส่งเสริม SMEs และนวัตกรรมภาคประเทศญี่ปุ่น (SMRJ)
  • นายโนบุฮิโร เอ็นโดะ ประธานเอ็น อี ซี คอร์ปอเรชั่น
  • นายมาซามิ ลิจิมา ประธานบริษัทมิทซุย
  • นายมาซาฮิโร โอกาฟูจิ ประธานบริษัทอิโตชู
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย (1) (2)

เสนอ 3 เมกะโปรเจคต์ อ้อนนักลงทุนญี่ปุ่น

รัฐบาลไทยได้จัดงานโรดโชว์ต่อนักลงทุนจากญี่ปุ่น โดยเสนอประเด็น 3 โครงการใหญ่ ดังนี้
โครงการแรก คือ โครงการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในวงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจรที่จะช่วยปกป้องเขตเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมแล้ว ยังจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสาหรับภาคการเกษตรซึ่งเป็น สาขาการผลิตที่มีความสาคัญที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย โครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้า (Water Security) สำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค และเป็นการป้องกันอุทกภัยขนาดใหญ่ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โครงการที่สอง คือแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายพื้นฐานด้านการขนส่งของ ไทยเข้ากับฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็นเกษตรหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น ศูนย์กลางในภูมิภาค (Regional Hub) ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยมีโครงการลงทุนที่สาคัญ อาทิเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟใต้ดิน การปรับปรุงถนนสายหลัก ด่านศุลกากรและเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน สนามบิน ตลอดจนโครงข่ายพื้นฐานอื่นๆ
โครงการที่สาม คือ โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสองประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง เส็ง และนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงที่จะพัฒนา โดยเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่สาคัญ ก่อให้เกิดการค้า การลงทุนและการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค เนื่องจากทวายเป็นหนึ่งในสามเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สาคัญที่สุดของเมียนมาร์ใน ปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กว่า 200 ตารางกิโลเมตร ที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบแล้ว ท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นประตูการค้าขนาดใหญ่ออกสู่มหาสมุทรอินเดียเชื่อมต่อ ไปยังตลาดฝั่งตะวันตกของโลก ได้แก่ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย
ภาพจาก Nikkei Asian Review
ภาพจาก Nikkei Asian Review

Nikkei วิจารณ์ ไทยคู่ค้าสำคัญญี่ปุ่น-ระวังปัญหาเงินบาท

นิตยสาร Nikkei Asian Review เจ้าของเดียวกับ Nikkei Inc. ที่จัดงาน Future of Asia ตีพิมพ์บทความในนิตยสารฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม หน้าปก “คู่รักสวรรค์สร้าง” (A match made in heaven: Thailand, Japan tie up to tackle Asia) วิจารณ์การเดินทางของนายกรัฐมนตรีไทยว่า ไทยกำลังพยายามดันตัวเองให้หลุดพ้นจาก “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง” ผ่านการลงทุนในเมกะโปรเจคต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการท่าเรือทวาย
Nikkei ประเมินว่าสองโครงการนี้จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงของอาเซียน ภาคพื้นดิน โดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะเชื่อมโยงในแนวตั้งไปยังจีนและสิงคโปร์ ส่วนท่าเรือทวายจะเปิดประตูสู่อินเดีย โดยมีถนนซูเปอร์ไฮเวย์ตัดผ่าแนวนอนระหว่างทวายไปยังโฮจิมิห์นซิตี้
อย่างไรก็ตาม เมกะโปรเจคต์ของรัฐบาลไทยมีปัญหาเรื่องงบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งกรณีของทวาย รัฐบาลใช้วิธีดึงรัฐวิสาหกิจรายใหญ่เข้ามาร่วมถือหุ้น และเชื้อเชิญ “นักลงทุนญี่ปุ่น” โดยเฉพาะกลุ่มที่มีธุรกิจในไทยอยู่แล้วกว่า 4,000 บริษัท คิดเป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ถึง 40% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ไทยได้รับ มาร่วมกันลงทุนด้วย เพราะบริษัทญี่ปุ่นเองก็ได้ประโยชน์จากการขยายฐานไปพม่า-การปรับโครงสร้าง ลอจิสติกส์
Nikkei มองว่าในแง่เศรษฐกิจ ไทยมีความสัมพันธ์อย่างดีมากกับญี่ปุ่น ส่วนในแง่การทูตระดับภูมิภาค ไทยสนิทสนมกับทั้งสหรัฐและญี่ปุ่น และไม่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องพรมแดนกับจีน (อย่างที่เวียดนามหรือฟิลิปปินส์กำลังเผชิญอยู่) ทำให้ไทยอยู่ในสถานะที่ดีเยี่ยมสำหรับการสร้างดุลยภาพด้านการทูตภายใน ภูมิภาค แต่ไทยเองก็ยังต้องเผชิญความท้าทายเรื่องเงินบาทที่อาจแข็งค่าจนกระทบอัตรา การเติบโตของ GDP

"บทเรียนการปฏิบัติการข่าวสาร : 9 กรณี ป.ป.ส. (มีนาคม-พฤษภาคม 2553)

บทความดังกล่าว เป็นของ พ.อ.บุญรอด ศรีสมบัติ นายทหารปฏิบัติการ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งได้มีการปรับปรุงเนื้อหาจาก "บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม 7 พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม 2553" ที่ตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ ฉบับกันยายน-ธันวาคม 2553 ภายหลังจากได้ข้อมูลใหม่และศึกษารายละเอียดเอกสารต่างๆ อย่างเป็นทางการรอบด้านมากขึ้น โดยใช้ชื่อบทความชิ้นนี้ว่า

"บทเรียนการปฏิบัติการข่าวสาร : 9 กรณี ป.ป.ส. (มีนาคม-พฤษภาคม 2553)" ลงตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ ฉบับมกราคม-มีนาคม 2554
การ ชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ตั้งแต่ 12 มีนาคมถึง 19 พฤษภาคม 2553 ได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกือบจะเป็น"สงครามกลางเมือง" โดยที่กลุ่ม นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงมีการระดมมวลชนจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ประวัติการต่อสู้ทางการเมืองของไทย โดยกระทำผ่านสื่อสารมวลชนทุกประเภท ได้แก่ วิทยุชุมชน โทรทัศน์ การสื่อสารผ่านดาวเทียม การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต และเวทีปราศรัยถาวร ทั้งพื้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศและสี่แยกราชประสงค์ ได้เกิดเป็นกระแสมวลชนคนเสื้อแดงที่พร้อมจะทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งการยึดเมืองเพื่อทำลายศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ในการต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล สุดท้ายได้มีกลุ่มมวลชนจัดตั้งหัวรุนแรงสร้างสถานการณ์ด้วยการก่อเหตุจลาจล

"เผาบ้านเผาเมือง" ในต่างจังหวัดก็มีการเผาศาลากลางจังหวัด โดยมิได้มีการเกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง

รัฐบาล โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ดำเนินการเพื่อควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลวมาหลายครั้งเพราะการบังคับใช้กฎหมายไร้ ประสิทธิภาพ เช่น กรณี 10 เมษายน 2553 ในขณะเดียวกัน ศอฉ.ซึ่งมีส่วนกำลังจัดตั้งหลักเป็นส่วน "กองทัพบก" ก็ได้ประยุกต์การปฏิบัติการทางทหารรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า "การปฏิบัติการข่าวสาร" (Information Operations: IO) หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ไอโอ"

งานไอโอทางทหาร หมายถึง การดำเนินการที่มุ่งโจมตีต่อระบบควบคุมบังคับบัญชา และสร้างอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจ ข่าวสาร และระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม โดยที่จะดำเนินการป้องกันการที่ฝ่ายตรงข้ามจะกระทำไอโอต่อฝ่ายเราเช่นกัน ซึ่งในระหว่างการชุมนุมทางการเมือง ศอฉ.ได้ปฏิบัติการไอโอเต็มรูปแบบ และที่โดดเด่นที่สุดก็คือ โฆษก ศอฉ. คือ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด (เสธ.ไก่อู) ที่ได้รับการชื่นชมในความรู้และความสามารถที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถทำ หน้าที่เป็นโฆษกได้ตลอดรอดฝั่ง ทั้งๆ ที่สถานการณ์หลายครั้งอยู่ในสภาพสิ้นหวังหมดกำลังใจ และก็สามารถก้าวพ้นวิกฤตของประเทศได้มาเปลาะหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติการข่าวสารอย่างประยุกต์ในครั้งนี้ของ ศอฉ.ควรได้มีการจัดทำเป็นเอกสารอย่างประยุกต์ในครั้งนี้ของ ศอฉ. ควรได้มีการจัดทำเป็นเอกสารไว้เป็นบทเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในโอกาสข้างหน้าต่อไป

เรื่องราวในบทนี้ จะได้นำเสนอความหมายและองค์ประกอบของการปฏิบัติการข่าวสาร ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธีของการปฏิบัติการข่าวสาร ทั้งนี้ภายใต้ความสำเร็จเหล่านั้นยังมีจุดบกพร่อง จุดแก้ไขหรือข้อสังเกต ซึ่งจะได้มีการกล่าวถึงในประเด็นข้อเสนอแนะทั้งทางยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธีต่อไป

องค์ประกอบของการปฏิบัติการข่าวสาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบสนับสนุน และ 2 กิจกรรมเสริม ดังนี้
- องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ การลวงทางทหาร การปฏิบัติการจิตวิทยา การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- องค์ประกอบสนับสนุน ได้แก่ การทำลายทางกายภาพ การต่อต้านข่าวกรอง การต่อต้านการลวง การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ และการรักษาความปลอดภัย กิจกรรมเสริม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติการกิจการพลเรือน

จากองค์ประกอบของ "ไอโอ" จะเห็นได้ว่า ทั้งความหมายและองค์ประกอบของการปฏิบัติการข่าวสารนี้เป็นเรื่องการปฏิบัติ ทางทหารล้วนๆ ดังนั้นเมื่อต้องนำกระบวนการวิธีคิดและการปฏิบัติการข่าวสารมาใช้ในการ ป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในเมือง จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติไปทั้งยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธีให้สอดคล้องกับจุดอ่อนไหวเชิงสังคมจิตวิทยาเพราะฝ่ายตรงข้ามนั่น ไม่ใช่ใครอื่น พวกเขาก็คือคนไทยด้วยกัน

ยุทธศาสตร์หลักของการปฏิบัติการข่าวสาร

การ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิบัติการข่าวสารสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งสามารถแบ่งยุทธศาสตร์การปฏิบัติการครั้งนี้ได้ 5 ยุทธศาสตร์หลักตามห้วงระยะเวลาดังนี้

- ยุทธศาสตร์ป้องปรามการก่อความไม่สงบ เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 11 มีนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นการประกาศแถลงการณ์ฉบับแรกของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. มีเป้าหมายงานไอโอเพื่อการชี้แจงสกัดกั้น ยับยั้งมิให้กลุ่ม นปช.ต่างจังหวัดมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ด้วยจำนวนมหาศาล มากกว่าทุกครั้งที่มีการชุมนุมทางการเมือง ขั้นนี้แม้ว่าดูจะล้มเหลวในการปฏิบัติ เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงสามารถผ่านด่านจุดตรวจของทหารและตำรวจได้อย่างง่ายดาย แต่ก็เป็นการชิมลางว่า การชี้แจงแถลงการณ์ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงนั้นไม่สามารถหยุดยั้งเป้าหมายการเคลื่อนพลของมวลชนสีแดง ได้

- ยุทธศาสตร์การตอบโต้การก่อการร้ายและเปิดเผยเครือข่ายล้มเจ้า เป็นช่วงหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน ภายหลังสำนักข่าวอัลจาซีร่าห์ลงคลิปการปรากฏตัวของกลุ่มคนชุดดำได้ปฏิบัติ การก่อการร้ายเป็นครั้งแรก เป้าหมายของงานไอโอก็ได้เปลี่ยนไปเป็นการล็อกเป้าผู้ก่อการร้ายทันที นั่นถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ (Turning Point) ของงานไอโอที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเอาชนะกลุ่ม นปช.ได้ โดยเพิ่มความน่าสะพรึงกลัวขึ้นไปอีก จากการที่มีการเชื่อมโยงของกลุ่มก่อการร้ายกับกลุ่มเครือข่ายล้มเจ้า

- ยุทธศาสตร์การกระชับวงล้อม เป็นช่วง 14-19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 งานไอโอช่วงนี้ถือว่าเป็นการดำเนินการทั้งเชิงรับและเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบ ทางทหารเลยทีเดียว โดยมีการตอบโต้ด้วยภาพคลิปหรือเรียกว่าทำ "สงครามคลิปรายวัน" เลยก็ว่าได้ เป้าหมายสำคัญคือ ให้ภาพการปฏิบัติทางทหารที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่ภาพของการสลายการชุมนุมด้วย กำลังทหาร และต้องแสดงให้เห็นว่าทหารมิได้ฆ่าประชาชน จากนั้นมีการบีบบังคับให้แกนนำกลุ่ม นปช.ยอมสลายการชุมนุม ด้วยการกำหนดห้วงเวลาที่ปฏิบัติการขั้นเด็ดขาดเป็นระยะๆ

- ยุทธศาสตร์การตอบโต้การก่อจลาจล เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ซึ่งเป็นสุญญากาศของการนำมวลชนคนเสื้อแดงเนื่องจากแกนนำได้ยอมมอบตัว ก่อให้เกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองโดยไม่คาดคิด ช่วงนี้ งานไอโอถือเป็นไฮไลต์เลยทีเดียว มีการนำภาพคลิปวิดีโอตัดต่อการปราศรัยตามสถานที่ต่างๆ ของแกนนำกลุ่ม นปช.ที่มีการปลุกเร้า ยุยง ให้มวลชนคนเสื้อแดงเตรียมอุปกรณ์เผาบ้านเผาเมืองซึ่งมีการเตรียมการและ ไตร่ตรองไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วมีการกระทำการเป็นขบวนการ และมีการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายอีกด้วย

- ยุทธศาสตร์ปิดแผนยุทธการกระชับวงล้อมและรายงานผลการปฏิบัติ ช่วงนี้ถือว่าเป็นการเสี่ยงที่ได้ใคร่ครวญแล้ว เพราะต้องมีการจัดภาพความสมดุลระหว่างการแถลงแผนยุทธการกระชับวงล้อมกับงาน ไอโอไปพร้อมๆ กัน เช่นต้องชี้ให้เห็นว่ากลุ่มการ์ด นปช.นั้นมีอาวุธสงครามร้ายแรง และพร้อมยิงสวนกลับกองกำลังทหารและตำรวจได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็แถลงข่าวการใช้อาวุธ M-79 การก่อวินาศกรรม การใช้เด็กเป็นโล่มนุษย์หลังปราการยางรถยนต์ การก่อการจลาจลมีการทำลายร้านสะดวกซื้อ ตู้ ATM ธนาคาร และโรงไฟฟ้าย่อยคลองเตย สิ่งเหล่านี้ถ้านำมาใช้ขยายผลเพื่องานไอโอโดยไม่มีการวิเคราะห์ให้รอบคอบ ก็จะกลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้กระแสมวลชนพลิกกลับมาต่อต้านรัฐบาลและกองทัพเสียเอง

สงครามคลิปงานใหญ่ระดับยุทธศาสตร์

สง ครามคลิป (Cilps) ภายใต้กรอบงานไอโอระดับยุทธศาสตร์ที่จับต้องได้ที่สุด คือการนำเสนอภาพคลิปวิดีโอของโฆษก ศอฉ. ซึ่งต้องใช้ทักษะของการตอบโต้กลุ่ม นปช.และต้องทำความเข้าใจกับสังคมไทยและสายตานานาชาติไปพร้อมๆ กัน ฝ่ายรัฐบาลได้คัดสรรภาพและสรรหาคำอธิบายที่จะสามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่ ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลา ตัวอย่างสงครามคลิปวิดีโอที่น่าสนใจได้แก่ ภาพเหตุการณ์การบุกสำนักงาน กกต. การบุกรัฐสภา เป็นคำอธิบายว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องทวงคืนคำว่า "นิติรัฐ" จากกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง ทำให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ภาพเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ทั้งภาพที่ทหารถูกโจมตีอาวุธสงครามจากผู้ก่อการร้ายไอ้โม่งชุดดำ และภาพความสูญเสียของทหารอย่างหนัก การไล่ตีทหารที่บาดเจ็บจนเสียชีวิต การที่คนเสื้อแดงถูกลอบยิงจากข้างหลัง ภาพการใช้ M-79 หลังรถตู้สีขาว การพูดของคนเสื้อแดงที่มองเห็นคนใส่เสื้อสีฟ้ายิงปืนหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ภาพเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน ที่ทหารถูกยิงด้วยสไนเปอร์จนเสียชีวิต และภาพคนเสื้อแดงถืออาวุธปืนพกสั้นบนเกาะกลางถนนวิภาวดี ตรงบริเวณอนุสรณ์สถาน ภาพการบุกยึดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เป็นภาพคลิปอีกชุดหนึ่งที่รัฐบาลยิ่งมี ความชอบธรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการที่จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายที่แฝงตัว อยู่ในมวลชนคนเสื้อแดง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำหน้าที่เป็นการ์ด นปช.

ต่อมา โฆษก ศอฉ.ได้ทำหน้าที่เผยแพร่และตอบโต้ภาพคลิปอีกหลายภาพที่เชื่อได้ว่าสังคมไทย ในยามวิกฤตขณะวิกฤตนั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเป็นความจริง เช่น กรณีภาพการพยายามจุดไฟเผารถน้ำมัน แต่ถูกยิงสกัดที่ขา ภาพคนเสื้อดำเผายางรถยนต์ที่บริเวณพื้นที่บ่อนไก่คลองเตยและสี่แยกดินแดง โดยบุคคลกลุ่มนั้นมีการแต่งกายเลียนแบบทหาร ใส่เสื้อสกรีน "ARMP" มีการติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุมือถือ ภาพการขนยางรถยนต์มาวางเป็นระบบและมีเครือข่ายการส่งต่ออย่างเห็นได้ชัด ภาพการยิงกระสุน M-79 จากใต้สะพานข้ามแห่งหนึ่ง ภาพการลอบยิงทหารของคนเสื้อสีดำแล้วยิงปืนเข้าใส่ฝูงชน ภาพการวางถังแก๊สผูกต่อสายชนวนเพื่อการจุดระเบิดอย่างมืออาชีพ ภาพทหารถูกยิงตายบนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ (ตัดต่อจากเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้) ภาพประชาชนถูกยิงตายนอนอยู่บนถนนในซอยรางน้ำ และภาพสุดท้ายเป็นการแถลงข่าวการยึดอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากจากพื้นที่การ ชุมนุมราชประสงค์ถือว่าเป็นการปิดฉากสำคัญในการแสดงผลของการปฏิบัติทั้งมวล ทั้งนี้ ภาพคลิปต่างๆ ที่นำเสนอได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะทำงานไอโอวงเล็กและวงใหญ่ของ ศอฉ.แล้ว และเมื่อมีการชี้แจงตามลักษณะเฉพาะตัวของโฆษก ศอฉ.มืออาชีพ ภาพทุกภาพจึงเป็นความคืบหน้าของสถานการณ์และความคืบหน้าของความชอบธรรมของ รัฐบาลในการที่จะปฏิบัติการเพื่อควบคุมสถานการณ์การก่อความไม่สงบ
กลุ่มงานความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ "ปรากฏการณ์คนหลากสี-จอมืด PTV และการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ"

การ ปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากกลุ่มคนเสื้อหลากสี นับได้ว่าเป็นความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของชาติ เป็นการปฏิบัติการรวมตัวของสังคมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ โดยที่รัฐมิได้เข้าไปจัดตั้ง แต่ได้กลายเป็นพลังใหม่ทางสังคมที่สามารถย้ายพลังการต่อสู้จากโลกเสมือนจริง มาสู่ท้องถนนได้ ในภาพของการเคลื่อนไหวคัดค้านการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง และที่สำคัญกระบวนการสื่อสารออนไลน์นั้นเข้าได้กับองค์ประกอบของงานไอโอใน เรื่องการปฏิบัติการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เว็บบอร์ดสาธารณะของพันทิปดอทคอม และการใช้ฟอร์เวิร์ดเมล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังทางสังคมที่เข้ามาเสริมงานไอโอให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น และเป็นสิ่งที่กองทัพจะได้ศึกษาและนำจุดเด่นมาพัฒนาเป็นแนวทางการทำงานไอโอ ออนไลน์ในอนาคต

การประกาศปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนล (People Channel: PTV) และการปิดเว็บไซต์ ต้องยอมรับว่าอาวุธปลุกระดมมวลชนสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็คือการสื่อสารผ่านสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนล เป็นทีวีของคนเสื้อแดง ที่มีการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางสื่อสารหลักระหว่างกลุ่มแกนนำ นปช.และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับมวลชนคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน เป็นตัวเชื้อไฟความขัดแย้งการเมืองที่ถูกจุดติดไฟตลอดเวลา เมื่อศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ประกาศปิดช่องสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนลเป็นจอมืด ก็เท่ากับเป็นการปิดตาคนเสื้อแดง นั่นคือการทำลายทางกายภาพของงานไอโอ เป็นการลดกลไกขับเคลื่อนงานไอโอของคนเสื้อแดงได้ จึงเหลือเพียงช่องโทรทัศน์ของฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น ส่วนการปิดเว็บไซต์นั้นกระทรวงยุติธรรมได้สั่งให้ปิดเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระ มหากษัตริย์สูงถึง 40,000 เว็บไซต์

การรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติ การ (Operation Security: OPSEC) เนื่องจากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในเมืองครั้งนี้ เป็นการดำเนินการภายใต้รวมศูนย์องค์กรเฉพาะกิจของรัฐบาลและกองทัพ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ หรือ OPSEC จึงมิได้มองเฉพาะกองทัพและการปฏิบัติการทางทหารเท่านั้น การทำงาน OPSEC ภายใต้กรอบฐานของไอโอนั้นต้องกระทำตั้งแต่ในระดับการรักษาความปลอดภัยสูงสุด ต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมทั้งที่ตั้ง ศอฉ. ในพื้นที่ ร.11 รอ. และสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน สถานที่ตั้งโทรทัศน์เอ็นบีที ยังรวมไปถึงการวางแผนสำรองที่ตั้งใหม่ของ ศอฉ.หรือที่ทำการเฉพาะกิจของรัฐบาลในกรณีที่ต้องมีการตัดสินใจผ่านคณะ รัฐมนตรี และสถานีโทรทัศน์ถ่ายทอดเคลื่อนที่ต้องมีการสำรองไว้ให้พอเพียง ซึ่งจะทำให้งานไอโอสามารถเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่มีจุดสะดุด เพราะถ้าวันใดที่สถานีโทรทัศน์รัฐบาลจอมืด (จอดำ) ขึ้นมา ประชาชนและหน่วยปฏิบัติจะเกิดการสับสน ลังเล เวลานั้นยุทธการปล่อยข่าวลือ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงานไอโอจะเริ่มทำงาน อาจจะทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำล้มครืนทั้งคณะได้ ดังนั้น การทำงาน OPSEC จะต้องทำงานควบคู่ไปงานไอโออย่างมีแบบแผนและเป็นรูปธรรม

การ ดำเนินงานไอโอเป็นไปอย่างมีขั้นตอนและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ทุกๆ ความคืบหน้าของสถานการณ์ โดยยึดถือ 5 ยุทธศาสตร์รอง เป็นแนวทาง ดังนี้

- ยุทธศาสตร์ป้องปรามการก่อความไม่สงบ ช่วงนี้งานไอโอระดับยุทธการเป็นเพียงงานการชี้แจงทำความเข้าใจจัดชุดปฏิบัติ การจิตวิทยาชี้แจงตามด่านตรวจและพื้นที่วิกฤต เช่น การใช้เครื่องเสียงกำลังส่งสูง บริเวณพื้นที่หน้า ร.11 รอ.ในวันแรกๆ ของการชุมนุมคนเสื้อแดง จนกลุ่มผู้ชุมนุมต้องล่าถอยกลับไป

- ยุทธศาสตร์การตอบโต้การก่อการร้ายและเปิดเผยเครือข่ายล้มเจ้า งานไอโอในระดับยุทธการนี้ต้องวางแผนและปฏิบัติการไอโอ โดยมีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายแอบแฝงอยู่ในกลุ่มผู้ ชุมนุม และพร้อมที่จะลอบสังหารผู้ร่วมชุมนุมและเจ้าหน้าที่ จึงเป็นงานที่ต้องสืบค้นหลักฐานภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของกลุ่มคนชุดดำมาแฉ ให้สังคมรับทราบอย่างเข้มข้นและรวดเร็วในทันทีที่มีข่าว ส่วนกรณีของการเปิดเผยเครือข่ายคดีล้มเจ้านั้นภายหลังที่โครงสร้างในรูปแบบ ของ Mind mapping ได้ถูกแพร่ภาพเครือข่ายออกไป งานไอโอในระดับยุทธการก็ต้องสืบสวนความเชื่อมโยงในหลักฐานพยานด้านอื่นๆ แล้วนำมาเปิดเผยยืนยันเน้นย้ำการรับรู้ของสังคมว่า สิ่งนี้มีข้อเท็จจริงและตัวตนจริง

- ยุทธศาสตร์การกระชับวงล้อม งานไอโอระดับยุทธการช่วงนี้เป็นงานที่เข้มข้นที่สุด เพราะต้องเตรียมการและจัดทำคลิปวิดีโอตอบโต้ภาพเหตุการณ์ที่กลุ่ม นปช.และสื่อมวลชนนำมาเสนอที่เป็นภาพเชิงลบต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารและ ตำรวจที่กำลังปฏิบัติหน้าที่กระชับวงล้อมอยู่ในหลักการก็ยังต้องเน้นย้ำว่า ทหารไม่ได้สังหารหรือทำร้ายประชาชน เจ้าหน้าที่เองกลับถูกกระทำอย่างการลอบกัด และไม่รับผิดชอบของแกนนำกลุ่ม นปช. งานไอโอต้องชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลหรือกองทัพจะต้องดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่งและประกาศให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่การชุมนุม ที่เป็นพื้นที่อันตรายเพราะมีผู้ก่อการร้ายแอบแฝงอยู่ นอกจากนี้ การชี้แจงของกลุ่มผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพในการวางแผนยุทธการที่มี การออกมาชี้แจงการปฏิบัติเป็นระยะๆ นั้นก็แสดงให้เห็นภาพของงานไอโอที่มีเอกภาพและไปในทิศทางเดียวกัน

- ยุทธศาสตร์การตอบโต้การจลาจล งานไอโอระดับยุทธการช่วงนี้ต้องขยายผลเหตุการณ์การก่อการจลาจลเผาบ้านเผา เมือง โดยนำภาพคลิปการปราศรัยตามที่ต่างๆ ของแกนนำกลุ่ม นปช.มาตัดต่อใหม่ เรียงภาพ เล่าเหตุการณ์ให้เห็นว่ามีการชี้นำให้ "เผาบ้านเผาเมือง" อย่างมีระบบและมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า หลักฐานเหล่านี้จะเป็นพยานสำคัญในชั้นศาลอีกต่อไป

- ยุทธศาสตร์ปิดแผนยุทธการกระชับวงล้อมและรายงานผลการปฏิบัติ งานไอโอระดับยุทธการช่วงนี้ ได้มีการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยึดได้อย่างมากมายในการปฏิบัติการกระชับวง ล้อมพื้นที่ราชประสงค์นั้น พร้อมติดป้ายหน่วยที่ตรวจพบ ทำให้ภาพการมีตัวตนของกลุ่มผู้ก่อการร้ายนั้นเด่นชัดขึ้น มีการใช้อาวุธจริง สามารถตอบสังคมได้ระดับหนึ่ง เป็นการฟ้องด้วยภาพที่ได้สาระมากกว่าการแถลงตอบโต้ไปมาของทีมโฆษกของสองฝ่าย และมีหลายจุดที่ทำได้ดี เช่น

การแถลงข่าวของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ ร่วมในการวางแผน นับว่าเป็นงานไอโอชิ้นหนึ่งที่ได้สร้างความมั่นใจว่าการวางแผนระดับยุทธการ นั้นมีความละเอียดรอบคอบและไม่มีขั้นตอนของการระบุให้มีการสังหารประชาชน รวมทั้งมีการรายงานผลการปฏิบัติให้สังคมได้รับทราบว่า ศอฉ.ได้กระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดลงไป ซึ่งหลังจากนี้สังคมเท่านั้นจะเป็น

ผู้ให้คำตอบว่าเป็นการกระทำครั้งนี้ถูกต้องหรือไม่

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะ สังคมไทย 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐ หลังรถไฟ ตกราง


คอลัมน์ การเมือง มติชน 4 พ.ค. 2556
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367639298&grpid=&catid=01&subcatid=0100 

 
ยิ่งกลุ่ม 58 ส.ว.ที่สถาปนาตนเองเป็น "ส.ว.ผู้รักชาติ" อันนำโดยพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ออกมาฟ้องร้องกล่าวโทษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งเข้าทาง
ยิ่งอดีต ส.ส.ร.ซึ่งมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ออกมายื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทย

ยิ่งเข้าทาง

ไม่เพียงแต่เข้าทางอัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตีปลาหน้าไซเอาไว้ในปาฐกถาพิเศษ ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย

หากยังเข้าทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เพราะทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

นั่นคือ กระดุมเม็ดแรก
กระดุมเม็ดแรกอันมีสภาพร้ายแรงไม่ผิดไปจากสภาวะแห่ง "รถไฟตกราง" และยังคาราคาซังมากระทั่งทุกวันนี้

1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐ



อํานาจรัฐ 1 มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำรงอยู่ในสถานะฝ่ายนิติบัญญัติ ดำรงอยู่ในสถานะฝ่ายบริหาร

บางส่วนไปเป็นประธานรัฐสภา

บางส่วนไปเป็นนายกรัฐมนตรี ร่วมกับพรรคการเมืองอันเป็นพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลและเข้าบริหารในฐานะรัฐมนตรี

บริหารได้ แต่ไม่ราบรื่น

ตัวอย่าง เห็นได้จากภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 ที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 1 ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย

ได้ นายสมัคร สุนทรเวช เป็น นายกรัฐมนตรี

ถาม ว่าบริหารได้ไหม คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะ 1 เผชิญกับกระแสการชุมนุมต่อต้านจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืดเยื้อจากเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2551

การต่อต้านรุนแรงถึงกับยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน

ขณะเดียวกัน 1 เผชิญกับกระแสบีบรัดของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ปลด นายสมัคร สุนทรเวช ยุบพรรคพลังประชาชน

นี่คืออีกอำนาจรัฐ 1 อันซ้อนทับกับอำนาจรัฐแรก



อํานา จรัฐที่ซ้อนอยู่นี้ ส่วน 1 เป็นอำนาจอย่างที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ อาศัยองค์กรอิสระ อาศัยการขับเคลื่อนโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ

อำนาจส่วนนี้ไม่เพียงแต่เข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้ง "ส.ว."

หากแต่ยังรักษาฐานอำนาจเดิมอันได้มาจากการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เอาไว้อย่างครบถ้วน

ไม่ว่าจะเป็น "องค์กรอิสระ" ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. "สรรหา"

ลองไปสืบประวัติของ ส.ว.สรรหาที่ออกมาเต้นแร้งเต้นกาเนื่องแต่ปาฐกถาพิเศษก็จะประจักษ์ในความสัมพันธ์

ไม่ว่าจะเป็น นายสมชาย แสวงการ ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม

การ ดำรงอยู่ของอำนาจรัฐส่วนนี้ผ่านกระบวนการรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการองค์กรอิสระ คือ การเตะสกัดขามิให้อำนาจรัฐอันมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเดินหน้าไปได้โดย ราบรื่น

เว้นแต่เมื่อใดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

หากเมื่อใดไม่อาจเตะสกัดขาโดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ก็ถึงเวลาที่จะอาศัยอีกกลไกอำนาจรัฐหนึ่งซึ่งเคยใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

นี่คือสภาพ 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐ


ถามว่าการดำรงอยู่ของสภาพ 1 ประเทศ 2 อำนาจรัฐเช่นนี้เป็นผลดีกับประเทศกับประชาชนหรือไม่

ตอบ ได้เลยว่าไม่เป็นผลดี ตัวอย่างของความปั่นป่วน วุ่นวายอันดำรงอยู่ตลอดเกือบ 7 ปี ภายหลังการรัฐประหารนับว่าเด่นชัด เห็นเป็นรูปธรรมในทุกประเด็นทุกปัญหา

ประเทศหยุดนิ่ง ประชาชนเสียโอกาส



วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทบาท ยิ่งลักษณ์ ลำแสง และ "น้ำกรด" บนคราบ ปฏิกูล

วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:02:40 น.

ที่มา:มติชนรายวัน 3 พ.ค.2556 







ปฏิกิริยาอันเนื่องแต่ปาฐกถาพิเศษ ณ อูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินไปใน 2 กระแสใหญ่

1 อุปมาเหมือนกับเป็นแสงอันสาดฉาย

ขณะเดียวกัน 1 อุปมาเหมือนกับเป็นการราดน้ำกรดลงไปบนแผลเปื่อยเน่า ซึ่งดำรงอยู่ภายในสังคม

เป็นสังคม "ไทย" มิใช่สังคม "อื่น"

ความรู้สึกที่ปรากฏผ่านถ้อยคำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านถ้อยคำของ นายสมชาย แสวงการ เด่นชัด

เด่นชัดว่าเป็นเหมือน "น้ำกรด"

"ไม่เคยมีผู้นำที่ไหนในโลกประพฤติแบบนี้ มีแต่ผู้นำที่มาจากรัฐบาลพลัดถิ่นหรือผู้นำกบฏเท่านั้น"

เช่นนี้เองพรรคประชาธิปัตย์จึงต้องทำจดหมายเปิดผนึก

"ไม่ควรทำให้เกิดความสับสนกับต่างประเทศ สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดเป็นข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนเยอะมาก"

ดิ้นเหมือนถูกราดด้วย "น้ำกรด"

สรุปตามสำนวนโบราณ "ยาดีมักขมปาก" หรือที่บางคนร้อยอย่างมีสัมผัสออกมาว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา"

ต้องยอมรับว่าครานี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ค่อนข้างเล่นบทแกร่ง

แกร่งแบบ "หญิงเหล็ก" นำเสนออย่างเรียบๆ แต่มากด้วยความคม มากด้วยเขี้ยวเล็บยังความปวดเจ็บไป 2 รายทาง

แปลกที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เงียบ

แปลกที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เงียบ

ทั้งๆ ที่ท่านแรกเป็นคนลงมือกระทำการเมื่อเดือนกันยายน 2549 ทั้งๆ ที่ท่านหลังเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม 2549

คนที่เอะอะกลับเป็นคนที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2551

ปาฐกถาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กวาดรวมเอาบรรดาลูกมือหรือผู้ที่เสพเสวยประโยชน์จากการรัฐประหารมาอยู่ในมุมเดียวกัน

และล้วนแสดงความเจ็บปวดออกมา

เป็น ความเจ็บปวดเหมือนแผลในเนื้อตัวถูกราดด้วยน้ำกรด และเปล่งอุทานด้วยผรุส-วาทะ อันใกล้เคียงยิ่งกับอารมณ์ ความรู้สึกบางคนถึงกับหลุดคำอันไม่ควรหลุด

ทั้งๆ ที่สำแดงตนเป็นดั่ง "ผู้ดี"

ใน ฐานะนักเรียนรัฐศาสตร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงออกอย่างเด่นชัดว่ามีความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า อำนาจรัฐ และกลไกอำนาจรัฐ เป็นอย่างดี

จึงได้กล่าวถึงกระบวนการ "รัฐประหาร" อย่างแทงทะลุ

จึงได้ยืนยันว่า แม้รัฐบาลจะได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ยังไม่บังเกิดในทางเป็นจริง

รัฐบาลที่ชนะเลือกตั้งถึง 2 ครั้งจึงถูก "รัฐประหาร"

ขณะเดียวกัน รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันมาจากฉันทานุมัติของประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

จึงอยู่ในสภาพ "ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก"

จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ก็ถูก "ต้าน"

ไปติดแหง็กอยู่ใน "องค์กรอิสระ"

จะ เสนอร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ว่ายกร่างทั้งฉบับ ไม่ว่าแก้ไขเป็นรายมาตราก็ถูก "ต้าน" และไปติดแหง็กอยู่ใน "องค์กรอิสระ" เพราะมีบางกลไกอำนาจรัฐที่ทรงอำนาจเหนือกว่า "รัฐธรรมนูญ" เท่ากับชี้ชัดว่ากระบวนการ "รัฐประหาร" ยังดำรงอยู่

ประชาธิปไตยจึงไม่มีหลักประกัน

ปาฐกถาพิเศษ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงเหมือนกับ "น้ำกรด" และ "แสง" อันสาดฉาย

สาด ฉายเห็นด้านอัปลักษณ์อันดำรงอยู่ และราดรดลงไปบนแผลเน่าเปื่อยของสิ่งปฏิกูลที่ไม่ต้องการให้มีการพัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง

บางส่วนจึงรับไม่ได้และคร่ำครวญอย่างปวดเจ็บ

ศึก 2 ขั้วอำนาจ สงครามนิติบัญญัติปะทะตุลาการ "เพื่อไทย" ดับเครื่องชนศาล รธน.



updated: 28 เม.ย 2556 เวลา 19:58:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367134699&grpid=09&catid=16&subcatid=1600 



นับตั้งแต่ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

ไม่เคยมีครั้งใดที่เกมอำนาจจะพัดพาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายตุลาการเข้าสู่หนทาง DeadLock ได้มากเท่าครั้งนี้

กลายเป็นสงครามระหว่าง 2 ใน 3 เสาอำนาจแห่งระบอบประชาธิปไตยที่ต้องสู้รบปรบมือกันเอง ทางชั้นเชิงความคิด และชั้นเชิงกฎหมาย

กลายเป็นสงครามแห่งดุลอำนาจ "นิติบัญญัติ" กับ "ตุลาการ"
ฉาก สงครามเกิดขึ้นเมื่อฝ่าย "ตุลาการ" โดยศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ "สมชาย แสวงการ" ส.ว.สายสรรหา ที่ยื่นร้องต่อศาล โดยใช้สิทธิ์ตามมาตรา 68 เพื่อให้ยับยั้งไม่ให้สภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ของรัฐสภา เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน

ท่าทีในครั้งนั้นฝ่ายนิติบัญญัติเทียบเคียงว่า ฝ่ายตุลาการได้ดำเนินการเสมือนส่งสาส์นท้ารบมาเป็นที่เรียบร้อย

โดย ศาลได้ทำสำเนาคำร้องส่งไปยัง ส.ส.-ส.ว. จำนวน 312 คน ในฐานะผู้ถูกร้องถึงประตูรั้วบ้าน พร้อมทั้งให้ทำคำชี้แจงกลับมายังศาลภายในระยะเวลา 15 วัน หากไม่ส่งคำชี้แจงถือว่า "ไม่ติดใจ"

ด้านฝ่าย "นิติบัญญัติ" อันประกอบด้วย ส.ส.และ ส.ว.รวม 312 คน แก้เกมกลับ ยึดกลศึกกำหนดท่าทีคัดค้าน โดยมองว่า การรับคำร้องของศาลตามมาตรา 68 เท่ากับเป็นการใช้อำนาจตุลาการก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่กำลังใช้อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ปฏิบัติการตอบโต้ศาล รัฐธรรมนูญจึงเริ่มต้นทันที เมื่อพรรคเพื่อไทยอ่านแถลงการณ์ไม่ยอมรับอำนาจศาลโดย "อำนวย คลังผา" ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)

"การที่ศาลรัฐ ธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาอาจเข้าข่ายจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ ผลของการกระทำดังกล่าวจะทำลายรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสำคัญ"

เจตนารมณ์ 2 ข้อถูกบัญญัติขึ้นดังนี้ 1.ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องผูกพันและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การรับคำร้องโดยที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจย่อมเป็นการกระทำที่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 97 และมาตรา 291 2.การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาตามมาตรา 68 ได้นั้นต้องเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน

ขณะเดียวกัน ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ที่ตกอยู่ในสถานะผู้ถูกร้อง ก็เตรียมวางแผน "อารยขัดขืน" ศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ 2 ขั้นตอน

1.ไม่ส่งคำชี้แจงตามที่ศาลมีคำสั่ง พร้อมกับเตรียมออกแถลงการณ์อีก 1 ฉบับ ในนามฝ่ายนิติบัญญัติ ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

การ ตอบโต้ดังกล่าว มีวอร์รูมฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยเป็นตัวตั้งตัวตี โดยเฉพาะการเขียนถ้อยคำในแถลงการณ์อ้างข้อกฎหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อชี้ให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลังใช้อำนาจตุลาการก้าวล่วงอำนาจฝ่าย นิติบัญญัติอย่างไร

โดยคนวงในที่ลงคลุกกับทีมกฎหมายพรรค เพื่อดูรายละเอียดทุกวรรค ทุกตัวอักษรในแถลงการณ์ ร่วมกับทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย และฝ่าย ส.ว.เลือกตั้ง คือ "โภคิน พลกุล" อดีตประธานรัฐสภา และอดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด

แหล่งข่าวจากทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยคาดการณ์ว่า การร่างแถลงการณ์ดังกล่าวจะแล้วเสร็จและประกาศต่อสาธารณะได้ราวต้นเดือนพฤษภาคม

2.ในเบื้องต้นมีการเตรียมยื่นถอดถอนองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เป็น เสียงข้างมากรับคำร้องนายสมชาย จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายจรูญ อินทจาร, นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รวมถึงรอดูกระบวนการพิจารณาคดีในบรรทัดสุดท้ายด้วยว่าคำวินิจฉัยจะออกมาเป็น "ลบ" หรือเป็น "บวก"

หากตุลาการคนใดมีคำวินิจฉัยส่วนตนเป็นลบ ก็จะถูกยื่นถอดถอนรวมกับตุลาการ 3 คนแรก เพียงแต่เวลานี้การกระทำความผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่สำเร็จ ทางฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยจึงต้องหยั่งท่าที-ดูเชิงไปก่อน

ขณะเดียวกัน ยังเตรียมใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มายื่นฟ้องตุลาการคู่ขนานกันไปด้วย

เป็นการเอาผิดทั้งแง่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง คู่ขนานกับการเอาผิดทางอาญา

แม้ ฝ่ายนิติบัญญัติเตรียมวางแผนหาทางออก ดูทางทีหนีทีไล่ไว้ครบทุกประตู แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าในตอนจบ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร จึงทำให้ ส.ส.และ ส.ว.บางส่วน ถึงขั้นหวาดกลัวอำนาจฝ่ายตุลาการ

บาง เสียงในวอร์รูมฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยเสนอไอเดียว่า ที่ประเมินจากสถานการณ์ขั้น "เลวร้ายที่สุด" ว่าควรชิงลงมือปิดเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ให้เร็วที่สุด เพื่อปิดช่องทางไม่ให้ศาลใช้อำนาจคุกคามเหมือนครั้งที่เบรกการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ยังคาการลงมติในวาระ 3 จนถึงวันนี้

ไม่เพียงยุทธการจากฝ่ายนิติบัญญัติใช้ตอบโต้กับอำนาจตุลาการเท่านั้น หากยังมีการเล่นเกมมวลชนมากดดันศาลรัฐธรรมนูญในคราวเดียวกัน

ทั้งในรูปของการชุมนุมกดดันบริเวณด้านหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ถ.แจ้งวัฒนะ

ทั้งการเข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

รวม ถึงการระดมกำลังจัดเวทีปราศรัยทั่วประเทศ โดยขนขุนพล ส.ส.มนุษย์พันธุ์พิเศษทุกประเภท ทั้งบู๊-บุ๋น-ฮาร์ดคอร์เดินสายฉายภาพให้ชาวบ้านเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของสภา กำลังถูกอำนาจตุลาการก้าวล่วง โดยเวทีเริ่มต้นที่จังหวัดอุดรธานี อันเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง

นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยยังไฟเขียวให้ ส.ส.จัดเวทีปราศรัยย่อยลงไปในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าในนามพรรคหรือในนามส่วนตัว โดยเฉพาะ ส.ส.เสื้อแดงหลายคนเตรียมตั้งเวทีปราศรัยในพื้นที่เขตเลือกตั้งของตัวเอง

ดัง นั้น หากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเป็นลบกับพรรคเพื่อไทย มวลชนเสื้อแดงก็จะถูกปลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้พรรคเพื่อไทยทันที

ขณะ ที่ศาลรัฐธรรมนูญก็เตรียมยุทธวิธีตอบโต้ โดย "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ สั่งการคณะทำงานรวบรวมหลักฐานการชุมนุมทั้งหมด เพื่อเดินเกมฟ้องกลับผู้ชุมนุมในข้อหาหมิ่นศาล

"วสันต์" เทียบเคียงเคสตัวอย่างในอดีต กรณีถูกนางกรองทอง ทนทาน หรือดีเจป้อม จังหวัดอุดรธานี ด่าทอดูหมิ่น ครั้งมีการชุมนุมหน้ารัฐสภา

"ส่วนตัว ก็ไม่ได้รู้สึกกังวลอะไร เพราะคิดว่าน่าจะเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวมากกว่า ตอนดีเจป้อม ผมก็ฟ้องศาลอาญาใน 4 ข้อหา ในฐานะดูหมิ่นศาล ดูหมิ่นเจ้าพนักงานด้วยการโฆษณา โดยใช้ทนายจากสำนักงานทนายของคนพรรคเพื่อไทย คือสำนักงานทนายนิติทัศน์ศรีนนท์"

"ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ประทับรับฟ้อง นางกรองทองก็ยื่นขอประนีประนอมจะขอขมา ศาลสั่งเลื่อนไปพิจารณาในวันที่ 27 พ.ค.นี้ ซึ่งผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะรับคำขอขมาหรือเปล่า ดังนั้น ที่ชุมนุมกันที่หน้าสำนักงานอยู่ขณะนี้ ก็กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ ผมตามเก็บหมด ไม่ฟังเสียงหรอก"

ด้านความเคลื่อนไหวฝ่ายพรรคประชาธิ ปัตย์ (ปชป.) ฝั่งสนับสนุนศาล-คู่ขัดแย้งเบอร์หนึ่งของพรรคเพื่อไทย ก็เริ่มดำเนินการกระชากหน้ากากผู้ก่อการตัวจริงออกมาตีแผ่ให้ประชาชนรับทราบ

"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค เปิดเผยทุกครั้งที่ถูกถามความเห็นถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญว่า "ประชาชนต้องให้กำลังใจตุลาการ หากรัฐบาลยืนยันว่าไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งด้วย ก็ต้องออกมาทำหน้าที่ตัวเอง ออกมารักษาความสงบบ้านเมือง"

"ไม่ว่า กลุ่ม ส.ส. ส.ว. และคนเสื้อแดงจะใช้สิทธิ์อะไรก็ตาม รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อย ให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้ ฉะนั้น หากยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็ต้องแสดงท่าทีว่ายังรักษากฎหมาย อำนวยความสะดวกให้กับศาลรัฐธรรมนูญ"

"ปัญหา คือถ้าเรายอมจำนนกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับศาลตอนนี้หรือไม่ มีการชุมนุม มีการกดดัน ถ้าเรายอม ต่อไปนี้ทุกอย่างในบ้านเมือง ก็เป็นเรื่องของใครมีกำลังมากกว่า มีพวกมากกว่า ก็สามารถที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ ไม่ต้องสนใจกฎกติกา"

นอกจากนั้น ทีมกฎหมาย ปชป.ยังประเมินว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นการ "ล้ำเส้น" ของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ใช่จากฝ่ายตุลาการตามที่ถูกโจมตี เพราะสุดท้ายรัฐธรรมนูญยังคงให้อำนาจศาลไว้ชัดเจนแจ่มแจ้ง

นำมาซึ่ง การแสดงจุดยืนในทิศทางเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผล 2 ข้อ เพื่อเรียกร้องให้ ส.ส.+ส.ว. 312 คนไปชี้แจงต่อศาลตามกระบวนการยุติธรรม

1.การ ไปยื่นคำชี้แจง ไม่ถือเป็นการยอมรับผิด แต่เป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ที่สุดท้ายผลลัพธ์ยังคงขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาล มิได้ขึ้นอยู่กับท่าทีในการเดินทางชี้แจง

เคสตัวอย่างในอดีตจึงถูกยก ขึ้นมาจากกรณีที่ "อภิสิทธิ์" ถูก "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" อดีต ส.ว.สรรหา เคยขอให้ศาลพิจารณาว่า การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

"ใน วันนั้นแม้พรรคจะประเมินแล้วว่า สิ่งที่ดำเนินการไปไม่ผิดกฎหมาย แต่ท่านอภิสิทธิ์ก็เดินทางไปชี้แจง ไปรับฟังข้อกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งท้ายที่สุดศาลก็วินิจฉัยว่าท่านไม่ผิด มันก็แสดงให้เห็นว่า การไปชี้แจงต่อศาล ไม่ได้หมายความว่ายอมรับว่าผิดตั้งแต่ต้น"

2.ตราบใดที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ยังมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น การไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ก็มีความหมายว่าฝ่าฝืนกฎหมายเช่นกัน

"ถ้า พรรคเพื่อไทยจะไม่ฟังคำสั่งศาล ตัดสินใจดำเนินการต่อ ศาลก็ยังถือว่ามีอำนาจในการวินิจฉัยตามขั้นตอนได้ หากคำวินิจฉัยสุดท้ายบอกว่าผิด ทั้ง 312 คนก็ต้องผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550"

ทีม กฎหมายจึงมองเกมไปไกลกว่าเดิม สร้างสมมติฐานสงคราม 2 ขาอำนาจ จากขาหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยพรรคเพื่อไทยยังตัดสินใจเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญขาที่สอง ฝ่ายตุลาการ ยังเดินหน้าวินิจฉัยตามคำร้องดังกล่าว

ผลลัพธ์สุดท้ายจึงถูกสรุปออกมาว่า ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ-ตุลาการ ต่างต้องทำงานในมุมมองของตนแข่งกับเวลา

หาก ฝ่ายตุลาการดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จก่อน กระทั่งมีคำวินิจฉัยหรือคำแนะนำที่เป็น "โทษ" ย่อมเป็นผลลบให้แก่ผู้ร่วมก่อการทั้ง 312 คน

หากฝ่าย นิติบัญญัติ-เพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่พาดพิงถึงอำนาจศาลเสร็จสิ้นก่อน ย่อมไม่เป็นผลดีกับฝ่ายตุลาการ

"สิ่ง ที่เพื่อไทยต้องการปิดเกมเร็ว เพราะการแก้ไข ม.68 จะลดทอนอำนาจบางอย่างออกไป และเมื่อฝ่ายตุลาการเร่งไต่สวน วินิจฉัยเรื่องทั้งหมดไม่ทัน สุดท้ายสิ่งที่เคยถูกศาลมองว่ามีความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 ก็อาจจะไม่มีประโยชน์"

เมื่อทั้งศาลรัฐธรรมนูญ-เพื่อไทยมีความเห็นที่แตกต่าง จุดยืนที่แตกแยก

การดำเนินการ 2 ขาอำนาจ จำต้องดำเนินการแข่งกับเวลาอย่างเลี่ยงไม่ได้

เพราะผลลัพธ์สุดท้าย มีพิษสงร้ายแรงต่อฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น ใครถึงเส้นชัยก่อน โอกาสชนะก็มีสูง

"อุกฤษ มงคลนาวิน" ปลุกอำนาจนิติบัญญัติ-บริหาร อารยะขัดขืน คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ








updated: 02 พ.ค. 2556 เวลา 00:14:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ในอดีต "อุกฤษ มงคลนาวิน" ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เคยเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เคยเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ สวมหมวกทั้งประมุขนิติบัญญัติ และประมุขผู้ชี้ขาดกฎหมาย-ปัญหาที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ

ในปัจจุบัน เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติขัดแย้งกับฝ่ายตุลาการ เจาะจงที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ ในเกมอำนาจที่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน

"อุกฤษ" จึงร่อนจดหมายเปิดผนึก 4 ข้อ แนะนำให้มีการลดอำนาจ-ปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ เขาเปิดอาณาจักร "Navin Court" ย่านเพลินจิต ไขรหัสสาระของจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

และเขายังแนะนำให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอารยะขัดขืน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ากรณีใด ๆ

- ทำไมถึงมีจดหมายเปิดผนึก 4 ข้อปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญในตอนนี้

ที่ จริงเราคิดกันมาก่อนนานแล้ว เพราะมีหลายกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายบางมาตราขัดรัฐธรรมนูญ เช่น พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ

ไม่ ได้ ทั้งที่กฎหมายดังกล่าวมีการบังคับใช้มานาน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปแก้ไขกฎหมายเกินกว่า 100 ฉบับ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายแต่ละฉบับไม่ใช่เรื่องง่าย และทำให้ขณะนั้นการทำงานต่าง ๆหยุดชะงักลง เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ทั้งที่ตัดสินด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 มันเฉียดฉิวมาก

กรณีสำคัญอย่าง นี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 บอกว่า องค์ประชุม 9 คน ต้องมี 5 คน ถือว่าครบองค์ประชุม แต่คะแนนเสียงใช้เสียงข้างมากธรรมดา เช่น องค์ประชุม5 คน ใช้คะแนนเสียง 3 ต่อ 2 ได้ อย่างนี้มันไม่ถูก จึงคิดว่ามี 2 แนวทางที่จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญรอบคอบมากขึ้น 1.องค์คณะ 9 คน จะต้องมีคะแนนเสียงเป็นเสียงข้างมากในการวินิจฉัยเด็ดขาด 7 ต่อ 2 หรือ 8 ต่อ 1 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะองค์ประกอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็น 15 คน มีองค์คณะในการประชุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และการวินิจฉัยต้องใช้เสียงข้างมากเด็ดขาดไม่ต่ำกว่า 10 เสียงซึ่งตุลาการที่เพิ่มมา 6 คน ก็ให้ผ่านกระบวนการรัฐสภาในการคัดเลือก

เพื่อ เป็นการยึดโยงประชาชน และไม่ควรมีวาระนานเกินไป 4 ปี หรือมีสิทธิ์อีก 1 วาระ ไม่เกิน 8 ปี ส่วนที่ตุลาการบางท่านบอกว่า เหมือนคนดูมาไล่กรรมการ แต่ถ้ายกตัวอย่างในสมัยก่อน การแข่งฟุตบอล คนดูเชื่อกรรมการ ต่อให้คนเห็นว่าลูกนี้ไม่สมควรได้ลูกโทษก็ตาม เพราะกรรมการตัดสินแล้วก็แล้วไป คนดูก็ไม่ว่าอะไร ตอนหลังพฤติการณ์มันหนักขึ้น ๆ เพราะการตัดสินมันผิดพลาดมาก

หลาย ครั้งกลายเป็นว่ากรรมการกับไลน์แมนลงมาเล่นด้วย เล่นทีไร อีกทีมหนึ่งก็แพ้ทุกที ผลคืออะไร คนดูทนไม่ได้ใช่ไหม เหตุการณ์เช่นนี้กำลังเกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญของไทย มันพิสูจน์ได้โดยคำวินิจฉัยของศาลเอง

การที่สมาชิกรัฐสภาเคลื่อนไหว ไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นสิทธิ์ที่เขาทำได้ เพราะเขาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ เป็น 1 ใน 3 อำนาจสำคัญของบ้านเมือง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษ ไม่ใช่อยู่ในองค์กรสำคัญของบ้านเมือง ดังนั้น ทำซ้ำซากเขาไม่ยอมรับ ถ้าต่อไปใช้คำว่าอารยะขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ฟังคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้ชี้แจง จะเรียกว่าอารยะขัดขืนได้ไหม ให้ไปลองคิดกันดู

- เมื่อรัฐธรรมนูญระบุว่าคำวินิจฉัยของศาลผูกพันทุกองค์กร แล้วอารยะขัดขืนจะใช้ช่องทางไหน

ก็ ใช้ช่องทางเหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งคนลงเลือกตั้ง หรือตอนที่ฉีกบัตรเลือกตั้ง มันเป็นช่องทางที่เป็นพฤติการณ์เรียกว่าขัดขืน เพราะคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เขาก็มีสิทธิ์ไม่รับฟัง ก็ให้สังคมเป็นผู้วินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดถูก เพราะเหตุว่ามันไม่มีศาลอื่นที่จะพิจารณาเรื่องนี้ได้อีกแล้ว ไม่มีศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา แต่ศาลรัฐธรรมนูญมีศาลเดียว

เมื่อมันหมดทาง ก็มีนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ที่จะหาทางแก้ไขยับยั้ง ทางสุดท้ายคือประชาชนที่จะรับหรือไม่รับอันนี้ เพราะระบอบประชาธิปไตยถือประชาชนเป็นใหญ่

- เมื่อเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมานอกเลนแบบนี้ แล้วสุดท้ายศาลกลับตัดสินยุบพรรคเพื่อไทยอีกรอบ จะอารยะขัดขืนอย่างไร

ก็ เขาไม่รับ ถามจริงเถอะ ถ้าตัดสินอย่างนี้ ใครเป็นคนบังคับคดีได้ (เน้นเสียง) ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจไปสั่งตำรวจ ไปสั่งใครให้จัดการ ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติต่างหากที่เขามีอำนาจ ระหว่างช่วงนั้น เขาก็แก้ไขรัฐธรรมนูญซะ ไม่ฟังไอ้มาตรา 68 เพราะมันไม่มีอำนาจอยู่แล้ว ถ้าเขาบอกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญล่ะ แล้วแก้ไขเพิ่มจำนวนตุลาการ แก้ไขเรื่ององค์ประกอบ แก้ไขเรื่องการลงคะแนน ถ้าขัดขวางอีกก็เจอประชาชน เขาเรียกว่าศาลประชาชน นั่นล่ะคือกรรมการสูงสุดในการตัดสิน

- สรุปว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้ยุบพรรค แต่ก็ไม่มีกระบวนการมาบังคับให้ต้องทำตาม

(สวน ทันที) ถูกต้อง ถูกต้อง ให้ยุบพรรค คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะยุบ เขาก็ไม่รับ กกต.จะกล้าไหม ประชาชนจะยุบ กกต.เสียเอง หรือฝ่ายนิติบัญญัติแก้กฎหมายยุบ กกต.เสียเอง นอกจากนั้น

ฝ่าย บริหารก็ให้ระงับการจ่ายค่าตอบแทน จ่ายเงินเดือน อยู่ได้ไหม ถ้าเขาจะตอบโต้จริง ๆ แล้วใครจะไปฟ้องล่ะ งบประมาณก็อยู่ที่ฝ่ายบริหาร ถ้าสังคมเอาด้วย ประชาชนเอาด้วย เขาก็ทำได้ แต่ที่ประชาชนเขาไม่ทำ เพราะเห็นว่าเกินไป

- ถ้าอารยะขัดขืนอย่างนี้ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการจะออกนอกเลน ล้ำเส้นกันหมด

ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่อยู่ในอำนาจตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษ ไม่ใช่ตุลาการศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลการเมือง มันผิดกัน

- ทำไมบ่อยครั้งข้อเสนอของอาจารย์ถูกวิจารณ์ว่าเป็นข้อเสนอที่ย้อนยุค ล้าหลัง

ความ เห็นของคนแตกต่างกัน แล้วคนที่ให้ความเห็นนั้นเคยออกความเห็นอะไรที่ว่าทันสมัยบ้าง ใครที่ว่าย้อนยุคจะย้อนยังไง ในเมื่ออะไรที่ไม่ได้ผลมันก็ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แล้วถ้าล้ำยุคจะต้องมีตุลาการ สัก 30 คนเหรอถึงไม่ย้อนยุค จะพูดจะอะไรให้ศึกษาเสียก่อนว่าย้อนยุคคืออะไร แล้วการที่วันดีคืนดี ผู้ที่วิจารณ์แบบนี้ไปเสนออะไรที่มัน...ไม่เกิดประโยชน์ แล้วไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านเคยทำไหม เช่นเคยเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน มาตรา 7 มันยิ่งกว่าย้อนยุค นี่มันเผด็จการ ถูกไหม

- แต่ในอดีตที่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน ตอนคดีซุกหุ้นภาค 1 ก็ถูกเสียงวิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินผิดพลาดเหมือนกัน และเสียงข้างมากก็ชนะกัน 8 ต่อ 7 ห่างกันเพียงเสียงเดียว
คดีซุกหุ้นเราก็ต้องเคารพเขา มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เราไม่ได้พูดถึงตัวบุคคล

แต่ การที่ไปวินิจฉัยเอานายกฯคนหนึ่งออกจากตำแหน่ง ตีความกฎหมายอะไรก็ไม่ได้ ไปเอาพจนานุกรมมาตัดสิน มันเลวร้ายกว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น เรื่องการ

ซุก หุ้นมันเป็นวาทกรรม แต่เอาผิดอะไรเขาไม่ได้ เราอย่ามาพูดในเรื่องนี้เลย เอาว่าต้องแก้ไขกันดีกว่า ว่าถ้าเชื่อตัวบุคคลก็เลิกศาลรัฐธรรมนูญสิ ไปสู่ศาลยุติธรรมธรรมดาเลยก็ได้ ถ้าจะคิดอย่างนี้

อย่าไปเอาตัว บุคคลเป็นหลัก อย่างตอนนี้ที่เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นแบบนี้ เพราะเราก้าวข้ามคนคนหนึ่งไม่พ้นเท่านั้นเอง อย่าไปกลัวเขา สองมือสองเท้าเท่ากัน มีพรรคการเมืองเท่ากัน สู้กันในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นแหละ บ้านเมืองจะเรียบร้อย

- ศาลรัฐธรรมนูญก็ก้าวข้ามคนคนหนึ่งไม่พ้น

ไม่ พ้น ไม่พ้น ก็นี่ไงถึงตำหนิ อย่างน้อยการวินิจฉัยด้วยคนจำนวนมาก ก็ดีกว่าวินิจฉัยด้วยคนจำนวนน้อย น้อยเท่าไหร่ก็เป็นเผด็จการมากขึ้นเท่านั้น ถ้า 15 คน คะแนนเสียงก้ำกึ่ง 9 คน ก็คะแนนเสียงก้ำกึ่ง ก็เพิ่มไป 25 คนก็ได้ เอาผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามา

- คนที่ศาลรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก้าวไม่พ้นคือคุณทักษิณ ชินวัตร

ใคร ๆ ในโลกนี้ก็รู้ ถ้ายังมีชื่อทักษิณอยู่ ต่อให้เปลี่ยนชื่อยังไงก็ไม่ได้ เหมือนเห็นเงาปีศาจ ซึ่งมันแปลก ผมไม่เคยกลัวเลย ใครจะชื่ออะไรก็ตาม อยู่ที่หลักการความถูกต้อง แล้วใครเป็นอย่างไร ประชาชนจะเป็นผู้พิพากษาเอง

- ศาลรัฐธรรมนูญการันตีตลอดว่าวินิจฉัยตามพยานหลักฐาน ไม่เกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ ทำไมถึงคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญก้าวข้ามคุณทักษิณไม่พ้น
ไม่ ใช่...ที่อ้างมาว่า 15 คนก็แล้ว 9 คนก็แล้ว เป็นเพราะก้าวข้ามคนคนหนึ่งใช่ไหม แล้วเอามาเป็นข้ออ้าง เวลาเราถูกใจ ก็บอกว่าตัดสินอย่างนี้ดีแล้ว ถ้าเวลาไม่ถูกใจ

ก็บอกว่าเป็นเพราะคน คนหนึ่ง เลิกพูดถึงเรื่องนี้ดีกว่า คนเราเกิดมาสองมือสองเท้า ไปกลัวใคร ทุกอย่างอยู่ที่กรรมดี กรรมชั่ว ถ้าเราทำดีแล้ว ไม่ต้องไปกลัวใคร แต่ถ้าทำชั่ว แม้วันนี้เรารู้สึกว่าชนะ แต่วันข้างหน้าเราต้องรับผลกรรมอยู่ดี

- เคยเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ มองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในยุคประชาธิปไตยเต็มใบในปัจจุบันต่างกับครึ่งใบไหม
ผิด กันสิครับ จะว่าครึ่งใบอะไรก็ตาม มันเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ตุลาการรัฐธรรมนูญมาจากการโปรดเกล้าฯ มาจากการคัดเลือกมาโดยชอบธรรมเป็นที่ยอมรับ แต่จะมานับถือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปี 2550 มันยากแล้วล่ะ เพราะ คมช.

ใช้ อำนาจคณะปฏิวัติมาตั้งคนของตัวเอง 9 คน ซึ่งเป็นตุลาการส่วนใหญ่ ก็คือเลือกตุลาการภิวัตน์ ที่มามันก็ผิดแล้ว มันเทียบกันไม่ได้ อย่ามาเทียบกันเลย

แล้วตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปี 2540 เขาก็ไม่มีตุลาการภิวัตน์อย่างนี้

- ที่ทำให้แตกต่าง มองว่ามีใบสั่งทางการเมือง

ไม่ ทราบ จิตใจของตัวเองรู้ ใบสั่งไม่สั่ง กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา นักกฎหมายเขาอ่านกันออกว่าตัดสินยังไง การตีความกฎหมายใช้พจนานุกรมแค่นี้ก็รู้แล้ว ตัดสินมา 9 ต่อ 0 (คดีชิมไปบ่นไป)

เขียนคำวินิจฉัยส่วนตนว่าไง เอางี้ ให้นักกฎหมายรุ่นเหลนไปวิเคราะห์ดู มันเป็นการละเมิดกฎหมาย ละเมิดการตีความ ละเมิดหลักกฎหมายที่เราสอนกันมา

ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ บรรพบุรุษตุลาการไม่เคยมีปรากฏอย่างนี้ หรือจะเถียงว่าการตัดสินอย่างนี้ถูก..หา !..ไม่เคยมีตุลาการคนไหนในระบอบครึ่งใบ เต็มใบ ไม่เคยมีใครคิดแบบนี้

- ตกลงมันผิดที่ตัวตุลาการ 9 คน หรือผิดที่ตัวระบบ

มัน ผิดตั้งแต่ต้น องค์ประกอบที่มา อำนาจ แล้วการเลือกตัวบุคคล คนดี ๆ นะ ไม่ใช่ไม่ดี ลูกศิษย์พวกนี้เก่งทั้งนั้น อัจฉริยะไม่มีใครเกิน แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ที่ทำให้คำวินิจฉัยออกมาเป็นที่ยอมรับไม่ได้ ก็ไม่เข้าใจ


...............................................................................................................

ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลังนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)ได้ออกจดหมายเปิดผนึก "ข้อเสนอปรับปรุงศาลรัฐธรรมนูญ" ใจความดังนี้

        ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีทบาทสำคัญในการที่จะคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน อีกทั้ง เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมมิให้บัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐ ธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันเด็ดขาดต่อ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
        
         อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาประมาณ 7-8 ปีที่ผ่านมานี้ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างว่า เป็นคำวินิจฉัยที่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความถูกต้องเป็นธรรม และหลายคดีศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีโดยได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยของ องค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ และขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ จนนำมาสู่ความหวาดระแวง สงสัยว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของตนให้สมกับความคาดหวังของประชาชน และภารกิจที่รัฐธรรมนูญได้มอบหมายไว้หรือไม่ และการพิจารณาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างมีอิสระหรือไม่
       
         ทั้งนี้ โดยมีกรณีตัวอย่างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจ และผู้เขียนมีความเห็นว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยเกิดความขัดแย้งทางสังคม และทางการเมืองที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน เช่น คดีการเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนรษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยเห็นว่าการจัดคูหาเลือกตั้งไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ คดียุบพรรคการเมืองหลายพรรค คดีการตัดสินให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) สิ้นสุดลง เพราะเหตุเป็นพิธีกรในรายการ "ชิมไป บ่นไป" หรือคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้พิจารณา และมีคำสั่งรับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ และนายบวร ยสินธร ที่ใช้สิทธิตามมาตรา 68 เพื่อขอให้ยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 ของรัฐสภา เป็นต้น
       
         นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาและเมื่อเร็วๆ นี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติของกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และมีผลทำให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 54 และพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 41 ทั้งนี้ มีข้อสังเกตุว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว กระทำโดยมติ 5 ต่อ 4 เสียง ซึ่งถือว่าเฉียดฉิวมาก มติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่างกันเพียงเสียงเดียวเท่านั้น แต่มีผลทำให้บทบัญญติของกฎหมายที่ผ่านกระบวนการต่างๆ และมีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วต้องตกไปหรือเป็นอันบังคับมิได้ใน ทันที
       
         จากสภาพปัญหาในการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความพยายามในการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งนอกจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราที่รัฐสภากำลังดำเนินการอยู่ ในปัจจุบัน ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ดังนี้
        
1. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการวินิจฉัยความชอบชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เฉพาะแต่ ในกรณีที่เป็นร่างกฎหมายที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว และก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อให้พระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยเท่านั้น เพราะเมื่อกฎหมายฉบับใดประกาศใช้บังคับแล้วถือว่าเป็นเจตจำนงร่วมกันของปวง ชน วิธีการที่จะให้บทบัญญัติใดของกฎหมายตกไปหรือเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ เฉพาะแต่ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะผู้แทนปวงชนเท่านั้นที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือทำการแก้ไขเพิ่มเติม
        
2. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 14 คน รวมเป็น 15 คน และองค์คณะในการนั่งพิจารณาและทำการวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 10 คน และคำวินิจฉัยจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด ทั้งนี้ เทียบเคียงได้จากมาตรฐานกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า การตราพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด (มาตรา 185 วรรค 4)
        
3.ควรกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรง ตำแหน่งเพียง 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว นอกจากนี้ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรมีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยด้วย
        
4.แก้ไขเพิ่มเติมกระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเร่งดำเนินการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐ ธรรมนูญโดยเร็ว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาในแต่ละประเภทคดี ไว้อย่างชัดเจน และต้องมีกำหนดเวลาในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและความเห็นในการวินิจฉัยของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนในราชกิจจานุเบกษาภายในภายใน 30 วัน
        
สุดท้ายมีข้อสังเกตุว่า ที่ผ่านมาการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนมีการทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนและมีการแถลง ด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติหรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในบางคดียังกระทำด้วยความ รีบเร่งผิดปกติ และไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่ยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ดังนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคดีนั้นๆ อาจจะมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเสียเอง และอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้
 

เสียงคำรามจากนางสิงห์แห่งเอเชีย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกหญิงคนแรก ของประเทศไทย

Red USA
https://www.facebook.com/red.usa.LA


"พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"
ถึงแม้เป็นวลีที่หยาบกระด้างไม่เข้ากับบุคลิกของนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยก็ตาม
แต่มันคือ สาระหลัก ที่ RED USA ขอฟันธงว่าเป็นข้อความที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องการสื่่อ
ผ่านคำปาฐกถาที่ดังก้องกลางกรุงอูลันบาตอ เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย
ระหว่างการประชุมประชาคมประชาธิปไตย เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา
เพื่อฟ้องร้องกล่าวโทษผู้ที่ทำร้ายประชาชนและขัดขวางระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
เป็นการยืนยันความจริงที่นานาประเทศได้รับรู้รับทราบกันดีอยู่แล้ว

"พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"
ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สื่อถึง
พวกอนุรักษ์นิยมและบรรดาผู้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
ส่งผลรุนแรงและล้ำลึกยิ่งกว่าคำท้าทาย ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี
ในวลีทอง "กูไม่กลัวมึง" ซึ่งกลายเป็นตำนานให้เล่าขานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

มีเพียงผู้มีบารมีที่มั่นใจในอำนาจแห่งตนเท่านั้นที่สามารถกล่าวอย่างเรียบง่ายว่า
"พวกมึงทำเกินไปแล้ว"โดยไม่จำเป็นต้องบอกต่อว่า ถ้าพวกมึงยังขืนทำต่อไปอะไรจะเกิดขึ้น
ไม่ต่างกับผู้มีบารมีและผู้มีอำนาจในหมู่บ้านที่บอก อันธพาลหน้าปากซอย
ด้วยเสียงเย็นๆว่า "พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"

การปาฐกถาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ กรุงอูลันบาตอ ประเทศมองโกเลีย
เปรียบประดุจเสียงคำรามของนางสิงห์ ที่ดังก้องไปทั้งราวป่า ทำให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่
ทั้งวิหกนกกา ชะนี ลิง ค่าง ต่างตื่นตระหนก ออกอาการหวาดผวา ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ไปทั้งพงไพร

อาการตื่นตระหนก ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่
ประดุจสัตว์ป่าตื่นเสียงคำรามของนางสิงห์มีปรากฏให้เห็นในสังคมไทยทั่วทุกมุมเมือง
ตั้งแต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ส่งเสียงคำรามยังมิได้เดินทางออกจาก ประเทศมองโกเลีย ด้วยซ้ำ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้เวลาเพียงแค่ 13 นาทีกว่าๆไม่ถึง 14 นาที
ลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยย้อนหลังไป 15 ปีตั้งแต่ปี 2540 ที่มีรัฐธรรมนูญของประชาชน
ซึ่งคนไทยต่างหวังกันว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยแล้วและจะไม่มีการทำรัฐประหารอีกต่อไป

แต่ความหวังของประชาชนไม่เคยเป็นจริงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกลับถูกโค่นล้มหลายครั้ง
โดยการทำรัฐประหารบ้าง ด้วยปกาศิตของตุลาการภิวัตน์บ้าง
โครงการดีๆที่รัฐบาลของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอทำไว้เพื่อประชาชนถูกยกเลิก

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไล่เลียงเหตุการณ์ของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าแม้แต่ในปี พ.ศ. นี้
ก็ยังมีขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย มีองค์กรอิสระที่ทำงานเกินหน้าที่
และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตีกรอบไม่ให้ประชาธิปไตยในประเทศไทยเจริญงอกงาม

คำปาฐกถาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศประชาธิปไตยหลายสิบประเทศ เปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดด
ที่ไม่มีใครคาดคิดว่า สมันน้อยทางการเมือง อย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหาญกล้าเข้าปะมือกับ
อำนาจเก่า

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกประชาคมประชาธิปไตย ที่เข้าร่วมประชุม
ว่าที่เธอสามารถมายืนต่อหน้าทุกท่านในการประชุมครั้งนี้ เป็นเพราะพลังประชาชนที่เลือกเธอมา

ด้วยเสียงเรียบๆแต่หนักแน่นไม่ลุกลี้ลุกรน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แจกแจงปัญหาและอุปสรรค
ที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยและการต่อสู้ของประชาชน
เพื่ออิสระและเสรีภาพจนต้องบาดเจ็บล้มตายและถูกคุมขัง โดยไม่มีอาการหวาดหวั่น ต่อผลที่จะตามมาแต่อย่างใด


เสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมประชุมดังกึกก้องยาวนานเมื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปิดท้ายคำปาฐกถา
ของเธอว่า
"ดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมือง
และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ต้องเผชิญ
จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายของประเทศไทย"

ตั้งแต่เปิดตัวสมัครเป็นผู้แทนราษฎรวันแรก
จนได้รับเลือกตั้งและได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาจนเกือบครบสองปี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยต่อล้อต่อเถึยงหรือแก้ต่างให้ตัวเองสักครั้ง
ทั้งๆที่ถูกใส่ร้ายป้ายสี ได้แต่ทำตัวสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอมา

ด้วยบุคลิกอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าไม่เชื่อมั่นว่า "เอาอยู่"
คงไม่ประกาศกร้าวกลางที่ประชุมของประชาคมประชาธิปไตยโลกว่า
"ขอให้ความเจ็บปวดที่ประชาชนได้รับ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายของประเทศไทย"

ด้วยบุคลิกอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าไม่มั่นใจว่า"ชนะ"คงไม่ลงมือ
คำสัญญาที่เธอให้ไว้กับประชาชนในการหาเสียง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำได้หมด
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน/ เงินเดือน 1 หมื่น 5 พันบาทสำหรับผู้จบปริญญาตรี/
ข้าวราคา 1 หมื่น 5 พันบาท/
กองทุนพัฒนาศักยภาพสตรี/รถคันแรก และ ฯลฯ ล้วนทำได้ดั่งคำสัญญา
นั่นคือตัวอย่างของ "การพูดจริงทำจริง"

ดังนั้นคำประกาศเดินหน้าเพื่อประชาธิปไตยไทย
ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศต่อสังคมโลกในการประชุมที่กรุงอูลันบาตอ ประเทศมองโกเลีย
คงมิใช่ "สักแต่พูด" แต่คงได้ผ่านการข่าว การวิเคราะห์สถานการณ์ การประเมินกำลัง การวางแผน
และตัวบุคคลตลอดจนการอ่านอารมณ์มวลชน
จนสามารถตัดสินใจวางยุทธศาสตร์จัดยุทธวิธีเผชิญหน้ากับอำนาจเก่าอย่างไม่อ้อมค้อม

คำประกาศของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ว่า
"ขอให้ความเจ็บปวดที่ประชาชนได้รับ จะเป็นความเจ็บปวดสุดท้ายของประเทศไทย"
มันบาดลึกและท้าทายอำนาจขององค์กรอิสระและขบวนการตุลาการภิวัตน์
ซึ่งเป็นกำลังหลักของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและผู้ฝักใฝ่เผด็จการอย่างยิ่ง
จนออกอาการต้องดาหน้ากันมากล่าวหาด่าท่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไร้เหตุไร้ผล

ในขณะเดียวกันคำประกาศนั้นกลับเพิ่มความฮึกเหิม
ให้กับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและได้ใจผู้ไขว่คว้าหาประชาธิปไตยไปเต็มๆ
จนพร้อมผนึกกำลังเป็นหนึ่งพุ่งสู่ "ศัตรูประชาชน" ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะ "ชี้เป้า" ให้

แนวรบภาคประชาชนและฟากฝ่ายประชาธิปไตยพร้อมทำศึกแล้วทุกแนวรบ
การเมืองภาคประชาชนโดยการนำของวิทยุชุมชน 13 สถานีหรือ กวป.
ที่เรียกร้องให้ ตลก.หยุดปฏิบัติหน้าที่และขอโทษประชาชนกำลังเดินหน้าและรุกคืบอย่างมั่นคง
โดยกำหนดเส้นตายให้ ตลก. องค์อิสระผู้ประเมินตัวใหญ่เกินจริงไว้ในวันที่ 8 พฤษภาคม
มีประชาชนนับล้านทั้งในและนอกประเทศส่งกำลังใจและทุนทรัพย์ไปให้การสนับสนุนอย่างเนืองแน่น
ตลอดจนเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างเกาะติด พร้อมเดินหน้าร่วมขบวนรบเมื่อถึงเวลา

ในขณะที่แนวรบด้านองค์กรมวลชนอย่าง นปช.ก็พร้อมเคลื่อนขบวนในวันที่ 19 พฤษภาคม
แต่ในช่วงที่ขบวนใหญ่ยังไม่เคลื่อนโรงเรียน นปช.ก็รุกคืบยึดครองพื้นที่ไปทั่วประเทศ อุ่นเครื่องไปพลางๆ

แนวรบฝ่ายนิติบัญญัติก็คึกคักไม่แพ้กัน พร้อมใจกันปฏิเสธอำนาจ ตลก. เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไป
อีกทั้งยังล่ารายชื่อทำเอกสารพร้อมลายเซ็นเพื่อยื่นถอดถอน ตลก. ที่ก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ

แนวรบด้านพรรคเพื่อไทยและฝ่ายบริหารก็พร้อม
จัดตารางเดินสายเปิดปราศรัย 10 เวทีใหญ่ทั่วประเทศ
เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องนโยบายและการทำงานของรัฐบาล

แนวรบด้านสื่อประชาธิปไตยทั้งวิทยุ โทรทัศน์และโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เดือดพล่าน
ทั้งนี้ยังไม่รวมแนวรบด้านต่างประเทศทั้งอาเซียน ยุโรป ตลอดจนประเทศมหาอำนาจ
อย่างรัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นและประเทศในตะวันออกกลางก็พร้อมยืนอยู่ข้างรัฐบาลยิ่งลักษณ์

องค์กรต่างประเทศอย่างสหภาพรัฐสภาโลก สหภาพยุโรป ศาลโลก และศาลอาญาระหว่างประเทศ
ก็ไม่ปลื้มกับการใช้อำนาจเกินขอบเขตของอำมาตย์ไทยและองค์กรอิสระที่เป็นสมุนบริวาร

"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นางสิงห์แห่งเอเชีย" คงได้ตรวจสอบและประเมินสถานการณ์แล้วทุกด้าน
อย่างลึกซึ้งและวิเคราะห์เจาะลึกรอบคอบ รอบด้านกว่าที่บทความนี้เอ่ยอ้างมากนัก
ปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ของผู้นำไทยในเวทีโลกที่มองโกเลียจึงดังกึกก้องไปทั้งโลก


ทุกแนวรบพร้อม
รอเพียงให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลั่นกลองศึกและคำรามเพลงรบเท่านั้น
คนที่ประนามหยามเหยียด "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ว่าโง่ไร้ภาวะผู้นำคงได้เห็นกับตากันครานี้ว่า
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตัวจริงเป็นเช่นไร

RED USA
MAY 1, 2013

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน